ศาสนาซิกข์เผยแผ่เข้าสู่ดินแดนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยชาวชิกข์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ดังพบการกล่าวถึงชาวซิกข์ครั้งแรกในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบกทางเรือรอบแหลมมลายู ร.ศ.๑๐๙ ซึ่งทรงบันทึกไว้ขณะเสด็จประพาสเมืองภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ ว่าทรงพบตำรวจแขกซิกข์มาร่วมรับเสด็จด้วย ดังความในพระราชหัตถเลขาฯ ว่า “ที่หน้าตึกเจ้าท่ามีทหาร กรุงเทพฯ ที่ออกมาอยู่กับกรมการและพวกจีน หัวหน้าต้นแซ่มาคอยรับหลายสิบคน มีโปลิศแขกซิกข์ รับแถวหนึ่งด้วย” ทำให้ทราบได้ว่าชาวซิกข์เดินทางเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๔๓๓ สอดคล้องกับหลักฐานการรายงานจำนวนชาวอินเดียที่เข้ามารับราชการเป็นพลตระเวน ในประเทศไทย ซึ่งระบุว่า ใน พ.ศ.๒๔๔๑ มีชาวซิกข์รับจ้างเป็นกองตระเวนในประเทศไทยจำนวน ๒๘ คน

อนึ่ง ตามหลักฐานของสมาคมศรีครุสิงห์สภาได้บันทึกการตั้งถิ่นฐานของชาวซิกข์คนแรกในดินแดนไทยไว้ว่าเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ประกอบอาชีพค้าขายผ้าแพรพรรณในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ชักชวนญาติมิตรเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยในประเทศไทยอย่างถาวรเพิ่มมากขึ้น ในเวลาต่อมาได้เปิดร้านแห่งแรกขึ้นที่บริเวณบ้านหม้อ เรียกว่า “ร้านแขก”เมื่อชาวซิกข์เข้ามา

ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยมีลูกหลานถือกำเนิดขนบนแผ่นดินไทยเป็นชาวไทยถือสัญชาติไทย แต่ทว่ายังคงนับถือศาสนาซิกข์ตามบรรพบุรุษจึงเรียกว่า ชาวไทยซิกข์ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ชาวไทยซิกข์ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารตลอดมา ทำให้ครอบครัวชาวไทยซิกข์ได้รับความสงบสุขร่มเย็นพร้อมมูล ทั้งในการทำมาหาเลี้ยงชีพตลอดทั้งได้ประกอบศาสนกิจตามความเชื่อในหลักธรรมแห่งศาสนาของตนอย่างเสรีธรรมแห่งศาสนาของตนอย่างเสรี

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

ศาสนาซิกข์เผยแผ่เข้าสู่ดินแดนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยชาวชิกข์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ดังพบการกล่าวถึงชาวซิกข์ครั้งแรกในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบกทางเรือรอบแหลมมลายู ร.ศ.๑๐๙ ซึ่งทรงบันทึกไว้ขณะเสด็จประพาสเมืองภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ ว่าทรงพบตำรวจแขกซิกข์มาร่วมรับเสด็จด้วย ดังความในพระราชหัตถเลขาฯ ว่า “ที่หน้าตึกเจ้าท่ามีทหาร กรุงเทพฯ ที่ออกมาอยู่กับกรมการและพวกจีน หัวหน้าต้นแซ่มาคอยรับหลายสิบคน มีโปลิศแขกซิกข์ รับแถวหนึ่งด้วย” ทำให้ทราบได้ว่าชาวซิกข์เดินทางเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๔๓๓ สอดคล้องกับหลักฐานการรายงานจำนวนชาวอินเดียที่เข้ามารับราชการเป็นพลตระเวน ในประเทศไทย ซึ่งระบุว่า ใน พ.ศ.๒๔๔๑ มีชาวซิกข์รับจ้างเป็นกองตระเวนในประเทศไทยจำนวน ๒๘ คน

อนึ่ง ตามหลักฐานของสมาคมศรีครุสิงห์สภาได้บันทึกการตั้งถิ่นฐานของชาวซิกข์คนแรกในดินแดนไทยไว้ว่าเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ประกอบอาชีพค้าขายผ้าแพรพรรณในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ชักชวนญาติมิตรเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยในประเทศไทยอย่างถาวรเพิ่มมากขึ้น ในเวลาต่อมาได้เปิดร้านแห่งแรกขึ้นที่บริเวณบ้านหม้อ เรียกว่า “ร้านแขก”เมื่อชาวซิกข์เข้ามา

ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยมีลูกหลานถือกำเนิดขนบนแผ่นดินไทยเป็นชาวไทยถือสัญชาติไทย แต่ทว่ายังคงนับถือศาสนาซิกข์ตามบรรพบุรุษจึงเรียกว่า ชาวไทยซิกข์ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ชาวไทยซิกข์ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารตลอดมา ทำให้ครอบครัวชาวไทยซิกข์ได้รับความสงบสุขร่มเย็นพร้อมมูล ทั้งในการทำมาหาเลี้ยงชีพตลอดทั้งได้ประกอบศาสนกิจตามความเชื่อในหลักธรรมแห่งศาสนาของตนอย่างเสรีธรรมแห่งศาสนาของตนอย่างเสรี

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล