ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เริ่มแรกคือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองเกาะ มะละกา ชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาประกอบกิจการต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดี กับชาวโปรตุเกส คณะมิชชันนารีมายังสยามในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ - ๒๑๑๐ คณะนักบวชที่ตอบรับและเดินทางเข้ามายังสยามประเทศรุ่นแรก พ.ศ.๒๑๑๐ ได้แก่ คณะนักบวชโดมินิกันโดยที่บาทหลวงเฟอร์นันโด เอด ซังตา มารีอา อธิการเจ้าคณะแห่งเมืองมะละกา ได้ส่งบาทหลวงเยโรมินา ดา ครู้ส และบาทหลวงเซบาสติดอ โด กันโต มาจากมะละกานั้นได้รับ พระราชทานบ้านพักและเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา ถือเป็นครั้งแรกของการเผยแผ่คริสต์ศาสนาอย่างเป็นทางการในกรุงสยาม

คณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่เข้ามารุ่นแรก คือ ชาวโปรตุเกส และสเปนมากกว่าชาติอื่นๆ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงวาติกันได้ตั้งสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ เนื่องจากแต่เดิมอาศัยพระราชอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสและสเปนที่บัญชาให้ออกไปค้นหาดินแดนใหม่และถือโอกาสนำเอาคำสอนศาสนาคริสต์ไปเผยแผ่ด้วย ซึ่งต่อมามีความขัดแย้งในแนวทางปฏิบัติที่ต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของโปรตุเกสและสเปน จึงเป็นเหตุให้ศาสนจักรโดยพระสันตะปาปาต้องหาทางเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของสาสนาจักรเอง ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักอยุธยากับสำนักวาติกันเริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๒๑๒ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผ่านพระสังฆราช หรือบิซ็อปปัลลือชาวฝรั่งเศสที่มาปฏิบัติภารกิจเผยแผ่ศาสนา เข้าเฝ้าฯ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๐๓ ต่อมา พ.ศ. ๒๒๒๒ สมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ มีพระสมณสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผ่านพระสังฆราชปัลลือ เช่นเดิมก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายใน พ.ศ.๒๒๒๕ ต่อมา พ.ศ.๒๒๓๑ คณะทูตสยามมีบาทหลวง กีย์ เดอ ตาชารด์ ซึ่งเป็นทูตพิเศษของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ ได้ถวาย พระราชสาสน์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพร้อมเครื่องราชบรรณาการ 
ศาสนคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการแห่งพระศาสนาตั้งมั่นเรื่อยมาตราบกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย

สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวกันว่ามีคริสต์ศาสนิกชนในกรุงเทพฯ ราว ๓,๐๐๐ คน และในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๓๗๗ ชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากถูกกวาดต้อนมาจากสงคราม ระหว่างสยามกับญวน “อานามสยามยุทธ” ได้ตั้งรกรากบริเวณถนนสามเสน กรุงเทพฯ เรียกกันว่า “บ้านญวน” ในปัจจุบัน ได้สร้างโบสถ์เซนต์ ฟรังซิส ซาเวียร์ ใน พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชสาสน์ไปถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ โดยมอบให้พระสังฆราชปัลเลอกัว เป็นผู้นำไปถวาย และสันตะปาปา ปีอุส ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาสน์ตอบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ.๒๔๒๔ พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้มอบหมายให้บาทหลวงยวง บัปติสต์โปรตม และบาทหลวง เซเวียร์ เกโก จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเดินทางไปประกาศศาสนาในภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการก่อตั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในภาคอีสานเป็นครั้งแรก

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ชุดแรกเริ่มเข้ามา ทำงานเผยแผ่ศาสนาเช่นกัน คือ ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส ฟริดริค กุตสลาฟ เป็นนายแพทย์สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับ ศาสนาจารย์ เจคอบ ทอมลิน สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๗๑ มิชชันนารีคนสำคัญเป็นที่รู้จักกว้างขวางและมีบทบาทในการพัฒนาความรู้หลายด้านของโลกตะวันตกในสังคมไทย ได้แก่ ศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ ที่ชาวสยามรู้จักในนามหมอปลัดเล ได้สร้างคุณูปการอย่างยิ่งแก่ชาวสยาม อาทิ การผ่าตัด การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การพัฒนาด้านการพิมพ์ภาษาไทย เป็นต้น หมอบรัดเลย์สังกัดคณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเลแห่งอเมริกา (The American Board of Commissioners for Foreign Missions (ABCFM) เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.๒๓๗๗ คณะมิชชันนารีโปรเตสแตนท์ที่เข้ามาปฏิบัติงานอย่างมีบทบาทสำคัญในช่วงแรก คือ คณะอเมริกันแบ๊ปติสต์ เข้ามายังสยามใน พ.ศ.๒๓๗๖ ศาสนาจารย์ วิลเลียม ดีน แห่งคณะ ดังกล่าวได้ก่อตั้งคริสตจักรของชาวจีนแห่งแรก (ที่เชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกในเอเชียด้วย) ชื่อคริสตจักร จิงกวง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคริสตจักรไมตรีจิต) เพื่อบุกเบิกการเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศจีน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.2380

คณะอเมริกันเพรสไบเทเรียน (American Presbyterian) เข้ามายังกรุงเทพฯในช่วง พ.ศ.๒๓๙๐ ตั้งคริสตจักรขึ้น ในวันที่่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๙๒ คณะมิชชันนารี ๕ คนประกอบด้วย ศาสนาจารย์ สตีเฟน แมตตูน และภรรยา ศาสนาจารย์ สตีเฟน บุช และภรรยา และศาสนาจารย์ ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ได้ร่วมกันก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบเทเรียนที่ ๑ กรุงเทพฯ ที่บ้านพักบริเวณกุฎีจีน (หลังวัดอรุณราชวราราม) ในเวลาต่อมามีคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ได้ขยายตัวออกไปในหัวเมืองอีกหลายแห่ง เช่น เพชรบุรี พ.ศ.๒๔๐๔ เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๐ ลำปาง พ.ศ.๒๔๒๓ เชียงราย พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้น

การดำเนินกิจการต่างๆ ของคณะบาทหลวงและมิชชันนารีในการเผยแผ่ศาสนา สืบเนื่องต่อกันมายาวนาน นอกจากจะเป็นการขยายศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่ดีในสังคมไทยหลายด้าน อาทิ ด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ในหลายพื้นที่ อันเป็นผลดีต่อสังคมไทยตลอดมา

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เริ่มแรกคือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองเกาะ มะละกา ชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาประกอบกิจการต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดี กับชาวโปรตุเกส คณะมิชชันนารีมายังสยามในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ - ๒๑๑๐ คณะนักบวชที่ตอบรับและเดินทางเข้ามายังสยามประเทศรุ่นแรก พ.ศ.๒๑๑๐ ได้แก่ คณะนักบวชโดมินิกันโดยที่บาทหลวงเฟอร์นันโด เอด ซังตา มารีอา อธิการเจ้าคณะแห่งเมืองมะละกา ได้ส่งบาทหลวงเยโรมินา ดา ครู้ส และบาทหลวงเซบาสติดอ โด กันโต มาจากมะละกานั้นได้รับ พระราชทานบ้านพักและเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา ถือเป็นครั้งแรกของการเผยแผ่คริสต์ศาสนาอย่างเป็นทางการในกรุงสยาม

คณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่เข้ามารุ่นแรก คือ ชาวโปรตุเกส และสเปนมากกว่าชาติอื่นๆ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงวาติกันได้ตั้งสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ เนื่องจากแต่เดิมอาศัยพระราชอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสและสเปนที่บัญชาให้ออกไปค้นหาดินแดนใหม่และถือโอกาสนำเอาคำสอนศาสนาคริสต์ไปเผยแผ่ด้วย ซึ่งต่อมามีความขัดแย้งในแนวทางปฏิบัติที่ต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของโปรตุเกสและสเปน จึงเป็นเหตุให้ศาสนจักรโดยพระสันตะปาปาต้องหาทางเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของสาสนาจักรเอง ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักอยุธยากับสำนักวาติกันเริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๒๑๒ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผ่านพระสังฆราช หรือบิซ็อปปัลลือชาวฝรั่งเศสที่มาปฏิบัติภารกิจเผยแผ่ศาสนา เข้าเฝ้าฯ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๐๓ ต่อมา พ.ศ. ๒๒๒๒ สมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ มีพระสมณสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผ่านพระสังฆราชปัลลือ เช่นเดิมก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายใน พ.ศ.๒๒๒๕ ต่อมา พ.ศ.๒๒๓๑ คณะทูตสยามมีบาทหลวง กีย์ เดอ ตาชารด์ ซึ่งเป็นทูตพิเศษของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ ได้ถวาย พระราชสาสน์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพร้อมเครื่องราชบรรณาการ 
ศาสนคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการแห่งพระศาสนาตั้งมั่นเรื่อยมาตราบกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย

สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวกันว่ามีคริสต์ศาสนิกชนในกรุงเทพฯ ราว ๓,๐๐๐ คน และในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๓๗๗ ชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากถูกกวาดต้อนมาจากสงคราม ระหว่างสยามกับญวน “อานามสยามยุทธ” ได้ตั้งรกรากบริเวณถนนสามเสน กรุงเทพฯ เรียกกันว่า “บ้านญวน” ในปัจจุบัน ได้สร้างโบสถ์เซนต์ ฟรังซิส ซาเวียร์ ใน พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชสาสน์ไปถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ โดยมอบให้พระสังฆราชปัลเลอกัว เป็นผู้นำไปถวาย และสันตะปาปา ปีอุส ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาสน์ตอบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ.๒๔๒๔ พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้มอบหมายให้บาทหลวงยวง บัปติสต์โปรตม และบาทหลวง เซเวียร์ เกโก จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเดินทางไปประกาศศาสนาในภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการก่อตั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในภาคอีสานเป็นครั้งแรก

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ชุดแรกเริ่มเข้ามา ทำงานเผยแผ่ศาสนาเช่นกัน คือ ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส ฟริดริค กุตสลาฟ เป็นนายแพทย์สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับ ศาสนาจารย์ เจคอบ ทอมลิน สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๗๑ มิชชันนารีคนสำคัญเป็นที่รู้จักกว้างขวางและมีบทบาทในการพัฒนาความรู้หลายด้านของโลกตะวันตกในสังคมไทย ได้แก่ ศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ ที่ชาวสยามรู้จักในนามหมอปลัดเล ได้สร้างคุณูปการอย่างยิ่งแก่ชาวสยาม อาทิ การผ่าตัด การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การพัฒนาด้านการพิมพ์ภาษาไทย เป็นต้น หมอบรัดเลย์สังกัดคณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเลแห่งอเมริกา (The American Board of Commissioners for Foreign Missions (ABCFM) เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.๒๓๗๗ คณะมิชชันนารีโปรเตสแตนท์ที่เข้ามาปฏิบัติงานอย่างมีบทบาทสำคัญในช่วงแรก คือ คณะอเมริกันแบ๊ปติสต์ เข้ามายังสยามใน พ.ศ.๒๓๗๖ ศาสนาจารย์ วิลเลียม ดีน แห่งคณะ ดังกล่าวได้ก่อตั้งคริสตจักรของชาวจีนแห่งแรก (ที่เชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกในเอเชียด้วย) ชื่อคริสตจักร จิงกวง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคริสตจักรไมตรีจิต) เพื่อบุกเบิกการเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศจีน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.2380

คณะอเมริกันเพรสไบเทเรียน (American Presbyterian) เข้ามายังกรุงเทพฯในช่วง พ.ศ.๒๓๙๐ ตั้งคริสตจักรขึ้น ในวันที่่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๙๒ คณะมิชชันนารี ๕ คนประกอบด้วย ศาสนาจารย์ สตีเฟน แมตตูน และภรรยา ศาสนาจารย์ สตีเฟน บุช และภรรยา และศาสนาจารย์ ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ได้ร่วมกันก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบเทเรียนที่ ๑ กรุงเทพฯ ที่บ้านพักบริเวณกุฎีจีน (หลังวัดอรุณราชวราราม) ในเวลาต่อมามีคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ได้ขยายตัวออกไปในหัวเมืองอีกหลายแห่ง เช่น เพชรบุรี พ.ศ.๒๔๐๔ เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๐ ลำปาง พ.ศ.๒๔๒๓ เชียงราย พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้น

การดำเนินกิจการต่างๆ ของคณะบาทหลวงและมิชชันนารีในการเผยแผ่ศาสนา สืบเนื่องต่อกันมายาวนาน นอกจากจะเป็นการขยายศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่ดีในสังคมไทยหลายด้าน อาทิ ด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ในหลายพื้นที่ อันเป็นผลดีต่อสังคมไทยตลอดมา