แหล่งโบราณสถานเป็นร่องรอยความเจริญของบรรพชนในอดีต ประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ได้แก่โบราณวัตถุ และสิ่งเคารพสักการะ ดังได้ปรากฏความเจริญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู อันแสดงถึงวัฒนธรรม ศรัทธา ความเชื่อในแผ่นดินไทยที่มีมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงเมืองสุวรรณภูมิที่มีอายุยาวนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี

พื้นที่ราบระหว่างภูเขาในภาคใต้และอาณาบริเวณอื่นๆ มีกลมชมชนโบราณนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู หลายกลมกระจายเป็นบริเวณกว้างขวาง บ่งบอกวัฒนธรรมอินเดียตอนใต้แพร่เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยด้วยเส้นทางการค้าทางเรือหลายเส้นทาง เมื่อระยะเวลาระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๔ ปรากฏหลักฐานประติมากรรมเก่าที่สุด ในลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอ
สิชล ท่าศาลา ร่อนพิบูลย์ และอำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเทวสถานเขาคา เรียกว่า วิมานแห่งพระศิวะมหาเทพ หรือ ไศวภูมิมณฑล เป็นการจำลองจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ (ไกรลาส) ที่สถิตของพระศิวะ พระผู้เป็นเจ้ายงใหญ่พระองค์ หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

นอกจากดินแดนภาคใต้เทวสถานพราหมณ์ –ฮินดู และประติมากรรมรูปเคารพ ยังปรากฏอยู่ที่ผืนแผ่นดินไทย ภาคตะวันออกที่จังหวัดปราจีนบุรี หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ภาคตะวันตก ที่กาญจนบุรี และภาคเหนือ ตอนล่าง ที่จังหวัดสุโขทัย ชาวไทยตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.๑๘๐๐

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเจริญคู่อยู่กับพระพุทธศาสนาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะแพร่เข้ามาอีกระลอกก็ตาม คติความเชื่อศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีอิทธิพลมากขึ้นในการปกครองของชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ยึดถือว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทวราชการพระราชพิธีและพิธีกรรมทั้งปวงเพื่อความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ จึงข้องอยู่ในธรรมเนียมจารีตของศาสนาพราหมณ์–ฮินดูในลัทธิไวษณพ ซึ่งนับถือพระนารายณ์เป็นเจ้า ดังนั้น สถานะของพระมหากษัตริย์จึงประดุจพระนารายณ์อวตาร สืบเนื่องต่อถึงสมัยกรุงธนบุรี และการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงสร้างบ้านสร้างเมืองแล้วเสร็จจึงสร้างบูชาพระผู้เป็นเจ้าสำหรับพระนคร

ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ใจกลางพระนคร เพื่อประกอบพิธีกรรมสำคัญของบ้านเมืองตามราชประเพณี อันจะนำความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในพระราชอาณาจักร ดังปรากฏรูปเคารพ คือ พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาตาม ยุคสมัยที่กล่าวมาเป็นศิลาสำริดในศิลปกรรมหลายสมัย ลักษณะที่แสดงพลานุภาพ สง่างาม แฝงไว้ด้วยศรัทธาความเชื่อที่มั่นคง ได้แก่ ศิวลึงค์ พระปรเมศวร์ พระพรหมธาดา พระนารายณ์ พระเทวกรรม พระพิฆเนศวร พระอุมาเทวี พระลักษมี เป็นอาทิ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทยที่ปรากฏถึงการเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู จะเห็นได้จากชื่อสถานที่ เช่น อโยธยา ลพบุรี ทวารวดีฯลฯ ในวรรณคดี ได้แก่ รามเกียรติ์ อนิรุทธิ์คำฉันท์ พาลีสอนน้อง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ แม้ในเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง โดยเฉพาะการพระราชพิธีที่ประกอบขึ้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และความสวัสดิ์มงคลของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมปวายตรีปวาย เป็นต้น

ปัจจุบันความสำคัญของเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งของชาติบ้านเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมบนผืนแผ่นดินไทย คณะพราหมณ์ยังคงนำการสาธยายพระเวทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าอำนวยความสถาพรมั่งคั่งไพบูลย์มาสู่ประเทศและประชาชน และทำหน้าที่ถ่ายทอดศรัทธาในธรรมอันเป็นสายใยวัฒนธรรม ประเพณีเพื่อธำรงรักษาความศักดิ์สิทธิ์และสิริมงคลแก่บ้านเมืองอย่างต่อเนื่องสืบมา

แหล่งโบราณสถานเป็นร่องรอยความเจริญของบรรพชนในอดีต ประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ได้แก่โบราณวัตถุ และสิ่งเคารพสักการะ ดังได้ปรากฏความเจริญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู อันแสดงถึงวัฒนธรรม ศรัทธา ความเชื่อในแผ่นดินไทยที่มีมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงเมืองสุวรรณภูมิที่มีอายุยาวนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี

พื้นที่ราบระหว่างภูเขาในภาคใต้และอาณาบริเวณอื่นๆ มีกลมชมชนโบราณนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู หลายกลมกระจายเป็นบริเวณกว้างขวาง บ่งบอกวัฒนธรรมอินเดียตอนใต้แพร่เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยด้วยเส้นทางการค้าทางเรือหลายเส้นทาง เมื่อระยะเวลาระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๔ ปรากฏหลักฐานประติมากรรมเก่าที่สุด ในลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอ
สิชล ท่าศาลา ร่อนพิบูลย์ และอำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเทวสถานเขาคา เรียกว่า วิมานแห่งพระศิวะมหาเทพ หรือ ไศวภูมิมณฑล เป็นการจำลองจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ (ไกรลาส) ที่สถิตของพระศิวะ พระผู้เป็นเจ้ายงใหญ่พระองค์ หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

นอกจากดินแดนภาคใต้เทวสถานพราหมณ์ –ฮินดู และประติมากรรมรูปเคารพ ยังปรากฏอยู่ที่ผืนแผ่นดินไทย ภาคตะวันออกที่จังหวัดปราจีนบุรี หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ภาคตะวันตก ที่กาญจนบุรี และภาคเหนือ ตอนล่าง ที่จังหวัดสุโขทัย ชาวไทยตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.๑๘๐๐

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเจริญคู่อยู่กับพระพุทธศาสนาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะแพร่เข้ามาอีกระลอกก็ตาม คติความเชื่อศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีอิทธิพลมากขึ้นในการปกครองของชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ยึดถือว่าพระมหากษัตริย์คือสมมุติเทวราชการพระราชพิธีและพิธีกรรมทั้งปวงเพื่อความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ จึงข้องอยู่ในธรรมเนียมจารีตของศาสนาพราหมณ์–ฮินดูในลัทธิไวษณพ ซึ่งนับถือพระนารายณ์เป็นเจ้า ดังนั้น สถานะของพระมหากษัตริย์จึงประดุจพระนารายณ์อวตาร สืบเนื่องต่อถึงสมัยกรุงธนบุรี และการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงสร้างบ้านสร้างเมืองแล้วเสร็จจึงสร้างบูชาพระผู้เป็นเจ้าสำหรับพระนคร

ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ใจกลางพระนคร เพื่อประกอบพิธีกรรมสำคัญของบ้านเมืองตามราชประเพณี อันจะนำความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในพระราชอาณาจักร ดังปรากฏรูปเคารพ คือ พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาตาม ยุคสมัยที่กล่าวมาเป็นศิลาสำริดในศิลปกรรมหลายสมัย ลักษณะที่แสดงพลานุภาพ สง่างาม แฝงไว้ด้วยศรัทธาความเชื่อที่มั่นคง ได้แก่ ศิวลึงค์ พระปรเมศวร์ พระพรหมธาดา พระนารายณ์ พระเทวกรรม พระพิฆเนศวร พระอุมาเทวี พระลักษมี เป็นอาทิ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทยที่ปรากฏถึงการเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู จะเห็นได้จากชื่อสถานที่ เช่น อโยธยา ลพบุรี ทวารวดีฯลฯ ในวรรณคดี ได้แก่ รามเกียรติ์ อนิรุทธิ์คำฉันท์ พาลีสอนน้อง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ แม้ในเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง โดยเฉพาะการพระราชพิธีที่ประกอบขึ้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และความสวัสดิ์มงคลของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมปวายตรีปวาย เป็นต้น

ปัจจุบันความสำคัญของเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งของชาติบ้านเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมบนผืนแผ่นดินไทย คณะพราหมณ์ยังคงนำการสาธยายพระเวทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าอำนวยความสถาพรมั่งคั่งไพบูลย์มาสู่ประเทศและประชาชน และทำหน้าที่ถ่ายทอดศรัทธาในธรรมอันเป็นสายใยวัฒนธรรม ประเพณีเพื่อธำรงรักษาความศักดิ์สิทธิ์และสิริมงคลแก่บ้านเมืองอย่างต่อเนื่องสืบมา