ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนามาตงแต่โบราณกาล ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๘ - ๙ และประดิษฐานอย่างมั่นคงเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ทั้งฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน

อย่างไรก็ดี ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาระบุว่า เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๓ หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้ส่งพระโสณะและพระอุตตระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อกันว่าคือดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณประเทศไทยและประเทศพม่าในปัจจุบัน

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑ เป็นต้นมา ผู้คนในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มคุ้นเคยกับวัฒนธรรมอินเดีย เช่น การจัด ระเบียบสังคมแบบอินเดีย ระบบการปกครอง การใช้ระบบเหรียญ กษาปณ์ การใช้ตราประทับ เทคนิคการใช้อิฐและหินในการก่อสร้างศาสนสถาน รูปแบบตัวอักษร และศาสนา ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนา จนกระทั่งชุมชนในสมัยนี้พัฒนาการเป็นบ้านเมืองขึ้นมา ซึ่งเรียกกันว่า “ทวารวดี” เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖

พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นศาสนาหลักของชาวทวารวดี ดังพบหลักฐานด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ได้แก่ ประติมากรรมรูปเคารพ และ จารึกคาถา “เย ธมฺมา” ภาษาบาลี ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งที่แต่งขึ้นในอินเดียใต้และลังกา

อนึ่ง ในการเขียนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีเผยแผ่มาจากแหล่งต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำกฤษณา - โคธาวารี (อินเดียภาคใต้) อินเดียภาคตะวันตก อินเดียภาคเหนือ อินเดียภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และลังกา นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีบทบาทในสังคมของชาวทวารวดีด้วยเช่นกัน แต่ไม่เด่นชัดหรือกว้างขวางเท่ากับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ภาพปูนปั้นพระโพธิสัตว์ ณ ศาสนสถานเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ภาพสลักบนผนังถ้ำถมอรัตน์ใกล้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ส่วนบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘ พบหลักฐานว่า ผู้คนในวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ศรีวิชัย” นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ดังได้พบศาสนสถาน ศาสนวัตถุเนื่องในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คาบสมุทรภาคใต้ ลงไปถึงหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เช่น ประติมากรรมพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ พระพุทธรูปนาคปรก และพระพิมพ์ดินดิบ เป็นต้น

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากที่ราบลุ่มภาคกลางได้เผยแพร่ไปยังแคว้นหริภุญชัย จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนาได้ประดิษฐานอย่างมั่นคง และเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่ออาณาจักรล้านนาได้สถาปนาขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งได้รับพระพุทธศาสนาจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากสุโขทัยเมืองพัน (มอญหรือเมืองมอญ) และลังกา

อาจกล่าวได้ว่า ในดินแดนประเทศไทยนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาตามลำดับ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงเป็นศาสนาหลักของบ้านเมืองสืบเนื่องมา ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ โดยทรงนิมนต์พระมหาเถรสังฆราช จากเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับพระภิกษุในคณะจำนวนมากมายังสุโขทัย ต่อมาภายหลัง พระอโนมทัสสี และพระสุมนเถระนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เก่า หรือรามัญวงศ์จากนครพันมาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย และในช่วงที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยา พระญาณคัมภีร์เถระนำพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ใหม่จากลังกามายังอยุธยาและพิษณุโลก

พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังแบ่งเป็นฝ่ายคามวาสี คือ พระที่อยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง และฝ่ายอรัญวาสีหรือพระป่า นอกจากนี้ ยังมีพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทรามัญนิกายซึ่งเป็นพระมอญ และพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ทั้งจีนนิกาย และอนัมนิกายด้วย

ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายขึ้น คณะสงฆ์ที่มีอยู่เดิม เรียกว่า ฝ่ายมหานิกาย ส่วนศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูนั้น ยังคงมีบทบาทสำคัญและเจริญรุ่งเรืองควบคู่มากับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในราชสำนักที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีที่สำคัญของบ้านเมือง พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของชาวไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ในเวลาเดียวกันทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกศาสนาต่างๆ ในพระราชอาณาเขตให้เจริญวัฒนาเป็นศูนย์รวมใจและเป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎร์มาทุกยุคทุกสมัยตราบปัจจุบัน

ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนามาตงแต่โบราณกาล ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๘ - ๙ และประดิษฐานอย่างมั่นคงเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ทั้งฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน

อย่างไรก็ดี ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาระบุว่า เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๓ หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้ส่งพระโสณะและพระอุตตระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อกันว่าคือดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณประเทศไทยและประเทศพม่าในปัจจุบัน

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑ เป็นต้นมา ผู้คนในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มคุ้นเคยกับวัฒนธรรมอินเดีย เช่น การจัด ระเบียบสังคมแบบอินเดีย ระบบการปกครอง การใช้ระบบเหรียญ กษาปณ์ การใช้ตราประทับ เทคนิคการใช้อิฐและหินในการก่อสร้างศาสนสถาน รูปแบบตัวอักษร และศาสนา ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนา จนกระทั่งชุมชนในสมัยนี้พัฒนาการเป็นบ้านเมืองขึ้นมา ซึ่งเรียกกันว่า “ทวารวดี” เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖

พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นศาสนาหลักของชาวทวารวดี ดังพบหลักฐานด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ได้แก่ ประติมากรรมรูปเคารพ และ จารึกคาถา “เย ธมฺมา” ภาษาบาลี ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งที่แต่งขึ้นในอินเดียใต้และลังกา

อนึ่ง ในการเขียนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีเผยแผ่มาจากแหล่งต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำกฤษณา - โคธาวารี (อินเดียภาคใต้) อินเดียภาคตะวันตก อินเดียภาคเหนือ อินเดียภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และลังกา นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีบทบาทในสังคมของชาวทวารวดีด้วยเช่นกัน แต่ไม่เด่นชัดหรือกว้างขวางเท่ากับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ภาพปูนปั้นพระโพธิสัตว์ ณ ศาสนสถานเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ภาพสลักบนผนังถ้ำถมอรัตน์ใกล้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ส่วนบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘ พบหลักฐานว่า ผู้คนในวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ศรีวิชัย” นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ดังได้พบศาสนสถาน ศาสนวัตถุเนื่องในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คาบสมุทรภาคใต้ ลงไปถึงหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เช่น ประติมากรรมพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ พระพุทธรูปนาคปรก และพระพิมพ์ดินดิบ เป็นต้น

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากที่ราบลุ่มภาคกลางได้เผยแพร่ไปยังแคว้นหริภุญชัย จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนาได้ประดิษฐานอย่างมั่นคง และเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่ออาณาจักรล้านนาได้สถาปนาขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งได้รับพระพุทธศาสนาจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากสุโขทัยเมืองพัน (มอญหรือเมืองมอญ) และลังกา

อาจกล่าวได้ว่า ในดินแดนประเทศไทยนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาตามลำดับ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงเป็นศาสนาหลักของบ้านเมืองสืบเนื่องมา ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ โดยทรงนิมนต์พระมหาเถรสังฆราช จากเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับพระภิกษุในคณะจำนวนมากมายังสุโขทัย ต่อมาภายหลัง พระอโนมทัสสี และพระสุมนเถระนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เก่า หรือรามัญวงศ์จากนครพันมาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย และในช่วงที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยา พระญาณคัมภีร์เถระนำพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ใหม่จากลังกามายังอยุธยาและพิษณุโลก

พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังแบ่งเป็นฝ่ายคามวาสี คือ พระที่อยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง และฝ่ายอรัญวาสีหรือพระป่า นอกจากนี้ ยังมีพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทรามัญนิกายซึ่งเป็นพระมอญ และพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ทั้งจีนนิกาย และอนัมนิกายด้วย

ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายขึ้น คณะสงฆ์ที่มีอยู่เดิม เรียกว่า ฝ่ายมหานิกาย ส่วนศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูนั้น ยังคงมีบทบาทสำคัญและเจริญรุ่งเรืองควบคู่มากับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในราชสำนักที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีที่สำคัญของบ้านเมือง พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของชาวไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ในเวลาเดียวกันทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกศาสนาต่างๆ ในพระราชอาณาเขตให้เจริญวัฒนาเป็นศูนย์รวมใจและเป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎร์มาทุกยุคทุกสมัยตราบปัจจุบัน