ศาสนาอิสลาม ถือกำเนิดในดินแดนตะวันออกกลาง บริเวณคาบสมุทรอาหรับ คือ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบียประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๗ หลังจากทศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้รับวิวรณ์ (Revelation) จากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้เผยแผ่ศาสนาอิสลามจนแพร่หลายทั่วคาบสมุทรอาหรับ และเมื่อท่านเสียชีวิต ศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวางทั่วโลก

“อิสลาม” เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เมื่อนำคำว่าอิสลามมาเป็นชื่อของศาสนาจึงมีความหมายว่า เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม การจำนนต่อพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่ประทานลงมาจากชั้นฟ้า ด้วยความพอพระทัยของอัลลอฮ์ทจะมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงส่งท่านศาสดามุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์มานำทางมนุษย์และญิน เพื่อให้ความเอกะแด่พระองค์ในการเป็นพระผู้อภิบาล และการเป็นพระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนวนต่อพระประสงค์ของพระองค์ด้วยความพอใจ และสมัครใจปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์และออกห่างไกลจากคำสั่งห้ามของพระองค์ และพิพากษาความผิดตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ พร้อมทั้งยึดมั่นในจริยธรรมอันสูงส่งแห่งอิสลามโดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม ๕ ประการ และหลักศรัทธาอีก ๖ ประการ เพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งการเกื้อกูลกันในสังคม

“มุสลิม” เป็นคำภาษาอาหรับเช่นกัน หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม อิสลามเป็นศาสนาที่กำหนดมาจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกมีพระนามว่า อัลลอฮ์ ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มต้นตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกในโลกนี้ คือ อาดัม และในทุกยุคทุกสมัยอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้รู้จักพระเจ้าที่แท้จริง และปฏิบัติตามข้อบัญญัติของพระองค์ตามที่ปรากฏในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน บรรดาศาสนาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัดนั้นยังมิได้เรียกชื่อว่าเป็นศาสนาอิสลาม จนกระทั้งถึงยุคของศาสดามุฮัมมัด ท่านได้เผยแพร่ข้อบัญญัติจากอัลลอฮ์โดยใช้ชื่อว่าอิสลาม หรือศาสนาอิสลาม ดังนั้น ผู้คนทั้งหลายจึงมักเข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อ ๑,๔๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา

อิสลามเป็นคำสอนที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกกำหนดมาเพื่อเฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าศาสดามุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับ จึงเริ่มเผยแพร่จากถิ่นที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก

ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒ เส้นทางหลัก คือ ทางบก โดยเส้นทางการค้าของกองคาราวานอันต่อจากเส้นทางสายไหม (Silk Road) ผ่านจีน อินเดีย ทางทะเล จากเรือสินค้าของชาวมุสลิมสัญชาติต่างๆ เช่น อาหรับ เติร์ก เปอร์เซีย อินเดีย ที่เข้ามา ติดต่อค้าขายยังเมืองท่าสำคัญในคาบสมุทรมลายู คือบริเวณที่เป็นอินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน ปัจจุบันจนถึงตอนใต้ของประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณนี้จึงเป็นศูนย์กลาง ของอารยธรรมอิสลามและศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มจากในดินแดนแถบหมู่เกาะ และคาบสมุทรก่อนจะขยายเข้าสู่ภายในภาคพื้นทวีป

ในส่วนของดินแดนประเทศไทย สมัยสุโขทัย ศาสนาอิสลามได้แผ่เข้ามาในดินแดนแถบที่เป็นหัวเมืองประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งขยายพระราชอาณาเขตไปทางทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ หัวเมืองต่างๆ เหล่านี้นับตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปจนสุดภาคใต้เลยไปจนถึงมาเลเซีย ทั้งสิงคโปร์ สุมาตรา มะละกา และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (สุมาตรา-ชวา) เป็นหัวเมืองที่มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลามทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานถ้วยชามสังคโลก สินค้าสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น อินโดนีเซีย อิหร่านและประเทศในทวีปแอฟริกา หลักฐาน เหล่านแสดงว่า ได้มีการค้าขายระหว่างสุโขทัยกับมุสลิมมาช้านานและในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๓ ระบุคำว่า “ปสาน” ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า “บาซาร์” หมายถึง ตลาดที่ตั้งประจำหรือถนนที่มีห้องเป็นร้านค้า แสดงว่าสมัยสุโขทัยมีชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลามได้เข้ามาค้าขายและตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณตลาดดังกล่าว

สมัยอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับเปอร์เซีย มีชาวเปอร์เซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายและรับราชการในราชสำนักและได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง เช่น เจ้าพระยารัตนราชเศรษฐี (เฉกอะหมัด) สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และมีลูกหลานสืบบทบาททางการเมืองการปกครองต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การค้นพบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญคือ เหรียญทองคำที่ทำขึ้นในแคว้นแคชเมียร์ค้นพบในกรุพระปรรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จารึกอักษรอาหรับ จึงเป็นสิ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาด้วย ทั้งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง มีหลักฐานการเรียกขานมุสลิมหลายชนชาติ เช่น อินเดีย อิหร่าน อาหรับ มาลายู อินโดนีเซีย ชนชาติจาม ปรากฏชุมชนมุสลิมในหลายชนชาติส่วนใหญ่อยู่นอกเกาะเมืองทางทิศใต้ ปัจจุบันชุมชนมุสลิมยังคงมีอยู่บริเวณใกล้วัตพุทไธศวรรย์ ที่ลุมพลี และบริเวณมัสยิดตะเกี่ย

ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีชาวมุสลิมเชื้อชาติต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ อาทิ มุสลิมดั้งเดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พ.ศ.๒๓๑๐ ได้อพยพลงมาตามลำย้ำเจ้าพระยาเกิดเป็นชุมชน เช่น ตลาดแก้ว ตลาดขวัญ บางอ้อ คลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ปากลัด และบริเวณชานเมือง เป็นต้น มุสลิมจากหัวเมืองมลายู และมุสลิมจากเขมร ที่เรียกว่า จาม มุสลิมในบังคับของต่างชาติ ซึ่งเข้ามาประกอบอาชีพและตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ชาวมุสลิม ยะวา (ชวา) และมุสลิมเชื้อสายอินเดีย มุสลิมที่เป็นชาวต่างชาติแต่เดิม ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ชาวมุสลิมเชื้อสายปาทาน (บังกลาเทศ) พม่า และชาวมุสลิมเชื้อสายจีนจากมณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) มาตั้งรกรากที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เป็นต้น

มุสลิมต่างๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมกับสังคมไทย เป็นมุสลิมที่มิได้แบ่งแยกเชื้อชาติ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมไทยในปัจจุบันมุสลิมได้ตั้งหลักแหล่งของตนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่
(1) ภาคใต้ หลายจังหวัด ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาแต่แรก ของการเผยแผ่ศาสนาอิสลามมายังดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
(2) ภาคกลาง บริเวณกรุงเทพฯ ชนในกระจายเป็นวงกว้างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ ชั้นนอกกระจายตามลำคลองสายหลัก ได้แก่ คลองแสนแสบ จากประตูน้ำเลย ไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เขตปริมณฑล ทางทิศเหนือ ได้แก่ ย่านปทุมธานี และย่านท่าอิฐ บางตลาด บางบัวทอง ไทรน้อย ในจังหวัดนนทบุรี เลยมาถึงบางเขน ทิศใต้ ได้แก่ ปากลัด พระประแดง ทุ่งครุ ทิศตะวันออก ได้แก่ บางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
(3) ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน กระจายอยู่เกือบ ๙ จังหวัดในภาคเหนือ โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีชาวมุสลิมมากที่สุด
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวมุสลิมหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งหลักแหล่งในภูมิภาคนี้ จึงมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ เช่น มุสลิมเชื้อสายปากีสถาน มุสลิมเชื้อสายมลายู และมุสลิม เชื้อสายบังกลาเทศ เป็นต้น
รวมความแล้วมุสลิมกลุ่มต่างๆ มีประวัติความเป็นมาและภูมิหลังที่แตกต่างกันทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา เช่น ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทางด้านการค้า และการประกอบอาชีพ เป็นต้น ปัจจุบันมีมุสลิมในประเทศไทยประมาณ ๘ – ๑๐ ล้านคน หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่งภาคใต้มีจำนวนมากที่สุด

ศาสนาอิสลาม ถือกำเนิดในดินแดนตะวันออกกลาง บริเวณคาบสมุทรอาหรับ คือ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบียประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๗ หลังจากทศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้รับวิวรณ์ (Revelation) จากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้เผยแผ่ศาสนาอิสลามจนแพร่หลายทั่วคาบสมุทรอาหรับ และเมื่อท่านเสียชีวิต ศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวางทั่วโลก

“อิสลาม” เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เมื่อนำคำว่าอิสลามมาเป็นชื่อของศาสนาจึงมีความหมายว่า เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม การจำนนต่อพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่ประทานลงมาจากชั้นฟ้า ด้วยความพอพระทัยของอัลลอฮ์ทจะมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงส่งท่านศาสดามุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์มานำทางมนุษย์และญิน เพื่อให้ความเอกะแด่พระองค์ในการเป็นพระผู้อภิบาล และการเป็นพระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนวนต่อพระประสงค์ของพระองค์ด้วยความพอใจ และสมัครใจปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์และออกห่างไกลจากคำสั่งห้ามของพระองค์ และพิพากษาความผิดตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ พร้อมทั้งยึดมั่นในจริยธรรมอันสูงส่งแห่งอิสลามโดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม ๕ ประการ และหลักศรัทธาอีก ๖ ประการ เพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งการเกื้อกูลกันในสังคม

“มุสลิม” เป็นคำภาษาอาหรับเช่นกัน หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม อิสลามเป็นศาสนาที่กำหนดมาจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกมีพระนามว่า อัลลอฮ์ ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มต้นตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกในโลกนี้ คือ อาดัม และในทุกยุคทุกสมัยอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้รู้จักพระเจ้าที่แท้จริง และปฏิบัติตามข้อบัญญัติของพระองค์ตามที่ปรากฏในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน บรรดาศาสนาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัดนั้นยังมิได้เรียกชื่อว่าเป็นศาสนาอิสลาม จนกระทั้งถึงยุคของศาสดามุฮัมมัด ท่านได้เผยแพร่ข้อบัญญัติจากอัลลอฮ์โดยใช้ชื่อว่าอิสลาม หรือศาสนาอิสลาม ดังนั้น ผู้คนทั้งหลายจึงมักเข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อ ๑,๔๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา

อิสลามเป็นคำสอนที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกกำหนดมาเพื่อเฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าศาสดามุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับ จึงเริ่มเผยแพร่จากถิ่นที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก

ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒ เส้นทางหลัก คือ ทางบก โดยเส้นทางการค้าของกองคาราวานอันต่อจากเส้นทางสายไหม (Silk Road) ผ่านจีน อินเดีย ทางทะเล จากเรือสินค้าของชาวมุสลิมสัญชาติต่างๆ เช่น อาหรับ เติร์ก เปอร์เซีย อินเดีย ที่เข้ามา ติดต่อค้าขายยังเมืองท่าสำคัญในคาบสมุทรมลายู คือบริเวณที่เป็นอินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน ปัจจุบันจนถึงตอนใต้ของประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณนี้จึงเป็นศูนย์กลาง ของอารยธรรมอิสลามและศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มจากในดินแดนแถบหมู่เกาะ และคาบสมุทรก่อนจะขยายเข้าสู่ภายในภาคพื้นทวีป

ในส่วนของดินแดนประเทศไทย สมัยสุโขทัย ศาสนาอิสลามได้แผ่เข้ามาในดินแดนแถบที่เป็นหัวเมืองประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งขยายพระราชอาณาเขตไปทางทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ หัวเมืองต่างๆ เหล่านี้นับตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปจนสุดภาคใต้เลยไปจนถึงมาเลเซีย ทั้งสิงคโปร์ สุมาตรา มะละกา และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (สุมาตรา-ชวา) เป็นหัวเมืองที่มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลามทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานถ้วยชามสังคโลก สินค้าสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น อินโดนีเซีย อิหร่านและประเทศในทวีปแอฟริกา หลักฐาน เหล่านแสดงว่า ได้มีการค้าขายระหว่างสุโขทัยกับมุสลิมมาช้านานและในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๓ ระบุคำว่า “ปสาน” ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า “บาซาร์” หมายถึง ตลาดที่ตั้งประจำหรือถนนที่มีห้องเป็นร้านค้า แสดงว่าสมัยสุโขทัยมีชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลามได้เข้ามาค้าขายและตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณตลาดดังกล่าว

สมัยอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับเปอร์เซีย มีชาวเปอร์เซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายและรับราชการในราชสำนักและได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง เช่น เจ้าพระยารัตนราชเศรษฐี (เฉกอะหมัด) สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และมีลูกหลานสืบบทบาททางการเมืองการปกครองต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การค้นพบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญคือ เหรียญทองคำที่ทำขึ้นในแคว้นแคชเมียร์ค้นพบในกรุพระปรรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จารึกอักษรอาหรับ จึงเป็นสิ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาด้วย ทั้งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง มีหลักฐานการเรียกขานมุสลิมหลายชนชาติ เช่น อินเดีย อิหร่าน อาหรับ มาลายู อินโดนีเซีย ชนชาติจาม ปรากฏชุมชนมุสลิมในหลายชนชาติส่วนใหญ่อยู่นอกเกาะเมืองทางทิศใต้ ปัจจุบันชุมชนมุสลิมยังคงมีอยู่บริเวณใกล้วัตพุทไธศวรรย์ ที่ลุมพลี และบริเวณมัสยิดตะเกี่ย

ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีชาวมุสลิมเชื้อชาติต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ อาทิ มุสลิมดั้งเดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พ.ศ.๒๓๑๐ ได้อพยพลงมาตามลำย้ำเจ้าพระยาเกิดเป็นชุมชน เช่น ตลาดแก้ว ตลาดขวัญ บางอ้อ คลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ปากลัด และบริเวณชานเมือง เป็นต้น มุสลิมจากหัวเมืองมลายู และมุสลิมจากเขมร ที่เรียกว่า จาม มุสลิมในบังคับของต่างชาติ ซึ่งเข้ามาประกอบอาชีพและตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ชาวมุสลิม ยะวา (ชวา) และมุสลิมเชื้อสายอินเดีย มุสลิมที่เป็นชาวต่างชาติแต่เดิม ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ชาวมุสลิมเชื้อสายปาทาน (บังกลาเทศ) พม่า และชาวมุสลิมเชื้อสายจีนจากมณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) มาตั้งรกรากที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เป็นต้น

มุสลิมต่างๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมกับสังคมไทย เป็นมุสลิมที่มิได้แบ่งแยกเชื้อชาติ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมไทยในปัจจุบันมุสลิมได้ตั้งหลักแหล่งของตนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่
(1) ภาคใต้ หลายจังหวัด ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาแต่แรก ของการเผยแผ่ศาสนาอิสลามมายังดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
(2) ภาคกลาง บริเวณกรุงเทพฯ ชนในกระจายเป็นวงกว้างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ ชั้นนอกกระจายตามลำคลองสายหลัก ได้แก่ คลองแสนแสบ จากประตูน้ำเลย ไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เขตปริมณฑล ทางทิศเหนือ ได้แก่ ย่านปทุมธานี และย่านท่าอิฐ บางตลาด บางบัวทอง ไทรน้อย ในจังหวัดนนทบุรี เลยมาถึงบางเขน ทิศใต้ ได้แก่ ปากลัด พระประแดง ทุ่งครุ ทิศตะวันออก ได้แก่ บางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
(3) ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน กระจายอยู่เกือบ ๙ จังหวัดในภาคเหนือ โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีชาวมุสลิมมากที่สุด
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวมุสลิมหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งหลักแหล่งในภูมิภาคนี้ จึงมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ เช่น มุสลิมเชื้อสายปากีสถาน มุสลิมเชื้อสายมลายู และมุสลิม เชื้อสายบังกลาเทศ เป็นต้น
รวมความแล้วมุสลิมกลุ่มต่างๆ มีประวัติความเป็นมาและภูมิหลังที่แตกต่างกันทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา เช่น ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทางด้านการค้า และการประกอบอาชีพ เป็นต้น ปัจจุบันมีมุสลิมในประเทศไทยประมาณ ๘ – ๑๐ ล้านคน หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่งภาคใต้มีจำนวนมากที่สุด