ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์ วรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีลักษณะแปลกไปกว่าพระประธานในพระอารามอื่นใดในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปยืนเพราะพระประธานส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปนั่ง
วัดเครือวัลย์ วรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมอญฝังใต้ เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ) พร้อมด้วยเจ้าจอมเครือวัลย์ในรัชกาลที่ ๓ ได้ปฏิสังขรณ์แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเครือวัลย์”
พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ปางห้ามพยาธิ มีพุทธลักษณะเหมือนพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปประทับยืนแสดงปางประทานอภัยที่วัดเครือวัลย์นี้มี พระสาวกยืนพนมมือ ทั้งซ้ายและขวาในสมัยรัตนโกสินทร์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากลักษณะเฉพาะของศิลปะในยุคนั้น คือ ไม่ทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ให้เท่ากัน และการครองจีวรห่มคลุม ไม่มีสังฆาฏิ ซึ่งอาจเป็นแนวคิดใหม่ๆ เช่นเดียวกับการสร้างพระประธานเป็นพระพุทธรูป ประทับยืน พระพุทธปฏิมาองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแล้วพระราชทานให้ อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 172)
 

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ทรงพุทธานุภาพเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพราะนามพระพุทธรูปที่ชาวจีนเรียกกันคือ ซำปอกง นั้น ตรงกับนามของวีรบุรุษที่ชาวจีนนับถือ คือ เจิ้งเหอ ซึ่งเป็นขันที และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงค์หมิง มีชื่อในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า หม่าซำป้อ หม่าเหอ ภาษาจีนกลางว่า หม่าซานปอ เป็นราชทูตที่ กล้าหาญมีความสามารถ ได้เดินทางมาย่านมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อ พ.ศ.๑๙๕๐ เพื่อแผ่เดชานุภาพของจักรพรรดิจีน เจิ้งเหอเดินทางมาพร้อมทหาร ๒๗,๘๐๐ คน ใช้เรือสำเภา ๖๒ ลำ เที่ยวเกลี้ยกล่อมนานาประเทศไว้ในอำนาจ มาถึงประเทศไทย ราว พ.ศ. ๑๙๕๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช เมื่อถึงแก่กรรมก็ยังเป็นที่นับถือของชาวจีนและยกย่องเรียกกันว่า ‘‘ซำปอกง” “ซำ” แปลว่า สาม “ปอ” แปลว่า ป้องกันรักษาแก้วประเสริฐหรือแก้ววิเศษ ซึ่งตรงกับความหมายของพระรัตนตรัย คือ แก้ว ๓ ประการ ส่วน “กง” เป็นคำยกย่องผู้ใหญ่ ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็ใช้แทนได้ทั้งกับผู้ที่เป็นวีรบุรุษ ผู้เป็นที่เคารพบูชา หรือพระพุทธรูป โดยเฉพาะ ซาวจีนนิยมมาเซ่นไหว้บูซาและหลั่งไหลมาร่วมงานเทศกาลซึ่งจัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง คือ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลวันเกิดชำปอกง หรืองานแห่หลวงพ่อโต ตรงกับวันที่ ๘ - ๑๐ เดือน ๓ ของจีน ซึ่งจะมีงานสมโภชมีขบวนแห่มังกรเชิดสิงโต และเทศกาลทิ้งกระจาด ตรงกับวันที่ ๒๗ - ๒๙ เดือน ๙ ของจีน กล่าวกันว่าสาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร เป็นเพราะความเข้าใจผิดโดยเริ่มจากชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งไต้นมัสการหลวงพ่อโต ที่วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า ‘ซำปออุดกง’ ซึ่งแปลว่าพระเจ้า ๓ พระองศ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ แต่ซาวจีนกลุ่มที่นับถือชำปอกง อ่านเห็นเป็น ‘ซำปอกง’ จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของชำปอกง
พระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทอง หน้าตัก กว้าง ๑๑.๗๕ เมตร สูง ๑๕.๔๕ เมตร จำลองแบบจากพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น
พระพุทธไตรรัตนนายก เดิมเรียกกันว่าหลวงพ่อโต หรือ พระโตในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายก เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลางได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่เดิมเพื่อสร้างวัดกัลยาณมิตรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พระราชทานพระราชทรัพย์ช่วย สร้างพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์ พระโต ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ปีเดียวกัน เพื่อพระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามถวายพระโตว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”
พระพุทธไตรรัตนนายกองค์นี้ สร้างโดยจำลองแบบพระพุทธไตรรัตนนายก ที่วัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่มีขนาดเล็กกว่า คงจะสืบเนื่องจากพระราชนิยมในการสร้างวัดให้มีมากเหมือนอย่างวัดในกรุงเก่า และพระพุทธรูปก็ให้มีเหมือน “หลวงพ่อโต” ที่วัดพนัญเชิง วรวิหาร และอาจมีมูลเหตุอีกประการคือ ซื่อของเจ้าพระยานิกรบดินทร์คือ “โต”
พ.ศ.๒๔๓๘ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) และพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (เปีย) ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ฐานปัทม์
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระสุนทรสมาจารย์ (พรหม) ปฏิสังขรณ์ปิดทององค์พระและฐาน และปีต่อมา ได้จัดให้มีการสมโภช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระอุณาโลม ซึ่งเป็นทองหนักประมาณ ๔๐ บาท แต่ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ถูกคนร้ายสักลอบแกะทองไป
พ.ศ. ๒๕๓๕ วัดได้ปฏิสังขรณ์ส่วนฐานโดยทำปูนปั้นลงรักปิดทองใหม่ทั้งหมด พระพุทธไตรรัตนนายกเป็นพระพุทธรูปที่ประซาชนนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์โดย เฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน เพราะนามพระพุทธรูปที่ชาวจีนเรียกกันคือ ซำปอกง นั้นตรงกับนามของวีรบุรุษที่ชาวจีนนับถือ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

ภาพพระพุทธไตรรัตนนายก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 174)
 

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร จังหวัดนนทบุรี
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองแดง หน้าตักกว้าง ๖ ศอก (๑๔๔ นิ้ว) สูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว (๒๐๘ นิ้ว) ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๘๙ ซึ่งมีลักษณะตามแบบเฉพาะของพระพุทธรูปสำคัญที่สร้างในรัชกาลที่ ๓ ที่สำคัญ อาทิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกายเพรียวบาง แสดงนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิใหญ่เป็นแผ่นกว้างพาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย เป็นต้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้ขุดพบแร่ทองแดงที่เมืองจันทึก นครราชสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถลุงและนำทองแดงที่ได้ไปหล่อพระพุทธรูปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดราช นัดดาราม วรวิหาร และวัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้คงจะหล่อพร้อมกันเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๙ ณ โรงหล่อหลวงในพระบรมมหาราชวัง แล้วโปรดให้อัญเชิญพระเสฏฐตมมุนีไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดราชนัดดาราม วรวิหาร เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๙ ครั้นเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัด ณ บริเวณป้อมเก่าริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี ซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของพระอัยกาอัยกี และเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนี โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๙๐ และโปรดให้สร้างป้อมปราการก่ออิฐถือปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบวัด พร้อมใบเสมาแบบเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง พระราชทาน นามว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ” สันนิษฐานว่าในระหว่างนิ้คงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองแดงอีกองค์หนึ่งไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ การก่อสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เสด็จสวรรคตเสียก่อนใน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นพระราชภาระสถาปนาวัดเฉลิมพระเกียรติให้แล้วเสร็จ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ
เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๗ มีพระราชศรัทธาปิดทองพระประธานในพระอุโบสถ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินด้วยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระประธานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร”

ภาพพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 176)
 

พระประทานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำริดเป็นพระพุทธรูปสำริดนวโลหะ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านช้าง นามว่า “หลวงพ่อแสน” วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดเจ้าสัวหง” ตามซื่อของเศรษฐีจีนผู้สร้าง สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ขยายอาณาเขตวัด ให้กว้างขึ้นสร้างกุฏิและเสนาสนะทั้งพระอาราม พระราชทานนามว่า “วัดหงส์อาวาสวิหาร”
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดให้เปลี่ยนชื่อพระอารามเป็น “วัดหงส์อาวาสวรวิหาร” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะต่างๆ อีกทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งใช้สืบมาจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด จากลักษณะพระวรกายที่เพรียวบางมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่าถันทั้งสี่นิ้ว สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ทอดยาวผ่านกลางพระอุระยาวจรดพระนาภี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓

ภาพพระประทานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 178)
 

พระพุทธสิหังค์ปฏิมากร

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีความงดงาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยถ่ายแบบจากพระพุทธสิหิงค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามซึ่งเป็นต้นแบบของคณะธรรมยุติกนิกายแห่งอาณาจักรสยาม
พระพุทธสิหังคปฏิมากร พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อตามแบบพระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว สูง ๑ ศอก ๘ นิ้ว พระเกตุสูง ๕ นิ้ว วัสดุกะไหล่ทอง ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงรายละเอียด และพุทธลักษณะให้คมซัดแลดูมีมิติกว่าพระพุทธสิหิงค์องค์ต้นแบบ ได้แก่ การเพิ่มบัวกระจังใบเทศรองรับพระรัศมีเปลว เส้นขอบจีวรและสังฆาฏิให้มีความ คมชัดและทำช่องสำหรับฝังอัญมณี ใช้ระบบขันเกลียวในการยึดพระรัศมีกับพระเศียรให้มั่นคงยิ่งขึ้น ปรับพระเกตุมาลาให้ดูกลมกลืนกับพระเศียร พระพักตร์ดูเรียวกว่าพระพุทธสิหิงค์ พระวรกายแลดูผึ่งผายและอวบอิ่ม และพระอุรุ (ต้นขา) ชันขึ้นกว่าพระพุทธสิหิงค์ รวมทั้งปรับฐานสิงห์ กลีบบัว ให้ใหญ่ มีมิติและคมชัดประณีตขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสพระพุทธสิหิงค์มาก เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามยิ่ง เมื่อทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเสร็จเรียบร้อย มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญไปตั้งเป็นพระพุทธรูปประธาน แต่มีพระราชดำริว่า พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งในพระบวรราชวังแล้ว ไม่ควรเชิญไปไว้ที่วัด จึงโปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบพระพุทธสิหิงค์หล่อขึ้นใหม่กะไหล่ทองให้มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธสิหิงค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระราชทานนามว่า พระพุทธสิหังค์ปฏิมากร
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาบรรจุที่ฐานพระพุทธสิหังคปฏิมากร

ภาพพระพุทธสิหังค์ปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 180)
 

พระพุทธวชิรมงกุฏ

พระพุทธวชิรมงกุฎเป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหารหลวง วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธวชิรมงกุฎเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๙ นิ้ว สูง ๒ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว ศิลปะรัตนโกสินทร์มีลักษณะเดียวกับพระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔ คือ ไม่มีอุษณีษะรองรับพระรัศมี ครองจีวรห่มเฉียงมีรอยย่นตามธรรมชาติ สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดยาวจรดพระนาภี และปางสมาธิประทับขัดสมาธิราบ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เป็นประธานการหล่อ แต่ในครั้งแรกยังไม่ได้ขนานนาม ครั้น พ.ศ.๒๕๑๑ ในวาระครบ ๑๐๐ปี ของการสถาปนาวัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(จวน อุฏฐายี) ได้ถวายนามว่า พระพุทธวขิรมงกุฎ โดยถือเอานามวัดซึ่งตั้งตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ประกอบกับพระนามฉายาเมื่อทรงพระผนวชว่า วชิรญาโณ ผนวกกับทางวัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประทับศึกษาพระปริยัติธรรมของพระราชโอรส คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวซิรญาณวงศ์

ภาพพระพุทธวชิรมงกุฏ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 182)
 

พระสัมพุทธสิริ
พระสัมพุทธสิริเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระส้มพุทธสิริเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะ หน้าตัก กว้าง ๒ คืบ ๖ นิ้ว ศิลปะรัตนโกสินทร์แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ ไม่มีอุษณีษะ เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว และทำปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร ให้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาส ราชวรวิหารโดยสร้างให้มีขนาดเท่ากับรูปท่าน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามเพื่อเป็นพระอนุสรณ์ถึงพระนางโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสี ซึ่งสิ้นพระชนม์ พระราชทานนามพระอารามว่า วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อสร้างพระอารามแล้วเสร็จ โปรดให้อาราธนา สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระอริยมุนิจากวัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร พร้อมด้วยพระสงฆ์อีกประมาณ ๔๐ รูป เดินทางโดยกระบวนแห่ ทางเรือมาศรองวัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร และสมเด็จพระวันรัตได้อัญเชิญ พระพุทธรูปที่ท่านสร้างมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระสัมพุทธสิริ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระวันรัตผู้มีฉายาว่า “พุทธสิริ”

ภาพพระสัมพุทธสิริ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 184)

พระพุทธนฤมิตร

พระพุทธปฏิมาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว โปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธนฤมิตรเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สร้างด้วยโลหะ ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ ทรงเครื่องต้นอย่างสมเด็จพระจักรพรรดิราช หรือที่เคยเรียกกันทั่วไปว่าทรงเครื่องใหญ่ ขนาดสูง ๙๘ นิ้ว ฐานสูง ๔๖ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ณ บุษบกยอดปรางค์ ที่ผนังด้านหน้าพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างสมเด็จพระจักรพรรดิราชในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่ จะโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและประดิษฐานแต่เฉพาะในพระบรมมหาราชวัง ที่สร้างแล้วนำไปประดิษฐาน ณ วัดนอกวังนั้น มีจำนวนไม่มากนัก แต่สร้างแล้วนำไปประดิษฐานที่วัดได้นั้น เป็นเพราะวัดเหล่านั้นสร้างขึ้นสำหรับอุทิศให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายอยู่ก่อนแล้ว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นวัดประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดให้สร้างบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังหุ้มกลองตรงมุขพระอุโบสถด้านหน้า สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องต้น ซึ่งจำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่การยังค้างอยู่เพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ ๕,๔๓๑ วัน เท่ากับสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีพระราชดำริจะทรงบำเพ็ญการอันเป็นราชกุศลถวายแด'สมเด็จพระอัยกาธิราช เมื่อทรงทราบ การที่ค้างอยู่นี้จึงโปรดฯ ให้สร้างบุษบกและสร้างพระพุทธรูปต่อให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ อันเป็นวันครบวันครองราชย์เท่าสมเด็จ พระบรมอัยกาธิราชได้พระราชทานนามพระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธรูป ฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๒ ที่นำมาไว้ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารนี้ว่าพระพุทธนฤมิตร ตามองค์ต้นแบบ

ภาพพระพุทธนฤมิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 188)
 

พระพุทธปัญญาอัคคะ

พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เบื้องล่างบรรจุพระอังคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นและถวายนามว่า “พระพุทธปัญญาอัคคะ” หมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้ทรงปัญญาอันยิ่งใหญ่” ตามสร้อยพระนามของสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ ว่า “ปัญญาอัครอนาคาริยรัตโนดม” ประดิษฐาน ณ พระวิหารเก๋ง ด้านตะวันออก วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร วัสดุโลหะ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับยืนบนฐานบัว รองรับด้วยฐานหน้ากระดานและฐานสิงห์ย่อมุม พระเมาลีค่อนข้างราบแบน มีนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ครองจีวรห่มแหวก จีวรพาดพระกรขวาและทิ้งชายลงทางด้านขวา ทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ ประดับด้วยฉัตรทองฉลุลาย ๕ ชั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารน้อย หลังหนึ่งตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับวิหารพระศาสดา อยู่ระหว่างวิหารพระศาสดาและพระเจดีย์ มี ๓ ห้อง มีเก๋งสองข้าง เรียกว่า วิหารเก๋ง มีพระราชประสงค์ให้เป็นที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แต่การก่อสร้างยังคงด้างจนสิ้นรัชกาลไม่ทันได้ประดิษฐานในรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ โปรดให้วาดภาพฝาผนังด้วยภาพจิตรกรรมจีน และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ถวายนามว่า “พระพุทธวซิรญาณ” และพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เป็นองค์ที่ ๒ เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ถวายนามว่า “พระพุทธปัญญาอัคคะ” ตามสร้อยพระนามว่า “ปัญญาอัครอนาคาริยรัตโนดม” เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปที่โรงหล่อริมวัง เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๘ หลังจากปิดทองพระแล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่พระวิหารเก่ง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๒๘ (ยุคนั้นนับวันขึ้นปีใหม่ในเดือน ๔ ของไทย) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณและให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนก นาถ จากนั้นทรงให้ตั้งการสวดมนต์เลี้ยงพระฉลอง ๓ วัน
ต่อมา เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้เป็นพระราชอุปัธยาจารย์สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระศพประดิษฐาน อยู่ ณ พระตำหนักนานถึง ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถวายเพลิงพระศพ ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ ต่อมา วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศลสัตมวาร โปรดให้นำพระอังคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ไปประดิษฐานที่ฐานของพระพุทธป้ญญาอัคคะ

ภาพพระพุทธปัญญาอัคคะ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 190)
 

พระประธานในอุโบสถ

พระประธานในอุโบสถ วัดนายโรง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดราษฎร์ที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาด ๒ ศอก ศิลปะรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นราว พ.ศ.๒๔๐๓ บริเวณปากคลองบางบำหรุ ผู้สร้างคือ “เจ้ากรับ”ซึ่งเป็นสามัญซน แต่ถูกเรียกขานว่าเป็น “เจ้า” อาจเป็นเพราะว่าบทบาทการแสดงที่โดดเด่นในฐานะ “ตัวพระ” ภายหลังเป็นเจ้าของคณะละครนอก จึงเรียกกันว่า “นายโรง” เมื่อสร้างวัดเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ทันน้อมเกล้าฯ ถวาย เจ้ากรับถึงแก่กรรมเสียก่อน
พระอารามแห่งนี้ มีซื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วัดละครทำ วัดละครธรรม วัดนายโรงเจ้ากลับ และยังได้รับพระราซทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วัดสัมมัขชผล” แปลว่า อารามที่เป็นผลผลิตจากสัมมาชีพ แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้คนในชุมชน วัดของเจ้ากรับรู้จักกันต่อมาอย่างเป็นทางการว่าวัดนายโรง

ภาพพระประธานในอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 192)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์ วรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีลักษณะแปลกไปกว่าพระประธานในพระอารามอื่นใดในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปยืนเพราะพระประธานส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปนั่ง
วัดเครือวัลย์ วรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมอญฝังใต้ เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ) พร้อมด้วยเจ้าจอมเครือวัลย์ในรัชกาลที่ ๓ ได้ปฏิสังขรณ์แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเครือวัลย์”
พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ปางห้ามพยาธิ มีพุทธลักษณะเหมือนพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปประทับยืนแสดงปางประทานอภัยที่วัดเครือวัลย์นี้มี พระสาวกยืนพนมมือ ทั้งซ้ายและขวาในสมัยรัตนโกสินทร์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากลักษณะเฉพาะของศิลปะในยุคนั้น คือ ไม่ทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ให้เท่ากัน และการครองจีวรห่มคลุม ไม่มีสังฆาฏิ ซึ่งอาจเป็นแนวคิดใหม่ๆ เช่นเดียวกับการสร้างพระประธานเป็นพระพุทธรูป ประทับยืน พระพุทธปฏิมาองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแล้วพระราชทานให้ อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 172)
 

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ทรงพุทธานุภาพเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพราะนามพระพุทธรูปที่ชาวจีนเรียกกันคือ ซำปอกง นั้น ตรงกับนามของวีรบุรุษที่ชาวจีนนับถือ คือ เจิ้งเหอ ซึ่งเป็นขันที และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงค์หมิง มีชื่อในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า หม่าซำป้อ หม่าเหอ ภาษาจีนกลางว่า หม่าซานปอ เป็นราชทูตที่ กล้าหาญมีความสามารถ ได้เดินทางมาย่านมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อ พ.ศ.๑๙๕๐ เพื่อแผ่เดชานุภาพของจักรพรรดิจีน เจิ้งเหอเดินทางมาพร้อมทหาร ๒๗,๘๐๐ คน ใช้เรือสำเภา ๖๒ ลำ เที่ยวเกลี้ยกล่อมนานาประเทศไว้ในอำนาจ มาถึงประเทศไทย ราว พ.ศ. ๑๙๕๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช เมื่อถึงแก่กรรมก็ยังเป็นที่นับถือของชาวจีนและยกย่องเรียกกันว่า ‘‘ซำปอกง” “ซำ” แปลว่า สาม “ปอ” แปลว่า ป้องกันรักษาแก้วประเสริฐหรือแก้ววิเศษ ซึ่งตรงกับความหมายของพระรัตนตรัย คือ แก้ว ๓ ประการ ส่วน “กง” เป็นคำยกย่องผู้ใหญ่ ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็ใช้แทนได้ทั้งกับผู้ที่เป็นวีรบุรุษ ผู้เป็นที่เคารพบูชา หรือพระพุทธรูป โดยเฉพาะ ซาวจีนนิยมมาเซ่นไหว้บูซาและหลั่งไหลมาร่วมงานเทศกาลซึ่งจัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง คือ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลวันเกิดชำปอกง หรืองานแห่หลวงพ่อโต ตรงกับวันที่ ๘ - ๑๐ เดือน ๓ ของจีน ซึ่งจะมีงานสมโภชมีขบวนแห่มังกรเชิดสิงโต และเทศกาลทิ้งกระจาด ตรงกับวันที่ ๒๗ - ๒๙ เดือน ๙ ของจีน กล่าวกันว่าสาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร เป็นเพราะความเข้าใจผิดโดยเริ่มจากชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งไต้นมัสการหลวงพ่อโต ที่วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า ‘ซำปออุดกง’ ซึ่งแปลว่าพระเจ้า ๓ พระองศ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ แต่ซาวจีนกลุ่มที่นับถือชำปอกง อ่านเห็นเป็น ‘ซำปอกง’ จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของชำปอกง
พระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทอง หน้าตัก กว้าง ๑๑.๗๕ เมตร สูง ๑๕.๔๕ เมตร จำลองแบบจากพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น
พระพุทธไตรรัตนนายก เดิมเรียกกันว่าหลวงพ่อโต หรือ พระโตในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายก เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลางได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่เดิมเพื่อสร้างวัดกัลยาณมิตรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พระราชทานพระราชทรัพย์ช่วย สร้างพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์ พระโต ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ปีเดียวกัน เพื่อพระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามถวายพระโตว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”
พระพุทธไตรรัตนนายกองค์นี้ สร้างโดยจำลองแบบพระพุทธไตรรัตนนายก ที่วัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่มีขนาดเล็กกว่า คงจะสืบเนื่องจากพระราชนิยมในการสร้างวัดให้มีมากเหมือนอย่างวัดในกรุงเก่า และพระพุทธรูปก็ให้มีเหมือน “หลวงพ่อโต” ที่วัดพนัญเชิง วรวิหาร และอาจมีมูลเหตุอีกประการคือ ซื่อของเจ้าพระยานิกรบดินทร์คือ “โต”
พ.ศ.๒๔๓๘ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) และพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (เปีย) ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ฐานปัทม์
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระสุนทรสมาจารย์ (พรหม) ปฏิสังขรณ์ปิดทององค์พระและฐาน และปีต่อมา ได้จัดให้มีการสมโภช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระอุณาโลม ซึ่งเป็นทองหนักประมาณ ๔๐ บาท แต่ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ถูกคนร้ายสักลอบแกะทองไป
พ.ศ. ๒๕๓๕ วัดได้ปฏิสังขรณ์ส่วนฐานโดยทำปูนปั้นลงรักปิดทองใหม่ทั้งหมด พระพุทธไตรรัตนนายกเป็นพระพุทธรูปที่ประซาชนนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์โดย เฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน เพราะนามพระพุทธรูปที่ชาวจีนเรียกกันคือ ซำปอกง นั้นตรงกับนามของวีรบุรุษที่ชาวจีนนับถือ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

ภาพพระพุทธไตรรัตนนายก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 174)
 

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร จังหวัดนนทบุรี
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองแดง หน้าตักกว้าง ๖ ศอก (๑๔๔ นิ้ว) สูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว (๒๐๘ นิ้ว) ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๘๙ ซึ่งมีลักษณะตามแบบเฉพาะของพระพุทธรูปสำคัญที่สร้างในรัชกาลที่ ๓ ที่สำคัญ อาทิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกายเพรียวบาง แสดงนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิใหญ่เป็นแผ่นกว้างพาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย เป็นต้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้ขุดพบแร่ทองแดงที่เมืองจันทึก นครราชสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถลุงและนำทองแดงที่ได้ไปหล่อพระพุทธรูปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดราช นัดดาราม วรวิหาร และวัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้คงจะหล่อพร้อมกันเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๙ ณ โรงหล่อหลวงในพระบรมมหาราชวัง แล้วโปรดให้อัญเชิญพระเสฏฐตมมุนีไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดราชนัดดาราม วรวิหาร เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๙ ครั้นเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัด ณ บริเวณป้อมเก่าริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี ซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของพระอัยกาอัยกี และเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนี โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๙๐ และโปรดให้สร้างป้อมปราการก่ออิฐถือปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบวัด พร้อมใบเสมาแบบเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง พระราชทาน นามว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ” สันนิษฐานว่าในระหว่างนิ้คงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองแดงอีกองค์หนึ่งไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ การก่อสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เสด็จสวรรคตเสียก่อนใน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นพระราชภาระสถาปนาวัดเฉลิมพระเกียรติให้แล้วเสร็จ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ
เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๗ มีพระราชศรัทธาปิดทองพระประธานในพระอุโบสถ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินด้วยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระประธานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร”

ภาพพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 176)
 

พระประทานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำริดเป็นพระพุทธรูปสำริดนวโลหะ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านช้าง นามว่า “หลวงพ่อแสน” วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดเจ้าสัวหง” ตามซื่อของเศรษฐีจีนผู้สร้าง สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ขยายอาณาเขตวัด ให้กว้างขึ้นสร้างกุฏิและเสนาสนะทั้งพระอาราม พระราชทานนามว่า “วัดหงส์อาวาสวิหาร”
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดให้เปลี่ยนชื่อพระอารามเป็น “วัดหงส์อาวาสวรวิหาร” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะต่างๆ อีกทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งใช้สืบมาจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด จากลักษณะพระวรกายที่เพรียวบางมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่าถันทั้งสี่นิ้ว สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ทอดยาวผ่านกลางพระอุระยาวจรดพระนาภี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓

ภาพพระประทานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 178)
 

พระพุทธสิหังค์ปฏิมากร

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีความงดงาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยถ่ายแบบจากพระพุทธสิหิงค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามซึ่งเป็นต้นแบบของคณะธรรมยุติกนิกายแห่งอาณาจักรสยาม
พระพุทธสิหังคปฏิมากร พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อตามแบบพระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว สูง ๑ ศอก ๘ นิ้ว พระเกตุสูง ๕ นิ้ว วัสดุกะไหล่ทอง ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงรายละเอียด และพุทธลักษณะให้คมซัดแลดูมีมิติกว่าพระพุทธสิหิงค์องค์ต้นแบบ ได้แก่ การเพิ่มบัวกระจังใบเทศรองรับพระรัศมีเปลว เส้นขอบจีวรและสังฆาฏิให้มีความ คมชัดและทำช่องสำหรับฝังอัญมณี ใช้ระบบขันเกลียวในการยึดพระรัศมีกับพระเศียรให้มั่นคงยิ่งขึ้น ปรับพระเกตุมาลาให้ดูกลมกลืนกับพระเศียร พระพักตร์ดูเรียวกว่าพระพุทธสิหิงค์ พระวรกายแลดูผึ่งผายและอวบอิ่ม และพระอุรุ (ต้นขา) ชันขึ้นกว่าพระพุทธสิหิงค์ รวมทั้งปรับฐานสิงห์ กลีบบัว ให้ใหญ่ มีมิติและคมชัดประณีตขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสพระพุทธสิหิงค์มาก เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามยิ่ง เมื่อทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเสร็จเรียบร้อย มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญไปตั้งเป็นพระพุทธรูปประธาน แต่มีพระราชดำริว่า พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งในพระบวรราชวังแล้ว ไม่ควรเชิญไปไว้ที่วัด จึงโปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบพระพุทธสิหิงค์หล่อขึ้นใหม่กะไหล่ทองให้มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธสิหิงค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระราชทานนามว่า พระพุทธสิหังค์ปฏิมากร
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาบรรจุที่ฐานพระพุทธสิหังคปฏิมากร

ภาพพระพุทธสิหังค์ปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 180)
 

พระพุทธวชิรมงกุฏ

พระพุทธวชิรมงกุฎเป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหารหลวง วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธวชิรมงกุฎเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๙ นิ้ว สูง ๒ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว ศิลปะรัตนโกสินทร์มีลักษณะเดียวกับพระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔ คือ ไม่มีอุษณีษะรองรับพระรัศมี ครองจีวรห่มเฉียงมีรอยย่นตามธรรมชาติ สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดยาวจรดพระนาภี และปางสมาธิประทับขัดสมาธิราบ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เป็นประธานการหล่อ แต่ในครั้งแรกยังไม่ได้ขนานนาม ครั้น พ.ศ.๒๕๑๑ ในวาระครบ ๑๐๐ปี ของการสถาปนาวัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(จวน อุฏฐายี) ได้ถวายนามว่า พระพุทธวขิรมงกุฎ โดยถือเอานามวัดซึ่งตั้งตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ประกอบกับพระนามฉายาเมื่อทรงพระผนวชว่า วชิรญาโณ ผนวกกับทางวัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประทับศึกษาพระปริยัติธรรมของพระราชโอรส คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวซิรญาณวงศ์

ภาพพระพุทธวชิรมงกุฏ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 182)
 

พระสัมพุทธสิริ
พระสัมพุทธสิริเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระส้มพุทธสิริเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะ หน้าตัก กว้าง ๒ คืบ ๖ นิ้ว ศิลปะรัตนโกสินทร์แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ ไม่มีอุษณีษะ เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว และทำปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร ให้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาส ราชวรวิหารโดยสร้างให้มีขนาดเท่ากับรูปท่าน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามเพื่อเป็นพระอนุสรณ์ถึงพระนางโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสี ซึ่งสิ้นพระชนม์ พระราชทานนามพระอารามว่า วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อสร้างพระอารามแล้วเสร็จ โปรดให้อาราธนา สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระอริยมุนิจากวัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร พร้อมด้วยพระสงฆ์อีกประมาณ ๔๐ รูป เดินทางโดยกระบวนแห่ ทางเรือมาศรองวัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร และสมเด็จพระวันรัตได้อัญเชิญ พระพุทธรูปที่ท่านสร้างมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระสัมพุทธสิริ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระวันรัตผู้มีฉายาว่า “พุทธสิริ”

ภาพพระสัมพุทธสิริ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 184)

พระพุทธนฤมิตร

พระพุทธปฏิมาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว โปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธนฤมิตรเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สร้างด้วยโลหะ ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ ทรงเครื่องต้นอย่างสมเด็จพระจักรพรรดิราช หรือที่เคยเรียกกันทั่วไปว่าทรงเครื่องใหญ่ ขนาดสูง ๙๘ นิ้ว ฐานสูง ๔๖ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ณ บุษบกยอดปรางค์ ที่ผนังด้านหน้าพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างสมเด็จพระจักรพรรดิราชในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่ จะโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและประดิษฐานแต่เฉพาะในพระบรมมหาราชวัง ที่สร้างแล้วนำไปประดิษฐาน ณ วัดนอกวังนั้น มีจำนวนไม่มากนัก แต่สร้างแล้วนำไปประดิษฐานที่วัดได้นั้น เป็นเพราะวัดเหล่านั้นสร้างขึ้นสำหรับอุทิศให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายอยู่ก่อนแล้ว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นวัดประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดให้สร้างบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังหุ้มกลองตรงมุขพระอุโบสถด้านหน้า สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องต้น ซึ่งจำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่การยังค้างอยู่เพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ ๕,๔๓๑ วัน เท่ากับสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีพระราชดำริจะทรงบำเพ็ญการอันเป็นราชกุศลถวายแด'สมเด็จพระอัยกาธิราช เมื่อทรงทราบ การที่ค้างอยู่นี้จึงโปรดฯ ให้สร้างบุษบกและสร้างพระพุทธรูปต่อให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ อันเป็นวันครบวันครองราชย์เท่าสมเด็จ พระบรมอัยกาธิราชได้พระราชทานนามพระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธรูป ฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๒ ที่นำมาไว้ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารนี้ว่าพระพุทธนฤมิตร ตามองค์ต้นแบบ

ภาพพระพุทธนฤมิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 188)
 

พระพุทธปัญญาอัคคะ

พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เบื้องล่างบรรจุพระอังคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นและถวายนามว่า “พระพุทธปัญญาอัคคะ” หมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้ทรงปัญญาอันยิ่งใหญ่” ตามสร้อยพระนามของสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ ว่า “ปัญญาอัครอนาคาริยรัตโนดม” ประดิษฐาน ณ พระวิหารเก๋ง ด้านตะวันออก วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร วัสดุโลหะ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับยืนบนฐานบัว รองรับด้วยฐานหน้ากระดานและฐานสิงห์ย่อมุม พระเมาลีค่อนข้างราบแบน มีนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ครองจีวรห่มแหวก จีวรพาดพระกรขวาและทิ้งชายลงทางด้านขวา ทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ ประดับด้วยฉัตรทองฉลุลาย ๕ ชั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารน้อย หลังหนึ่งตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับวิหารพระศาสดา อยู่ระหว่างวิหารพระศาสดาและพระเจดีย์ มี ๓ ห้อง มีเก๋งสองข้าง เรียกว่า วิหารเก๋ง มีพระราชประสงค์ให้เป็นที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แต่การก่อสร้างยังคงด้างจนสิ้นรัชกาลไม่ทันได้ประดิษฐานในรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ โปรดให้วาดภาพฝาผนังด้วยภาพจิตรกรรมจีน และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ถวายนามว่า “พระพุทธวซิรญาณ” และพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เป็นองค์ที่ ๒ เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ถวายนามว่า “พระพุทธปัญญาอัคคะ” ตามสร้อยพระนามว่า “ปัญญาอัครอนาคาริยรัตโนดม” เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปที่โรงหล่อริมวัง เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๘ หลังจากปิดทองพระแล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่พระวิหารเก่ง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๒๘ (ยุคนั้นนับวันขึ้นปีใหม่ในเดือน ๔ ของไทย) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณและให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนก นาถ จากนั้นทรงให้ตั้งการสวดมนต์เลี้ยงพระฉลอง ๓ วัน
ต่อมา เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้เป็นพระราชอุปัธยาจารย์สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระศพประดิษฐาน อยู่ ณ พระตำหนักนานถึง ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถวายเพลิงพระศพ ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ ต่อมา วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศลสัตมวาร โปรดให้นำพระอังคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ไปประดิษฐานที่ฐานของพระพุทธป้ญญาอัคคะ

ภาพพระพุทธปัญญาอัคคะ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 190)
 

พระประธานในอุโบสถ

พระประธานในอุโบสถ วัดนายโรง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดราษฎร์ที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาด ๒ ศอก ศิลปะรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นราว พ.ศ.๒๔๐๓ บริเวณปากคลองบางบำหรุ ผู้สร้างคือ “เจ้ากรับ”ซึ่งเป็นสามัญซน แต่ถูกเรียกขานว่าเป็น “เจ้า” อาจเป็นเพราะว่าบทบาทการแสดงที่โดดเด่นในฐานะ “ตัวพระ” ภายหลังเป็นเจ้าของคณะละครนอก จึงเรียกกันว่า “นายโรง” เมื่อสร้างวัดเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ทันน้อมเกล้าฯ ถวาย เจ้ากรับถึงแก่กรรมเสียก่อน
พระอารามแห่งนี้ มีซื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วัดละครทำ วัดละครธรรม วัดนายโรงเจ้ากลับ และยังได้รับพระราซทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วัดสัมมัขชผล” แปลว่า อารามที่เป็นผลผลิตจากสัมมาชีพ แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้คนในชุมชน วัดของเจ้ากรับรู้จักกันต่อมาอย่างเป็นทางการว่าวัดนายโรง

ภาพพระประธานในอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 192)