ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธไสยาส (พระนอนวัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาส หรือพระนอนวัดโพธิ์ พระประธานในพระวิหารพระพุทธ ไสยาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในเขตพุทธาวาส วัดพระเขตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม โดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่พื้นฝ่าพระบาท ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงามเป็นเอก เป็นที่เคารพสักการะและเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาลนิกชนทั้งขาวไทยและขาวต่างประเทศ และนับเนื่องในคติการไหว้พระ ๙ วัดของพุทธศาสนิกชน
พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางโปรดอสุรินทราหู ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว ๑๐ ศอก (๕ เมตร) กว้าง ๕ ศอก (๒.๕๐ เมตร) พระพุทธบาทยาว ๕เมตร สูง ๓ เมตรในพระอิริยาบถสีหไสยา คือ นอนตะแคงขวา พระหัตถ์ซ้าย ทาบออกไปตามพระวรกาย พระกัจฉะ (รักแร้) หนุนพระเขนย พระหัตถ์ขวา ยกประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกันที่พื้นฝ่าพระบาทจำหลักลวดลายประดับมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะของพระมหาบุรุษตามตำรามหาปุริสลักษณะซึ่งได้บรรยายลักษณะของสมเด็จพระสัมมาส้มพุทธเจ้าไว้ ฝีมือประดับมุกนับว่างดงามยิ่ง เป็นฝีมือข่างสิบหมู่ของหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้น คราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเขตุพนฯ ครั้งใหญ่ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๕ ในการบูรณะครั้งนี้ทรงขยายเขตวัดออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยสร้างองค์พระพุทธไสยาสก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบภายหลัง ด้วยมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางสำคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางไสยาสน์เท่านั้นจึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างในยุคทอง แห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด
พระพุทธไสยาสได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมาเนื่องจากชำรุดตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม อาทิ พระรัศมีพระพุทธไสยาส หักตกลง เมื่อพุทธคักราช ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรง ปฏิสังขรณ์เฉพาะพระรัศมีสมัยรัชกาลที่ ๖ ฝ่าพระหัตถ์พระพุทธไสยาส เบื้องขวาหักตกลงมาถูกฐานประดิษฐานองค์พระพังไปยาวประมาณ ๑ วาเศษ โปรดให้ซ่อมดังเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๘ เมื่อพุทธคักราช ๒๔๘๖ พระพุทธไสยาส ได้รับการกระทบกระเทือนจากแรงระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประกอบกับ เหล็กและไม้แกนเก่า ปูนเสื่อมสภาพ เป็นเหตุให้พระกรรณเบื้องขวาหลุดหล่นลงมา ซ่อมพระกรรณแล้วลงรักปีกทอง และพุทธศักราช ๒๔๘๘ ทองและรักซึ่งทุ้มองค์พระพุทธไสยาสหลุดกระเทาะลอกออกโปรดให้ซ่อมพระพักตร์ก่อน โดยลอกทองและบิดทองใหม่เนื่องจากพระกรรณที่ทำไว้ใหม่สีไม่เข้ากับพระพักตร์ จากนั้นจึงซ่อมองค์พระต่อไป ครั้งรัชกาลที่ ๙ มีการซ่อมบูรณะองค์พระเรื่อยมา อาทิ ซ่อมพระเศียร บิดทององค์พระติดกระจกหมอนและฐานชุกชี ทำความสะอาดลายมุกที่พื้นฝ่าพระบาท ตลอดจนบูรณะพระวิหารเพื่อความสง่างาม

ภาพพระพุทธไสยาส (พระนอนวัดโพธิ์)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 152)
 

พระศรีสรรเพชรญ์

พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธประธานในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระศรีสรรเพชญ์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร สูง ๖.๙๖ เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ พระพุทธรูปสำคัญองค์นี้นับเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในช่วงระยะสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ ได้แก่ การทำสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ และพาดอยู่กลางพระวรกายและการทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยม แสดงอาการเคร่งขรึมและพระวรกายหนาใหญ่ แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะพระพุทธรูปศิลปะ อยุธยาตอนต้นอยู่ด้วย
จึงกล่าวได้ว่า พระครีสรรเพชญ์เป็นตัวอย่างพระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดงานศิลปะอยุธยา มาสู่ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ซึ่ง สืบทอดต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสูรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้าเป็นผู้ปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อให้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งในครั้งนั้นเรียกชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระประธานจึงได้ชื่อว่า พระศรีสรรเพชญ์ ตามนามพระอาราม
ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๘๗ พระอารามแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถขึ้นอีก ๑ ศอก พระศรีสรรเพชญ์จึงได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้น ตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๕ ได้เกิดอสนีบาตตกลงพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ จึงไต้ปิดทองใหม่ทั้งองค์ จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๔๖๗ ได้ปิดทองพระศรีสรรเพชญ์ใหม่ทั้งองค์อีกครั้งหนึ่ง

ภาพพระศรีสรรเพชรญ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 154)
 

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ รัตนราชโกษา ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (หัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ เป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระพุทธตรีโลกเชษฐ์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดาที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว บางแห่งว่า หน้าตักกว้าง ๓ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตรป้ายเป็นแผ่น เช่นเดียวกับพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กแย้มพระสรวลเล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้ง แต่เกือบจะเป็นเส้นตรง คล้ายเรือประทุน ลักษณะพระพักตร์นิ่ง “อย่างหุ่น” นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เรียวยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกลางพระวรกาย ทั้งหมดนี้แสดงลักษณะพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดวงจักรกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งทรงกำกับดูแลกรมช่างหล่อ สร้างพระพุทธรูปประธานสำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และโปรดให้อัญเชิญพระศรีศาสดา ซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายนามว่า “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” โดยทรงผูกนามพระประธานใน พระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญให้คล้องจองกันว่า “พระศรีศากยมุนิ” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี” จากนั้นใน พ.ศ.๒๔๐๗ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอสีติมหาสาวก ด้วยปูนปั้นลงสี จำนวน ๘๐ องค์ นั่งพนมมือสดับพระบรมพุทโธวาทอยู่เบื้องพระพักตร์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ นั้น

ภาพพระพุทธตรีโลกเชษฐ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 156)
 

พระพุทธเสรฏฐมุนี

พระพุทธเสรฏฐมุนีประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพ
วราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ สะท้อนพระราชหฤทัยพระมหากษัตริย์เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงห่วงใยพลเมือง และทรงปกป้องภัยพิบัติเฉพาะสิ่งเสพติดอย่างเข้มแข็ง พระราชทานกำลังใจแก่ผู้เสพติดว่า สามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีใต้ตลอดเวลา ประดุจพระพุทธรูปนี้ แม้จะหล่อหลอมมาจาก “กลักฝิ่น” สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด สุดท้ายก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้วด้วยพุทธธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โดยได้นำกลักฝิ่นซึ่งเป็นทองเหลือง และโลหะอื่นๆ จำนวนมาก หลอมหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว ตามพุทธศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นพิเศษเฉพาะที่สำคัญ คือ พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นกว้างวางอยู่กลางพระวรกาย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาล ที่ ๓ ทรงปกป้องผืนแผ่นดิน เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทรงทำนุบำรุงพสกนิกรให้เป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม มีความรู้ มีปัญญา เพื่อเป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ปรากฏว่าในรัชสมัยของพระองค์ ชาวต่างชาติไต้นำฝิ่นเข้ามาเผยแพร่ในพระราชอาณาจักร ฝิ่นเป็นสิ่งเสพติดมอมเมาพลเมือง ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอยเป็นการบั่นทอนความมั่นคงของบ้านเมือง ผู้ที่ค้าฝิ่นคือเสี้ยนหนามบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา จึงมีพระบรมราชโองการให้ ปราบฝิ่นอย่างเด็ดขาด พุทธศักราช ๒๓๘๒ ได้กวาดล้างจับฝิ่นครั้งใหญ่ ได้ฝิ่นดิบ ๓,๗๐๐ หาบ ฝิ่นสุก ๒ หาบ รวมน้ำหนัก ๒๒๒,๑๒๐ กิโลกรัม คิดเป็นเงินเวลานั้นกว่า ๑๘ ล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า โปรดให้รวมมาเผาทำลายที่สนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อ วันที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ แล้วทรงนำกลักฝิ่นจำนวนมาก หล่อเป็นพระพุทธปฏิมากร ณ โรงหล่อของหลวงในพระบรมมหาราชวัง อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อแรกผู้คนเรียกว่า “พระกลักฝิ่น” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระพุทธเสรฏฐมุนี” แปลว่า พระผู้ประเสริฐสุด มีความหมายว่า ผู้ติดสิ่งเสพติดทั้งหลาย สามารถกลับใจเป็นคนดีไต้เสมอ ย่อมสว่างรุ่งเรืองเสมือนกับพระพุทธรูปที่ทรงสร้าง อันจะเป็นพลังแข็งแกร่งชนะจิตใจให้เหินห่างสิ่งเสพติดได้

ภาพพระพุทธเสรฏฐมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 158)
 

พระพุทธเทววิลาส

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์ บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุษบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธเทววิลาส หรือ หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชรจำหลักด้วยหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์พระเพลากว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๒๐ นิ้ว หนา ๘ นิ้ว พระอังสา ๙ นิ้ว รอบพระอุระ ๑๘ นิ้ว นักวิชาการบางท่านกล่าวว่ามีรูปแบบคล้ายศิลปะล้านนาผสมสุโขทัย แต่รูปแบบศิลปกรรม อาจมีอายุอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดูจากลักษณะนิ้วพระหัตถ์เสมอกันทั้งสี่นิ้ว และการเล่นลายเส้นชายจีวรที่ด้านล่างพระเพลา

พระพุทธเทววิลาสองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจำหลักด้วย ศิลาขาวจากพระบรมมหาราชวังมาเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเทพธิดาราม วรวิหาร อันเป็นวัดซึ่งสร้างพระราชทานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาพระองศ์ใหญ่ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรง บำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพธิดาราม ได้พระราชทานนามหลวงพ่อขาวว่า “พระพุทธเทววิลาส”

ภาพพระพุทธเทววิลาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 160)
 

พระประธานในพระวิหาร

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระประธานในพระวิหารวัดเทพธิดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทรภักดี เป็นแม่กองในการสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าลูกเธอ พระองศ์เจ้าหญิงวิลาส พระปิยราชธิดา สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒ แล้วพระราชทานนามว่า “วัดเทพธิดาราม” อันหมายถึง “อัปสรสุดาเทพ” และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพระราชพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๒
พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดเทพธิดาราม วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗๕ นิ้ว สูง ๙๕ นิ้ว ด้านซ้ายและด้านขวาของพระประธาน มีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติอยู่ข้างละ ๑ องค์ และมีรูปปั้นพระมหากัจจายนเถระ หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร นอกจากนี้ ภายในพระวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อดีบุก เป็นรูปหมู่อริยสาวิกา (ภิกษุณี) ซึ่งได้รับเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุณีบริษัท จำนวน ๕๒ องศ์

ภาพพระประธานในพระวิหาร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 162)
 

พระเสฏฐตมมุนี

พระเสฏฐตมมุนี เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดราชนัดดาราม วรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระเจ้าหลานเธอในรัชกาล เมื่อทรงเจริญพระชันษาเกศากันต์แล้ว พร้อมกับการสร้างโลหะปราสาทที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในโลกในขณะนี้ และเป็นที่ 3 ของโลกต่อจาที่อินเดียและศรีลังกา

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองแดง เนื้อแปดทั้งองค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๗ ศอก พระเสฏฐตมมุนีเป็นหนึ่งในกลุ่มพระพุทธรูปสำคัญ ที่มีขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร พระอารามหลวง ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะพุทธศิลป์ที่เป็นแบบเฉพาะในรัชสมัยนี้ อาทิ ลักษณะพระพักตร์ “อย่างหุ่น” นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และพาดกลางพระวรกาย เป็นต้น กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก แขวงเมืองนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อ ทองแดง ส่งลงมายังกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก มีพระราชประสงค์จะให้ทองแดงนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระศาสนาก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปใหญ่ขนาดไล่เลี่ยกัน ๒ องค์ ณ โรงหล่อหลวง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามที่ทรงสร้างใหม่ ๒ วัด คือ วัดราชนัดดาราม วรวิหาร และ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร จังหวัดนนทบุรี ครั้งนี้ปรากฏว่าโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ๓๔ ปาง ด้วย หล่อสำเร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๙ และอัญเชิญมาประดิษฐานในวันที่ ๔ ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น
พระพุทธปฏิมาประธานองค์นี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ถวายนามว่า “พระเสฏฐตมมุนี” ทองแดงหล่อเดิมมิได้ลงรักปิดทอง ตราบจนถึงรัชกาลที่ ๕ สมัยของพระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ เป็นผู้เอาใจใส่ในการทำนุบำรุงวัด ได้ลงรักปิดทองยกเศวตฉัตรขาว ๕ ชั้น ซ่อมฐานชุกชี ลงรักปิดทองประดับกระจกด้วย

ภาพพระเสฏฐตมมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 164)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำริด เป็นพระพุทธรูปสำริดนวโลหะ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัย ล้านช้าง นามว่า “หลวงพ่อแสน” วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัย อยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดเจ้าสัวหง” ตามซื่อของเศรษฐีจีนผู้สร้าง สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ขยายอาณาเขตวัด ให้กว้างขึ้นสร้างกุฏิและเสนาสนะทั้งพระอาราม พระราชทานนามว่า “วัดหงส์อาวาสวิหาร”
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดให้เปลี่ยนชื่อพระอารามเป็น “วัดหงส์อาวาสวรวิหาร” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะต่างๆ อีกทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งใช้สืบมาจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด จากลักษณะพระวรกาย ที่เพรียวบางมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากันทั้งสี่นิ้ว สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ทอดยาว ผ่านกลางพระอุระยาวจรดพระนาภี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 166)
 

พระพุทธมหาจักรพรรดิ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดนางนอง วรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนนามพระพุทธปฏิมาประธานนั้นไม่ปรากฏตั้งแต่แรกสร้าง ด้วยเหตุที่พระพุทธปฏิมาแสดงลักษณะของพระมหาจักรพรรดิในทางธรรม จึงลงความเห็นถวายนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” ภายหลังอาณาบริเวณที่สร้างวัด เดิมเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระนามเดิม คือ เจ้าจอมมารดาเรียม พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เฉพาะพระมหามงกุฎแห่งพระพุทธมหาจักรพรรดิ กล่าวได้ว่า คือ พระราชปฤษณา ประวัติศาสตร์ที่ไขความในพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ถึงพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ที่เรียกว่าปางโปรดพญาชมพูบดี ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง พระพักตร์สร้างคล้ายพุทธศิลป์สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๒๕ เซนติเมตร ประมาณ ๔ ศอกครึ่ง เครื่องทรงที่ประดับตกแต่งทุกชิ้น แยกกันออกจากองศ์พระ ด้วยการสวมทับลงไว้ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ประดับลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก กล่าวได้ว่า เป็นงานประติมากรรมชิ้นเอกแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ที่ประณีตงดงามอย่างวิจิตรอลังการให้ความ เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เข้ามาสักการะ มีความอิ่มเอิบยึดนั่นในพระพุทธศาสนาอย่างสงบเยือกเย็น
วัดนางนอง วรวิหาร ตั้งอยู่ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตจอมทอง โดยเฉพาะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่คับคั่งมาแต่โบราณ คือ คลองด่าน หรือ คลองสนามชัย อยู่ริมคลองฝั่งใต้ตรงข้ามวัดหนัง วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๘ (ชุนหลวงสรศักดิ์ พ.ศ. ๒๒๔๕ - ๒๒๕๒) ในสมัยรัชกาล ที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ รื้อของเก่า และปฏิสังขรณ์ ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ที่พระอุโบสถและพระวิหารคู่
มีเรื่องเล่าเฉพาะเครื่องศิราภรณ์ คือ มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิมีประวัติว่า องศ์ที่สวมอยู่นี้ เป็นองศ์ที่ ๒ องศ์แรกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้อัญเชิญชิ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระอาราม เสริมพระปรางค์ให้สูงขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นสัญลักษณ์ชาติไทยสิ่งหนึ่งที่ชาวโลกรู้จัก สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยมีพระราชดำริว่าพระปรางค์เดิมสูง ๘ วานั้น ยังย่อมอยู่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งขึ้นเป็นราชธานี ยังไม่มีพระมหาธาตุ ควรเสริมสร้างให้ใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงโปรดฯ ให้ลงมือขุดราก แต่การได้ค้างอยู่เพียงนั้นก็สิ้นรัชกาล
พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ต่อมามีพระราชดำริออกแบบพระปรางค์เสริมให้สูงขึ้น เสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษในปีที่ทรงผูกพัทธสีมาวัดนางนองวรวิหาร คือ พ.ศ. ๒๓๘๕ ครั้นพระปรางค์สำเร็จเป็นพระมหาเจดีย์ โปรดยกยอดพระปรางค์ซึ่งเดิม เป็นยอดนภศูลตามพระปรางค์แบบโบราณได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ ยอดนภศูลพระปรางค์เมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ.๒๓๙๐ มีหมายรับสั่งกำหนดวันยกยอด พระปรางค์ในเดือนอ้ายปีเดียวกัน ครั้นใกล้วันพระฤกษ์โปรดฯให้ยืมมงกุฎที่หล่อ สำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนอง วรวิหาร มาสวมต่อบนยอดนภศูล เกี่ยวกับเรื่องให้ยืมมงกุฎพระประธานวัดนางนอง วรวิหาร ไปสวมบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในฺหนังสือ “ความทรงจำ” ตอนหนึ่งว่า “จะเป็นด้วยพระราชดำริอย่างไร จึงทำเช่นนั้นหาได้ตรัสให้ใครทราบไม่ และการที่เอามงกุฎขึ้นต่อบนยอดนภคูล ก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาก่อน” คนในสมัยนั้นจึงพากันสันนิษฐานว่า มีพระราชประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎจะเป็นยอดของบ้านเมืองต่อไป

ภาพพระพุทธมหาจักรพรรดิ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 168)
 

พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา

พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดาเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัด ประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการยกย่องว่าฝีมือการปิดทององค์พระปฏิมางดงามยากจะหาที่ติ
พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๔ ศอก หย่อนนิ้ว สูง ๕ ศอก ๖ นิ้ว พุทธลักษณะงดงามต้องตามมหาปุริสลักษณะ เหนือองค์พระปฏิมากางกั้นด้วยลัปตปฎลเศวตฉัตร หุ้มด้วยตาดเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ดังที่มีลักษณะสำคัญ อาทิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม กึ่งรูปโข พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นค่อนข้างกว้าง วางอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางพระวรกาย เป็นต้น
พระพุทธรูปองค์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.๒๓๗๑ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนาพระอารามและเริ่มก่อสร้างพระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร ไม่นาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ให้ช่างชาวไทยเป็นผู้หล่อองค์พระ และได้ว่าจ้างซ่างซาวญี่ปุ่นลงรักปิดทองตามกรรมวิธีของช่างชาวญี่ปุ่น ซึ่งมืฝีมือในการลงรักปิดทอง และถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่นำช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวต่างซาติ เมื่อแรกสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีซื่อปรากฏ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติแก่วัดว่า “พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา” อันมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาประเสริฐสุดโดยธรรม

ภาพพระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 170)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธไสยาส (พระนอนวัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาส หรือพระนอนวัดโพธิ์ พระประธานในพระวิหารพระพุทธ ไสยาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในเขตพุทธาวาส วัดพระเขตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม โดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่พื้นฝ่าพระบาท ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงามเป็นเอก เป็นที่เคารพสักการะและเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาลนิกชนทั้งขาวไทยและขาวต่างประเทศ และนับเนื่องในคติการไหว้พระ ๙ วัดของพุทธศาสนิกชน
พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางโปรดอสุรินทราหู ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว ๑๐ ศอก (๕ เมตร) กว้าง ๕ ศอก (๒.๕๐ เมตร) พระพุทธบาทยาว ๕เมตร สูง ๓ เมตรในพระอิริยาบถสีหไสยา คือ นอนตะแคงขวา พระหัตถ์ซ้าย ทาบออกไปตามพระวรกาย พระกัจฉะ (รักแร้) หนุนพระเขนย พระหัตถ์ขวา ยกประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกันที่พื้นฝ่าพระบาทจำหลักลวดลายประดับมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะของพระมหาบุรุษตามตำรามหาปุริสลักษณะซึ่งได้บรรยายลักษณะของสมเด็จพระสัมมาส้มพุทธเจ้าไว้ ฝีมือประดับมุกนับว่างดงามยิ่ง เป็นฝีมือข่างสิบหมู่ของหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้น คราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเขตุพนฯ ครั้งใหญ่ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๕ ในการบูรณะครั้งนี้ทรงขยายเขตวัดออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยสร้างองค์พระพุทธไสยาสก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบภายหลัง ด้วยมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางสำคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางไสยาสน์เท่านั้นจึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างในยุคทอง แห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด
พระพุทธไสยาสได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมาเนื่องจากชำรุดตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม อาทิ พระรัศมีพระพุทธไสยาส หักตกลง เมื่อพุทธคักราช ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรง ปฏิสังขรณ์เฉพาะพระรัศมีสมัยรัชกาลที่ ๖ ฝ่าพระหัตถ์พระพุทธไสยาส เบื้องขวาหักตกลงมาถูกฐานประดิษฐานองค์พระพังไปยาวประมาณ ๑ วาเศษ โปรดให้ซ่อมดังเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๘ เมื่อพุทธคักราช ๒๔๘๖ พระพุทธไสยาส ได้รับการกระทบกระเทือนจากแรงระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประกอบกับ เหล็กและไม้แกนเก่า ปูนเสื่อมสภาพ เป็นเหตุให้พระกรรณเบื้องขวาหลุดหล่นลงมา ซ่อมพระกรรณแล้วลงรักปีกทอง และพุทธศักราช ๒๔๘๘ ทองและรักซึ่งทุ้มองค์พระพุทธไสยาสหลุดกระเทาะลอกออกโปรดให้ซ่อมพระพักตร์ก่อน โดยลอกทองและบิดทองใหม่เนื่องจากพระกรรณที่ทำไว้ใหม่สีไม่เข้ากับพระพักตร์ จากนั้นจึงซ่อมองค์พระต่อไป ครั้งรัชกาลที่ ๙ มีการซ่อมบูรณะองค์พระเรื่อยมา อาทิ ซ่อมพระเศียร บิดทององค์พระติดกระจกหมอนและฐานชุกชี ทำความสะอาดลายมุกที่พื้นฝ่าพระบาท ตลอดจนบูรณะพระวิหารเพื่อความสง่างาม

ภาพพระพุทธไสยาส (พระนอนวัดโพธิ์)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 152)
 

พระศรีสรรเพชรญ์

พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธประธานในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระศรีสรรเพชญ์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร สูง ๖.๙๖ เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ พระพุทธรูปสำคัญองค์นี้นับเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในช่วงระยะสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ ได้แก่ การทำสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ และพาดอยู่กลางพระวรกายและการทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยม แสดงอาการเคร่งขรึมและพระวรกายหนาใหญ่ แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะพระพุทธรูปศิลปะ อยุธยาตอนต้นอยู่ด้วย
จึงกล่าวได้ว่า พระครีสรรเพชญ์เป็นตัวอย่างพระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดงานศิลปะอยุธยา มาสู่ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ซึ่ง สืบทอดต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสูรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้าเป็นผู้ปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อให้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งในครั้งนั้นเรียกชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระประธานจึงได้ชื่อว่า พระศรีสรรเพชญ์ ตามนามพระอาราม
ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๘๗ พระอารามแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถขึ้นอีก ๑ ศอก พระศรีสรรเพชญ์จึงได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้น ตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๕ ได้เกิดอสนีบาตตกลงพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ จึงไต้ปิดทองใหม่ทั้งองค์ จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๔๖๗ ได้ปิดทองพระศรีสรรเพชญ์ใหม่ทั้งองค์อีกครั้งหนึ่ง

ภาพพระศรีสรรเพชรญ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 154)
 

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ รัตนราชโกษา ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (หัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ เป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระพุทธตรีโลกเชษฐ์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดาที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว บางแห่งว่า หน้าตักกว้าง ๓ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตรป้ายเป็นแผ่น เช่นเดียวกับพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กแย้มพระสรวลเล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้ง แต่เกือบจะเป็นเส้นตรง คล้ายเรือประทุน ลักษณะพระพักตร์นิ่ง “อย่างหุ่น” นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เรียวยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกลางพระวรกาย ทั้งหมดนี้แสดงลักษณะพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดวงจักรกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งทรงกำกับดูแลกรมช่างหล่อ สร้างพระพุทธรูปประธานสำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และโปรดให้อัญเชิญพระศรีศาสดา ซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายนามว่า “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” โดยทรงผูกนามพระประธานใน พระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญให้คล้องจองกันว่า “พระศรีศากยมุนิ” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี” จากนั้นใน พ.ศ.๒๔๐๗ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอสีติมหาสาวก ด้วยปูนปั้นลงสี จำนวน ๘๐ องค์ นั่งพนมมือสดับพระบรมพุทโธวาทอยู่เบื้องพระพักตร์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ นั้น

ภาพพระพุทธตรีโลกเชษฐ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 156)
 

พระพุทธเสรฏฐมุนี

พระพุทธเสรฏฐมุนีประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพ
วราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ สะท้อนพระราชหฤทัยพระมหากษัตริย์เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงห่วงใยพลเมือง และทรงปกป้องภัยพิบัติเฉพาะสิ่งเสพติดอย่างเข้มแข็ง พระราชทานกำลังใจแก่ผู้เสพติดว่า สามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีใต้ตลอดเวลา ประดุจพระพุทธรูปนี้ แม้จะหล่อหลอมมาจาก “กลักฝิ่น” สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด สุดท้ายก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้วด้วยพุทธธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โดยได้นำกลักฝิ่นซึ่งเป็นทองเหลือง และโลหะอื่นๆ จำนวนมาก หลอมหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว ตามพุทธศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นพิเศษเฉพาะที่สำคัญ คือ พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นกว้างวางอยู่กลางพระวรกาย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาล ที่ ๓ ทรงปกป้องผืนแผ่นดิน เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทรงทำนุบำรุงพสกนิกรให้เป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม มีความรู้ มีปัญญา เพื่อเป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ปรากฏว่าในรัชสมัยของพระองค์ ชาวต่างชาติไต้นำฝิ่นเข้ามาเผยแพร่ในพระราชอาณาจักร ฝิ่นเป็นสิ่งเสพติดมอมเมาพลเมือง ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอยเป็นการบั่นทอนความมั่นคงของบ้านเมือง ผู้ที่ค้าฝิ่นคือเสี้ยนหนามบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา จึงมีพระบรมราชโองการให้ ปราบฝิ่นอย่างเด็ดขาด พุทธศักราช ๒๓๘๒ ได้กวาดล้างจับฝิ่นครั้งใหญ่ ได้ฝิ่นดิบ ๓,๗๐๐ หาบ ฝิ่นสุก ๒ หาบ รวมน้ำหนัก ๒๒๒,๑๒๐ กิโลกรัม คิดเป็นเงินเวลานั้นกว่า ๑๘ ล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า โปรดให้รวมมาเผาทำลายที่สนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อ วันที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ แล้วทรงนำกลักฝิ่นจำนวนมาก หล่อเป็นพระพุทธปฏิมากร ณ โรงหล่อของหลวงในพระบรมมหาราชวัง อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อแรกผู้คนเรียกว่า “พระกลักฝิ่น” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระพุทธเสรฏฐมุนี” แปลว่า พระผู้ประเสริฐสุด มีความหมายว่า ผู้ติดสิ่งเสพติดทั้งหลาย สามารถกลับใจเป็นคนดีไต้เสมอ ย่อมสว่างรุ่งเรืองเสมือนกับพระพุทธรูปที่ทรงสร้าง อันจะเป็นพลังแข็งแกร่งชนะจิตใจให้เหินห่างสิ่งเสพติดได้

ภาพพระพุทธเสรฏฐมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 158)
 

พระพุทธเทววิลาส

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์ บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุษบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธเทววิลาส หรือ หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชรจำหลักด้วยหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์พระเพลากว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๒๐ นิ้ว หนา ๘ นิ้ว พระอังสา ๙ นิ้ว รอบพระอุระ ๑๘ นิ้ว นักวิชาการบางท่านกล่าวว่ามีรูปแบบคล้ายศิลปะล้านนาผสมสุโขทัย แต่รูปแบบศิลปกรรม อาจมีอายุอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดูจากลักษณะนิ้วพระหัตถ์เสมอกันทั้งสี่นิ้ว และการเล่นลายเส้นชายจีวรที่ด้านล่างพระเพลา

พระพุทธเทววิลาสองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจำหลักด้วย ศิลาขาวจากพระบรมมหาราชวังมาเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเทพธิดาราม วรวิหาร อันเป็นวัดซึ่งสร้างพระราชทานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาพระองศ์ใหญ่ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรง บำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพธิดาราม ได้พระราชทานนามหลวงพ่อขาวว่า “พระพุทธเทววิลาส”

ภาพพระพุทธเทววิลาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 160)
 

พระประธานในพระวิหาร

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระประธานในพระวิหารวัดเทพธิดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทรภักดี เป็นแม่กองในการสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าลูกเธอ พระองศ์เจ้าหญิงวิลาส พระปิยราชธิดา สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒ แล้วพระราชทานนามว่า “วัดเทพธิดาราม” อันหมายถึง “อัปสรสุดาเทพ” และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพระราชพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๒
พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดเทพธิดาราม วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗๕ นิ้ว สูง ๙๕ นิ้ว ด้านซ้ายและด้านขวาของพระประธาน มีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติอยู่ข้างละ ๑ องค์ และมีรูปปั้นพระมหากัจจายนเถระ หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร นอกจากนี้ ภายในพระวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อดีบุก เป็นรูปหมู่อริยสาวิกา (ภิกษุณี) ซึ่งได้รับเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุณีบริษัท จำนวน ๕๒ องศ์

ภาพพระประธานในพระวิหาร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 162)
 

พระเสฏฐตมมุนี

พระเสฏฐตมมุนี เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดราชนัดดาราม วรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระเจ้าหลานเธอในรัชกาล เมื่อทรงเจริญพระชันษาเกศากันต์แล้ว พร้อมกับการสร้างโลหะปราสาทที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในโลกในขณะนี้ และเป็นที่ 3 ของโลกต่อจาที่อินเดียและศรีลังกา

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองแดง เนื้อแปดทั้งองค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๗ ศอก พระเสฏฐตมมุนีเป็นหนึ่งในกลุ่มพระพุทธรูปสำคัญ ที่มีขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร พระอารามหลวง ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะพุทธศิลป์ที่เป็นแบบเฉพาะในรัชสมัยนี้ อาทิ ลักษณะพระพักตร์ “อย่างหุ่น” นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และพาดกลางพระวรกาย เป็นต้น กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก แขวงเมืองนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อ ทองแดง ส่งลงมายังกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก มีพระราชประสงค์จะให้ทองแดงนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระศาสนาก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปใหญ่ขนาดไล่เลี่ยกัน ๒ องค์ ณ โรงหล่อหลวง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามที่ทรงสร้างใหม่ ๒ วัด คือ วัดราชนัดดาราม วรวิหาร และ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร จังหวัดนนทบุรี ครั้งนี้ปรากฏว่าโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ๓๔ ปาง ด้วย หล่อสำเร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๙ และอัญเชิญมาประดิษฐานในวันที่ ๔ ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น
พระพุทธปฏิมาประธานองค์นี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ถวายนามว่า “พระเสฏฐตมมุนี” ทองแดงหล่อเดิมมิได้ลงรักปิดทอง ตราบจนถึงรัชกาลที่ ๕ สมัยของพระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ เป็นผู้เอาใจใส่ในการทำนุบำรุงวัด ได้ลงรักปิดทองยกเศวตฉัตรขาว ๕ ชั้น ซ่อมฐานชุกชี ลงรักปิดทองประดับกระจกด้วย

ภาพพระเสฏฐตมมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 164)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำริด เป็นพระพุทธรูปสำริดนวโลหะ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัย ล้านช้าง นามว่า “หลวงพ่อแสน” วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัย อยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดเจ้าสัวหง” ตามซื่อของเศรษฐีจีนผู้สร้าง สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ขยายอาณาเขตวัด ให้กว้างขึ้นสร้างกุฏิและเสนาสนะทั้งพระอาราม พระราชทานนามว่า “วัดหงส์อาวาสวิหาร”
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดให้เปลี่ยนชื่อพระอารามเป็น “วัดหงส์อาวาสวรวิหาร” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะต่างๆ อีกทั้งพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งใช้สืบมาจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด จากลักษณะพระวรกาย ที่เพรียวบางมีนิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากันทั้งสี่นิ้ว สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ทอดยาว ผ่านกลางพระอุระยาวจรดพระนาภี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 166)
 

พระพุทธมหาจักรพรรดิ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดนางนอง วรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนนามพระพุทธปฏิมาประธานนั้นไม่ปรากฏตั้งแต่แรกสร้าง ด้วยเหตุที่พระพุทธปฏิมาแสดงลักษณะของพระมหาจักรพรรดิในทางธรรม จึงลงความเห็นถวายนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” ภายหลังอาณาบริเวณที่สร้างวัด เดิมเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระนามเดิม คือ เจ้าจอมมารดาเรียม พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เฉพาะพระมหามงกุฎแห่งพระพุทธมหาจักรพรรดิ กล่าวได้ว่า คือ พระราชปฤษณา ประวัติศาสตร์ที่ไขความในพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ถึงพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ที่เรียกว่าปางโปรดพญาชมพูบดี ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง พระพักตร์สร้างคล้ายพุทธศิลป์สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๒๕ เซนติเมตร ประมาณ ๔ ศอกครึ่ง เครื่องทรงที่ประดับตกแต่งทุกชิ้น แยกกันออกจากองศ์พระ ด้วยการสวมทับลงไว้ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ประดับลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก กล่าวได้ว่า เป็นงานประติมากรรมชิ้นเอกแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ที่ประณีตงดงามอย่างวิจิตรอลังการให้ความ เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เข้ามาสักการะ มีความอิ่มเอิบยึดนั่นในพระพุทธศาสนาอย่างสงบเยือกเย็น
วัดนางนอง วรวิหาร ตั้งอยู่ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตจอมทอง โดยเฉพาะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่คับคั่งมาแต่โบราณ คือ คลองด่าน หรือ คลองสนามชัย อยู่ริมคลองฝั่งใต้ตรงข้ามวัดหนัง วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๘ (ชุนหลวงสรศักดิ์ พ.ศ. ๒๒๔๕ - ๒๒๕๒) ในสมัยรัชกาล ที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ รื้อของเก่า และปฏิสังขรณ์ ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ที่พระอุโบสถและพระวิหารคู่
มีเรื่องเล่าเฉพาะเครื่องศิราภรณ์ คือ มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิมีประวัติว่า องศ์ที่สวมอยู่นี้ เป็นองศ์ที่ ๒ องศ์แรกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้อัญเชิญชิ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระอาราม เสริมพระปรางค์ให้สูงขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นสัญลักษณ์ชาติไทยสิ่งหนึ่งที่ชาวโลกรู้จัก สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยมีพระราชดำริว่าพระปรางค์เดิมสูง ๘ วานั้น ยังย่อมอยู่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งขึ้นเป็นราชธานี ยังไม่มีพระมหาธาตุ ควรเสริมสร้างให้ใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงโปรดฯ ให้ลงมือขุดราก แต่การได้ค้างอยู่เพียงนั้นก็สิ้นรัชกาล
พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ต่อมามีพระราชดำริออกแบบพระปรางค์เสริมให้สูงขึ้น เสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษในปีที่ทรงผูกพัทธสีมาวัดนางนองวรวิหาร คือ พ.ศ. ๒๓๘๕ ครั้นพระปรางค์สำเร็จเป็นพระมหาเจดีย์ โปรดยกยอดพระปรางค์ซึ่งเดิม เป็นยอดนภศูลตามพระปรางค์แบบโบราณได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ ยอดนภศูลพระปรางค์เมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ.๒๓๙๐ มีหมายรับสั่งกำหนดวันยกยอด พระปรางค์ในเดือนอ้ายปีเดียวกัน ครั้นใกล้วันพระฤกษ์โปรดฯให้ยืมมงกุฎที่หล่อ สำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนอง วรวิหาร มาสวมต่อบนยอดนภศูล เกี่ยวกับเรื่องให้ยืมมงกุฎพระประธานวัดนางนอง วรวิหาร ไปสวมบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในฺหนังสือ “ความทรงจำ” ตอนหนึ่งว่า “จะเป็นด้วยพระราชดำริอย่างไร จึงทำเช่นนั้นหาได้ตรัสให้ใครทราบไม่ และการที่เอามงกุฎขึ้นต่อบนยอดนภคูล ก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาก่อน” คนในสมัยนั้นจึงพากันสันนิษฐานว่า มีพระราชประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎจะเป็นยอดของบ้านเมืองต่อไป

ภาพพระพุทธมหาจักรพรรดิ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 168)
 

พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา

พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดาเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัด ประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการยกย่องว่าฝีมือการปิดทององค์พระปฏิมางดงามยากจะหาที่ติ
พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๔ ศอก หย่อนนิ้ว สูง ๕ ศอก ๖ นิ้ว พุทธลักษณะงดงามต้องตามมหาปุริสลักษณะ เหนือองค์พระปฏิมากางกั้นด้วยลัปตปฎลเศวตฉัตร หุ้มด้วยตาดเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ดังที่มีลักษณะสำคัญ อาทิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม กึ่งรูปโข พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นค่อนข้างกว้าง วางอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางพระวรกาย เป็นต้น
พระพุทธรูปองค์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.๒๓๗๑ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนาพระอารามและเริ่มก่อสร้างพระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร ไม่นาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ให้ช่างชาวไทยเป็นผู้หล่อองค์พระ และได้ว่าจ้างซ่างซาวญี่ปุ่นลงรักปิดทองตามกรรมวิธีของช่างชาวญี่ปุ่น ซึ่งมืฝีมือในการลงรักปิดทอง และถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่นำช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวต่างซาติ เมื่อแรกสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีซื่อปรากฏ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติแก่วัดว่า “พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา” อันมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาประเสริฐสุดโดยธรรม

ภาพพระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 170)