ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระประธานในพระอุโบสถ
พระอุโบสถวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในประดิษฐานพระประธาน ซึ่งคนทั่วไป มักเรียกว่า “หลวงพ่อพระประธาน” วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมซื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนานเมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชา มาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ.๒๓๒๕ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างสิ่งต่างๆ เพิ่มเติม เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และบรมบรรพต หรือภูเขาทอง แต่ไม่สำเร็จในรัชกาล ถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้เปลี่ยนแปลงเป็นภูเขา ก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เปลี่ยนนามภูเขาทองเป็นบรมบรรพต การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จึงถือเป็นวัดสำคัญและเป็นแหล่งที่คนไทยและชาวต่างชาติ ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดแห่งนี้
พระประธานภายในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะศิลปะสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ปูนปีนลงรักปิดทอง ประดิษฐานบนฐานชุกชี ลักษณะโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยา ตรงตามประวัติที่กล่าวว่ารัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพอกทับพระประธานองค์เดิม ลักษณะของพระพุทธรูป พระประธานมีพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยมแบบอยุธยา ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระโอษฐ์กว้างแบบอยุธยา ลักษณะขายสังฆาฏิที่ซ้อนทับกันแบบเดียวกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีส่วนที่แตกต่างคือในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำสังฆาฏิพาดกึ่งกลางพระวรกาย ในขณะที่พระพุทธรูปสมัยอื่นๆ นั้นชายสังฆาฏิจะอยู่ทางเบื้องซ้าย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถใหม่ฐานชุกชีสูงกว่าเดิมมาก ทำให้ดูเหมือนว่าพระประธานเดิมที่สร้างด้วยศิลาสลักเป็นปางสมาธินั้นดูเล็กลงไม่สมกับขนาดของพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระประธานใหม่ด้วยการเอาปูนปันพอกองค์พระประธานเดิม แล้วลงรักปิดทอง เท่ากับว่ามีพระประธานซ้อนกันอยู่สององค์ ด้วยเหตุนี้จึงไม่พระราชทานชื่อพระประธานประจำพระอุโบสถ เพราะมีพระพุทธรูปที่มีมาแต่เดิมซ้อนอยู่คนทั่วไปจึงเรียกพระประธานประจำพระอุโบสถ ว่า “พระประธาน” นับได้ว่าพระอุโบสถวัดสระเกศ เป็นสถานที่สำคัญภายในวัดแห่งหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนนิยมเคารพกราบไหว้พระประธานเพื่ออธิษฐานขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 132)

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ คือ พระพุทธปฏิมาประธานของพระอุโบสถวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๑ ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แวดล้อมด้วยสมเด็จพระสัมมาส้มพุทธเจ้า ในอดีต ๑๕ พระองค์ รวมเรียกทั้งองค์ประธานด้วย จึงเรียกพระประธานของ วัดชนะสงครามว่า “พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์”
เนื่องด้วยภายในองค์พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ คือ พระพุทธปฏิมาประธานองค์เดิมที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และนายทัพนายกองถวายเสื้อจารึกอักขระคุณพระรัตนตรัยคลุมถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อกลับจากการรบ ป้องกันบ้านเมือง ครั้นเมื่อทรงทำนุบำรุงวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ โปรดสร้างองค์พระประธานโดยพอกปูนทับองค์เดิมพร้อมเสื้อยันต์ทั้งหลายที่คลุมถวายไว้ องค์พระจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
ชื่อของวัดนี้บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นอนุสรณ์ของบรรพชนที่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องประเทศให้รอดพ้นจากภัยสงคราม ส่วนพระพุทธปฏิมา ประธาน คือ หลักฐานแสดงพุทธานุภาพแห่งพระพุทธศาสนาที่วีรกรรมของนักรบซึ่งกลับมาจากสมรภูมิอย่างภาคภูมิ
พระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร สูง ๓ เมตร ๕๐ เซนติเมตร สร้างด้วยปูนพอกองค์เดิมพร้อมเสื้อยันต์ บุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง นิ้วพระหัตถ์ทำอย่างนิ้วมนุษย์ กล่าวได้ว่า เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ สกุลช่างวังหน้า
ที่ตั้งวัดชนะสงครามแต่เดิมเมื่อรัชกาลที่ ๑ เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ นามวัดเดิมมีชื่อว่า วัดกลางนา เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๓๒๕ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราชชองพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นพระมหาอุปราชและเป็นกำลังใน การป้องกันบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยสงคราม ในการรบครั้งสำคัญ ๓ ครั้ง คือ สงครามเก้าทัพ พ.ศ.๒๓๒๘ สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ พ.ศ.๒๓๒๙ และที่เมืองลำปางและป่าซาง เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ กล่าวว่า การทำศึกครั้งใด เมื่อมาถึงวัดกลางนา ทรงถอดฉลองพระองค์ซึ่งลงยันต์จารึกอักขระ คุณพระรัตนตรัยคลุมถวายพระประธานในอุโบสถเป็นพุทธบูชา ทรงอนุญาตนายทัพนายกองกระทำเช่นเดียวกัน ทหารทั้งหลายส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ เรียกชื่อวัดว่า “วัดต่อมปุเลาะ” ตามนามวัดรามัญในเมืองมอญ ชื่อนามวัดกลายเป็นตองปุ เช่นเดียวกับวัดมอญในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดกลางนา ขยายอุโบสถกว้างใหญ่ รับสั่งให้ช่างปั้นพระประธาน โดยพอกปูน ทับเสื้อยันต์ไปด้วย น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งนามวัดใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” เป็นอนุสรณ์หลังจากทำสงครามครั้งใหญ่ ๓ ครั้ง ได้ชัยชนะมาแล้ว

ภาพพระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 134)
 

พระพุทธโมลีโลกนาถ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปโบราณ ทรงพุทธานุภาพ เป็นที่เคารพสักการะของพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และเหล่าราษฎรมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระพุทธโมลีโลกนาถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๔ ศอกคืบ มีพุทธลักษณะงดงามมาก
แม้ว่าจะไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากลักษณะดูจะเป็นแบบเฉพาะของพระพุทธรูปที่สร้างในรัชสมัยที่ ๓ คือ มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมรีแบบรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตร พระขนงป้ายเป็นแผ่นแบบพระพุทธรูป ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์สงบนิ่งอย่างหุ่น นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็น แผ่นใหญ่ และพาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร หรือวัดท้ายตลาด เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้วัดท้ายตลาดกับวัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดในเขตพระราชวัง จึงทำให้วัดทั้งสองไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดรัชสมัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล ที่ ๒) ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะสงฆ์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสี ทรงสร้างพระอุโบสถลักษณะวิจิตรงดงามขึ้น เมื่อการทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงโปรดให้พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา และไต้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา ซึ่งพระพุทธโมลีโลกนาถนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่ามีมาแต่เดิมหรือสร้างขึ้นพร้อมกับพระอุโบสถใน สมัยรัชกาลที่ ๑ พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปณฺโณ ซื่อเดิม วรวิทย์ ธรรมวรางกูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ได้ถวายนามว่า “พระพุทธโมลีโลกนาถ”

ภาพพระพุทธโมลีโลกนาถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 136)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดคุสิดาราม วรวิหาร เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พระอารามแห่งนี้ เดิมซื่อว่า “วัดเสาประโคน” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาขึ้น แต่ไม่ทราบว่าทรงสร้างหรือทรงปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุ หรือถาวรวัตถุสิ่งใดไว้บ้าง เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างพระอุโบสถ พร้อมทั้งพระระเบียง หอระฆังและกุฏิ ๒ คณะ ส่วนศาลาเก๋งและวิหารคงเป็นเพียงทรงปฏิสังขรณ์ของเดิมเท่านั้น ต่อมาในรัชกาล ที่ ๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างกุฏิด้านหน้า ๑ คณะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆ ทรง บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในบริเวณกุฏิที่สร้างใหม่ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดดุสิดาราม”
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดดุสิดาราม วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒.๑๒ เมตร สูงถึงพระรัศมี ๒.๐๐ เมตร พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกเล็ก ริมพระโอษฐ์หยักเล็กน้อย นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน สังฆาฏิใหญ่ พาดยาวลงกลางพระองศ์จรดพระนาภี ลักษณะโดยรวมดังกล่าวสันนิษฐานว่า อาจสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ มีพระอัครสาวก นั่งประนมมืออยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองศ์ พระอัครสาวกสูง ๙๗ เซนติเมตร นั่งขัดสมาธิอยู่บนแท่นบัวคว่ำ บัวหงายด้านขวาและด้านซ้ายพระประธานข้างละ ๑ องศ์ หันหน้าเข้าหาพระประธาน

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 138)
 

สมเด็จพระพุทธชนกศาสดาปฐมบรมสุวรรณรัฏฐจักรี

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นวัดประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ ด้วยสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงสถาปนาขึ้น เป็นพระพุทธรูปทรง พุทธานุภาพเป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนชาวไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ข้าราชการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมาประชุมดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสุวรรณ ดารารามนี้
สมเด็จพระพุทธชนกศาสดาฯ เป็นพระพุทธรูปปูนปันบิดทองปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ เหนือพระรัตนบัลลังก์ลงรักปีกทองประดับกระจก ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้จำลองขยายส่วนจาก พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านซ้าย และขวาของพระพุทธรูปประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร
วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดทอง ตั้งอยู่ภายในกำแพงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สร้างขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก วัดทองได้ถูกทำลายกลายเป็น วัดร้างนานถึง ๑๘ ปี จนพุทธศักราช ๒๓๒๘ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ๓ ปี ได้โปรด เกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองซึ่งถูกทิ้งร้างไว้ทั้งพระอาราม ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ และหมู่กุฏิทั้งหมดด้วย เมื่อการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ได้พระราชทานนามพระอารามตามชื่อของพระราชบิดา (ทองดี) และพระราชมารดา (ดาวเรือง) ว่า “วัดสุวรรณดาราราม” และโปรดให้สร้างพระพุทธปฏิมาประธานโดยจำลองขยายส่วนจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกตประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นแบบศิลปะสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนปลาย มีฐานโค้งอ่อนลงตรงกลางคล้ายเรือสำเภา หน้าบัน พระอุโบสถสลักลายเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรม เทพชุมนุมที่ผนังอุโบสถตอนบน ส่วนตอนล่างเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เตมีย์ชาดก และสุวรรณสามชาดก ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารวิชัย และแม่พระธรณีบีบมวยผม

ภาพสมเด็จพระพุทธชนกศาสดาปฐมบรมสุวรรณรัฏฐจักรี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 140)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดหิรัญรูจี วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๒๒ นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชี กั้นด้วยฉัตร ๕ ชั้น เบื้องหน้าพระประธาน มีพระอัครสาวกยืนพนมหัตถ์อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา แม้ว่าจะไม่ปรากฏประวัติว่าสร้างเมื่อใด แต่จากลักษณะพระพักตร์และพระหัตถ์ที่แสดงนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ทำให้สันนิษฐานว่าอาจสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดหิรัญรูจี เดิมซื่อวัดน้อย บางไส้ไก่ เจ้าขรัวเงิน พระภัสดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระศรีสุรีเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒ ได้สร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาสีหราชเดโช เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม แล้วพระราชทานชื่อว่าวัดหิรัญรูจี สำหรับองค์พระพุทธปฏิมาประธานนั้นไม่ปรากฏประวัติการสร้าง มีเพียงประวัติว่าโปรดให้หล่อพระพุทธรูป ด้วยเงินทั้งองค์ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑ ศอก ๒ นิ้ว สำหรับประดิษฐาน ไว้ในพระอุโบสถเพี่อเป็นพระพุทธรูปประจำวัด

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 142)
 

พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ภายในพระเศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และภายในพระพุทธอาสน์ ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ สร้างจากโลหะผสมทอง ขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ หรือ ๑.๗๕ เมตร ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลกด้วยพระองค์เอง
พระพุทธรูปองค์นี้ เดิมยังไม่มีพระนาม หล่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธรูปองค์นี้ด้วยพระองค์เอง ประดิษฐานบนฐานชุกชี โปรดให้หล่อพัดยศพระประธานเป็นรูปพัดแฉกขนาดใหญ่ตั้งไว้กึ่งกลางเบื้องพระพักตร์ระหว่างพระอัครสาวก เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างถวายพระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า การสร้างพัดยศถวายพระพุทธปฏิมาซึ่งแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นคตินิยมแต่โบราณอันมีที่มาจากพุทธประวัติที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างพัดงาถวายพระพุทธองค์สำหรับทรงถือในเวลาประทานพระธรรมเทศนา
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปรากฏความในหมายรับสั่งว่า ได้เสด็จพระราชดำเนินมาบรรจุพระบรมธาตุที่อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังไว้ในพระเกศองค์พระประธานนี้ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บรรจุในพระพุทธอาสน์ ตกแต่งผ้าทิพย์ประดับลายพระราชลัญจกร เป็นรูปครุฑ แล้วถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก ต่อมาสมัยในรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงบัญชาการดับไฟด้วยพระองค์เอง และโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิออก หลังจากนั้นโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ให้มั่นคงแข็งแรงแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิคืนดังเดิม

ภาพพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 144)
 

พระพุทธจุฬารักษ์

พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้น ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๒ นิ้ว สูงจรดพระรัศมี ๖ ศอก ๑ คืบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน พระรัศมีเป็นเปลว พระเศียรใหญ่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรมองต่ำเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิใหญ่ พาดกลางพระวรกาย เบื้องหน้าพระประธาน ประดิษฐานพระพุทธสาวกสำคัญ ด้านซ้ายขวา คือ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร องค์กลาง คือ พระอานนท์
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่ชัด กล่าวกันว่า เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดท่าหอย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประทับอยู่เดิม ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ส่วนพระเศียรเป็นฝีพระหัตถ์ทรงปั้นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และพระวรกายเป็นฝีพระหัตถ์ทรงปั้นของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ และได้พระราชทานนามว่า พระพุทธจุฬารักษ์

ภาพพระพุทธจุฬารักษ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 146)
 

พระพุทธชัมภูนุท มหาบุรุษลักขณา อสีตยานุบพิตร

พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่างๆ รวมทั้งมีการบูรณะพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุดปรักหักพังให้งดงามบริบูรณ์ดีเป็นจำนวนมาก ในการสร้างพระพุทธรูปทุกองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพิธีบรรจุ พระบรมธาตุตามโบราณราชประเพณี เพื่อบังเกิดสรรพสิริมงคล มีพุทธานุภาพเป็นที่เคารพเลื่อมใส ในพระเศียรพระพุทธชัมภูนุทฯ จึงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๔ องค์ ในพระโกศ ๓ ชั้น เงิน นาก และทอง
พระพุทธชัมภูนุทฯ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบทองแดงปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก มีลักษณะรูปแบบเฉพาะศิลปะ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ อย่างแท้จริง คือ มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเปิด มองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กบาง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ลักษณะพระพักตร์คล้ายหุ่น นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกึ่งกลางพระวรกาย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธชัมภูนุทฯ ด้วยทองแดงปิดทอง คราวเดียวกับพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร แล้วโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ลำดับที่ ๑๑ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ กล่าวว่า ภายในพระเศียร พระพุทธซัมภูนุทฯ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๔ องค์ ในพระโกศ ๓ ชั้น เงิน นาก และทองที่เบื้องหน้าฐานชุกชีของพระพุทธชัมภูนุทฯ ประดิษฐาน “พระอรุณ” หรือ “พระแจ้ง” พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ศิลปะล้านช้าง
ภาพพระพุทธชัมภูนุท มหาบุรุษลักขณา อสีตยานุบพิตร


ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 148)
 

พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อันเป็นวัดประจำรัชกาล และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระราชสรีรังคารพร้อมกับศิลาจารีกดวงพระชะตาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประดิษฐานไว้ที่ฐานพระพุทธรูป และถวายนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐาน ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรนั้น จะต้องเป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคาร หรือพระบรมอัฐิของพระเจ้าแผ่นดิน ฉะนั้นการได้กราบพระพุทธรูปองค์นั้นถือเป็นสิรีมงคลเป็นเท่าทวีคูณ เพราะเท่ากับได้กราบถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินไปพร้อมกัน
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ วา ๒ ศอก หรือประมาณ ๓.๑๐ เมตร สูงประมาณ ๒ วา ๑ ศอก หรือประมาณ ๔.๕๐ เมตร มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น กั้น ด้านล่างเป็นฐานเขียนรูป ยกขอบปลายกลีบบัว ลงรักปิดทอง ประดับด้วย กระจกที่พระพุทธอาสน์
พุทธศักราช ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเป็นแม่ทัพไปต้านทัพพม่าทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดโบราณชื่อวัดจอมทอง ทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ทรงอธิษฐานให้ ราชการศึกสำเร็จลุล่วง แต่พม่าไม่ได้ยกทัพมาตามที่เล่าลือ เมื่อทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองทั้งพระอารามให้งดงามด้วยศิลปะพระราชนิยม และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชโอรส” เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามแล้ว โปรดให้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคาร และศิลาจารีกดวงพระชะตาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ใต้ฐานพระพุทธรูป พระประธานในพระอุโบสถ ถวายนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๔พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” ประดิษฐานภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

ภาพพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 150)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระประธานในพระอุโบสถ
พระอุโบสถวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในประดิษฐานพระประธาน ซึ่งคนทั่วไป มักเรียกว่า “หลวงพ่อพระประธาน” วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมซื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนานเมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชา มาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ.๒๓๒๕ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างสิ่งต่างๆ เพิ่มเติม เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และบรมบรรพต หรือภูเขาทอง แต่ไม่สำเร็จในรัชกาล ถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้เปลี่ยนแปลงเป็นภูเขา ก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เปลี่ยนนามภูเขาทองเป็นบรมบรรพต การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จึงถือเป็นวัดสำคัญและเป็นแหล่งที่คนไทยและชาวต่างชาติ ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดแห่งนี้
พระประธานภายในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะศิลปะสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ปูนปีนลงรักปิดทอง ประดิษฐานบนฐานชุกชี ลักษณะโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยา ตรงตามประวัติที่กล่าวว่ารัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพอกทับพระประธานองค์เดิม ลักษณะของพระพุทธรูป พระประธานมีพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยมแบบอยุธยา ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระโอษฐ์กว้างแบบอยุธยา ลักษณะขายสังฆาฏิที่ซ้อนทับกันแบบเดียวกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีส่วนที่แตกต่างคือในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำสังฆาฏิพาดกึ่งกลางพระวรกาย ในขณะที่พระพุทธรูปสมัยอื่นๆ นั้นชายสังฆาฏิจะอยู่ทางเบื้องซ้าย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถใหม่ฐานชุกชีสูงกว่าเดิมมาก ทำให้ดูเหมือนว่าพระประธานเดิมที่สร้างด้วยศิลาสลักเป็นปางสมาธินั้นดูเล็กลงไม่สมกับขนาดของพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระประธานใหม่ด้วยการเอาปูนปันพอกองค์พระประธานเดิม แล้วลงรักปิดทอง เท่ากับว่ามีพระประธานซ้อนกันอยู่สององค์ ด้วยเหตุนี้จึงไม่พระราชทานชื่อพระประธานประจำพระอุโบสถ เพราะมีพระพุทธรูปที่มีมาแต่เดิมซ้อนอยู่คนทั่วไปจึงเรียกพระประธานประจำพระอุโบสถ ว่า “พระประธาน” นับได้ว่าพระอุโบสถวัดสระเกศ เป็นสถานที่สำคัญภายในวัดแห่งหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนนิยมเคารพกราบไหว้พระประธานเพื่ออธิษฐานขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 132)

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ คือ พระพุทธปฏิมาประธานของพระอุโบสถวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๑ ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แวดล้อมด้วยสมเด็จพระสัมมาส้มพุทธเจ้า ในอดีต ๑๕ พระองค์ รวมเรียกทั้งองค์ประธานด้วย จึงเรียกพระประธานของ วัดชนะสงครามว่า “พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์”
เนื่องด้วยภายในองค์พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ ชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ คือ พระพุทธปฏิมาประธานองค์เดิมที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และนายทัพนายกองถวายเสื้อจารึกอักขระคุณพระรัตนตรัยคลุมถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อกลับจากการรบ ป้องกันบ้านเมือง ครั้นเมื่อทรงทำนุบำรุงวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ โปรดสร้างองค์พระประธานโดยพอกปูนทับองค์เดิมพร้อมเสื้อยันต์ทั้งหลายที่คลุมถวายไว้ องค์พระจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
ชื่อของวัดนี้บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นอนุสรณ์ของบรรพชนที่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องประเทศให้รอดพ้นจากภัยสงคราม ส่วนพระพุทธปฏิมา ประธาน คือ หลักฐานแสดงพุทธานุภาพแห่งพระพุทธศาสนาที่วีรกรรมของนักรบซึ่งกลับมาจากสมรภูมิอย่างภาคภูมิ
พระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร สูง ๓ เมตร ๕๐ เซนติเมตร สร้างด้วยปูนพอกองค์เดิมพร้อมเสื้อยันต์ บุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง นิ้วพระหัตถ์ทำอย่างนิ้วมนุษย์ กล่าวได้ว่า เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ สกุลช่างวังหน้า
ที่ตั้งวัดชนะสงครามแต่เดิมเมื่อรัชกาลที่ ๑ เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ นามวัดเดิมมีชื่อว่า วัดกลางนา เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๓๒๕ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราชชองพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นพระมหาอุปราชและเป็นกำลังใน การป้องกันบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยสงคราม ในการรบครั้งสำคัญ ๓ ครั้ง คือ สงครามเก้าทัพ พ.ศ.๒๓๒๘ สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ พ.ศ.๒๓๒๙ และที่เมืองลำปางและป่าซาง เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ กล่าวว่า การทำศึกครั้งใด เมื่อมาถึงวัดกลางนา ทรงถอดฉลองพระองค์ซึ่งลงยันต์จารึกอักขระ คุณพระรัตนตรัยคลุมถวายพระประธานในอุโบสถเป็นพุทธบูชา ทรงอนุญาตนายทัพนายกองกระทำเช่นเดียวกัน ทหารทั้งหลายส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ เรียกชื่อวัดว่า “วัดต่อมปุเลาะ” ตามนามวัดรามัญในเมืองมอญ ชื่อนามวัดกลายเป็นตองปุ เช่นเดียวกับวัดมอญในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดกลางนา ขยายอุโบสถกว้างใหญ่ รับสั่งให้ช่างปั้นพระประธาน โดยพอกปูน ทับเสื้อยันต์ไปด้วย น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งนามวัดใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” เป็นอนุสรณ์หลังจากทำสงครามครั้งใหญ่ ๓ ครั้ง ได้ชัยชนะมาแล้ว

ภาพพระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 134)
 

พระพุทธโมลีโลกนาถ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปโบราณ ทรงพุทธานุภาพ เป็นที่เคารพสักการะของพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และเหล่าราษฎรมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระพุทธโมลีโลกนาถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๔ ศอกคืบ มีพุทธลักษณะงดงามมาก
แม้ว่าจะไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากลักษณะดูจะเป็นแบบเฉพาะของพระพุทธรูปที่สร้างในรัชสมัยที่ ๓ คือ มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมรีแบบรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตร พระขนงป้ายเป็นแผ่นแบบพระพุทธรูป ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์สงบนิ่งอย่างหุ่น นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็น แผ่นใหญ่ และพาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร หรือวัดท้ายตลาด เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้วัดท้ายตลาดกับวัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดในเขตพระราชวัง จึงทำให้วัดทั้งสองไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดรัชสมัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล ที่ ๒) ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะสงฆ์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสี ทรงสร้างพระอุโบสถลักษณะวิจิตรงดงามขึ้น เมื่อการทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงโปรดให้พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา และไต้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา ซึ่งพระพุทธโมลีโลกนาถนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่ามีมาแต่เดิมหรือสร้างขึ้นพร้อมกับพระอุโบสถใน สมัยรัชกาลที่ ๑ พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปณฺโณ ซื่อเดิม วรวิทย์ ธรรมวรางกูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ได้ถวายนามว่า “พระพุทธโมลีโลกนาถ”

ภาพพระพุทธโมลีโลกนาถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 136)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดคุสิดาราม วรวิหาร เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พระอารามแห่งนี้ เดิมซื่อว่า “วัดเสาประโคน” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาขึ้น แต่ไม่ทราบว่าทรงสร้างหรือทรงปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุ หรือถาวรวัตถุสิ่งใดไว้บ้าง เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างพระอุโบสถ พร้อมทั้งพระระเบียง หอระฆังและกุฏิ ๒ คณะ ส่วนศาลาเก๋งและวิหารคงเป็นเพียงทรงปฏิสังขรณ์ของเดิมเท่านั้น ต่อมาในรัชกาล ที่ ๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างกุฏิด้านหน้า ๑ คณะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆ ทรง บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในบริเวณกุฏิที่สร้างใหม่ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดดุสิดาราม”
พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดดุสิดาราม วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒.๑๒ เมตร สูงถึงพระรัศมี ๒.๐๐ เมตร พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกเล็ก ริมพระโอษฐ์หยักเล็กน้อย นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน สังฆาฏิใหญ่ พาดยาวลงกลางพระองศ์จรดพระนาภี ลักษณะโดยรวมดังกล่าวสันนิษฐานว่า อาจสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ มีพระอัครสาวก นั่งประนมมืออยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองศ์ พระอัครสาวกสูง ๙๗ เซนติเมตร นั่งขัดสมาธิอยู่บนแท่นบัวคว่ำ บัวหงายด้านขวาและด้านซ้ายพระประธานข้างละ ๑ องศ์ หันหน้าเข้าหาพระประธาน

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 138)
 

สมเด็จพระพุทธชนกศาสดาปฐมบรมสุวรรณรัฏฐจักรี

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นวัดประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ ด้วยสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงสถาปนาขึ้น เป็นพระพุทธรูปทรง พุทธานุภาพเป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนชาวไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ข้าราชการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมาประชุมดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสุวรรณ ดารารามนี้
สมเด็จพระพุทธชนกศาสดาฯ เป็นพระพุทธรูปปูนปันบิดทองปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ เหนือพระรัตนบัลลังก์ลงรักปีกทองประดับกระจก ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้จำลองขยายส่วนจาก พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านซ้าย และขวาของพระพุทธรูปประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร
วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดทอง ตั้งอยู่ภายในกำแพงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สร้างขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก วัดทองได้ถูกทำลายกลายเป็น วัดร้างนานถึง ๑๘ ปี จนพุทธศักราช ๒๓๒๘ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ๓ ปี ได้โปรด เกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองซึ่งถูกทิ้งร้างไว้ทั้งพระอาราม ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ และหมู่กุฏิทั้งหมดด้วย เมื่อการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ได้พระราชทานนามพระอารามตามชื่อของพระราชบิดา (ทองดี) และพระราชมารดา (ดาวเรือง) ว่า “วัดสุวรรณดาราราม” และโปรดให้สร้างพระพุทธปฏิมาประธานโดยจำลองขยายส่วนจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกตประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นแบบศิลปะสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนปลาย มีฐานโค้งอ่อนลงตรงกลางคล้ายเรือสำเภา หน้าบัน พระอุโบสถสลักลายเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรม เทพชุมนุมที่ผนังอุโบสถตอนบน ส่วนตอนล่างเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เตมีย์ชาดก และสุวรรณสามชาดก ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารวิชัย และแม่พระธรณีบีบมวยผม

ภาพสมเด็จพระพุทธชนกศาสดาปฐมบรมสุวรรณรัฏฐจักรี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 140)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดหิรัญรูจี วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๒๒ นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชี กั้นด้วยฉัตร ๕ ชั้น เบื้องหน้าพระประธาน มีพระอัครสาวกยืนพนมหัตถ์อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา แม้ว่าจะไม่ปรากฏประวัติว่าสร้างเมื่อใด แต่จากลักษณะพระพักตร์และพระหัตถ์ที่แสดงนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ทำให้สันนิษฐานว่าอาจสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดหิรัญรูจี เดิมซื่อวัดน้อย บางไส้ไก่ เจ้าขรัวเงิน พระภัสดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระศรีสุรีเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒ ได้สร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาสีหราชเดโช เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม แล้วพระราชทานชื่อว่าวัดหิรัญรูจี สำหรับองค์พระพุทธปฏิมาประธานนั้นไม่ปรากฏประวัติการสร้าง มีเพียงประวัติว่าโปรดให้หล่อพระพุทธรูป ด้วยเงินทั้งองค์ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑ ศอก ๒ นิ้ว สำหรับประดิษฐาน ไว้ในพระอุโบสถเพี่อเป็นพระพุทธรูปประจำวัด

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 142)
 

พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ภายในพระเศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และภายในพระพุทธอาสน์ ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ สร้างจากโลหะผสมทอง ขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ หรือ ๑.๗๕ เมตร ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลกด้วยพระองค์เอง
พระพุทธรูปองค์นี้ เดิมยังไม่มีพระนาม หล่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธรูปองค์นี้ด้วยพระองค์เอง ประดิษฐานบนฐานชุกชี โปรดให้หล่อพัดยศพระประธานเป็นรูปพัดแฉกขนาดใหญ่ตั้งไว้กึ่งกลางเบื้องพระพักตร์ระหว่างพระอัครสาวก เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างถวายพระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า การสร้างพัดยศถวายพระพุทธปฏิมาซึ่งแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นคตินิยมแต่โบราณอันมีที่มาจากพุทธประวัติที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างพัดงาถวายพระพุทธองค์สำหรับทรงถือในเวลาประทานพระธรรมเทศนา
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปรากฏความในหมายรับสั่งว่า ได้เสด็จพระราชดำเนินมาบรรจุพระบรมธาตุที่อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังไว้ในพระเกศองค์พระประธานนี้ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บรรจุในพระพุทธอาสน์ ตกแต่งผ้าทิพย์ประดับลายพระราชลัญจกร เป็นรูปครุฑ แล้วถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก ต่อมาสมัยในรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงบัญชาการดับไฟด้วยพระองค์เอง และโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิออก หลังจากนั้นโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ให้มั่นคงแข็งแรงแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิคืนดังเดิม

ภาพพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 144)
 

พระพุทธจุฬารักษ์

พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้น ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๒ นิ้ว สูงจรดพระรัศมี ๖ ศอก ๑ คืบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน พระรัศมีเป็นเปลว พระเศียรใหญ่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรมองต่ำเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิใหญ่ พาดกลางพระวรกาย เบื้องหน้าพระประธาน ประดิษฐานพระพุทธสาวกสำคัญ ด้านซ้ายขวา คือ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร องค์กลาง คือ พระอานนท์
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่ชัด กล่าวกันว่า เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดท่าหอย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประทับอยู่เดิม ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ส่วนพระเศียรเป็นฝีพระหัตถ์ทรงปั้นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และพระวรกายเป็นฝีพระหัตถ์ทรงปั้นของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ และได้พระราชทานนามว่า พระพุทธจุฬารักษ์

ภาพพระพุทธจุฬารักษ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 146)
 

พระพุทธชัมภูนุท มหาบุรุษลักขณา อสีตยานุบพิตร

พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่างๆ รวมทั้งมีการบูรณะพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุดปรักหักพังให้งดงามบริบูรณ์ดีเป็นจำนวนมาก ในการสร้างพระพุทธรูปทุกองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพิธีบรรจุ พระบรมธาตุตามโบราณราชประเพณี เพื่อบังเกิดสรรพสิริมงคล มีพุทธานุภาพเป็นที่เคารพเลื่อมใส ในพระเศียรพระพุทธชัมภูนุทฯ จึงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๔ องค์ ในพระโกศ ๓ ชั้น เงิน นาก และทอง
พระพุทธชัมภูนุทฯ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบทองแดงปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก มีลักษณะรูปแบบเฉพาะศิลปะ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ อย่างแท้จริง คือ มีพระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเปิด มองตรง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็กบาง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ลักษณะพระพักตร์คล้ายหุ่น นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกึ่งกลางพระวรกาย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธชัมภูนุทฯ ด้วยทองแดงปิดทอง คราวเดียวกับพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร แล้วโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ลำดับที่ ๑๑ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ กล่าวว่า ภายในพระเศียร พระพุทธซัมภูนุทฯ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๔ องค์ ในพระโกศ ๓ ชั้น เงิน นาก และทองที่เบื้องหน้าฐานชุกชีของพระพุทธชัมภูนุทฯ ประดิษฐาน “พระอรุณ” หรือ “พระแจ้ง” พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ศิลปะล้านช้าง
ภาพพระพุทธชัมภูนุท มหาบุรุษลักขณา อสีตยานุบพิตร


ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 148)
 

พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อันเป็นวัดประจำรัชกาล และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระราชสรีรังคารพร้อมกับศิลาจารีกดวงพระชะตาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประดิษฐานไว้ที่ฐานพระพุทธรูป และถวายนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐาน ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรนั้น จะต้องเป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคาร หรือพระบรมอัฐิของพระเจ้าแผ่นดิน ฉะนั้นการได้กราบพระพุทธรูปองค์นั้นถือเป็นสิรีมงคลเป็นเท่าทวีคูณ เพราะเท่ากับได้กราบถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินไปพร้อมกัน
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ วา ๒ ศอก หรือประมาณ ๓.๑๐ เมตร สูงประมาณ ๒ วา ๑ ศอก หรือประมาณ ๔.๕๐ เมตร มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น กั้น ด้านล่างเป็นฐานเขียนรูป ยกขอบปลายกลีบบัว ลงรักปิดทอง ประดับด้วย กระจกที่พระพุทธอาสน์
พุทธศักราช ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเป็นแม่ทัพไปต้านทัพพม่าทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดโบราณชื่อวัดจอมทอง ทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ทรงอธิษฐานให้ ราชการศึกสำเร็จลุล่วง แต่พม่าไม่ได้ยกทัพมาตามที่เล่าลือ เมื่อทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองทั้งพระอารามให้งดงามด้วยศิลปะพระราชนิยม และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชโอรส” เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามแล้ว โปรดให้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคาร และศิลาจารีกดวงพระชะตาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ใต้ฐานพระพุทธรูป พระประธานในพระอุโบสถ ถวายนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๔พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร” ประดิษฐานภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

ภาพพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 150)