ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

หลวงพ่อสุขเกษม
หลวงพ่อสุขเกษม เป็นพระพุทธรูปประธานในอุโบสถ วัดโบสถ์สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อสุขเกษมเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ตามประวัติกล่าวว่า สร้างในสมัยอยุธยา แต่คงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งน่าจะบูรณะในช่วง สมัยรัชกาลที่ ๓ คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง มีเส้นขอบเปลือกพระเนตร พระเนตรเปิด และมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้ง แต่เกือบจะเป็นเส้นตรง ลักษณะพระพักตร์พระพุทธรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ บางครั้งเรียกว่า “พระพักตร์อย่างหุ่น” เพราะนิ่งคล้ายกับหุ่นละคร
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง มีแต่เพียงตำนานเล่าว่า พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาพระองค์หนึ่งโปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง มีพระราชประสงค์เพื่อถวายแก่วัดที่ยังไม่มีพระพุทธรูปประธาน จึงโปรดให้ชะลอใส่แพล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนมาถึงบริเวณสามเสน แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดโบสถ์สามเสน

ภาพหลวงพ่อสุขเกษม

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 112)

พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสีหิงค์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสีหิงค์บริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่นับถืออย่างยิ่งของประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ตามตำนานกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มาจากลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) อัญเชิญออกให้ประชาชนสรงนํ้าในวันสงกรานต์ของทุกปี
พระพุทธสีหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วนอย่างมาก ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระลัน เล่นชายสังฆาฏิเป็นริ้วช้อนเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พบในพระพุทธรูป ชัดสมาธิเพชร ศิลปะอยุธยา กลุ่มพระพุทธสีหิงค์ นครศรีธรรมราช กำหนดอายุได้ราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ตำนานพระพุทธสีหิงค์กล่าวว่าพระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้นหลังพุทธกาล ๗๐๐ ปี ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ปัจจุบันในประเทศไทยมีพระพุทธสีหิงค์อยู่ ๓ องค์ คือ พระพุทธสีหิงค์ประดิษฐานในหอพระพุทธสีหิงค์ จังหวัด นครศรีธรรมราช องค์หนึ่ง พระพุทธสีหิงค์ หรือพระสิงห์ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่องค์หนึ่ง และพระพุทธสีหิงค์ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อีกองค์หนึ่ง

ภาพพระพุทธสิหิงค์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 114)

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์
ในสมัยอยุธยานิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งหมายถึง ปางทรมานพญาชมพูบดี ดังปรากฏในพุทธประวัติว่า พญาชมพูบดีซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความต้องการที่จะมีเดชานุภาพยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีป พญาชมพูบดีมีความริษยาต่อพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหงจนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ต้องการลดทิฐิพญาชมพูบดี จึงทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงาม ดุจท้าวมหาพรหม พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิม และทรงแสดงธรรมโปรดจนพญาชมพูบดีเห็นสัจธรรมและเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อย่างจักรพรรดิราช ในศิลปะอยุธยาตอนปลายที่สมบูรณ์และงามมากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ปิดทองทั้งองค์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช หรือที่เรียกกันว่า ทรงเครื่องใหญ่ มีขนาดหน้าดักกว้าง ๙ ศอก (๔.๕๐ เมตร) สูง ๓ วา (๖ เมตร) พุทธ ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย คือ พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม กรอบพระพักตร์ ค่อนข้างยาวและใหญ่ สวมมหามงกุฎอย่างกษัตริย์ พระศกเป็นเม็ดเล็กปลาย เป็นเกลียวแหลม พระขนงโก่งและจรดกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรยาวรี เปลือกพระเนตรหนา ทอดพระเนตรเหลือบลงด้านล่าง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ใหญ่กว้าง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย แสดงถึงความสงบและมีอำนาจ พระกรรณยาวลง มาเป็นปลายแหลมจรดถึงพระพาหา สวมกุณฑล ครองจีวรห่มเฉียง สวมเครื่องประดับสร้อยสังวาล ทับทรวง พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาท
สำหรับด้านการสร้างนั้น ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากลักษณะทางศิลปะที่ใกล้เคียง กับพระพุทธรูปปูนปั้นที่เมรุทิศ และเมรุมุม ระเบียงคดวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๒ - ๒๑๙๙) นักวิชาการหลายท่านจึงเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้คงได้รับการสร้างหรือปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าได้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง แต่คงจะเป็นเพียงการซ่อมแซมเล็กน้อย และได้ถวายนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ

ภาพพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 116)

พระอรุณ

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนสองแผ่นดิน มีมงคลนามต้องกับนามพระอาราม วัดอรุณราชวราราม พระอรุณ หรือ พระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับ ชัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ศิลปะล้านช้าง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าการที่พระอรุณมีพระวรกายบอบบาง พระพักตร์เล็ก ขมวดพระเกศาเล็ก นิ้วพระหัตถ์เล็กเรียวยาว และ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ประกอบกับการทำพระพุทธรูปสองสีโดยเนื้อ พระพุทธรูปเป็นสีทอง ส่วนจีวรเป็นสีคล้ายทองแดงเป็นเทคนิคที่พบในแถบเมืองเชียงราย ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลพุทธศิลป์จากพระพุทธรูปในศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงรายหรือเชียงของ อายุราวช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
พระอรุณ หรือ พระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๑ โดยมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง แต่ภายหลังมีพระราชดำริที่จะย้ายพระอรุณมาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปนี้มีมงคลนามพ้องกับชื่อวัด ปรากฏหลักฐานในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีไปถึงพระบาทสมเด็จพระปีนเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย จ.ศ.๑๒๒๐ (พ.ศ.๒๔๐๑)

ภาพพระอรุณ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 118)

พระเสริม
พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็น'พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งอัญเชิญมาจากล้านช้าง เชื่อว่าทรงคุณ สามารถดลบันดาลให้ฝนตก เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาว ในเดือน ๖ ของทุกปี ชาวไทยเชื้อสายล้านช้างจะจัดปราสาทผึ้งและดอกไม้ไฟ มาสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
พระเสริมเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงราย เชียงของ อายุราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ประทับขัดสมาธิราบบนบัลลังก์แอวขัน ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ นิ้ว มีพุทธศิลป์งดงาม พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระรัศมีเป็นเปลวปลายม้วน ทั้งได้รับยกย่องว่าเป็น ๑ ใน ๓ พระพุทธรูปลาวอันงดงามที่สยามอัญเชิญมาจากลาวมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ส่วนพระพุทธรูปล้านช้างอีก ๒ องค์ที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหารนั้น คือ พระแสน (พระแสนมหาขัย) ซึ่งประดิษฐาน ณ เบื้องหน้าพระเสริม ส่วนพระสายน์ (พระใส) นั้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
พระราชธิดาสามองค์พี่น้องของกษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งในบางตำนานเชื่อว่า เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง - ล้านนา ทรงพระนามว่า สุก เสริม และใส โปรดให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ มีขนาดลดหลั่นกันเพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อสืบพระศาสนาถวายนามพระพุทธรูปตามนามของตนคือพระเสริม เป็นพระประจำองค์พระธิดาองค์โต พระสุกประจำองค์พระธิดาองค์รอง และพระใส ประจำองค์พระธิดาองค์เล็ก ระหว่างพิธีหล่อ มีคนคอยสูบเตาหลอมทองอยู่ ไม่ขาดเป็นเวลา ๗ วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพล เหลือเพียงพระ ภิกษุชรากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้มีชีปะขาวผู้หนึ่งมาช่วยสูบเตาแทน ให้พระและเณรได้พักฉันเพล แต่ภาพที่ญาติโยมเห็นคือมีชีปะขาวจำนวนมาก มาช่วยกันสูบเตาต่างจากที่พระท่านเห็นว่าเป็นชีปะขาวมาสูบเตาเพียงลำพัง
เมื่อฉันเพลเสร็จ ปรากฏว่าลงมาดูก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ ทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้งสาม ส่วนชีปะขาวนั้นได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ประดิษฐานที่ล้านช้างต่อมา แต่เมื่อใดที่มีสงครามชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย และอัญเชิญกลับมาเมื่อเหตุการณ์สงบ
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่นครเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพมาปราบ เมื่อเสร็จศึกสงบแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส มาที่เมืองหนองคาย แต่บางตำรา กล่าวว่าไม่ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรง แต่อัญเชิญมาจากภูเขาควายซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ แล้วส่องแพมาตามลำน้ำงึม ได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในนํ้า เนื่องจากมีพายุแรงจัด พัดจนแพเอียง แพไม่สามารถที่จะรับน้ำหนักของแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ครั้นส่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณปากงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพ จมลงในน้ำ ห้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ครั้งนั้น จึงได้อัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระเสริมและพระใสจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพมหานคร แต่เกิดปาฏิหาริย์ เกวียนอัญเชิญ พระใสได้หักลง จึงให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัย และอัญเชิญพระเสริม ไปยังกรุงเทพมหานคร เมื่อขบวนอัญเชิญพระเสริมถึง ชาวล้านช้างที่อยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างทำริ้วขบวน พานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ.๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหาร วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ตราบจนปัจจุบัน

ภาพพระเสริม

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 120)

หลวงพ่อองค์ตื้อ
หลวงพ่อองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองคาย และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
หลวงพ่อองค์ตื้อ หรือพระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร ๒๙ เซนติเมตร สูง ๔ เมตร ศิลปะล้านช้าง กลุ่มพระพุทธรูปสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ.๒๐๙๑ - ๒๑๑๔) ซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงราย มีพระพักตร์รูปไข่เล็กค่อนข้างยาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระเนตรและพระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์กว้าง มีนิ้วพระหัตถ์เรียวยาวไม่เสมอกัน
จากหลักฐานศิลาจาริกที่พบในวัดศรีชมภูองค์ตื้อ กล่าวว่า วัดศรีชมภู องค์ตื้อ เดิมซื่อว่า วัดโกสีย์ พระไชยเชษฐาธิราชผู้ครองนครเวียงจันทน์เป็นผู้สร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๕ พร้อมกับสร้างพระประธาน พระเจ้าองค์ตื้อ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่าวัดองค์ตื้อ
ทุกๆ ปีจะมีประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ๒ ครั้งคือในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ ไปจนถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ โดยจะมีการเวียนเทียนรอบวิหารหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า บุญเดือน ๕ หรือบุญเผวด และในวันสงกรานต์จะมีผู้คนทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำโขงมาจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาร่วมในงานเป็นจำนวนมาก

ภาพหลวงพ่อองค์ตื้อ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 122)

พระใส

พระใส หรือ พระสายน์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมือง มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะชองพุทธศาสนิกชนนับแต่อดีต ตราบจนปัจจุบัน เชื่อว่าทรงคุณศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้ฝนตก คราวใดที่เกิดฝนแล้งจะอัญเชิญออกมากลางแจ้งและทำพิธีขอฝน
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว สูง ๔๐ นิ้ว มีห่วงกลมขนาดโตกว่าหัวแม่มือ ๓ ห่วงที่พระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์พระสำหรับผูกเชือกติดกับยานแห่สันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างคงตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญสำหรับเข้ากระบวนแห่
พระใสเป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านข้างอย่างแท้จริง คือมีพระพักตร์ ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรหรี่เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง แย้มพระโอษฐ์ แสดงการยิ้มแบบล้านข้าง นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ และ ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน
ปรากฏหลักฐานการสร้างใน “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔” และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยอยู่ในหนังสือ “ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้นายเหม็น บุตรเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์อัญเชิญหลวงพ่อพระสายนิ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ขอฝนไต้ลงมาคราวเดียวกับพระแสน ซึ่งถูกซ่อนไว้ในถ้ำที่เมืองมหาไชย เพื่อมาคู่กับพระเสริมซึ่งพระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระบวรราชวังก่อนแล้ว และโปรดให้จัดกระบวนแห่พระใส และพระแสนจากวัดเขมาภิรตาราม มาประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐

ภาพพระใส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 124)
 

หลวงพ่อพระใส
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ขัย หรือที่ซาวบ้านเรียกกันต่อมาว่า “หลวงพ่อ เกวียนหัก” เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของ พุทธคาสนิกชนทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำโขง
หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึง ยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว (ของช่างไม้) ศิลปะล้านช้างที่งดงามมากองค์หนึ่ง พระพักตร์ค่อนข้างกลม กรอบพระพักตร์เป็นเส้นกลมเล็ก ขมวดพระเกศาขนาดเล็กแหลม พระรัศมีเป็นเปลวประดับอัญมณี พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกแหลม พระโอษฐ์อิ่ม พระกรรณยาวเกือบถึงพระพาหา กำหนดว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ พิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ.๒๔๖๘ ว่า หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าลืบต่อกันมาว่า พระธิดา ๓ องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราชได้หล่อพระพุทธรูป ขึ้น ๓ องค์ และขนานนามพระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ตามประวัติกล่าวว่า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนึ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อสำเร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้น ประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพ จมลงไปในน้ำโดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า “เว้นแท่น” การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้าน หนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ขื่อว่า “เว้นสุก” และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญ ลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธิ์ขัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์ จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อ พระใสจึงได้สมญาว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก”

ภาพหลวงพ่อพระใส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 126)

พระแสน (เมืองเชียงแตน)
พระแสน (เมืองเชียงแตง) เป็นพระพุทธรูปประดิษฐานเบื้องหน้า พระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า พุทธลักษณะของพระแสนเมืองเชียงแตงมีลักษณะพิเศษสวยงาม เป็นที่นับถือกันว่ามีความเก่าแก่ยิ่งกว่าหลวงพ่อแสนที่พระวิหารวัดปทุมวนาราม อีกทั้งยังเป็นพระหัวหน้าขุดในบรรดาพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากแคว้นล้านช้างสีทองที่ พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนากเนาวโลหะเช่นเดียวกับพระอุมาภาควดีในเทวสถาน พุทธคาสนิกขนเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระแสน นิยมบนบานขอยศศักดิ์ ซึ่งของที่มักถวายแก้บน ได้แก่ ข้าวเหนียว ปลาร้า และไข่ต้ม ในวันสงกรานต์ของทุกปีวัดหงส์รัตนารามจะอัญเชิญพระแสนองค์จำลองที่จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม ออกมาให้ประชาชนสรงน้ำ
พระแสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำรีด หน้าตักกว้าง ๒๕.๕ นิ้ว สูงตั้งแต่หน้าตักถึงยอดพระรัศมี ๓๙ นิ้ว ฐานบัวสูง ๔ นิ้ว ฐานล่าง ๓ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลวประดับด้วยแก้วและอัญมณี พระศก เป็นหนามขนุน มีไรพระศก พระขนงโก่งยกขอบสูง พระนาสิกโด่งปลายงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณประดิษฐ์ขมวดม้วน พระศอทำเป็นปล้อง ศิลปะล้านช้าง ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงด้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
ตามประวัติกล่าวว่า พระแสนสร้างขึ้นโดยพระครูโพนเสม็ด พระเถระ แห่งเมืองศรีสัตนาคนหุต ผู้บูรณะพระธาตุพนม ได้อพยพหนีราชภัยไปซ่อนอยู่ ในหลายเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงได้สร้างพระแสนขึ้นไว้ ณ เมืองเชียงแตง แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ มีน้ำหนักกว่า ๑๖๐ ชั่ง คำนวณได้กว่าแสนเฟื้อง จึงเป็นที่มาประการหนึ่งของชื่อ พระแสน เมืองเชียงแตง ส่วนที่มาอีกประการหนึ่ง อาจหมายถึงพระพุทธรูปฝีมือช่างเชียงแสน ซึ่งเป็นต้นแบบให้ช่างในดินแดน ล้านช้าง คือ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ลงมาจนถึงเมืองจำปาศักดิ์ แต่เรียกสั้นๆ ว่า พระแสน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตงใน พ.ศ.๒๔๐๑ เพื่อประดิษฐานหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปีนเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภาพพระแสน

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 128)

พระบาง
วัดไตรภูมิ บ้านท่าอุเทน ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สร้างประมาณ พ.ศ.๒๓๗๖ อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ อาคารทรงไทย กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ปางห้ามสมุทร คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดนครพนมที่มีความสวยงามศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนมาช้านาน
ชาวนครพนมนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เชื่อกันว่าทำให้ฝนตก ดังนั้น ในวันสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านจะอัญเชิญพระบางออกมาแห่เพื่อขอฝน ทำให้ชาวนาได้มีน้ำทำนาอย่างอุดมสมบูรณ์ และถือปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน
พระบางเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร พุทธศิลปะล้านช้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๘ หล่อด้วยโลหะหลายชนิดที่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ทองคำ นาก เงิน ทองคำขาว ทองแดง เป็นต้น สูง ๘๐ นิ้ว ที่รัดประคด มินิลฝั่งอยู่เป็นระยะ พระนาภีฝั่งเพชรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕นิ้ว (ปัจจุบัน หายไปแล้ว) ประดิษฐานอยู่บนฐาน ๘ เหลี่ยม สูง ๑๕ นิ้วรองรับด้วยรูปช้าง ๘ เชือก พระเศียรและพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง พระพักตร์ค่อนช้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนช้างแบน พระโอษฐ์บาง นั้นพระองค์เล็ก พระโสณีใหญ่ ครองจีวร ห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง ซึ่งประดับด้วยแก้วและอัญมณี

ภาพพระบาง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 130)

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

หลวงพ่อสุขเกษม
หลวงพ่อสุขเกษม เป็นพระพุทธรูปประธานในอุโบสถ วัดโบสถ์สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อสุขเกษมเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ตามประวัติกล่าวว่า สร้างในสมัยอยุธยา แต่คงมีการบูรณะขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งน่าจะบูรณะในช่วง สมัยรัชกาลที่ ๓ คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง มีเส้นขอบเปลือกพระเนตร พระเนตรเปิด และมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้ง แต่เกือบจะเป็นเส้นตรง ลักษณะพระพักตร์พระพุทธรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ บางครั้งเรียกว่า “พระพักตร์อย่างหุ่น” เพราะนิ่งคล้ายกับหุ่นละคร
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง มีแต่เพียงตำนานเล่าว่า พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาพระองค์หนึ่งโปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง มีพระราชประสงค์เพื่อถวายแก่วัดที่ยังไม่มีพระพุทธรูปประธาน จึงโปรดให้ชะลอใส่แพล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนมาถึงบริเวณสามเสน แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดโบสถ์สามเสน

ภาพหลวงพ่อสุขเกษม

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 112)

พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสีหิงค์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสีหิงค์บริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่นับถืออย่างยิ่งของประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ตามตำนานกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มาจากลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) อัญเชิญออกให้ประชาชนสรงนํ้าในวันสงกรานต์ของทุกปี
พระพุทธสีหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วนอย่างมาก ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระลัน เล่นชายสังฆาฏิเป็นริ้วช้อนเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พบในพระพุทธรูป ชัดสมาธิเพชร ศิลปะอยุธยา กลุ่มพระพุทธสีหิงค์ นครศรีธรรมราช กำหนดอายุได้ราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ตำนานพระพุทธสีหิงค์กล่าวว่าพระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้นหลังพุทธกาล ๗๐๐ ปี ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ปัจจุบันในประเทศไทยมีพระพุทธสีหิงค์อยู่ ๓ องค์ คือ พระพุทธสีหิงค์ประดิษฐานในหอพระพุทธสีหิงค์ จังหวัด นครศรีธรรมราช องค์หนึ่ง พระพุทธสีหิงค์ หรือพระสิงห์ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่องค์หนึ่ง และพระพุทธสีหิงค์ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อีกองค์หนึ่ง

ภาพพระพุทธสิหิงค์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 114)

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์
ในสมัยอยุธยานิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งหมายถึง ปางทรมานพญาชมพูบดี ดังปรากฏในพุทธประวัติว่า พญาชมพูบดีซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความต้องการที่จะมีเดชานุภาพยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีป พญาชมพูบดีมีความริษยาต่อพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหงจนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ต้องการลดทิฐิพญาชมพูบดี จึงทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงาม ดุจท้าวมหาพรหม พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิม และทรงแสดงธรรมโปรดจนพญาชมพูบดีเห็นสัจธรรมและเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อย่างจักรพรรดิราช ในศิลปะอยุธยาตอนปลายที่สมบูรณ์และงามมากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ปิดทองทั้งองค์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช หรือที่เรียกกันว่า ทรงเครื่องใหญ่ มีขนาดหน้าดักกว้าง ๙ ศอก (๔.๕๐ เมตร) สูง ๓ วา (๖ เมตร) พุทธ ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย คือ พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม กรอบพระพักตร์ ค่อนข้างยาวและใหญ่ สวมมหามงกุฎอย่างกษัตริย์ พระศกเป็นเม็ดเล็กปลาย เป็นเกลียวแหลม พระขนงโก่งและจรดกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรยาวรี เปลือกพระเนตรหนา ทอดพระเนตรเหลือบลงด้านล่าง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ใหญ่กว้าง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย แสดงถึงความสงบและมีอำนาจ พระกรรณยาวลง มาเป็นปลายแหลมจรดถึงพระพาหา สวมกุณฑล ครองจีวรห่มเฉียง สวมเครื่องประดับสร้อยสังวาล ทับทรวง พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาท
สำหรับด้านการสร้างนั้น ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากลักษณะทางศิลปะที่ใกล้เคียง กับพระพุทธรูปปูนปั้นที่เมรุทิศ และเมรุมุม ระเบียงคดวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๒ - ๒๑๙๙) นักวิชาการหลายท่านจึงเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้คงได้รับการสร้างหรือปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าได้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง แต่คงจะเป็นเพียงการซ่อมแซมเล็กน้อย และได้ถวายนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ

ภาพพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 116)

พระอรุณ

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนสองแผ่นดิน มีมงคลนามต้องกับนามพระอาราม วัดอรุณราชวราราม พระอรุณ หรือ พระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับ ชัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ศิลปะล้านช้าง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าการที่พระอรุณมีพระวรกายบอบบาง พระพักตร์เล็ก ขมวดพระเกศาเล็ก นิ้วพระหัตถ์เล็กเรียวยาว และ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ประกอบกับการทำพระพุทธรูปสองสีโดยเนื้อ พระพุทธรูปเป็นสีทอง ส่วนจีวรเป็นสีคล้ายทองแดงเป็นเทคนิคที่พบในแถบเมืองเชียงราย ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลพุทธศิลป์จากพระพุทธรูปในศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงรายหรือเชียงของ อายุราวช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
พระอรุณ หรือ พระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๑ โดยมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง แต่ภายหลังมีพระราชดำริที่จะย้ายพระอรุณมาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปนี้มีมงคลนามพ้องกับชื่อวัด ปรากฏหลักฐานในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีไปถึงพระบาทสมเด็จพระปีนเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย จ.ศ.๑๒๒๐ (พ.ศ.๒๔๐๑)

ภาพพระอรุณ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 118)

พระเสริม
พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็น'พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งอัญเชิญมาจากล้านช้าง เชื่อว่าทรงคุณ สามารถดลบันดาลให้ฝนตก เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาว ในเดือน ๖ ของทุกปี ชาวไทยเชื้อสายล้านช้างจะจัดปราสาทผึ้งและดอกไม้ไฟ มาสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
พระเสริมเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงราย เชียงของ อายุราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ประทับขัดสมาธิราบบนบัลลังก์แอวขัน ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ นิ้ว มีพุทธศิลป์งดงาม พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระรัศมีเป็นเปลวปลายม้วน ทั้งได้รับยกย่องว่าเป็น ๑ ใน ๓ พระพุทธรูปลาวอันงดงามที่สยามอัญเชิญมาจากลาวมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ส่วนพระพุทธรูปล้านช้างอีก ๒ องค์ที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหารนั้น คือ พระแสน (พระแสนมหาขัย) ซึ่งประดิษฐาน ณ เบื้องหน้าพระเสริม ส่วนพระสายน์ (พระใส) นั้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
พระราชธิดาสามองค์พี่น้องของกษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งในบางตำนานเชื่อว่า เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง - ล้านนา ทรงพระนามว่า สุก เสริม และใส โปรดให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ มีขนาดลดหลั่นกันเพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อสืบพระศาสนาถวายนามพระพุทธรูปตามนามของตนคือพระเสริม เป็นพระประจำองค์พระธิดาองค์โต พระสุกประจำองค์พระธิดาองค์รอง และพระใส ประจำองค์พระธิดาองค์เล็ก ระหว่างพิธีหล่อ มีคนคอยสูบเตาหลอมทองอยู่ ไม่ขาดเป็นเวลา ๗ วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพล เหลือเพียงพระ ภิกษุชรากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้มีชีปะขาวผู้หนึ่งมาช่วยสูบเตาแทน ให้พระและเณรได้พักฉันเพล แต่ภาพที่ญาติโยมเห็นคือมีชีปะขาวจำนวนมาก มาช่วยกันสูบเตาต่างจากที่พระท่านเห็นว่าเป็นชีปะขาวมาสูบเตาเพียงลำพัง
เมื่อฉันเพลเสร็จ ปรากฏว่าลงมาดูก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ ทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้งสาม ส่วนชีปะขาวนั้นได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ประดิษฐานที่ล้านช้างต่อมา แต่เมื่อใดที่มีสงครามชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย และอัญเชิญกลับมาเมื่อเหตุการณ์สงบ
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่นครเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพมาปราบ เมื่อเสร็จศึกสงบแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส มาที่เมืองหนองคาย แต่บางตำรา กล่าวว่าไม่ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรง แต่อัญเชิญมาจากภูเขาควายซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ แล้วส่องแพมาตามลำน้ำงึม ได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในนํ้า เนื่องจากมีพายุแรงจัด พัดจนแพเอียง แพไม่สามารถที่จะรับน้ำหนักของแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ครั้นส่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณปากงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพ จมลงในน้ำ ห้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ครั้งนั้น จึงได้อัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระเสริมและพระใสจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพมหานคร แต่เกิดปาฏิหาริย์ เกวียนอัญเชิญ พระใสได้หักลง จึงให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัย และอัญเชิญพระเสริม ไปยังกรุงเทพมหานคร เมื่อขบวนอัญเชิญพระเสริมถึง ชาวล้านช้างที่อยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างทำริ้วขบวน พานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ.๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหาร วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ตราบจนปัจจุบัน

ภาพพระเสริม

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 120)

หลวงพ่อองค์ตื้อ
หลวงพ่อองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองคาย และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
หลวงพ่อองค์ตื้อ หรือพระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร ๒๙ เซนติเมตร สูง ๔ เมตร ศิลปะล้านช้าง กลุ่มพระพุทธรูปสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ.๒๐๙๑ - ๒๑๑๔) ซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะล้านนา สกุลช่างเชียงราย มีพระพักตร์รูปไข่เล็กค่อนข้างยาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระเนตรและพระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์กว้าง มีนิ้วพระหัตถ์เรียวยาวไม่เสมอกัน
จากหลักฐานศิลาจาริกที่พบในวัดศรีชมภูองค์ตื้อ กล่าวว่า วัดศรีชมภู องค์ตื้อ เดิมซื่อว่า วัดโกสีย์ พระไชยเชษฐาธิราชผู้ครองนครเวียงจันทน์เป็นผู้สร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๕ พร้อมกับสร้างพระประธาน พระเจ้าองค์ตื้อ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่าวัดองค์ตื้อ
ทุกๆ ปีจะมีประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ๒ ครั้งคือในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ ไปจนถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ โดยจะมีการเวียนเทียนรอบวิหารหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า บุญเดือน ๕ หรือบุญเผวด และในวันสงกรานต์จะมีผู้คนทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำโขงมาจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาร่วมในงานเป็นจำนวนมาก

ภาพหลวงพ่อองค์ตื้อ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 122)

พระใส

พระใส หรือ พระสายน์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมือง มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะชองพุทธศาสนิกชนนับแต่อดีต ตราบจนปัจจุบัน เชื่อว่าทรงคุณศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้ฝนตก คราวใดที่เกิดฝนแล้งจะอัญเชิญออกมากลางแจ้งและทำพิธีขอฝน
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว สูง ๔๐ นิ้ว มีห่วงกลมขนาดโตกว่าหัวแม่มือ ๓ ห่วงที่พระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์พระสำหรับผูกเชือกติดกับยานแห่สันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างคงตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญสำหรับเข้ากระบวนแห่
พระใสเป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านข้างอย่างแท้จริง คือมีพระพักตร์ ค่อนข้างใหญ่ พระเนตรหรี่เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง แย้มพระโอษฐ์ แสดงการยิ้มแบบล้านข้าง นิ้วพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ และ ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน
ปรากฏหลักฐานการสร้างใน “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔” และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยอยู่ในหนังสือ “ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้นายเหม็น บุตรเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์อัญเชิญหลวงพ่อพระสายนิ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ขอฝนไต้ลงมาคราวเดียวกับพระแสน ซึ่งถูกซ่อนไว้ในถ้ำที่เมืองมหาไชย เพื่อมาคู่กับพระเสริมซึ่งพระบาทสมเด็จพระป่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระบวรราชวังก่อนแล้ว และโปรดให้จัดกระบวนแห่พระใส และพระแสนจากวัดเขมาภิรตาราม มาประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐

ภาพพระใส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 124)
 

หลวงพ่อพระใส
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ขัย หรือที่ซาวบ้านเรียกกันต่อมาว่า “หลวงพ่อ เกวียนหัก” เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของ พุทธคาสนิกชนทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำโขง
หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึง ยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว (ของช่างไม้) ศิลปะล้านช้างที่งดงามมากองค์หนึ่ง พระพักตร์ค่อนข้างกลม กรอบพระพักตร์เป็นเส้นกลมเล็ก ขมวดพระเกศาขนาดเล็กแหลม พระรัศมีเป็นเปลวประดับอัญมณี พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกแหลม พระโอษฐ์อิ่ม พระกรรณยาวเกือบถึงพระพาหา กำหนดว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ พิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ.๒๔๖๘ ว่า หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าลืบต่อกันมาว่า พระธิดา ๓ องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราชได้หล่อพระพุทธรูป ขึ้น ๓ องค์ และขนานนามพระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ตามประวัติกล่าวว่า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนึ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อสำเร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้น ประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพ จมลงไปในน้ำโดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า “เว้นแท่น” การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้าน หนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ขื่อว่า “เว้นสุก” และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญ ลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธิ์ขัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์ จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อ พระใสจึงได้สมญาว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก”

ภาพหลวงพ่อพระใส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 126)

พระแสน (เมืองเชียงแตน)
พระแสน (เมืองเชียงแตง) เป็นพระพุทธรูปประดิษฐานเบื้องหน้า พระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า พุทธลักษณะของพระแสนเมืองเชียงแตงมีลักษณะพิเศษสวยงาม เป็นที่นับถือกันว่ามีความเก่าแก่ยิ่งกว่าหลวงพ่อแสนที่พระวิหารวัดปทุมวนาราม อีกทั้งยังเป็นพระหัวหน้าขุดในบรรดาพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากแคว้นล้านช้างสีทองที่ พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนากเนาวโลหะเช่นเดียวกับพระอุมาภาควดีในเทวสถาน พุทธคาสนิกขนเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระแสน นิยมบนบานขอยศศักดิ์ ซึ่งของที่มักถวายแก้บน ได้แก่ ข้าวเหนียว ปลาร้า และไข่ต้ม ในวันสงกรานต์ของทุกปีวัดหงส์รัตนารามจะอัญเชิญพระแสนองค์จำลองที่จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม ออกมาให้ประชาชนสรงน้ำ
พระแสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำรีด หน้าตักกว้าง ๒๕.๕ นิ้ว สูงตั้งแต่หน้าตักถึงยอดพระรัศมี ๓๙ นิ้ว ฐานบัวสูง ๔ นิ้ว ฐานล่าง ๓ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลวประดับด้วยแก้วและอัญมณี พระศก เป็นหนามขนุน มีไรพระศก พระขนงโก่งยกขอบสูง พระนาสิกโด่งปลายงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณประดิษฐ์ขมวดม้วน พระศอทำเป็นปล้อง ศิลปะล้านช้าง ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงด้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
ตามประวัติกล่าวว่า พระแสนสร้างขึ้นโดยพระครูโพนเสม็ด พระเถระ แห่งเมืองศรีสัตนาคนหุต ผู้บูรณะพระธาตุพนม ได้อพยพหนีราชภัยไปซ่อนอยู่ ในหลายเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงได้สร้างพระแสนขึ้นไว้ ณ เมืองเชียงแตง แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ มีน้ำหนักกว่า ๑๖๐ ชั่ง คำนวณได้กว่าแสนเฟื้อง จึงเป็นที่มาประการหนึ่งของชื่อ พระแสน เมืองเชียงแตง ส่วนที่มาอีกประการหนึ่ง อาจหมายถึงพระพุทธรูปฝีมือช่างเชียงแสน ซึ่งเป็นต้นแบบให้ช่างในดินแดน ล้านช้าง คือ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ลงมาจนถึงเมืองจำปาศักดิ์ แต่เรียกสั้นๆ ว่า พระแสน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตงใน พ.ศ.๒๔๐๑ เพื่อประดิษฐานหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปีนเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภาพพระแสน

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 128)

พระบาง
วัดไตรภูมิ บ้านท่าอุเทน ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สร้างประมาณ พ.ศ.๒๓๗๖ อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ อาคารทรงไทย กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ปางห้ามสมุทร คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดนครพนมที่มีความสวยงามศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนมาช้านาน
ชาวนครพนมนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เชื่อกันว่าทำให้ฝนตก ดังนั้น ในวันสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านจะอัญเชิญพระบางออกมาแห่เพื่อขอฝน ทำให้ชาวนาได้มีน้ำทำนาอย่างอุดมสมบูรณ์ และถือปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน
พระบางเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร พุทธศิลปะล้านช้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๘ หล่อด้วยโลหะหลายชนิดที่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ทองคำ นาก เงิน ทองคำขาว ทองแดง เป็นต้น สูง ๘๐ นิ้ว ที่รัดประคด มินิลฝั่งอยู่เป็นระยะ พระนาภีฝั่งเพชรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕นิ้ว (ปัจจุบัน หายไปแล้ว) ประดิษฐานอยู่บนฐาน ๘ เหลี่ยม สูง ๑๕ นิ้วรองรับด้วยรูปช้าง ๘ เชือก พระเศียรและพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง พระพักตร์ค่อนช้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนช้างแบน พระโอษฐ์บาง นั้นพระองค์เล็ก พระโสณีใหญ่ ครองจีวร ห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง ซึ่งประดับด้วยแก้วและอัญมณี

ภาพพระบาง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 130)