ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธไตรรัตนายก หรือหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงศรีอยุธยา มีมาก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างกรุงศรีอยุธยา จึงนับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๑๐ ได้ปรากฏมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่น่าอัศจรรย์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ปูนปั้นลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตรเศษ สูง ๑๙.๒๐ เมตร ศิลปะอยุธยาตอนต้นแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ กล่าวคือ พระพักตร์ สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม พระขนงโค้งมีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนงทั้งสองข้าง พระเนตรเล็กยาวเรียว เหลือบพระเนตรมองลงเบื้องล่าง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงวรวิหาร มีประวัติการสร้างปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๗ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเคารพบูชามาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ.๒๓๑๐ วัดพนัญเซิงก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ถูกพม่าเผาทำลาย มาใน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณะ หลวงพ่อโตใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนเรียกว่า หลวงพ่อชำปอกง

ภาพพระพุทธไตรรัตนนายก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 92)
 

พระพุทธกษัตราธิราช
วัดกษัตราธิราช วรวิหาร เป็นวัดเก่ามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมซื่อ วัดกษัตรา หรือวัดกระษัตรารามในพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่าวัดนี้เคยใช้เป็นที่ตั้งค่ายพม่า และพม่าใช้เป็นที่ตั้งปีนใหญ่ยิงเช้ามาในพระนคร ต่อมาถูกทิ้งร้างไปในสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทิ้งพระอาราม ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน (องค์กลาง) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นามว่า พระพุทธกษัตราธิราช
พระพุทธกษัตราธิราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานชุกชี ประดับด้วยผ้าทิพย์และรูปครุฑยุดนาค ขนาดองค์พระ สูง ๒.๙๙ เมตร ฐานกว้าง ๒.๐๙ เมตร พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศก มีขนาดเล็ก รัศมีเป็นเปลว พระเกตุมาลาหรือพระอุษณีษะสูง ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกคล้ายเขี้ยวตะขาบ วัดกษัตราธิราชเป็นวัดเก่ามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระประธานในพระอุโบสถจึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระอาราม

ภาพพระพุทธกษัตราธิราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 94)

หลวงพ่อโต ปางปาเลไลยก์

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ประดิษฐานในพระวิหาร วัดป่าเลไลย์ วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ หรือปางปาเลไลยก์ขนาดใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมคงจะเป็นพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทปางปฐมเทศนา หรือวิตรรกะมุทรา ซึ่งนิยมสร้างในสมัยทวารวดี และเมื่อมีการซ่อมแซมต่อมาได้เปลี่ยนเป็นปางปาเลไลยก์เช่นปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองสุพรรณบุรี รวมทั้งซาวไทยพุทธที่ไปจังหวัดสุพรรณบุรีจะต้องแวะไปกราบเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดใหญ่ สูง ๒๓.๔๘ เมตร ประทับห้อยพระบาท ปางปาลิไลยก์ หรือป่าเลไลยก์ มีรูปข้างหมอบใช้งวงถวายกระบอกน้ำอยู่ทางด้านขวา และอีกด้านหนึ่งมีลิงถวายรวงผึ้ง พระหัตถ์ขวาหงายขึ้นอยู่เหนือพระชานุเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายวาง คว่ำบนพระชานุ พระพักตร์เป็นรูปลี่เหลี่ยม พระหนุกว้าง ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนด้น หรือศิลปะอู่ทองอิทธิพลศิลปะทวารวดี
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งข้อสังเกตว่า หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ น่าจะเป็นพระพุทธรูปเก่ามาก่อนสร้างวัดป่าเลไลยก์ น่าจะถึงสมัยอู่ทอง เดิมคงจะเป็นพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท ปางปฐมเทศนา หรือปางวิตรรกะ อยู่กลางแจ้ง พระกรคงจะหักหายไปและได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่ให้เป็นปางปาลิไลยก์ หรือป่าเลไลยก์ โดยจะสังเกตได้ว่าพระกรทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน

ภาพหลวงพ่อโต ปางปาเลไลยก์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 96)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร อำเภอเมือง เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา วัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดน้อยปากใต้ วัดนอกปักษ์ใต้ คนทั่วไปเรียกกันว่า วัดใหญ่ เนื่องจากมีพื้นที่วัดกว้างใหญ่ถึง ๒๐ ไร่เศษ สร้างในสมัยอยุธยา ต่อมา สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ในฐานะวัดอันเป็นบ้านเกิดของท่าน และด้วยนามเดิม และนามฉายาสุวณฺโณ จึงไต้ชื่อว่า วัดสุวรรณาราม ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม
พระประธานองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง ๒.๒๐ เมตร วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม ประดิษฐานบนฐานชุกชีตกแต่งลวดลายปูนปั้นกลีบบัวประดับกระจก ตรงมุมฐานปั้นเป็นลายหัวสิงห์แต่ละข้างไม่เหมือนกัน เหนือพระเศียรมีฉัตรห้อยลงมาจากเพดาน ด้านหน้าแถวแรกมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๓ องค์ เรียงกัน และมีพระพุทธรูปยืนแทรกอยู่ ถัดมามีพระพุทธรูปปางสมาธิ ๒ องค์ กับรูปหล่อสมเด็จเจ้าแตงโม และรูปหล่อพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) ด้านหลังพระประธานมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่หล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๑.๔๐ เมตร พระบาทเบื้องขวามี ๖ นิ้ว สันนิษฐานว่าเป็นพระประธานในพระอุโบสถองค์เดิม ก่อนที่จะมีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยอยุธยา เล่าลีบกันมาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ช่างตั้งใจที่จะสร้างให้มี ๖ นิ้ว (มองเห็นเฉพาะพระบาทขวา ส่วนพระบาทซ้ายเป็นท่าชัดสมาธิอยู่ใต้พระชานุ)
สำหรับการสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง จากพุทธลักษณะคงสร้างในสมัยอยุธยา และวัดแห่งนี้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จเจ้าแตงโม และสมัยพระครู มหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้นับเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และเมือสกุลช่างหลายแขนง

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 98)
 

พระประธานในพระอุโอสถ

พระประธานในพระอุโอสถ ประดิษฐานในอุโบสถ วัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งวัดแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า วัดเกาะ เนื่องจาดมีสายน้ำไหลผ่านรอบด้าน ภายในอุโบสถยังมีจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอยุธยา เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว มีเรื่องพุทธประวัติ มารผจญ และสัตตมหาสถาน พระประธานองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่เดิมในสมัยอยุธยา แต่องค์พระพุทธรูปน่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมภายหลัง ประดิษฐานในพระอุโบสถ

ภาพ
พระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 100)

พระพุทไสยยาสน์ วัดป่าโมก
พระพุทธไสยาสน์ วัดปาโมก วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ ที่เก่าแก่ และงดงามมาก ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร และยังมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏในพระราชพงศาวดารหลายรัชกาล ที่สำคัญคือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จมาประชุมพลก่อนจะเสด็จไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จฯ มาทรงสักการะพระพุทธไสยาสน์ก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๕
พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาประทับในอิริยาบถนอน หรือไสยาสน์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ปิดทองทั้งองค์ มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาทประมาณ ๑๒ วา (๒๔ เมตร)
สำหรับการสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่ชัดเจนสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาให้ความเคารพสักการะ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าใน พ.ศ.๒๑๓๕ เมื่อครั้งพระเจ้านันทบุเรงโปรดให้พระมหาอุปราชานำกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเตรียมไพร่พลที่บ้านป่าโมก ในครั้งนั้นทรงสักการบูชาพระพุทธไสยาสน์เพื่อเป็นสิรีมงคลในการรบสงครามครั้งนี้นับเป็นสงครามครั้งสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย คือ สงครามยุทธหัตถี

ภาพพระพุทไสยยาสน์ วัดป่าโมก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 102)

พระพุทธโสธร
พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ วัดโสธรวราราม วรวิหาร มีงานประจำปีนมัสการพระพุทธโสธร ปีละ ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ กลาง เดือน ๔ ถือว่าเป็นงานฉลองวันเกิดพระพุทธโสธร เริ่มงานวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๓ วัน ๓ คืน ครั้งที่ ๒ งานกลางเดือน ๑๒ เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น ๑๑ ค่ำ จนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๔วัน ๔คืน และครั้งที่ ๓ งานตรุษจีน เริ่มงานตั้งแต่วันซิวอิด รวม ๔ วัน ๔ คืน
พระพุทธโสธร เป็นพุทธรูปปางสมาธิ ปูนปีน ลงรักปิดทองประทับ ขัดสมาธิราบ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระรัศมีทรงกรวยสูง พระเมาลีสูง เม็ดพระศกเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำและเรียวเล็ก พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระองค์อวบอ้วนเล็กน้อย ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาวปลายพับซ้อนกัน บางตำรากล่าวว่าเป็นศิลปะล้านนา คงมีการซ่อมแซมหลายครั้ง แต่ในการบูรณะซ่อมแซมคราวหนึ่ง พบว่า องค์พระแท้จริงเป็นพระพุทธรูปหินทราย มีพุทธศิลป์แบบอยุธยา หน้าตักกว้าง ๑.๗๔ เมตร หรือ ๖๔ นิ้ว สูง ๑.๙๖ เมตร มีตำนานเล่าว่า เมื่อราว พ.ศ.๒๓๑๓ มีพระพุทธรูปอยู่ทางตอนเหนือ ๓ องค์เป็นพี่น้องกันได้แสดงอภินิหารลอยตามน้ำมา ผ่านย่านขุมชนหลายแห่ง บางแห่งคนจำนวนมากได้ซักซวนกันฉุดแต่ก็ไม่สามารถอัญเชิญขึ้นลงได้ในที่สุด พระพุทธรูปทั่ง ๓ องค์ก็ได้ขึ้นฝั่งประดิษฐานยังวัดต่างๆ คือ องค์พี่ใหญ่ หลวงพ่อ วัดบ้านแหลม ลอยตามแม่น้ำไปขึ้นฝั่ง ณ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม องค์น้องสุดท้องหลวงพ่อโตขึ้นฝั่งประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนองค์กลางหลวงพ่อโสธรลอยตามน้ำมาหน้าวัดโสธรวราราม วรวิหาร พระอาจารย์ผู้ทรงความรู้ประกอบพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้สำเร็จ

ภาพพระพุทธโสธร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 104)

หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบถวัดไร่ขิง หรือวัดมงคลจินดาราม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดนครปฐม และยังเป็นพระพุทธรูป ๑ใน ๕ องค์ที่มีตำนานเล่ากันต่อมาว่าเป็นพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ ลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง ๕ สาย เมื่อซาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้าจึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้คนทั้งซาวไทยและต่างประเทศ หลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด พระพุทธรูปทั้ง ๕ คือ พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ ลอยไปตาม แม่น้ำบางปะกง และประดิษฐานที่วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า “หลวงพ่อใสธร” พระพุทธรูปองค์ที่ ๒ ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เมืองนครขัยศรี เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” พระพุทธรูปองค์ที่ ๓ ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ เรียกกันว่า “หลวงพ่อโตวัดบางพลี” พระพุทธรูปองค์ ที่ ๔ ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” และพระพุทธรูปองค์ที่ ๕ ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา”
หลวงพ่อวัดไรขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย หล่อด้วยสำริด จะเป็นเพราะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ทำให้มีศิลปะผสม โดยการนำพุทธศิลปะของสกุลซ่าง ๓ สมัยมาผสมกัน คือ พระรูปผึ่งผายแบบ ศิลปะล้านนา พระหัตถ์เรียวงามตามแบบศิลปะสุโขทัย และพระพักตร์งดงามในแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ๕ ขั้น หลวงพ่อวัดไร่ขิง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ซึ่งมีแม่น้ำนครขัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน
นอกจากตำนานที่เล่าต่อกันมาถึงพระพุทธรูป ๕ พี่น้องแล้ว ประวัติหลวงพ่อวัดไร่ขิงยังมีเล่ากันอีกหลายกระแส เรื่องที่นำจะเป็นไปได้คือ ใน พ.ศ.๒๓๙๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่ กรุงเก่า วัดศาลาปูน วรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันหนึ่งท่านได้ลงไปที่วัดไร่ขิง เมื่อท่านเข้าไปในพระอุโบสถกราบพระประธานแล้ว ท่านก็ได้สนทนากับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงว่า “โบสถ์ใหญ่โต แต่พระประธาน เล็กไปหน่อย” เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงกราบเรียนท่านว่า “วัดไร่ขิงเป็นวัดจนๆ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ได้” เมื่อทราบดังนั้นท่านจึงบอกว่า ที่วัดของท่านมีอยู่องค์หนึ่งให้เจ้าอาวาสไปอัญเชิญมาได้
เมื่อสมเด็จฯ กลับไปแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงพร้อมทั้งกรรมการวัด ได้เดินทางไปยังวัดศาลาปูน และอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงแพที่ใช้ไม้ไผ่ มัดล่องลงมาตามสำน้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำนครขัยศรี จนกระทั่งถึงวัดไร่ขิง ขาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถแทนพระประธานองค์เดิมตั้งแต่นั้นมา และขนานนามพระพุทธรูปองค์ใหม่นี้ตามนามของวัดว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”

ภาพหลวงพ่อวัดไร่ขิง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 106)

พระพุทไสยยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี วัดพระนอนจักรสีห์มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ปีละ ๓ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๔ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ วันแรม ๗- ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันขึ้น ๑๔ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๓
พระพุทธไสยาสน์ มีความยาวจากพระเมาลีถึงพระบาท ๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว วัสดุปูนปั่น ศิลปะอยุธยา พระอิริยาบถบรรทมในลักษณะลีหไสยา โดยพระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกประคองพระเศียร จากลักษณะดังกล่าว รวมทั้งยังมีพระวรกายใหญ่เต็มพื้นที่พระวิหารตรงตามพุทธประวัติในคราวที่อสุรินทราหู ขอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี โดยทรงกระทำปาฏิหาริย์ในพระอิริยาบถไสยาให้มีพระวรกายใหญ่กว่าอสุรินทราหูหลายเท่า จนอสุรินทราหูซึ่งมีโมหาคติต่อพระพุทธเจ้า ยังต้องแหงนหน้าเพื่อขมพุทธลักษณะที่งดงาม ในภายหลังอสุรินทราหูกลับใจ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่จากพุทธลักษณะสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ร่วมสมัยกับพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์พระนอนจักรสีห์ครั้งสำคัญในพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๙๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ครั้งใหญ่ แล้วเสร็จและสมโภชใน พ.ศ.๒๒๙๙ ในพิธีสมโภชนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จประทับแรมที่วัด ๓ คืน
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหาร พระราชทานเงินค่านาของวัดและเมืองสิงห์เพื่อบูรณะพระพุทธไสยาสน์

ภาพพระพุทไสยยาสน์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 108)

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช

พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นพระพุทธรูปประธานในวิหารสามจอม ซึ่งเป็นอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภายในระเบียงคดท้ายวิหารเขื่อมต่อกับเจดีย์ขนาดย่อม ภายในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนปลาย – ต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะของเครื่องทรงที่สวมประดับพระวรกายที่มีมากเช่นนี้ เดิมมักถูกเรียกว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยมงกุฎทรงสูง กุณฑล กรองศอ ทรงสังวาลไขว้กันที่พระอุระ ตรงกลางมีทับทรวงขนาดใหญ่ ทรงพาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท ปั้นเหน่ง (เข็มขัด) ที่นิ้วพระหัตถ์สวมธำมรงค์ ทั้งหมดมีการประดับลวดลายอย่างประณีตด้วยอัญมณีและกระจกสี
สำหรับการสร้างนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ซึ่งจากพุทธลักษณะสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนปลาย – ต้นรัตนโกสินทร์ แต่ตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ เมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์สามพี่น้อง พระเชษฐาที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า พระศรีธรรมโศกราช องค์รอง ชื่อ จันทรภาณุ และองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พงษาสุระ ในช่วงที่กษัตริย์สามพี่น้องขึ้นครองราชย์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก ทั้งทางอาณาจักร และศาสนจักรโดยได้ครอบครองเมืองต่างๆ ตลอดแหลมมาลายู ซึ่งเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร และใช้รูปดอกบัวเป็นตราประจำเมือง นอกจากนี้ พระศรีธรรมโศกราชยังได้บูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุอีกด้วย เมื่อสิ้นกษัตริย์สามพี่น้องเมืองนครศรีธรรมราชและ เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรแหลมสุวรรณภูมิก็รวมตัวกัน มีพระราชาเป็นผู้ครอบครองประเทศ ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ ทำกำแพงรอบทั้ง ๔ ด้าน และสร้างวิหารติดกับเจดีย์องค์ใหญ่ เรียกว่า “วิหารสามจอม” ภายหลังได้สร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม วิหารหลังนี้จึงมักเรียกว่า วิหารพระศรีธรรม โศกราช

ภาพพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 110)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธไตรรัตนายก หรือหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงศรีอยุธยา มีมาก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างกรุงศรีอยุธยา จึงนับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๑๐ ได้ปรากฏมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่น่าอัศจรรย์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ปูนปั้นลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตรเศษ สูง ๑๙.๒๐ เมตร ศิลปะอยุธยาตอนต้นแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ กล่าวคือ พระพักตร์ สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม พระขนงโค้งมีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนงทั้งสองข้าง พระเนตรเล็กยาวเรียว เหลือบพระเนตรมองลงเบื้องล่าง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงวรวิหาร มีประวัติการสร้างปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๗ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเคารพบูชามาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ.๒๓๑๐ วัดพนัญเซิงก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ถูกพม่าเผาทำลาย มาใน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณะ หลวงพ่อโตใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนเรียกว่า หลวงพ่อชำปอกง

ภาพพระพุทธไตรรัตนนายก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 92)
 

พระพุทธกษัตราธิราช
วัดกษัตราธิราช วรวิหาร เป็นวัดเก่ามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมซื่อ วัดกษัตรา หรือวัดกระษัตรารามในพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่าวัดนี้เคยใช้เป็นที่ตั้งค่ายพม่า และพม่าใช้เป็นที่ตั้งปีนใหญ่ยิงเช้ามาในพระนคร ต่อมาถูกทิ้งร้างไปในสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทิ้งพระอาราม ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน (องค์กลาง) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นามว่า พระพุทธกษัตราธิราช
พระพุทธกษัตราธิราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานชุกชี ประดับด้วยผ้าทิพย์และรูปครุฑยุดนาค ขนาดองค์พระ สูง ๒.๙๙ เมตร ฐานกว้าง ๒.๐๙ เมตร พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศก มีขนาดเล็ก รัศมีเป็นเปลว พระเกตุมาลาหรือพระอุษณีษะสูง ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกคล้ายเขี้ยวตะขาบ วัดกษัตราธิราชเป็นวัดเก่ามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระประธานในพระอุโบสถจึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระอาราม

ภาพพระพุทธกษัตราธิราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 94)

หลวงพ่อโต ปางปาเลไลยก์

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ประดิษฐานในพระวิหาร วัดป่าเลไลย์ วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ หรือปางปาเลไลยก์ขนาดใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมคงจะเป็นพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทปางปฐมเทศนา หรือวิตรรกะมุทรา ซึ่งนิยมสร้างในสมัยทวารวดี และเมื่อมีการซ่อมแซมต่อมาได้เปลี่ยนเป็นปางปาเลไลยก์เช่นปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองสุพรรณบุรี รวมทั้งซาวไทยพุทธที่ไปจังหวัดสุพรรณบุรีจะต้องแวะไปกราบเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดใหญ่ สูง ๒๓.๔๘ เมตร ประทับห้อยพระบาท ปางปาลิไลยก์ หรือป่าเลไลยก์ มีรูปข้างหมอบใช้งวงถวายกระบอกน้ำอยู่ทางด้านขวา และอีกด้านหนึ่งมีลิงถวายรวงผึ้ง พระหัตถ์ขวาหงายขึ้นอยู่เหนือพระชานุเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายวาง คว่ำบนพระชานุ พระพักตร์เป็นรูปลี่เหลี่ยม พระหนุกว้าง ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนด้น หรือศิลปะอู่ทองอิทธิพลศิลปะทวารวดี
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งข้อสังเกตว่า หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ น่าจะเป็นพระพุทธรูปเก่ามาก่อนสร้างวัดป่าเลไลยก์ น่าจะถึงสมัยอู่ทอง เดิมคงจะเป็นพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท ปางปฐมเทศนา หรือปางวิตรรกะ อยู่กลางแจ้ง พระกรคงจะหักหายไปและได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่ให้เป็นปางปาลิไลยก์ หรือป่าเลไลยก์ โดยจะสังเกตได้ว่าพระกรทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน

ภาพหลวงพ่อโต ปางปาเลไลยก์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 96)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร อำเภอเมือง เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา วัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดน้อยปากใต้ วัดนอกปักษ์ใต้ คนทั่วไปเรียกกันว่า วัดใหญ่ เนื่องจากมีพื้นที่วัดกว้างใหญ่ถึง ๒๐ ไร่เศษ สร้างในสมัยอยุธยา ต่อมา สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ในฐานะวัดอันเป็นบ้านเกิดของท่าน และด้วยนามเดิม และนามฉายาสุวณฺโณ จึงไต้ชื่อว่า วัดสุวรรณาราม ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม
พระประธานองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง ๒.๒๐ เมตร วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม ประดิษฐานบนฐานชุกชีตกแต่งลวดลายปูนปั้นกลีบบัวประดับกระจก ตรงมุมฐานปั้นเป็นลายหัวสิงห์แต่ละข้างไม่เหมือนกัน เหนือพระเศียรมีฉัตรห้อยลงมาจากเพดาน ด้านหน้าแถวแรกมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๓ องค์ เรียงกัน และมีพระพุทธรูปยืนแทรกอยู่ ถัดมามีพระพุทธรูปปางสมาธิ ๒ องค์ กับรูปหล่อสมเด็จเจ้าแตงโม และรูปหล่อพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) ด้านหลังพระประธานมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่หล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๑.๔๐ เมตร พระบาทเบื้องขวามี ๖ นิ้ว สันนิษฐานว่าเป็นพระประธานในพระอุโบสถองค์เดิม ก่อนที่จะมีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยอยุธยา เล่าลีบกันมาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ช่างตั้งใจที่จะสร้างให้มี ๖ นิ้ว (มองเห็นเฉพาะพระบาทขวา ส่วนพระบาทซ้ายเป็นท่าชัดสมาธิอยู่ใต้พระชานุ)
สำหรับการสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง จากพุทธลักษณะคงสร้างในสมัยอยุธยา และวัดแห่งนี้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จเจ้าแตงโม และสมัยพระครู มหาวิหาราภิรักษ์ (พุก) เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้นับเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และเมือสกุลช่างหลายแขนง

ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 98)
 

พระประธานในพระอุโอสถ

พระประธานในพระอุโอสถ ประดิษฐานในอุโบสถ วัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งวัดแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า วัดเกาะ เนื่องจาดมีสายน้ำไหลผ่านรอบด้าน ภายในอุโบสถยังมีจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอยุธยา เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว มีเรื่องพุทธประวัติ มารผจญ และสัตตมหาสถาน พระประธานองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่เดิมในสมัยอยุธยา แต่องค์พระพุทธรูปน่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมภายหลัง ประดิษฐานในพระอุโบสถ

ภาพ
พระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 100)

พระพุทไสยยาสน์ วัดป่าโมก
พระพุทธไสยาสน์ วัดปาโมก วรวิหาร เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ ที่เก่าแก่ และงดงามมาก ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร และยังมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏในพระราชพงศาวดารหลายรัชกาล ที่สำคัญคือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จมาประชุมพลก่อนจะเสด็จไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จฯ มาทรงสักการะพระพุทธไสยาสน์ก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๕
พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาประทับในอิริยาบถนอน หรือไสยาสน์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ปิดทองทั้งองค์ มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาทประมาณ ๑๒ วา (๒๔ เมตร)
สำหรับการสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่ชัดเจนสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาให้ความเคารพสักการะ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าใน พ.ศ.๒๑๓๕ เมื่อครั้งพระเจ้านันทบุเรงโปรดให้พระมหาอุปราชานำกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเตรียมไพร่พลที่บ้านป่าโมก ในครั้งนั้นทรงสักการบูชาพระพุทธไสยาสน์เพื่อเป็นสิรีมงคลในการรบสงครามครั้งนี้นับเป็นสงครามครั้งสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย คือ สงครามยุทธหัตถี

ภาพพระพุทไสยยาสน์ วัดป่าโมก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 102)

พระพุทธโสธร
พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ วัดโสธรวราราม วรวิหาร มีงานประจำปีนมัสการพระพุทธโสธร ปีละ ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ กลาง เดือน ๔ ถือว่าเป็นงานฉลองวันเกิดพระพุทธโสธร เริ่มงานวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๓ วัน ๓ คืน ครั้งที่ ๒ งานกลางเดือน ๑๒ เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น ๑๑ ค่ำ จนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๔วัน ๔คืน และครั้งที่ ๓ งานตรุษจีน เริ่มงานตั้งแต่วันซิวอิด รวม ๔ วัน ๔ คืน
พระพุทธโสธร เป็นพุทธรูปปางสมาธิ ปูนปีน ลงรักปิดทองประทับ ขัดสมาธิราบ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระรัศมีทรงกรวยสูง พระเมาลีสูง เม็ดพระศกเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำและเรียวเล็ก พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระองค์อวบอ้วนเล็กน้อย ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาวปลายพับซ้อนกัน บางตำรากล่าวว่าเป็นศิลปะล้านนา คงมีการซ่อมแซมหลายครั้ง แต่ในการบูรณะซ่อมแซมคราวหนึ่ง พบว่า องค์พระแท้จริงเป็นพระพุทธรูปหินทราย มีพุทธศิลป์แบบอยุธยา หน้าตักกว้าง ๑.๗๔ เมตร หรือ ๖๔ นิ้ว สูง ๑.๙๖ เมตร มีตำนานเล่าว่า เมื่อราว พ.ศ.๒๓๑๓ มีพระพุทธรูปอยู่ทางตอนเหนือ ๓ องค์เป็นพี่น้องกันได้แสดงอภินิหารลอยตามน้ำมา ผ่านย่านขุมชนหลายแห่ง บางแห่งคนจำนวนมากได้ซักซวนกันฉุดแต่ก็ไม่สามารถอัญเชิญขึ้นลงได้ในที่สุด พระพุทธรูปทั่ง ๓ องค์ก็ได้ขึ้นฝั่งประดิษฐานยังวัดต่างๆ คือ องค์พี่ใหญ่ หลวงพ่อ วัดบ้านแหลม ลอยตามแม่น้ำไปขึ้นฝั่ง ณ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม องค์น้องสุดท้องหลวงพ่อโตขึ้นฝั่งประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนองค์กลางหลวงพ่อโสธรลอยตามน้ำมาหน้าวัดโสธรวราราม วรวิหาร พระอาจารย์ผู้ทรงความรู้ประกอบพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้สำเร็จ

ภาพพระพุทธโสธร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 104)

หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบถวัดไร่ขิง หรือวัดมงคลจินดาราม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดนครปฐม และยังเป็นพระพุทธรูป ๑ใน ๕ องค์ที่มีตำนานเล่ากันต่อมาว่าเป็นพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ ลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง ๕ สาย เมื่อซาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้าจึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้คนทั้งซาวไทยและต่างประเทศ หลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด พระพุทธรูปทั้ง ๕ คือ พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ ลอยไปตาม แม่น้ำบางปะกง และประดิษฐานที่วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า “หลวงพ่อใสธร” พระพุทธรูปองค์ที่ ๒ ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เมืองนครขัยศรี เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” พระพุทธรูปองค์ที่ ๓ ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ เรียกกันว่า “หลวงพ่อโตวัดบางพลี” พระพุทธรูปองค์ ที่ ๔ ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” และพระพุทธรูปองค์ที่ ๕ ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา”
หลวงพ่อวัดไรขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย หล่อด้วยสำริด จะเป็นเพราะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ทำให้มีศิลปะผสม โดยการนำพุทธศิลปะของสกุลซ่าง ๓ สมัยมาผสมกัน คือ พระรูปผึ่งผายแบบ ศิลปะล้านนา พระหัตถ์เรียวงามตามแบบศิลปะสุโขทัย และพระพักตร์งดงามในแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ๕ ขั้น หลวงพ่อวัดไร่ขิง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ซึ่งมีแม่น้ำนครขัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน
นอกจากตำนานที่เล่าต่อกันมาถึงพระพุทธรูป ๕ พี่น้องแล้ว ประวัติหลวงพ่อวัดไร่ขิงยังมีเล่ากันอีกหลายกระแส เรื่องที่นำจะเป็นไปได้คือ ใน พ.ศ.๒๓๙๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่ กรุงเก่า วัดศาลาปูน วรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันหนึ่งท่านได้ลงไปที่วัดไร่ขิง เมื่อท่านเข้าไปในพระอุโบสถกราบพระประธานแล้ว ท่านก็ได้สนทนากับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงว่า “โบสถ์ใหญ่โต แต่พระประธาน เล็กไปหน่อย” เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงกราบเรียนท่านว่า “วัดไร่ขิงเป็นวัดจนๆ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ได้” เมื่อทราบดังนั้นท่านจึงบอกว่า ที่วัดของท่านมีอยู่องค์หนึ่งให้เจ้าอาวาสไปอัญเชิญมาได้
เมื่อสมเด็จฯ กลับไปแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงพร้อมทั้งกรรมการวัด ได้เดินทางไปยังวัดศาลาปูน และอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงแพที่ใช้ไม้ไผ่ มัดล่องลงมาตามสำน้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำนครขัยศรี จนกระทั่งถึงวัดไร่ขิง ขาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถแทนพระประธานองค์เดิมตั้งแต่นั้นมา และขนานนามพระพุทธรูปองค์ใหม่นี้ตามนามของวัดว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”

ภาพหลวงพ่อวัดไร่ขิง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 106)

พระพุทไสยยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี วัดพระนอนจักรสีห์มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ปีละ ๓ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๔ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ วันแรม ๗- ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันขึ้น ๑๔ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๓
พระพุทธไสยาสน์ มีความยาวจากพระเมาลีถึงพระบาท ๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว วัสดุปูนปั่น ศิลปะอยุธยา พระอิริยาบถบรรทมในลักษณะลีหไสยา โดยพระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกประคองพระเศียร จากลักษณะดังกล่าว รวมทั้งยังมีพระวรกายใหญ่เต็มพื้นที่พระวิหารตรงตามพุทธประวัติในคราวที่อสุรินทราหู ขอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี โดยทรงกระทำปาฏิหาริย์ในพระอิริยาบถไสยาให้มีพระวรกายใหญ่กว่าอสุรินทราหูหลายเท่า จนอสุรินทราหูซึ่งมีโมหาคติต่อพระพุทธเจ้า ยังต้องแหงนหน้าเพื่อขมพุทธลักษณะที่งดงาม ในภายหลังอสุรินทราหูกลับใจ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่จากพุทธลักษณะสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ร่วมสมัยกับพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์พระนอนจักรสีห์ครั้งสำคัญในพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๙๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ครั้งใหญ่ แล้วเสร็จและสมโภชใน พ.ศ.๒๒๙๙ ในพิธีสมโภชนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จประทับแรมที่วัด ๓ คืน
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหาร พระราชทานเงินค่านาของวัดและเมืองสิงห์เพื่อบูรณะพระพุทธไสยาสน์

ภาพพระพุทไสยยาสน์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 108)

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช

พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นพระพุทธรูปประธานในวิหารสามจอม ซึ่งเป็นอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภายในระเบียงคดท้ายวิหารเขื่อมต่อกับเจดีย์ขนาดย่อม ภายในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนปลาย – ต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะของเครื่องทรงที่สวมประดับพระวรกายที่มีมากเช่นนี้ เดิมมักถูกเรียกว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยมงกุฎทรงสูง กุณฑล กรองศอ ทรงสังวาลไขว้กันที่พระอุระ ตรงกลางมีทับทรวงขนาดใหญ่ ทรงพาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท ปั้นเหน่ง (เข็มขัด) ที่นิ้วพระหัตถ์สวมธำมรงค์ ทั้งหมดมีการประดับลวดลายอย่างประณีตด้วยอัญมณีและกระจกสี
สำหรับการสร้างนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ซึ่งจากพุทธลักษณะสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนปลาย – ต้นรัตนโกสินทร์ แต่ตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ เมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์สามพี่น้อง พระเชษฐาที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า พระศรีธรรมโศกราช องค์รอง ชื่อ จันทรภาณุ และองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พงษาสุระ ในช่วงที่กษัตริย์สามพี่น้องขึ้นครองราชย์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก ทั้งทางอาณาจักร และศาสนจักรโดยได้ครอบครองเมืองต่างๆ ตลอดแหลมมาลายู ซึ่งเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร และใช้รูปดอกบัวเป็นตราประจำเมือง นอกจากนี้ พระศรีธรรมโศกราชยังได้บูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุอีกด้วย เมื่อสิ้นกษัตริย์สามพี่น้องเมืองนครศรีธรรมราชและ เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรแหลมสุวรรณภูมิก็รวมตัวกัน มีพระราชาเป็นผู้ครอบครองประเทศ ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ ทำกำแพงรอบทั้ง ๔ ด้าน และสร้างวิหารติดกับเจดีย์องค์ใหญ่ เรียกว่า “วิหารสามจอม” ภายหลังได้สร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม วิหารหลังนี้จึงมักเรียกว่า วิหารพระศรีธรรม โศกราช

ภาพพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 110)