ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ
พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร ประดิษฐานอยู่ในซุ้มด้านหน้า พระวิหารด้านทิศเหนือ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราซฯ สยามมกุฎราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองโบราณในสมัยกรุงสุโขทัยในกาลนั้น ทรงพบพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยขนาดใหญ่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม หากแต่ชำรุดเสียหายด้วยกาลเวลา ยังคงเหลือแต่เพียงส่วนของพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทเท่านั้น ด้วยพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาและองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่ง พระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอพระพุทธรูปลงมายังกรุงเทพฯ และปฏิสังขรณ์ใหม่ให้เต็มองศ์ พร้อมทั้งมีรับสั่งว่า เมื่อพระองศ์สวรรคตแล้วให้บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของพระองศ์ไว้ใต้ฐานของพระพุทธรูปองศ์นี้ด้วย
ศิลปะแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง ๗.๕๐ เมตร ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวควํ่าบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้วยกพระหัตถ์เบื้องขวาตั้งขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ไปด้านหน้า พระหัตถ์ซ้ายทอด ข้างพระวรกาย ทรงจีวรห่มคลุม ส่วนพระเศียรมีลักษณะชองศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่อย่างชัดเจน คือ มีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ ปลายพระเนตรตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์หยักเป็นคลื่นแบบสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งพระพุทธรูป สุโขทัยหมวดใหญ่ กำหนดอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดให้หล่อขึ้นจากพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย ที่ทรงพบที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยพบเพียงส่วนพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำทุ่นรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ใหม่ ให้เต็มบริบูรณ์ทั้งองค์ โดยมีพระราชพิธีเททองหล่อที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ และพระราชทานนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูซนียบพิตร

ภาพพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 52)

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบางพลีใหญ่ใน ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากทั้งจากชาวจังหวัดสมุทรปราการ และพุทธคาสนิกชนทั่วไป และยังเป็นพระพุทธรูป ๑ ใน ๕ องค์ ที่มีตำนานเล่ากันต่อมาว่า เป็นพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ลอยน้ำลงมาตาม ลำน้ำทั้ง ๕ สาย ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ ที่มีผู้คนทั้งซาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด พระพุทธรูปทั้ง ๕ คือ หลวงพ่อ
โสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเซิงเทรา หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี วัดจัดงาน สมโภชนมัสการหลวงพ่อโต เป็นประจำทุกปีในหลายโอกาส
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีพระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศา ขนาดกลาง พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวยาว พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระวรกายสมส่วน พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก สังฆาฏิเล็กปลายหยักยาวจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ กำหนดอายุไว้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตามตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตได้ลอยน้ำเข้ามาในลำคลองสำโรง ผู้พบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วถึงปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น จึงพากันอาราธนาหลวงพ่อขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ฉุดดึงเท่าไรก็ไม่สำเร็จ ขาวบ้านจึงได้ร่วมกันต่อแพ เสี่ยงทายผูกชะลอองค์หลวงพ่อโต แล้วใช้เรือพายฉุดให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรง และอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอแสดงปาฏิหาริย์ให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด” เมื่อแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (ปัจจุบันคือวัดบางพลีใหญ่ใน) แพที่ผูกชะลอ องค์หลวงพ่อโตก็หยุดนิ่ง จึงได้อาราธนาอัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหารก่อน ต่อมาจึงได้รื้อพระวิหารนั้นเพี่อสร้างเป็นพระอุโบสถ แล้วจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อโตไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ในมาจนปัจจุบัน

ภาพหลวงพ่อโต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 54)
 

พระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ
พระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ พระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันตก มุขหน้า ในเขตพุทธาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญมาจากสุโขทัย มีพุทธลักษณะงดงามมาก จึงได้รับเลือกให้ประดิษฐาน ณ วัดสำคัญใกล้พระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงต่อเดิมเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกอีกด้วย
ศิลปะสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปางนาคปรก หล่อด้วยโลหะ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ อยู่ในอิริยาบถ ประทับขัดสมาธิราบ คือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย คือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน ๔ ขั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค ๗ เศียร และมีตันจิก ถัดออกไปทางเบื้องหลัง โดยปกติพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ แต่พระพุทธชินศรีฯ กลับอยู่ในท่ามารวิชัย โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาคซึ่งมิได้ล้อมรอบและพังพาน นาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียร เป็นเพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างในคราวเดียวกัน
ในพระวิหารทิศตะวันตกเดิมประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว อัญเชิญมาแต่เมืองลพบุรี ต่อมาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับ ๑ นิ้ว เรียกว่า พระชินศรี เมื่อบูรณะองค์พระพุทธรูปเสร็จแล้ว โปรดให้อัญเชิญพระบรมธาตุบรรจุในองค์พระชินศรี ๓๐ องค์ กับโปรดให้สร้างพญานาคเจ็ดเศียรขด ๔ ขั้น เป็นพุทธบัลลังก์แผ่พังพานอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ภายใต้ร่มจิก เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาประดิษฐานแทน มีจารึกบอกเรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้ ไว้ในโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บูรณะพระพุทธชินศรีใหม่ ถวายนามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคย์นาคปรก ดิลกภพบพิตร”

ภาพพระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 56)

พระศรีศากยมุนี

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ ตรงผ้าทิพย์ด้านหน้าประดิษฐาน พระบรมราชสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายนามว่า “พระศรีศากยมุนี” เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย มีความงามอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อเมื่อผู้ใดมีความทุกข์ใจหากได้กราบไหว้ และมองพระพักตร์แล้ว ความทุกข์ของคนนั้นจะปลาสนาการสิ้นไป เกิดเป็นความสุขอย่างน่าอัศจรรย์ ข้อนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ศิลปะสุโขทัย อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ วา ๑ คืบ (บางแห่งว่า หน้าตักกว้าง ๓ วา ๔ นิ้ว สูง ๔ วา) พระหัตถ์ขวาแสดงปางมารวิชัย และพระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาถึงระดับพระนาภี มีปลายเป็นสองแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ ลักษณะพระองค์ค่อนข้างสั้น นั้นพระองค์เล็ก พระอังสาใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูงตั้งอยู่บนพระอุษณีษ์รูปมะนาวตัด เส้นพระศกขมวดเล็ก พระพักตร์รูปไข่เกือบกลม พระขนงโก่งแยกออกจากกัน มีพระอุณาโลมคั่นอยู่ระหว่างพระขนง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์แย้มสรวล พระหนุกลม ฐานหน้ากระดานเรียบ ประดิษฐานซ้อนบนฐานชุกชีแบบฐานลาย แข้งสิงห์ ตลอดทั้งฐานชุกชีประดับลายปูนปีนเป็นลายดอก ลายเถา ลายเทศ ปิดทองคำเปลวประดับกระจกสีทั้งหลัง
พระศรีศากยมุนี หรือ พระโต สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชประสงค์จะสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ให้เจริญรุ่งเรืองดังเช่นกรุงเก่า โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอาราม ขึ้นกลางพระนคร สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยจะให้เป็นอารามใหญ่เสมอด้วยวัดพระเจ้าพนัญเซิง กรุงเก่า พระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อน เพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึ่งมีพระราชศรัทธาอัญเชิญล่องแพมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๑ มายังกรุงเทพฯ แล้วทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้าพระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการมหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน นิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันเช้า ที่เรือบัลลังก์ ถึงวันที่จะอัญเชิญพระขึ้นจากแพเข้าประตูเมืองที่ท่าข้างนั้น ประตูเมืองไม่ตรงกับถนน ทั้งองค์พระก็ใหญ่กว่าประตู เข้าประตูไม่ได้ จึงต้องรื้อกำแพงเมืองด้านนั้นลง เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนั้นที่แห่งนี้จึงมีซื่อเรียกว่า “ท่าพระ” จนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระบรมราชโองการให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวัง หน้าบ้าน ร้านตลาดที่กระบวนเลื่อนชักพระทางสถลมารคผ่าน มีพระราชศรัทธาเสด็จพระราชดำเนินตามกระบวน โดยมิได้ทรงฉลองพระบาท ทรงยกเลื่อนชักพระตามทางสถลมารค ทั้งที่ทรงพระประชวรอยู่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นได้เซพลาด แต่เจ้าฟ้ากรมชุนกษัตรานุชิต รับพระองค์ไว้ได้ จนเมื่อยกพระพุทธรูปขึ้นตั้งบนฐานที่เตรียมไว้จึงเสด็จฯ กลับ และสิ้นรัชกาล ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระศรีศากยมุนี”

ภาพพระศรีศากยมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 58)
 

พระศาสดา
พระศาสดาเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมขื่อว่า “วัดทอง” เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยาเป็นพระสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ได้รับความเคารพศรัทธา มีคนมากราบไหว้บูชาบนบานศาลกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อว่ามีพุทธานุภาพช่วยให้ ประสบความสำเร็จสมปรารถนาด้านการงานและการค้า
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ฝีมือในการหล่อประณีตงดงาม ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๑ คืบ สูงตลอดยอด พระรัศมี ๘ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว มีพระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ พระเกตุมาลาสูง ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาว ปลายเป็นลายคล้าย เขี้ยวตะขาบ ซึ่งเป็นลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย
ประวัติการสร้างพระศาสดาหรือหลวงพ่อศาสดา มีประวัติการสร้างเป็นสองทาง ทางแรก เชื่อว่า เป็นพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แม้พระพุทธรูปองศ์นี้จะไม่ปรากฏเรื่องราว แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะแล้ว เห็นว่าเป็นเมือ เดียวกับช่างที่หล่อพระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำคัญสมัยสุโขทัยซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัยครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงเห็นว่าคงจะเชิญพระศาสดามาในคราวเดียวกัน ประวัติการสร้างอีกทางหนึ่งนั้น ปรากฏในหนังสือประวัติวัดสุวรรณาราม ว่า พระศาสดาองศ์นี้ ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและสมัยที่สร้าง แต่สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้หล่อขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เมื่อคราวทรงปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณารามขึ้นใหม่โดยพระพุทธรูปองศ์นี้ไม่ปรากฏ นามเฉพาะ มีเพียงชื่อที่ซาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “พระศาสดา”
มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อศาสดามีพุทธานุภาพว่าอำนวยความสำเร็จได้ตังปรารถนา จึงมีคนมากราบไหว้นมัสการหรือบนบานศาลกล่าว โดยเฉพาะเรื่องการมิให้ถูกจับได้ใบแดงในการเกณฑ์ทหาร เมื่อสำเร็จจะต้องแก้บนโดยการ “วิ่งม้า” โดยผู้บนบานจะเป็นผู้วิ่งหรืออาจจ้างผู้อื่นมาวิ่ง ไม่ได้ใช้ม้าจริง เพียง ใช้ผ้าขาวม้าเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น เริ่มวิ่งจากหน้าองศ์พระศาสดาที่ใบเสมาแรกทางด้านหน้าของพระอุโบสถ โดยนำผ้าขาวม้าขมวดปมให้เรียบร้อย มาวางหน้าใบเสมา เมื่อนุ่งผ้าขาวม้าแล้ว จะวิ่งม้าแก้บนพร้อมร้องเสียงม้าไปด้วย อย่างน้อย ๓ รอบพระอุโบสถ เมื่อวิ่งม้าเสร็จนำผ้าขาวม้ามาวางกับพื้นตรงหน้า ใบเสมาใบแรกแล้วกราบลาเป็นอันเสร็จพิธี ที่มาความเชื่อนี้มีเรื่องเล่าว่า มีผู้มาบนบานแล้วได้ดังปรารถนา ได้ฝืนว่ามีพราหมณ์ท่านหนึ่งมาบอกว่าให้แก้บนด้วยการวิ่งม้าถวาย

ภาพพระศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 60)

พระพุทธชินสีห์

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯ มาทรงสักการบูชาในโอกาสต่าง ๆ เสมอมา เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงนมัสการและถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับผ้าทิพย์พื้นทอง เป็นพุทธบูชาผงจากองค์พระใช้เป็นมวลสารทำพระสมเด็จจิตรลดา
พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สูง ๗ ศอก รัศมียาวเป็นเปลวเพลิง พระเกศาขดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนช้างกลมไม่ยาวรีเหมือนรูปไข่เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หมวดใหญ่ พระวรกายอวบอิ่ม มีสังฆาฏิยาวปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) ฝ่าพระบาทแบนราบ ค่อนช้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ล้นพระบาทยาว
ด้วยเหตุที่ลักษณะสำคัญคล้ายกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ในหมวดพระพุทธชินราช หรือสกุลช่างพิษณุโลกโดยเฉพาะทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน อันเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราชด้วย รวมทั้งประวัติความเป็นมาซึ่งเชื่อได้ว่าสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระพุทธชินสีห์มีตำนานการสร้างหลายตำนาน สันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดให้สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา แต่ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าผู้สร้างคือ กษัตริย์เชียงแสน พระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังพระอุโบสถจัตรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวชอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดให้ อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และ โปรดให้หล่อแท่นฐานองค์พระพุทธรูปด้วยทองสำริด กะไหล่ทองคำที่พระรัศมี ฝังเพชรที่พระอุณาโลม และปิดทององค์พระพุทธรูป ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการและได้ถวายพระธำมรงค์หยกสวมพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) ซ้าย เงิน ๕๐ ชั่ง พร้อมทั้งฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวาย ผ้าทรงสะพัก ห่มตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศเพื่อเป็นพุทธบูชา

ภาพพระพุทธชินสีห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 62)

พระศรีศาสดา

พระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมืองสร้างในคราวเดียว และเคยประดิษฐานร่วมพระอารามกับพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก และเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระศาสดา และเปิดให้ประซาซนทั่วไปเข้าสักการบูชาได้เฉพาะวันสำคัญทางศาสนาหรือที่ทางวัดกำหนด
พระศรีศาสดา หรือพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก (บางตำราว่า ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว) พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนรูปไข่เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หมวดใหญ่ มีสังฆาฏิยาวปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ ฝ่าพระบาทแบนราบ ค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช มีตำนานการสร้างหลายทาง ทางหนึ่งว่าเมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก จากนั้นได้ทรงสร้างวัดวาอารามมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง ทรงหล่อ พระพุทธรูป ๓ องค์ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุ ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหาร ใหญ่ทิศตะวันออทางทิศเหนือองค์หนึ่งทิศใต้องค์หนึ่งพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันเป็นเวลากว่า ๙๐๐ ปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาลงมากรุงเทพฯ
อีกทางหนึ่งนั้นว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยทรงสร้างพระศาสดาขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระพุทธรูป ๓ องค์ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ตัน ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ ในสมัยด้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้างจึงได้อัญเชิญพระศรีศาสดามาไว้ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติได้ขออัญเชิญพระศรีศาสดาไปเป็นพระประธานที่วัดประดู่ฉิมพลี คลองบางหลวง ซึ่งท่านสร้างขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ มีพระราชดำริว่า พระศรีศาสดาเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมาแต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น ทั้งมีพระราชดำริว่า พระศรีศาสดานั้นสร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  และพระพุทธรูปสององค์นี้ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก พระศรีศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเข่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ แต่เพราะยังมิได้สร้างที่สำหรับประดิษฐาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหารไปพลางก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศาสดาจากวัดสุทัศน์ฯ ไปประดิษฐาน ณ พระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ พระศรีศาสดานั้นเป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์
ภาพพระศรีศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 64)

พระไสยา

พระไสยา พระพุทธไสยาสน์ หรือพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน สมัยสุโขทัยที่มีลักษณะงดงามยิ่ง ประดิษฐานที่วิหารพระศาสดา มุขหลัง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระไสยาเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ทำด้วยศิลาลงรักปิดทอง ความยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว หรือ ๑๓๒.๙๕ นิ้ว พระรัศมียาว ๙.๘๔ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ทอดพระวรกาย บรรทมดูอ่อนช้อยราวมีชีวิต พระพักตร์สงบงาม พระเนตรปิด แย้มพระโอษฐ์ ยิ้มน้อยๆ อ่อนหวาน ตามแบบศิลปะสุโขทัย ที่นิยมสร้างพระพุทธรูปแสดงถึงพระพุทธองค์ในยามที่เสวยวิมุตติสุขหลังจากตรัสรู้แล้วชายผ้าสังฆาฏิแบบเขี้ยวตะขาบ ดูงดงามอ่อนช้อย ด้านหลังองค์พระเป็นภาพจิตรกรรมพุทธประวัติตอน พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน มีภาพด้นสาละคู่อยู่เบื้องพระเศียรและพระบาท และมีเหล่าภิกษุสาวกเข้าเฝ้าในวาระนั้น กล่าวกันว่า ความงดงามแห่ง,พุทธศิลป์ได้เป็นแรงบันดาลใจให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนำไปเป็นต้นแบบสร้างพระไสยาสน์ที่วัดราชาธิวาส แต่สร้างตามแบบศิลปะผสมแบบกริกที่มีความงดงามยิ่งเซ่นลัน
สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ - ๑๘๙๓ เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงพระผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงนิพนธ์เรื่องพระศิลานี้ไว้ในหนังสือ ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร ความว่า “พระศิลาอย่างนี้ไม่ได้ทำไว้เพื่อประดิษฐานเป็นศิลาอย่างเดิม ทำพอเป็นแกนที่เป็นพระใหญ่ต่อเป็นท่อน เพราะอย่างนี้จึงได้ลงรักปิดทอง”

ภาพพระไสยา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 66)
 

พระพุทธชินราช

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีพุทธศิลปะที่งดงามมากที่สุดองค์หนึ่งของไทย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย ที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า หมวดพระพุทธชินราช หรือสกุลช่างเมืองพิษณุโลก คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ทรงจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ประทับชัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ประดับด้วยซุ้มเรือนแก้วแกะสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทองลวดลายประณีตอ่อนช้อยงดงามหลายท่อนต่อกัน ล่างสุดของซุ้มเรือนแก้วแกะเป็นมังกรคาบแก้ว ยืนด้วย ๒ เท้า ที่พระเพลาทั้งสองข้างประดับด้วยรูปอาฬวกยักษ์ทางด้านขวา และรูปท้าวเวสสุวัณทางด้านซ้าย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน โดยอ้างอิงจากพงศาวดารเหนือว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐ ในรัชกาลพระมหาธรรมราซาที่ ๑ (สิไท) สมัยเดียวกับพระพุทธรูปสำคัญอีก ๓ องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ (หล่อขึ้นจากเศษทองสำริด ที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช) โดยช่างผู้สร้างพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์นั้นน่าจะเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่น โดยพิจารณาจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด

ภาพพระพุทธชินราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 68)
 

พระพุทธชินวร

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดอินทาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธปฏิมาประธานในพระอารามละแวกใกล้เคียง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระพุทธชินวร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต ๓ นิ้วครึ่ง เนื้อโลหะมีส่วนผสมของทองคำสูงเช่นเดียวกับพระสุโขทัยไตรมิตร พระประธานในพระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร องค์พระสามารถถอดออกได้เป็น ๗ ชิ้น อัญเชิญมาจากสุโขทัยในสมัยรัชกาล ที่ ๓ ขณะที่กำลังสร้างพระอุโบสถ ลักษณะพระรัศมีเป็นเปลว พระเมาลีค่อนข้างสูง พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย ริมพระโอษฐ์หยักคล้ายลูกคลื่น นิ้วพระหัตถ์ยาวเรียวปลายไม่เสมอกัน ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเล็ก ยาวจรดพระนาภี ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ เป็นลักษณะของพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษ ท ๒๐
วัดอินทาราม วรวิหาร สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ และทรงสถาปนาชิ้นเป็นพระอารามหลวง ขั้นเอกพิเศษ มีเรื่องราวเล่าว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เมื่อพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอินทาราม ซึ่งเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดบางยี่เรือนอก” ได้มีพ่อค้าซุงทางเหนือนำพระพุทธรูปองค์นี้ ส่องลงมาพร้อมกับซุง พระยาศรีสหเทพมีจิตศรัทธาจึงได้ติดต่อขอเข่าเพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเมื่อท่านบูรณะวัดนี้เรียบร้อยแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้ทรงพระกรุณารับไว้เป็นพระอารามหลวงขั้นตรี

ภาพพระพุทธชินวร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 70)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ
พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร ประดิษฐานอยู่ในซุ้มด้านหน้า พระวิหารด้านทิศเหนือ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราซฯ สยามมกุฎราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองโบราณในสมัยกรุงสุโขทัยในกาลนั้น ทรงพบพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยขนาดใหญ่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม หากแต่ชำรุดเสียหายด้วยกาลเวลา ยังคงเหลือแต่เพียงส่วนของพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทเท่านั้น ด้วยพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาและองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่ง พระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอพระพุทธรูปลงมายังกรุงเทพฯ และปฏิสังขรณ์ใหม่ให้เต็มองศ์ พร้อมทั้งมีรับสั่งว่า เมื่อพระองศ์สวรรคตแล้วให้บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของพระองศ์ไว้ใต้ฐานของพระพุทธรูปองศ์นี้ด้วย
ศิลปะแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง ๗.๕๐ เมตร ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวควํ่าบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้วยกพระหัตถ์เบื้องขวาตั้งขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ไปด้านหน้า พระหัตถ์ซ้ายทอด ข้างพระวรกาย ทรงจีวรห่มคลุม ส่วนพระเศียรมีลักษณะชองศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่อย่างชัดเจน คือ มีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ ปลายพระเนตรตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์หยักเป็นคลื่นแบบสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งพระพุทธรูป สุโขทัยหมวดใหญ่ กำหนดอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดให้หล่อขึ้นจากพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย ที่ทรงพบที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยพบเพียงส่วนพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำทุ่นรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ใหม่ ให้เต็มบริบูรณ์ทั้งองค์ โดยมีพระราชพิธีเททองหล่อที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ และพระราชทานนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูซนียบพิตร

ภาพพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 52)

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบางพลีใหญ่ใน ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากทั้งจากชาวจังหวัดสมุทรปราการ และพุทธคาสนิกชนทั่วไป และยังเป็นพระพุทธรูป ๑ ใน ๕ องค์ ที่มีตำนานเล่ากันต่อมาว่า เป็นพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ลอยน้ำลงมาตาม ลำน้ำทั้ง ๕ สาย ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ ที่มีผู้คนทั้งซาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด พระพุทธรูปทั้ง ๕ คือ หลวงพ่อ
โสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเซิงเทรา หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี วัดจัดงาน สมโภชนมัสการหลวงพ่อโต เป็นประจำทุกปีในหลายโอกาส
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีพระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศา ขนาดกลาง พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวยาว พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระวรกายสมส่วน พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก สังฆาฏิเล็กปลายหยักยาวจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ กำหนดอายุไว้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตามตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตได้ลอยน้ำเข้ามาในลำคลองสำโรง ผู้พบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วถึงปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น จึงพากันอาราธนาหลวงพ่อขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ฉุดดึงเท่าไรก็ไม่สำเร็จ ขาวบ้านจึงได้ร่วมกันต่อแพ เสี่ยงทายผูกชะลอองค์หลวงพ่อโต แล้วใช้เรือพายฉุดให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรง และอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอแสดงปาฏิหาริย์ให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด” เมื่อแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (ปัจจุบันคือวัดบางพลีใหญ่ใน) แพที่ผูกชะลอ องค์หลวงพ่อโตก็หยุดนิ่ง จึงได้อาราธนาอัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหารก่อน ต่อมาจึงได้รื้อพระวิหารนั้นเพี่อสร้างเป็นพระอุโบสถ แล้วจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อโตไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ในมาจนปัจจุบัน

ภาพหลวงพ่อโต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 54)
 

พระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ
พระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ พระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันตก มุขหน้า ในเขตพุทธาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญมาจากสุโขทัย มีพุทธลักษณะงดงามมาก จึงได้รับเลือกให้ประดิษฐาน ณ วัดสำคัญใกล้พระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงต่อเดิมเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกอีกด้วย
ศิลปะสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปางนาคปรก หล่อด้วยโลหะ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ อยู่ในอิริยาบถ ประทับขัดสมาธิราบ คือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย คือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน ๔ ขั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค ๗ เศียร และมีตันจิก ถัดออกไปทางเบื้องหลัง โดยปกติพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ แต่พระพุทธชินศรีฯ กลับอยู่ในท่ามารวิชัย โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาคซึ่งมิได้ล้อมรอบและพังพาน นาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียร เป็นเพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างในคราวเดียวกัน
ในพระวิหารทิศตะวันตกเดิมประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว อัญเชิญมาแต่เมืองลพบุรี ต่อมาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับ ๑ นิ้ว เรียกว่า พระชินศรี เมื่อบูรณะองค์พระพุทธรูปเสร็จแล้ว โปรดให้อัญเชิญพระบรมธาตุบรรจุในองค์พระชินศรี ๓๐ องค์ กับโปรดให้สร้างพญานาคเจ็ดเศียรขด ๔ ขั้น เป็นพุทธบัลลังก์แผ่พังพานอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ภายใต้ร่มจิก เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาประดิษฐานแทน มีจารึกบอกเรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้ ไว้ในโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บูรณะพระพุทธชินศรีใหม่ ถวายนามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคย์นาคปรก ดิลกภพบพิตร”

ภาพพระพุทธชินศรีมุนีนารถฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 56)

พระศรีศากยมุนี

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ ตรงผ้าทิพย์ด้านหน้าประดิษฐาน พระบรมราชสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายนามว่า “พระศรีศากยมุนี” เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย มีความงามอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อเมื่อผู้ใดมีความทุกข์ใจหากได้กราบไหว้ และมองพระพักตร์แล้ว ความทุกข์ของคนนั้นจะปลาสนาการสิ้นไป เกิดเป็นความสุขอย่างน่าอัศจรรย์ ข้อนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ศิลปะสุโขทัย อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ วา ๑ คืบ (บางแห่งว่า หน้าตักกว้าง ๓ วา ๔ นิ้ว สูง ๔ วา) พระหัตถ์ขวาแสดงปางมารวิชัย และพระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาถึงระดับพระนาภี มีปลายเป็นสองแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ ลักษณะพระองค์ค่อนข้างสั้น นั้นพระองค์เล็ก พระอังสาใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูงตั้งอยู่บนพระอุษณีษ์รูปมะนาวตัด เส้นพระศกขมวดเล็ก พระพักตร์รูปไข่เกือบกลม พระขนงโก่งแยกออกจากกัน มีพระอุณาโลมคั่นอยู่ระหว่างพระขนง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์แย้มสรวล พระหนุกลม ฐานหน้ากระดานเรียบ ประดิษฐานซ้อนบนฐานชุกชีแบบฐานลาย แข้งสิงห์ ตลอดทั้งฐานชุกชีประดับลายปูนปีนเป็นลายดอก ลายเถา ลายเทศ ปิดทองคำเปลวประดับกระจกสีทั้งหลัง
พระศรีศากยมุนี หรือ พระโต สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชประสงค์จะสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ให้เจริญรุ่งเรืองดังเช่นกรุงเก่า โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอาราม ขึ้นกลางพระนคร สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยจะให้เป็นอารามใหญ่เสมอด้วยวัดพระเจ้าพนัญเซิง กรุงเก่า พระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อน เพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึ่งมีพระราชศรัทธาอัญเชิญล่องแพมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๑ มายังกรุงเทพฯ แล้วทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้าพระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการมหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน นิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันเช้า ที่เรือบัลลังก์ ถึงวันที่จะอัญเชิญพระขึ้นจากแพเข้าประตูเมืองที่ท่าข้างนั้น ประตูเมืองไม่ตรงกับถนน ทั้งองค์พระก็ใหญ่กว่าประตู เข้าประตูไม่ได้ จึงต้องรื้อกำแพงเมืองด้านนั้นลง เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนั้นที่แห่งนี้จึงมีซื่อเรียกว่า “ท่าพระ” จนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระบรมราชโองการให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวัง หน้าบ้าน ร้านตลาดที่กระบวนเลื่อนชักพระทางสถลมารคผ่าน มีพระราชศรัทธาเสด็จพระราชดำเนินตามกระบวน โดยมิได้ทรงฉลองพระบาท ทรงยกเลื่อนชักพระตามทางสถลมารค ทั้งที่ทรงพระประชวรอยู่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นได้เซพลาด แต่เจ้าฟ้ากรมชุนกษัตรานุชิต รับพระองค์ไว้ได้ จนเมื่อยกพระพุทธรูปขึ้นตั้งบนฐานที่เตรียมไว้จึงเสด็จฯ กลับ และสิ้นรัชกาล ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระศรีศากยมุนี”

ภาพพระศรีศากยมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 58)
 

พระศาสดา
พระศาสดาเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมขื่อว่า “วัดทอง” เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยาเป็นพระสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ได้รับความเคารพศรัทธา มีคนมากราบไหว้บูชาบนบานศาลกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อว่ามีพุทธานุภาพช่วยให้ ประสบความสำเร็จสมปรารถนาด้านการงานและการค้า
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยโลหะ ฝีมือในการหล่อประณีตงดงาม ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๑ คืบ สูงตลอดยอด พระรัศมี ๘ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว มีพระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ พระเกตุมาลาสูง ขมวดพระเกศาเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาว ปลายเป็นลายคล้าย เขี้ยวตะขาบ ซึ่งเป็นลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย
ประวัติการสร้างพระศาสดาหรือหลวงพ่อศาสดา มีประวัติการสร้างเป็นสองทาง ทางแรก เชื่อว่า เป็นพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แม้พระพุทธรูปองศ์นี้จะไม่ปรากฏเรื่องราว แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะแล้ว เห็นว่าเป็นเมือ เดียวกับช่างที่หล่อพระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำคัญสมัยสุโขทัยซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัยครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงเห็นว่าคงจะเชิญพระศาสดามาในคราวเดียวกัน ประวัติการสร้างอีกทางหนึ่งนั้น ปรากฏในหนังสือประวัติวัดสุวรรณาราม ว่า พระศาสดาองศ์นี้ ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและสมัยที่สร้าง แต่สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้หล่อขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เมื่อคราวทรงปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณารามขึ้นใหม่โดยพระพุทธรูปองศ์นี้ไม่ปรากฏ นามเฉพาะ มีเพียงชื่อที่ซาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “พระศาสดา”
มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อศาสดามีพุทธานุภาพว่าอำนวยความสำเร็จได้ตังปรารถนา จึงมีคนมากราบไหว้นมัสการหรือบนบานศาลกล่าว โดยเฉพาะเรื่องการมิให้ถูกจับได้ใบแดงในการเกณฑ์ทหาร เมื่อสำเร็จจะต้องแก้บนโดยการ “วิ่งม้า” โดยผู้บนบานจะเป็นผู้วิ่งหรืออาจจ้างผู้อื่นมาวิ่ง ไม่ได้ใช้ม้าจริง เพียง ใช้ผ้าขาวม้าเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น เริ่มวิ่งจากหน้าองศ์พระศาสดาที่ใบเสมาแรกทางด้านหน้าของพระอุโบสถ โดยนำผ้าขาวม้าขมวดปมให้เรียบร้อย มาวางหน้าใบเสมา เมื่อนุ่งผ้าขาวม้าแล้ว จะวิ่งม้าแก้บนพร้อมร้องเสียงม้าไปด้วย อย่างน้อย ๓ รอบพระอุโบสถ เมื่อวิ่งม้าเสร็จนำผ้าขาวม้ามาวางกับพื้นตรงหน้า ใบเสมาใบแรกแล้วกราบลาเป็นอันเสร็จพิธี ที่มาความเชื่อนี้มีเรื่องเล่าว่า มีผู้มาบนบานแล้วได้ดังปรารถนา ได้ฝืนว่ามีพราหมณ์ท่านหนึ่งมาบอกว่าให้แก้บนด้วยการวิ่งม้าถวาย

ภาพพระศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 60)

พระพุทธชินสีห์

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯ มาทรงสักการบูชาในโอกาสต่าง ๆ เสมอมา เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงนมัสการและถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับผ้าทิพย์พื้นทอง เป็นพุทธบูชาผงจากองค์พระใช้เป็นมวลสารทำพระสมเด็จจิตรลดา
พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สูง ๗ ศอก รัศมียาวเป็นเปลวเพลิง พระเกศาขดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนช้างกลมไม่ยาวรีเหมือนรูปไข่เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หมวดใหญ่ พระวรกายอวบอิ่ม มีสังฆาฏิยาวปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) ฝ่าพระบาทแบนราบ ค่อนช้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ล้นพระบาทยาว
ด้วยเหตุที่ลักษณะสำคัญคล้ายกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ในหมวดพระพุทธชินราช หรือสกุลช่างพิษณุโลกโดยเฉพาะทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน อันเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราชด้วย รวมทั้งประวัติความเป็นมาซึ่งเชื่อได้ว่าสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระพุทธชินสีห์มีตำนานการสร้างหลายตำนาน สันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดให้สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา แต่ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าผู้สร้างคือ กษัตริย์เชียงแสน พระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังพระอุโบสถจัตรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวชอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดให้ อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และ โปรดให้หล่อแท่นฐานองค์พระพุทธรูปด้วยทองสำริด กะไหล่ทองคำที่พระรัศมี ฝังเพชรที่พระอุณาโลม และปิดทององค์พระพุทธรูป ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการและได้ถวายพระธำมรงค์หยกสวมพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) ซ้าย เงิน ๕๐ ชั่ง พร้อมทั้งฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวาย ผ้าทรงสะพัก ห่มตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศเพื่อเป็นพุทธบูชา

ภาพพระพุทธชินสีห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 62)

พระศรีศาสดา

พระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมืองสร้างในคราวเดียว และเคยประดิษฐานร่วมพระอารามกับพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก และเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระศาสดา และเปิดให้ประซาซนทั่วไปเข้าสักการบูชาได้เฉพาะวันสำคัญทางศาสนาหรือที่ทางวัดกำหนด
พระศรีศาสดา หรือพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก (บางตำราว่า ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว) พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนรูปไข่เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หมวดใหญ่ มีสังฆาฏิยาวปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ ฝ่าพระบาทแบนราบ ค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช มีตำนานการสร้างหลายทาง ทางหนึ่งว่าเมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก จากนั้นได้ทรงสร้างวัดวาอารามมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง ทรงหล่อ พระพุทธรูป ๓ องค์ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุ ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหาร ใหญ่ทิศตะวันออทางทิศเหนือองค์หนึ่งทิศใต้องค์หนึ่งพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันเป็นเวลากว่า ๙๐๐ ปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาลงมากรุงเทพฯ
อีกทางหนึ่งนั้นว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยทรงสร้างพระศาสดาขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระพุทธรูป ๓ องค์ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ตัน ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ ในสมัยด้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้างจึงได้อัญเชิญพระศรีศาสดามาไว้ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติได้ขออัญเชิญพระศรีศาสดาไปเป็นพระประธานที่วัดประดู่ฉิมพลี คลองบางหลวง ซึ่งท่านสร้างขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ มีพระราชดำริว่า พระศรีศาสดาเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมาแต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น ทั้งมีพระราชดำริว่า พระศรีศาสดานั้นสร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  และพระพุทธรูปสององค์นี้ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก พระศรีศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเข่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ แต่เพราะยังมิได้สร้างที่สำหรับประดิษฐาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหารไปพลางก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศาสดาจากวัดสุทัศน์ฯ ไปประดิษฐาน ณ พระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ พระศรีศาสดานั้นเป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์
ภาพพระศรีศาสดา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 64)

พระไสยา

พระไสยา พระพุทธไสยาสน์ หรือพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน สมัยสุโขทัยที่มีลักษณะงดงามยิ่ง ประดิษฐานที่วิหารพระศาสดา มุขหลัง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระไสยาเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ทำด้วยศิลาลงรักปิดทอง ความยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว หรือ ๑๓๒.๙๕ นิ้ว พระรัศมียาว ๙.๘๔ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ทอดพระวรกาย บรรทมดูอ่อนช้อยราวมีชีวิต พระพักตร์สงบงาม พระเนตรปิด แย้มพระโอษฐ์ ยิ้มน้อยๆ อ่อนหวาน ตามแบบศิลปะสุโขทัย ที่นิยมสร้างพระพุทธรูปแสดงถึงพระพุทธองค์ในยามที่เสวยวิมุตติสุขหลังจากตรัสรู้แล้วชายผ้าสังฆาฏิแบบเขี้ยวตะขาบ ดูงดงามอ่อนช้อย ด้านหลังองค์พระเป็นภาพจิตรกรรมพุทธประวัติตอน พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน มีภาพด้นสาละคู่อยู่เบื้องพระเศียรและพระบาท และมีเหล่าภิกษุสาวกเข้าเฝ้าในวาระนั้น กล่าวกันว่า ความงดงามแห่ง,พุทธศิลป์ได้เป็นแรงบันดาลใจให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนำไปเป็นต้นแบบสร้างพระไสยาสน์ที่วัดราชาธิวาส แต่สร้างตามแบบศิลปะผสมแบบกริกที่มีความงดงามยิ่งเซ่นลัน
สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ - ๑๘๙๓ เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงพระผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงนิพนธ์เรื่องพระศิลานี้ไว้ในหนังสือ ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร ความว่า “พระศิลาอย่างนี้ไม่ได้ทำไว้เพื่อประดิษฐานเป็นศิลาอย่างเดิม ทำพอเป็นแกนที่เป็นพระใหญ่ต่อเป็นท่อน เพราะอย่างนี้จึงได้ลงรักปิดทอง”

ภาพพระไสยา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 66)
 

พระพุทธชินราช

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีพุทธศิลปะที่งดงามมากที่สุดองค์หนึ่งของไทย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย ที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า หมวดพระพุทธชินราช หรือสกุลช่างเมืองพิษณุโลก คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ทรงจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ประทับชัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ประดับด้วยซุ้มเรือนแก้วแกะสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทองลวดลายประณีตอ่อนช้อยงดงามหลายท่อนต่อกัน ล่างสุดของซุ้มเรือนแก้วแกะเป็นมังกรคาบแก้ว ยืนด้วย ๒ เท้า ที่พระเพลาทั้งสองข้างประดับด้วยรูปอาฬวกยักษ์ทางด้านขวา และรูปท้าวเวสสุวัณทางด้านซ้าย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน โดยอ้างอิงจากพงศาวดารเหนือว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐ ในรัชกาลพระมหาธรรมราซาที่ ๑ (สิไท) สมัยเดียวกับพระพุทธรูปสำคัญอีก ๓ องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ (หล่อขึ้นจากเศษทองสำริด ที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช) โดยช่างผู้สร้างพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์นั้นน่าจะเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่น โดยพิจารณาจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด

ภาพพระพุทธชินราช

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 68)
 

พระพุทธชินวร

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดอินทาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธปฏิมาประธานในพระอารามละแวกใกล้เคียง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระพุทธชินวร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต ๓ นิ้วครึ่ง เนื้อโลหะมีส่วนผสมของทองคำสูงเช่นเดียวกับพระสุโขทัยไตรมิตร พระประธานในพระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร องค์พระสามารถถอดออกได้เป็น ๗ ชิ้น อัญเชิญมาจากสุโขทัยในสมัยรัชกาล ที่ ๓ ขณะที่กำลังสร้างพระอุโบสถ ลักษณะพระรัศมีเป็นเปลว พระเมาลีค่อนข้างสูง พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย ริมพระโอษฐ์หยักคล้ายลูกคลื่น นิ้วพระหัตถ์ยาวเรียวปลายไม่เสมอกัน ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเล็ก ยาวจรดพระนาภี ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ เป็นลักษณะของพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษ ท ๒๐
วัดอินทาราม วรวิหาร สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ และทรงสถาปนาชิ้นเป็นพระอารามหลวง ขั้นเอกพิเศษ มีเรื่องราวเล่าว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เมื่อพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอินทาราม ซึ่งเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดบางยี่เรือนอก” ได้มีพ่อค้าซุงทางเหนือนำพระพุทธรูปองค์นี้ ส่องลงมาพร้อมกับซุง พระยาศรีสหเทพมีจิตศรัทธาจึงได้ติดต่อขอเข่าเพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเมื่อท่านบูรณะวัดนี้เรียบร้อยแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้ทรงพระกรุณารับไว้เป็นพระอารามหลวงขั้นตรี

ภาพพระพุทธชินวร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 70)