ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระเจ้าทองทิพย์

พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์คราวเสด็จยกทัพมายังเมืองน่าน เมื่อจุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับ พ.ศ.๑๙๙๓ และได้ชัยชนะสามารถยึดเมืองน่านได้โดยไม่ต้องสู้รบให้เสียชีวิตไพร่พลทั้งสองฝ่าย พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ในพระวิหาร วัดสวนตาล อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ปิดทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๙ เมตร (๑๒๐ นิ้ว) สูง ๑๒.๗๐ เมตร (๑๗๘ นิ้ว) ศิลปะล้านนา - สุโขทัย (พ.ศ. ๑๙๙๓) ประทับชัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียวบาง พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง พระขนงโก่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก สังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กมีสันตรงกลาง ยาวลงมาจรดพระนาภี ซึ่งมักพบในพระพุทธรูปล้านนาที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช
ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า จุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๙๓ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ มีกำลังเข้มแข็งได้กรีธาทัพไปตีหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา คือ เมืองลอ เมืองเทิง เมืองปง เมืองควร ไปทางตีนดอยลาวได้หัวเมืองเหล่านั้นไว้ในอำนาจหมดแล้ว จึงยกเข้าไปตีเมืองน่าน พระองค์ได้ตั้งทัพอยู่ที่สวนตาลหลวงตั้งทัพล้อมอยู่ได้ ๗ วัน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ซึ่งเป็นเจ้านครน่านในเวลานั้นเห็นกองทัพเชียงใหม่มีไพร่พลมากมายนัก ประกอบกับได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึงความเก่งกล้าสามารถของพระเจ้าติโลกราช ที่สามารถปราบหัวเมืองใกล้เคียงได้เกือบหมด เห็นชัดแจ้งว่าไม่อาจจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงได้อพยพครอบครัวหนีพระเจ้าติโลกราชจึงยกทัพไพร่พลเข้าเมืองได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องสู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อ เมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดเมืองได้แล้ว เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สักขีพยานในชัยชนะของพระองค์ โดยมิได้เสียชีวิตของไพร่พลทั้งสองฝ่าย จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย
ประดิษฐานในวิหารสวนตาล ตามตำนานการสร้างพระเจ้าทองทิพย์ กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชได้โปรดให้ช่างทั้งหลาย อาทิ พม่า เงี้ยว และชาวเมืองเชียงแสน กระทำพิธีหล่อหลอมทองและพิธีหล่อองค์พระพุทธรูปด้วยช่างได้กระทำการหล่อทองเทเข้าเบ้าพิมพ์หลายครั้งหลายหนก็ไม่สำเร็จ เพราะเบ้าพิมพ์แตกเสียทุกครั้ง ในที่สุดก็มีชายชราแปลกหน้าบุ่งขาวห่มขาวมาช่วยทำจึงสำเร็จเรียบร้อยสมปรารถนา
เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชก็ทรงจัดให้มีการสวดปริตรมงคลและจัดให้มีงานมหกรรมเฉลิมฉลองทำบุญเป็นการใหญ่มโหฬารยิ่ง ส่วนชายชรานั้นก็หายสาบสูญไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย ประชาชนชาวเมือง ต่างโจษขานกันว่าเป็นเทพยดาแปลงกายลงมาช่วย จึงได้ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปทองทิพย์ หรือพระเจ้าทองทิพย์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพพระเจ้าทองทิพย์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 32)
 

พระเจ้าแข้งคม (พระป่าตาลน้อย)
พระเจ้าแข้งคม หรือพระปาตาลน้อย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของล้านนา และความสำคัญทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา คือ มีลักษณะพิเศษทางด้านพุทธศิลป์ต่างจากศิลปะล้านนาโดยทั่วไป ที่เห็นได้ซัดเจน คือ พระชงฆ์ หรือหน้าแข้งมีลักษณะเป็นลันคมมองเห็นได้ซัด ผู้คนจึงพากันเรียกขานตามสำเนียงพื้นเมืองว่าพระเจ้าแข่งคม หรือพระเจ้าแข้งคม ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดศรีเกิด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในเทศกาลสงกรานต์มีการสรงน้ำพระบรมธาตุที่หน้าวิหาร และสรงน้ำพระพุทธรูปด้วย
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับซัดสมาธิราบขนาดใหญ่ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว (๒.๓๒ เมตร) สูง ๑๑๒ นิ้ว (๓.๖๔ เมตร) น้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกัน ๒ เส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ยาวลงมาจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน องค์พระมีลักษณะเด่น คือ พระชงฆ์เป็นลันคมเห็นได้ซัด ซึ่งกำหนดได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่มีอิทธิพลศิลปะ อู่ทองรุ่น ๒ หรือศิลปะอยุธยาตอนต้น มีอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ปรากฏในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ว่า “...ปีเถาะ จุลศักราช ๘๔๙ (พุทธศักราช ๒๐๒๓) วันพุธ ขึ้น ๓ คา เดือน ๘ จันทร์เสวยสตภิสฤกษ์ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช ทรงมอบภาระให้สีหคตเสนาบดี และอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ ทองหนักประมาณ สามสิบสามแสน ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ หล่อที่วัดปาตาล มหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่...”
“...ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประมาณ ๕๐๐ องค์ กับพระพุทธรูปแก้ว ทอง และเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่... ” ประดิษฐาน ณ วัดตาลวันมหาวิหาร (วัดป่าตาล) พระราชทานนามว่า พระป่าตาลน้อย ต่อมา วัดป่าตาลได้กลายเป็นวัดร้างชำรุดทรุดโทรม พระเจ้ากาวิละจึงให้เชิญพระป่าตาลน้อยมายังวัดศรีเกิดโดยสร้างพระวิหารขึ้นประดิษฐานสืบมาจนปัจจุบัน

ภาพพระเจ้าแข้งคม (พระป่าตาลน้อย)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 34)

พระเจ้าเก้าตื้อ

พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปสำคัญของล้านนา กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุด และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่
พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๒.๙๐ เมตร สูง ๓.๘๙ เมตร ศิลปะล้านนาอิทธิพลสุโขทัย (พ.ศ.๒๐๔๗) หรือที่เรียกกันว่า “ศิลปะเชียงแสนสิงห์สอง” ประทับบนฐาน หน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนศิลปะสุโขทัย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง อย่างไรก็ตาม ลักษณะสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และยาวจรดพระนาภี อาจบ่งบอกถึงรูปแบบศิลปะอยุธยาที่ ผสมผสานในพระพุทธรูปองค์นี้อย่างลงตัว ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พระเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรม จักรพรรดิราช (พ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ เพื่อจะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร โดยเริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๘๖๖ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู สปตศก จุลศักราช ๔๖๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๘ แต่ครั้นเมื่อหล่อสำเร็จแล้วองค์พระมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถชะลอ เข้าไปในเมืองได้ พระเมืองแก้วจึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์สร้าง พระวิหารใกล้กับวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก เพื่อถวายให้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าเก้าตื้อ ครั้นถึงวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๘๗๐ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๒ จึงได้โปรดให้ชะลอพระเจ้าเก้าตื้อเข้าไปประดิษฐาน ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม
คำว่า ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ ๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม (บางตำรากล่าวว่า ๑ ตื้อ หนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กิโลกรัม) พระเจ้าเก้าตื้อ หมายถึงพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะหนัก ๙,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๙ ตัน หรือหมายถึงพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั่นเอง

ภาพพระเจ้าเก้าตื้อ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 36)
 

พระแซกคำ


พระแซกคำ หรือหลวงพ่อแซกคำ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดคฤหบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อแซกคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ศิลปะล้านนา หล่อด้วยทองนพคุณ หรือทองคำเนื้อเก้าซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์ค่อนข้างกลม ครองจีวร ห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ ปลายพระบาททั้งสองข้างยกสูงขึ้นเล็กน้อย รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นประมาณระหว่าง พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดซา (สิงห์ สิงหเสนิ) ไปทำศึกเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญหลวงพ่อแซกคำมากวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ครั้นเมื่อพระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี สร้างวัดคฤหบดีขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง จึงได้พระราชทานพระแซกคำเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

ภาพพระแซกคำ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 38)
 

พระศากยสิงห์

พระศากยสิงห์ หรือบางตำราเขียน พระสักยสิงห์ คำว่า ‘'ศากย” เป็นภาษาสันสกฤต “สักย” เป็นภาษาบาลี อันเป็นนามวงศ์ “ศากยวงศ์”ของพระพุทธเจ้า “สิงห์” หมายถึง องอาจกล้าหาญ รวมความนาม “พระศากย สิงห์” จึงหมายถึง “พระพุทธรูปที่มีความองอาจกล้าหาญแห่งศากยวงศ์” เป็น พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงามลำดับต้นๆ ของพระพุทธรูป ๕๒ องศ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เสาะหาและอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ ณ พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศากยสิงห์ หรือ พระสักยสิงห์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ประทับชัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา อายุราวต้นถึงกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีความงดงามยิ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๓๙ นิ้ว พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระหนุเป็นต่อมกลม ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ประทับบนฐานบัวมีเกสร ซ้อนบนฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม รองรับด้วยฐานที่มีรูปหัววัวประดับอยู่ตรงกลาง เพื่อเป็นช่องให้น้ำที่สรงพระไหลออกจากปากวัวได้ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วิหารธาตุหลวงเมืองเขียงแสน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชดำริให้สร้างพระระเบียงสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป โปรดให้เสาะหาพระพุทธรูปโบราณยังที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ มาประดิษฐานยังพระระเบียง เพื่อให้ประซาขนได้เห็นแบบอย่างพระพุทธรูปแบบต่างๆ โดยทางตำนานทรงมอบให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ลีบหาโดยทั้งหลักเกณฑ์ไว้ ๓ ประการคือ พระพุทธรูปที่นำมานั้น ต้องมีความงดงามน่าขมด้วยฝีมือช่างเอก ต้องไม่ซ้ำแบบกัน และต้องมีขนาดไล่เลี่ยได้ส่วนกัน ซึ่งหากทรงเสาะหาพบพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงาม แต่ไม่ได้ขนาด จะทรงให้ช่างจำลองแบบหล่อขึ้นใหม่ให้ได้ขนาดที่กำหนด ซึ่งโดยวิธีนี้มีผู้สร้างพระพุทธรูปถวายเพื่อสนองพระราชศรัทธา และเพื่อสืบพระศาสนาทั้งเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลหลายองศ์ การรวบรวมพระพุทธรูปซึ่งเปรียบเสมือนการรวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปนี้ใช้เวลา ทั้งสิ้น ๑๑ ปี นับแต่ พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๕๓ มีพระพุทธรูปที่ได้รวบรวมไว้ที่ พระระเบียงรวม ๔๒ องศ์ สำหรับพระศากยสิงห์นั้น พระครูมงคลวิจิตร (เปียม) วัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งเป็นช่างหล่อพระฝีมือดีเป็นผู้ไปพบ จึงอัญเชิญมาทางเรือ ล่องตามแม่น้ำโขงเข้าแม่น้ำกก ขึ้นบกที่เชียงรายแล้วหามข้ามเขามาพะเยา แล้วเดินทางต่อจนถึงกรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๓ จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามอยู่ในลำดับต้นๆ ของพระพุทธรูป ๕๒ องศ์ ในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

ภาพพระศากยสิงห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 40)
 

พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์

พระพุทธรูป ๑ ในจำนวนพระพุทธรูปโบราณ ๕๒ องค์ ที่มีพุทธศิลป์งดงาม และมีขนาดต้องตามพระราชประสงค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เสาะแสวงหาเพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พระระเบียง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้สักการะพร้อมทั้งชื่นชมความงามแห่งพุทธศิลป์ และรับความรู้เกี่ยวกับตำนานพระพุทธรูปสำคัญ
พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวถัดลงไปเป็นฐานหน้ากระดาน หน้าตักกว้าง ๒๖.๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระรัศมี ๓๕.๕ นิ้ว มีพระพุทธลักษณะที่งดงามหายากมาก น่าเสียดายที่ริ้วผ้าที่ผูกอยู่เหนือ กรรเจียกทั้งสองข้างหักหายไป นับเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องระยะแรกๆ ของศิลปะล้านนา โดยอักษณะกรอบพระพักตร์และศิราภรณ์ได้รับอิทธิพลศิลปะพุกาม ศิลปะหริภุญไชยหรือศิลปะลพบุรี พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ และชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
เดิมพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ครั้งนั้นมีพระราชดำริให้สร้างพระระเบียงเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปฝีมือช่างยุคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมความงามพระพุทธรูปต่างรูปแบบ และต่างยุคสมัย เสมือนการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป ได้โปรดให้สืบหาพระพุทธรูปโบราณตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าพระพุทธรูปเหล่านั้น ต้องมีความงดงามด้วยฝีมือช่าง มีพุทธลักษณะแตกต่างกัน และมีขนาดไล่เลี่ยกัน หากเสาะหาพบพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม แต่ไม่ได้ขนาดตามที่จัดแสดงจะโปรดให้จำลองแบบ และจัดสร้างขึ้นใหม่ให้ได้ขนาดสำหรับพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสาะหาพระพุทธรูปที่งามต้องลักษณะในมณฑลพายัพ เมื่อพบจึงได้อัญเชิญพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ลงมาจากมณฑลพายัพพร้อมกับพระพุทธรูปอื่นๆ อีกหลายองค์

ภาพพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 42)
 

พระประทานในวิหารหลวง
วัดไหล่หินหลวง หรือวัดเสลารัตนปัพพตาราม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นวัดเก่าโบราณของเมืองลำปาง และของล้านนา ชาวบ้าน มักเรียกซื่อว่า วัดไหล่หิน หรือวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน และในบางครั้งชาวบ้านรุ่นก่อนๆ เรียกว่า วัดปาหิน หรือ วัดม่อนหินแก้ว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ได้พบคัมภีร์ใบลานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด ระบุจุลศักราช ๘๓๓ หรือ พ.ศ.๒๐๑๔
พระประธานในวิหารเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ในศิลปะล้านนาที่สวยงาม และเป็นต้นแบบของการศึกษาพุทธศิลปะแบบล้านนาที่สำคัญองค์หนึ่ง
พระประธานในวิหารหลวง วัดไหล่หินหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก ๑ เมตร ๘๔ เซนติเมตร ศิลปะล้านนา ลักษณะพระพักตร์กลม มีกรอบพระพักตร์ เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระกรรณยาวเกือบถึงพระอังสา พระนาสิกแบนกว้าง พระโอษฐ์อมยิ้มทาด้วยสีแดง พระหนุเป็นปม ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ด้านหลังพระประธานเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีทองบนพื้นสีแดง เป็นรูปต้นโพธิ์ เหนือขึ้นไปเป็นภาพอดีตพุทธเจ้า และด้านข้างองค์พระประธานเป็นภาพเทพชุมนุม ซึ่งเป็นพุทธสัญลักษณ์ของศิลปะล้านนา

ภาพพระประทานในวิหารหลวง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 44)

พระอัฏฐารส

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ยังเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา โดยพญาแสนเมืองมาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ เสด็จสวรรคตเสียก่อน ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาด้วยถือเป็นวัดที่สำคัญแห่งราชวงศ์เม็งราย
พระอัฏฐารสเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย หล่อด้วยสำริดปิดทองทั้งองศ์ ประทับ ยืนสูง ๑๘ ศอก ลักษณะศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พระพักตร์กลมเรียว คล้ายพระพุทธรูปสุโขทัย ไม่มีกรอบพระพักตร์ เม็ดพระศกใหญ่ พระรัศมี เป็นเปลวขนาดเล็ก พระกรรณยาว พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์อิ่มอมยิ้ม ครองจีวรห่มเฉียงลักษณะจีวรแนบพระองศ์ มองเห็นสบงชัดเจน สังฆาฏิยาวลงมาเกือบจรดพระนาภี ด้านหลังองศ์พระพุทธรูปมีประภามณฑล ประทับยืนในซุ้มนาค ด้านข้างเป็นพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พระอัครสาวก
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมาสวรรคตแล้ว วัดเจดีย์หลวงยังสร้างไม่แล้วเสร็จ พระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีได้ทรงดำเนินการก่อสร้างต่อ โปรดให้สร้างพระอัฏฐารสหล่อด้วยสำริด โดยใช้เบ้าเตาหลอมกว่าพันเตา ซึ่งบริเวณที่ตั้งเบ้าเตาหลอมต่อมาได้สร้างเป็นวัดเรียกว่า วัดพันเตา มีพระวิหาร หอคำหลวงทำด้วยไม้สักงดงามมาก อย่างไรก็ตาม อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า พระราชชนนีของพระเจ้าติโลกราชมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้บูรณะพระวิหารและหล่อพระพุทธรูปยืนเมื่อ พ.ศ.๑๙๕๐

ภาพพระอัฏฐารส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 46)
 

พระพุทธลีลา

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ศิลปะสุโขทัย ที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในหนังสือศิลปะในประเทศไทยว่า “งดงามไม่แพ้ประติมากรรมชิ้นเอกอื่นๆ ในโลก” พระพุทธรูปสำริด พระอิริยาบถทรงพระดำเนินหรือเดิน (ลีลา) ส้นพระบาทขวายกสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจรดอยู่กับพื้น พระบาทซ้ายประทับบนพื้นราบ พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า องศ์พระพุทธรูปลักษณะพระอังสา (บ่า)ใหญ่ บั้นพระองศ์ (เอว) เล็ก พระพักตร์เรียวยาว พระศกเป็นขมวดขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่งพระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเกือบจรดพระพาหา ครองจีวรห่มเฉียงแนบติดพระองศ์ ชายผ้าสังฆาฏิยาวเสมอพระนาภี (สะดือ) ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ พระพาหาเรียวงามพระหัตถ์เรียวงามลักษณะแบบมือมนุษย์สุนทรียภาพโดยรวมของพระพุทธรูปลีลานี้ จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า พระพุทธรูปลีลาน่าจะมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเป็นพุทธประวัติตอนที่นิยมแสดงในงานประติมากรรมและจิตรกรรมไทย
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่นๆ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำพระพุทธรูปที่งดงาม หรือจำลองแบบมาจากทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น พม่า ลังกา มาประดิษฐานไว้ ณ พระระเบียง หรือพระวิหารคดรอบพระอุโบสถ ถึง ๕๒ องศ์ รวมทั้งพระพุทธรูปปางลีลาองศ์นี้ เป็นพระพุทธรูปลำดับองศ์ที่ ๒๖

ภาพพระพุทธลีลา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 48)
 

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระสุโขทัยไตรมิตร)

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือพระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๔ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว
ลักษณะทางพุทธศิลป์ถือว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย (หมวดใหญ่) ซึ่งมีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาค่อนข้างเล็ก - ปานกลาง พระเกตุมาลาสูง พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระพาหาใหญ่ บั้นพระองศ์เล็ก สังฆาฏิเล็กยาวจรด พระนาภี ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวไม่เสมอกัน เป็นแบบความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง โดยรูปแบบกำหนดอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอัญเชิญลงมากรุงเทพมหานครเมื่อใด พระพุทธรูปองศ์นี้ปั้นปูนปิดทับ จนดูเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดโชตวนาราม หรือวัดพระยาไกร ซึ่งเป็นวัดร้าง สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง และสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) จึงให้คณะกรรมการวัดสามจีน (วัดไตรมิตร วิทยาราม)อัญเชิญมาประดิษฐานข้างพระเจดีย์วัดสามจีนในฐานะที่วัดสามจีน เป็นวัดใต้ปกครองของเจ้าคณะปกครองแขวงล่าง
ต่อมาเมื่อได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสามจีนและเปลี่ยนขื่อเมินวัดไตรมิตร วิทยาราม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ แล้ว พระวีรธรรมมุนิได้ดำริให้สร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานพระปูนปั้นองศ์นั้น เมื่อสร้างพระวิหารแล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดได้พยายามอัญเชิญขึ้นไป ประดิษฐานบนพระวิหารหลายหนแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ฝนตกตอนใกล้รุ่ง พระวีรธรรมมุนิพบว่าปูนตรง พระอุระแตกกะเทาะหลุดออกมาเห็นรักปิดทองอยู่ขั้นหนึ่ง จึงให้พระภิกษุ สามเณรช่วยกันกะเทาะปูนที่หุ้มองศ์พระไว้นั้นออก จึงเห็นเป็นทองตลอด ทั้งองค์
เมื่ออัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นประดิษฐานในพระวิหารแล้ววัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ได้จัดงานฉลองสมโภชในวันศุกร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามพระสุโขทัยไตรมิตรว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”

ภาพพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระสุโขทัยไตรมิตร)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 50)

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระเจ้าทองทิพย์

พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์คราวเสด็จยกทัพมายังเมืองน่าน เมื่อจุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับ พ.ศ.๑๙๙๓ และได้ชัยชนะสามารถยึดเมืองน่านได้โดยไม่ต้องสู้รบให้เสียชีวิตไพร่พลทั้งสองฝ่าย พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ในพระวิหาร วัดสวนตาล อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ปิดทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๙ เมตร (๑๒๐ นิ้ว) สูง ๑๒.๗๐ เมตร (๑๗๘ นิ้ว) ศิลปะล้านนา - สุโขทัย (พ.ศ. ๑๙๙๓) ประทับชัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียวบาง พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง พระขนงโก่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก สังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กมีสันตรงกลาง ยาวลงมาจรดพระนาภี ซึ่งมักพบในพระพุทธรูปล้านนาที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช
ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า จุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๙๓ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ มีกำลังเข้มแข็งได้กรีธาทัพไปตีหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา คือ เมืองลอ เมืองเทิง เมืองปง เมืองควร ไปทางตีนดอยลาวได้หัวเมืองเหล่านั้นไว้ในอำนาจหมดแล้ว จึงยกเข้าไปตีเมืองน่าน พระองค์ได้ตั้งทัพอยู่ที่สวนตาลหลวงตั้งทัพล้อมอยู่ได้ ๗ วัน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ซึ่งเป็นเจ้านครน่านในเวลานั้นเห็นกองทัพเชียงใหม่มีไพร่พลมากมายนัก ประกอบกับได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึงความเก่งกล้าสามารถของพระเจ้าติโลกราช ที่สามารถปราบหัวเมืองใกล้เคียงได้เกือบหมด เห็นชัดแจ้งว่าไม่อาจจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงได้อพยพครอบครัวหนีพระเจ้าติโลกราชจึงยกทัพไพร่พลเข้าเมืองได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องสู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อ เมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดเมืองได้แล้ว เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สักขีพยานในชัยชนะของพระองค์ โดยมิได้เสียชีวิตของไพร่พลทั้งสองฝ่าย จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย
ประดิษฐานในวิหารสวนตาล ตามตำนานการสร้างพระเจ้าทองทิพย์ กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชได้โปรดให้ช่างทั้งหลาย อาทิ พม่า เงี้ยว และชาวเมืองเชียงแสน กระทำพิธีหล่อหลอมทองและพิธีหล่อองค์พระพุทธรูปด้วยช่างได้กระทำการหล่อทองเทเข้าเบ้าพิมพ์หลายครั้งหลายหนก็ไม่สำเร็จ เพราะเบ้าพิมพ์แตกเสียทุกครั้ง ในที่สุดก็มีชายชราแปลกหน้าบุ่งขาวห่มขาวมาช่วยทำจึงสำเร็จเรียบร้อยสมปรารถนา
เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชก็ทรงจัดให้มีการสวดปริตรมงคลและจัดให้มีงานมหกรรมเฉลิมฉลองทำบุญเป็นการใหญ่มโหฬารยิ่ง ส่วนชายชรานั้นก็หายสาบสูญไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย ประชาชนชาวเมือง ต่างโจษขานกันว่าเป็นเทพยดาแปลงกายลงมาช่วย จึงได้ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปทองทิพย์ หรือพระเจ้าทองทิพย์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพพระเจ้าทองทิพย์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 32)
 

พระเจ้าแข้งคม (พระป่าตาลน้อย)
พระเจ้าแข้งคม หรือพระปาตาลน้อย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของล้านนา และความสำคัญทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา คือ มีลักษณะพิเศษทางด้านพุทธศิลป์ต่างจากศิลปะล้านนาโดยทั่วไป ที่เห็นได้ซัดเจน คือ พระชงฆ์ หรือหน้าแข้งมีลักษณะเป็นลันคมมองเห็นได้ซัด ผู้คนจึงพากันเรียกขานตามสำเนียงพื้นเมืองว่าพระเจ้าแข่งคม หรือพระเจ้าแข้งคม ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดศรีเกิด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในเทศกาลสงกรานต์มีการสรงน้ำพระบรมธาตุที่หน้าวิหาร และสรงน้ำพระพุทธรูปด้วย
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับซัดสมาธิราบขนาดใหญ่ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว (๒.๓๒ เมตร) สูง ๑๑๒ นิ้ว (๓.๖๔ เมตร) น้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกัน ๒ เส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ยาวลงมาจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน องค์พระมีลักษณะเด่น คือ พระชงฆ์เป็นลันคมเห็นได้ซัด ซึ่งกำหนดได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่มีอิทธิพลศิลปะ อู่ทองรุ่น ๒ หรือศิลปะอยุธยาตอนต้น มีอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ปรากฏในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ว่า “...ปีเถาะ จุลศักราช ๘๔๙ (พุทธศักราช ๒๐๒๓) วันพุธ ขึ้น ๓ คา เดือน ๘ จันทร์เสวยสตภิสฤกษ์ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช ทรงมอบภาระให้สีหคตเสนาบดี และอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ ทองหนักประมาณ สามสิบสามแสน ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ หล่อที่วัดปาตาล มหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่...”
“...ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประมาณ ๕๐๐ องค์ กับพระพุทธรูปแก้ว ทอง และเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่... ” ประดิษฐาน ณ วัดตาลวันมหาวิหาร (วัดป่าตาล) พระราชทานนามว่า พระป่าตาลน้อย ต่อมา วัดป่าตาลได้กลายเป็นวัดร้างชำรุดทรุดโทรม พระเจ้ากาวิละจึงให้เชิญพระป่าตาลน้อยมายังวัดศรีเกิดโดยสร้างพระวิหารขึ้นประดิษฐานสืบมาจนปัจจุบัน

ภาพพระเจ้าแข้งคม (พระป่าตาลน้อย)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 34)

พระเจ้าเก้าตื้อ

พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปสำคัญของล้านนา กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุด และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่
พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๒.๙๐ เมตร สูง ๓.๘๙ เมตร ศิลปะล้านนาอิทธิพลสุโขทัย (พ.ศ.๒๐๔๗) หรือที่เรียกกันว่า “ศิลปะเชียงแสนสิงห์สอง” ประทับบนฐาน หน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนศิลปะสุโขทัย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง อย่างไรก็ตาม ลักษณะสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และยาวจรดพระนาภี อาจบ่งบอกถึงรูปแบบศิลปะอยุธยาที่ ผสมผสานในพระพุทธรูปองค์นี้อย่างลงตัว ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พระเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรม จักรพรรดิราช (พ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ เพื่อจะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร โดยเริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๘๖๖ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู สปตศก จุลศักราช ๔๖๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๘ แต่ครั้นเมื่อหล่อสำเร็จแล้วองค์พระมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถชะลอ เข้าไปในเมืองได้ พระเมืองแก้วจึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์สร้าง พระวิหารใกล้กับวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก เพื่อถวายให้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าเก้าตื้อ ครั้นถึงวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๘๗๐ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๒ จึงได้โปรดให้ชะลอพระเจ้าเก้าตื้อเข้าไปประดิษฐาน ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม
คำว่า ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ ๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม (บางตำรากล่าวว่า ๑ ตื้อ หนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กิโลกรัม) พระเจ้าเก้าตื้อ หมายถึงพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะหนัก ๙,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๙ ตัน หรือหมายถึงพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั่นเอง

ภาพพระเจ้าเก้าตื้อ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 36)
 

พระแซกคำ


พระแซกคำ หรือหลวงพ่อแซกคำ เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดคฤหบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อแซกคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ศิลปะล้านนา หล่อด้วยทองนพคุณ หรือทองคำเนื้อเก้าซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์ค่อนข้างกลม ครองจีวร ห่มเฉียง ขายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ ปลายพระบาททั้งสองข้างยกสูงขึ้นเล็กน้อย รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นประมาณระหว่าง พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดซา (สิงห์ สิงหเสนิ) ไปทำศึกเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญหลวงพ่อแซกคำมากวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ครั้นเมื่อพระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี สร้างวัดคฤหบดีขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง จึงได้พระราชทานพระแซกคำเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

ภาพพระแซกคำ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 38)
 

พระศากยสิงห์

พระศากยสิงห์ หรือบางตำราเขียน พระสักยสิงห์ คำว่า ‘'ศากย” เป็นภาษาสันสกฤต “สักย” เป็นภาษาบาลี อันเป็นนามวงศ์ “ศากยวงศ์”ของพระพุทธเจ้า “สิงห์” หมายถึง องอาจกล้าหาญ รวมความนาม “พระศากย สิงห์” จึงหมายถึง “พระพุทธรูปที่มีความองอาจกล้าหาญแห่งศากยวงศ์” เป็น พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงามลำดับต้นๆ ของพระพุทธรูป ๕๒ องศ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เสาะหาและอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ ณ พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศากยสิงห์ หรือ พระสักยสิงห์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ประทับชัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา อายุราวต้นถึงกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีความงดงามยิ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๓๙ นิ้ว พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระหนุเป็นต่อมกลม ครองจีวรห่มเฉียง ขายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ประทับบนฐานบัวมีเกสร ซ้อนบนฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม รองรับด้วยฐานที่มีรูปหัววัวประดับอยู่ตรงกลาง เพื่อเป็นช่องให้น้ำที่สรงพระไหลออกจากปากวัวได้ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วิหารธาตุหลวงเมืองเขียงแสน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชดำริให้สร้างพระระเบียงสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป โปรดให้เสาะหาพระพุทธรูปโบราณยังที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ มาประดิษฐานยังพระระเบียง เพื่อให้ประซาขนได้เห็นแบบอย่างพระพุทธรูปแบบต่างๆ โดยทางตำนานทรงมอบให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ลีบหาโดยทั้งหลักเกณฑ์ไว้ ๓ ประการคือ พระพุทธรูปที่นำมานั้น ต้องมีความงดงามน่าขมด้วยฝีมือช่างเอก ต้องไม่ซ้ำแบบกัน และต้องมีขนาดไล่เลี่ยได้ส่วนกัน ซึ่งหากทรงเสาะหาพบพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงาม แต่ไม่ได้ขนาด จะทรงให้ช่างจำลองแบบหล่อขึ้นใหม่ให้ได้ขนาดที่กำหนด ซึ่งโดยวิธีนี้มีผู้สร้างพระพุทธรูปถวายเพื่อสนองพระราชศรัทธา และเพื่อสืบพระศาสนาทั้งเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลหลายองศ์ การรวบรวมพระพุทธรูปซึ่งเปรียบเสมือนการรวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปนี้ใช้เวลา ทั้งสิ้น ๑๑ ปี นับแต่ พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๕๓ มีพระพุทธรูปที่ได้รวบรวมไว้ที่ พระระเบียงรวม ๔๒ องศ์ สำหรับพระศากยสิงห์นั้น พระครูมงคลวิจิตร (เปียม) วัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งเป็นช่างหล่อพระฝีมือดีเป็นผู้ไปพบ จึงอัญเชิญมาทางเรือ ล่องตามแม่น้ำโขงเข้าแม่น้ำกก ขึ้นบกที่เชียงรายแล้วหามข้ามเขามาพะเยา แล้วเดินทางต่อจนถึงกรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๓ จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามอยู่ในลำดับต้นๆ ของพระพุทธรูป ๕๒ องศ์ ในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

ภาพพระศากยสิงห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 40)
 

พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์

พระพุทธรูป ๑ ในจำนวนพระพุทธรูปโบราณ ๕๒ องค์ ที่มีพุทธศิลป์งดงาม และมีขนาดต้องตามพระราชประสงค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เสาะแสวงหาเพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พระระเบียง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้สักการะพร้อมทั้งชื่นชมความงามแห่งพุทธศิลป์ และรับความรู้เกี่ยวกับตำนานพระพุทธรูปสำคัญ
พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวถัดลงไปเป็นฐานหน้ากระดาน หน้าตักกว้าง ๒๖.๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระรัศมี ๓๕.๕ นิ้ว มีพระพุทธลักษณะที่งดงามหายากมาก น่าเสียดายที่ริ้วผ้าที่ผูกอยู่เหนือ กรรเจียกทั้งสองข้างหักหายไป นับเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องระยะแรกๆ ของศิลปะล้านนา โดยอักษณะกรอบพระพักตร์และศิราภรณ์ได้รับอิทธิพลศิลปะพุกาม ศิลปะหริภุญไชยหรือศิลปะลพบุรี พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ และชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
เดิมพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ครั้งนั้นมีพระราชดำริให้สร้างพระระเบียงเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปฝีมือช่างยุคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมความงามพระพุทธรูปต่างรูปแบบ และต่างยุคสมัย เสมือนการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป ได้โปรดให้สืบหาพระพุทธรูปโบราณตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าพระพุทธรูปเหล่านั้น ต้องมีความงดงามด้วยฝีมือช่าง มีพุทธลักษณะแตกต่างกัน และมีขนาดไล่เลี่ยกัน หากเสาะหาพบพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม แต่ไม่ได้ขนาดตามที่จัดแสดงจะโปรดให้จำลองแบบ และจัดสร้างขึ้นใหม่ให้ได้ขนาดสำหรับพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสาะหาพระพุทธรูปที่งามต้องลักษณะในมณฑลพายัพ เมื่อพบจึงได้อัญเชิญพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ลงมาจากมณฑลพายัพพร้อมกับพระพุทธรูปอื่นๆ อีกหลายองค์

ภาพพระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 42)
 

พระประทานในวิหารหลวง
วัดไหล่หินหลวง หรือวัดเสลารัตนปัพพตาราม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นวัดเก่าโบราณของเมืองลำปาง และของล้านนา ชาวบ้าน มักเรียกซื่อว่า วัดไหล่หิน หรือวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน และในบางครั้งชาวบ้านรุ่นก่อนๆ เรียกว่า วัดปาหิน หรือ วัดม่อนหินแก้ว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ได้พบคัมภีร์ใบลานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด ระบุจุลศักราช ๘๓๓ หรือ พ.ศ.๒๐๑๔
พระประธานในวิหารเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ในศิลปะล้านนาที่สวยงาม และเป็นต้นแบบของการศึกษาพุทธศิลปะแบบล้านนาที่สำคัญองค์หนึ่ง
พระประธานในวิหารหลวง วัดไหล่หินหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ปูนปั้นปิดทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก ๑ เมตร ๘๔ เซนติเมตร ศิลปะล้านนา ลักษณะพระพักตร์กลม มีกรอบพระพักตร์ เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระกรรณยาวเกือบถึงพระอังสา พระนาสิกแบนกว้าง พระโอษฐ์อมยิ้มทาด้วยสีแดง พระหนุเป็นปม ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ด้านหลังพระประธานเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีทองบนพื้นสีแดง เป็นรูปต้นโพธิ์ เหนือขึ้นไปเป็นภาพอดีตพุทธเจ้า และด้านข้างองค์พระประธานเป็นภาพเทพชุมนุม ซึ่งเป็นพุทธสัญลักษณ์ของศิลปะล้านนา

ภาพพระประทานในวิหารหลวง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 44)

พระอัฏฐารส

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ยังเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา โดยพญาแสนเมืองมาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ เสด็จสวรรคตเสียก่อน ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาด้วยถือเป็นวัดที่สำคัญแห่งราชวงศ์เม็งราย
พระอัฏฐารสเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย หล่อด้วยสำริดปิดทองทั้งองศ์ ประทับ ยืนสูง ๑๘ ศอก ลักษณะศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พระพักตร์กลมเรียว คล้ายพระพุทธรูปสุโขทัย ไม่มีกรอบพระพักตร์ เม็ดพระศกใหญ่ พระรัศมี เป็นเปลวขนาดเล็ก พระกรรณยาว พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์อิ่มอมยิ้ม ครองจีวรห่มเฉียงลักษณะจีวรแนบพระองศ์ มองเห็นสบงชัดเจน สังฆาฏิยาวลงมาเกือบจรดพระนาภี ด้านหลังองศ์พระพุทธรูปมีประภามณฑล ประทับยืนในซุ้มนาค ด้านข้างเป็นพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พระอัครสาวก
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมาสวรรคตแล้ว วัดเจดีย์หลวงยังสร้างไม่แล้วเสร็จ พระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีได้ทรงดำเนินการก่อสร้างต่อ โปรดให้สร้างพระอัฏฐารสหล่อด้วยสำริด โดยใช้เบ้าเตาหลอมกว่าพันเตา ซึ่งบริเวณที่ตั้งเบ้าเตาหลอมต่อมาได้สร้างเป็นวัดเรียกว่า วัดพันเตา มีพระวิหาร หอคำหลวงทำด้วยไม้สักงดงามมาก อย่างไรก็ตาม อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า พระราชชนนีของพระเจ้าติโลกราชมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้บูรณะพระวิหารและหล่อพระพุทธรูปยืนเมื่อ พ.ศ.๑๙๕๐

ภาพพระอัฏฐารส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 46)
 

พระพุทธลีลา

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ศิลปะสุโขทัย ที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในหนังสือศิลปะในประเทศไทยว่า “งดงามไม่แพ้ประติมากรรมชิ้นเอกอื่นๆ ในโลก” พระพุทธรูปสำริด พระอิริยาบถทรงพระดำเนินหรือเดิน (ลีลา) ส้นพระบาทขวายกสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจรดอยู่กับพื้น พระบาทซ้ายประทับบนพื้นราบ พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า องศ์พระพุทธรูปลักษณะพระอังสา (บ่า)ใหญ่ บั้นพระองศ์ (เอว) เล็ก พระพักตร์เรียวยาว พระศกเป็นขมวดขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่งพระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเกือบจรดพระพาหา ครองจีวรห่มเฉียงแนบติดพระองศ์ ชายผ้าสังฆาฏิยาวเสมอพระนาภี (สะดือ) ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ พระพาหาเรียวงามพระหัตถ์เรียวงามลักษณะแบบมือมนุษย์สุนทรียภาพโดยรวมของพระพุทธรูปลีลานี้ จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า พระพุทธรูปลีลาน่าจะมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเป็นพุทธประวัติตอนที่นิยมแสดงในงานประติมากรรมและจิตรกรรมไทย
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่นๆ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำพระพุทธรูปที่งดงาม หรือจำลองแบบมาจากทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น พม่า ลังกา มาประดิษฐานไว้ ณ พระระเบียง หรือพระวิหารคดรอบพระอุโบสถ ถึง ๕๒ องศ์ รวมทั้งพระพุทธรูปปางลีลาองศ์นี้ เป็นพระพุทธรูปลำดับองศ์ที่ ๒๖

ภาพพระพุทธลีลา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 48)
 

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระสุโขทัยไตรมิตร)

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือพระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๔ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว
ลักษณะทางพุทธศิลป์ถือว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย (หมวดใหญ่) ซึ่งมีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาค่อนข้างเล็ก - ปานกลาง พระเกตุมาลาสูง พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระพาหาใหญ่ บั้นพระองศ์เล็ก สังฆาฏิเล็กยาวจรด พระนาภี ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวไม่เสมอกัน เป็นแบบความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง โดยรูปแบบกำหนดอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอัญเชิญลงมากรุงเทพมหานครเมื่อใด พระพุทธรูปองศ์นี้ปั้นปูนปิดทับ จนดูเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดโชตวนาราม หรือวัดพระยาไกร ซึ่งเป็นวัดร้าง สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง และสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) จึงให้คณะกรรมการวัดสามจีน (วัดไตรมิตร วิทยาราม)อัญเชิญมาประดิษฐานข้างพระเจดีย์วัดสามจีนในฐานะที่วัดสามจีน เป็นวัดใต้ปกครองของเจ้าคณะปกครองแขวงล่าง
ต่อมาเมื่อได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสามจีนและเปลี่ยนขื่อเมินวัดไตรมิตร วิทยาราม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ แล้ว พระวีรธรรมมุนิได้ดำริให้สร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานพระปูนปั้นองศ์นั้น เมื่อสร้างพระวิหารแล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดได้พยายามอัญเชิญขึ้นไป ประดิษฐานบนพระวิหารหลายหนแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ฝนตกตอนใกล้รุ่ง พระวีรธรรมมุนิพบว่าปูนตรง พระอุระแตกกะเทาะหลุดออกมาเห็นรักปิดทองอยู่ขั้นหนึ่ง จึงให้พระภิกษุ สามเณรช่วยกันกะเทาะปูนที่หุ้มองศ์พระไว้นั้นออก จึงเห็นเป็นทองตลอด ทั้งองค์
เมื่ออัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นประดิษฐานในพระวิหารแล้ววัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ได้จัดงานฉลองสมโภชในวันศุกร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามพระสุโขทัยไตรมิตรว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”

ภาพพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระสุโขทัยไตรมิตร)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 50)