ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นจตุรพุทธปราการ หมายความถึง พระพุทธรูปปกบ้านคู่เมือง หรือพระอารามที่มีมหิทธานุภาพลํ้าลึกปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล เสริมดวงชะตาเมือง ตลอดทั้งคุ้มครองอาณาประซาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็น ตามตำราพุทธไชยปราการที่สืบทอดมาแต่โบราณ
พระพุทธปฏิมาสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ โลหะหล่อสำริด หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว พระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทชวาทับพระบาทซ้าย
ย้อนเวลาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑ สืบมาระยะหนึ่ง สถานการณ์บ้านเมืองมีภัยอันตรายจากลัทธิคอมมิวนิสต์ มีผู้ก่อการร้ายที่กระจายอยู่กว้างขวางรอบทิศที่มุ่งครอบครองประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ มีพระราชหฤทัยปรารถนาแรงกล้า ให้บ้านเมืองผ่านพ้นภัยพิบัติ พลเมืองดำรงชีวิตเป็นสุขราบรื่น ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ไม่หลงเป็นเครื่องมือแห่งความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงต่อสู้ประหัตประหารกันเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หล่อ “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่งได้ประมวลเอาคุณวิเศษอันเอกอุที่บุรพมหากษัตริย์ทรงปกบ้องภัยบ้านเมืองและพสกนิกรในอดีตมารวมไว้ โดยกรมการรักษาดินแดนกองทัพบก กระทรวงกลาโหม เป็นผู้จัดสร้าง
กรมการรักษาดินแดน คือหน่วยปกป้องรักษาบ้านเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนา ทรงมีพระพุทธนิรโรคันตราย ความหมายว่า “การปราศจากซึ่งภยันตรายทั้งปวง” เป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาล เมื่อรวมพลังแห่งพระพุทธชัยวัฒน์แล้ว พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ย่อมบริบูรณ์แก่การปกปักรักษาบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ในแผ่นดินทั้งสี่ทิศให้รุ่งเรืองเป็นที่สุด
วันที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง ๔ จังหวัด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต อัญเชิญไปประดิษฐานคุ้มครองแผ่นดินในทิศทั้งสี่ตามพระราชปณิธานสืบไป

ภาพพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 214)
 

สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์

สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จังหวัดชลบุรี วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๒๕ พระพุทธปฏิมาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนยิ่งนัก เป็นพุทธปฏิมาแห่งความสมปรารถนา
พระพุทธรูปองค์นี้ หล่อตามแบบพระพุทธชินสีห์พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เมื่อตรวจแบบหุ่นขี้ผึ้งเป็นที่เรียบร้อย จึงจัดพิธีเททองขึ้น เมื่อเททองเสร็จปรากฏว่าไม่งดงามอย่างที่ตั้งใจไว้และไม่เหมือนกับองค์ต้นแบบ อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนฐานชุกชีก่อนเพื่อรอฉลองในวันรุ่งขึ้นปาฏิหาริย์แห่งองค์สมเด็จพุทธญาณนเรศวร์ได้บังเกิดขึ้นเมื่อทำพิธี ฉลอง สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ มีรัศมีที่เปล่งประกาย พระพักตร์ที่ไม่งดงาม กลับเปลี่ยนเป็นพระพักตร์ที่ผ่องแผ้วงดงามด้วยเมตตาปรานีบริสุทธิ์สะอาด ทรงบารมีน่าเกรงขามเมื่อถึงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินขึ้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ยอดพระเกศ เป็นปาฏิหาริย์ยังความสง่างามให้บังเกิดสมพระบารมี
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ โดยใช้ต้นแบบจากพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร พระพุทธปฏิมามีนามประธานว่า “สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์” มีความหมายว่า “พระพุทธผู้ทรงสัพพัญณุตญาณใหญ่ยิ่งนรชน” สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ทรงกอบกู้เอกราชของไทยมิให้ตกเป็น เมืองขึ้นของพม่าเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน จึงดำริประดิษฐานองค์พระพุทธปฏิมาให้อยู่บนพื้นแผ่นดินโดยการต่อท่อบรรจุดินขึ้นมาจนถึงฐานชุกชี เพื่อให้แผ่พระบารมีไปทั่วทั้งแผ่นดิน ที่พระเกศพระประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และองค์พระบรรจุพระพุทธพิมพ์เท่าพระธรรมขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
กล่าวกันว่า มีผู้ไปกราบสักการะอธิษฐานขอพรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวันสุดสัปดาห์หรือวันหยุดเทศกาลจะมีผู้ไปพักค้างคืนเพื่อปฏิบัติธรรม มักได้รับความเบิกบานจิตใจสงบแจ่มใสและสมความปรารถนาโดยทั่วหน้ากัน

ภาพสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 216)
 

พระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี

พระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
พระพุทธโภคัยศิริขัยมหาศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัยประทับขัดสมาธิราบ หล่อโลหะ หน้าตักกว้าง ๑ วา ๕ นิ้ว (๑๓ เซนติเมตร) สูงจรดพระเมาลี ๑ วา ๑ ศอก ฐานสูง ๒ นิ้ว หล่อขึ้นตามแบบพระพุทธชินราช จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งทำซุ้มเรือนแก้วในลักษณะเดียวกันด้วย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ในโอกาสที่วัดพระพุทธบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง พุทธสมาคมจังหวัดแพร่ ซึ่งมีนายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นนายกสมาคม และนายทอง กันทาธรรม อุปนายกสมาคม มีดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองขึ้นในโอกาสสำคัญ ดังกล่าว พระพุทธรูปองค์นี้ได้เททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิดติโสภโณ) วัดเบญจบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยพระมหาเถรานุเถระร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และสวดปลุกเสก ๑๐๘ รูป พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์พระธรรมราชานุวัตร ถวายนามว่า “พระพุทธโภศัยศิริชัย มหาศากยมุนี”

ภาพพระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 218)
 

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลประดิษฐานอยู่ภายในอุทยานเขากง วัดเขากง มงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งในอดีตบริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางสำคัญทางพระพุทธศาสนามาก่อน
พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ประทับขัดสมาธิเพขร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระ หน้าดักกว้าง ๑๗ เมตร พระพักตร์วัดจากพระกรรณขวาถึงพระกรรณซ้าย ๔ เมตร จากพระหนุถึงยอดพระเกศบัวตูม ๙ เมตร สูงจากฐานถึงยอดพระเกศบัวตูม ๒๔ เมตร ลักษณะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ผสมผสานกับพุทธศิลป์แบบนครศรีธรรมราช หรือแบบขนมต้ม
คณะสงฆ์กับจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงมีดำริว่า บริเวณเขากงในอดีตเคยเป็นแหล่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก เช่น บริเวณด้านทิศเหนือของเนินเขาได้พบซากเจดีย์ ๓ องค์ ซึ่งเหลือเพียงแต่ส่วนฐาน เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๙ คณะสงฆ์จึงได้ร่วมมือกับหน่วยราชการสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลขึ้น โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ กรมอาชีวศึกษาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ครั้นเมื่อองค์พระพุทธรูปแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๓

ภาพพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 220)
 

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ประดิษฐาน ณ สวนพุทธอุทยาน วัดทิพย์สุคนธาราม อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและความห่วงใยของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม ต่อราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้งและประการสำคัญคือ โครงการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์เป็นพระพุทธรูปยืน หล่อด้วยสำริดสูง ๓๒ เมตร ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะ ที่สูงที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐานบนฐานแปดเหลี่ยมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๙ เมตร สูงจากพื้นดิน ๘ เมตร พุทธลักษณะเป็นแบบศิลปะคันธาระผสมผสานกับพุทธศิลป์แบบไทยทรงผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบนํ้าฝน) พระหัตถ์ขวายกขึ้นราวพระอุระ ทำกริยากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นเป็นกริยารองรับนํ้าฝน ณ วัดชนะสงคราม ทรงได้รับทราบถึงโครงการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวด้วย พระราชหฤทัยเลื่อมใสศรัทธาจึงทรงรับเป็นพระราชธุระที่จะทรงซ่วยสานต่อ ปณิธานของเจ้าพระคุณสมเด็จๆ และมีพระมหากรุณาธิคุณรับโครงการจัดสร้างพระพุทธปฏิมาองค์นี้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๔ หากแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในระหว่างการดำเนินโครงการฯ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้อาพาธและถึงแก่มรณภาพ ณ วัดชนะสงคราม ในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ด้วยความระลึกถึงและพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ ที่จะทรงช่วยสานต่อปณิธานของสมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงทรงรับเป็นพระราซธุระดำเนินโครงการดังกล่าว
คณะกรรมการโครงการฯ ประกอบด้วยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานคณะกรรมการโครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต และนายพลากร สุวรรณรัตน์ องคมนตรี เป็นประธานคณะอำนวยการโครงการฯ ฝ่ายฆราวาสได้ดำเนินการจัดพิธีบวงสรวงการก่อสร้าง ณ บริเวณอันเป็นที่ประดิษฐานพุทธเมตตา ประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๔ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเททองหล่อพระหัตถ์ขวา ซึ่งเป็นขึ้นส่วนสำคัญซององค์พระปฏิมา ณ วัดชนะสงคราม โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๗ รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น ๓ ปี ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนรา=สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชพระพุทธเมตตาประซาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ณ วัดทิพย์สุคนธาราม จังหวัดกาญจนบุรี

ภาพพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 222)

พระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรีนธรโลกนาถ

จังหวัดปราจีนบุรีสร้างพระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรินธรโลกนาถ ร่วมกับรัฐบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โครงการพระพุทธอุทยานโลกเขาอีโต้ ตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นศูนย์รวมพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออก การสร้างพระพุทธรูปเนื่องตามวันพระราชสมภพตรงกับปางนาคปรก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณ งดงามมีคุณค่าทางศิลปะ ค้นพบที่เมืองปราจีนบุรี ซึ่งอานุภาพ แห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก หมายถึง คุ้มภัย คุ้มเมือง คุ้มครองดวงชะตา รักษาโรคภัยไข้เจ็บ มั่นคง รํ่ารวยและอุดมสมบูรณ์ ความงดงามขององค์พระพุทธรูปมองเห็นแต่ไกลเป็นทัศนียภาพที่เสริมสร้างเจริญศรัทธาให้ผู้มาสักการะเลื่อมใสอย่างยิ่ง
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างตามแบบพระพุทธรูปนาคปรก ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะทวารวดี ก่ออิฐถือปูน สูง ๓๔ เมตร สองข้างประดับด้วยพระสถูปจำลอง มีพญานาคลักษณะหัวคล้ายงูใหญ่ ๗ เศียร แผ่พังพานอยู่ด้านหลังองค์พระประดับโมเสดสีทอง ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ของวนอุทยานแห่งชาติเขาอีโต้ สูงเด่นเป็นสง่า
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ จังหวัดปราจีนบุรี ได้ร่วมกับมูลนิธิพุทธขยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นประธานมีความเห็นจัดสร้างพระพุทธรูปประจำจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสนี้ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาตสร้าง และได้รับพระราชทานนามพระพุทธปฏิมากรนี้ว่า “พระพุทธทวารวดี ศรีปราจีน ลิรินธรโลกนาถ” เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗ สำเร็จ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๘ เพื่อเช้าร่วมในโครงการที่รัฐบาลจัดสร้างพระพุทธอุทยานโลกเฉลิมพระเกียรติในโอกาสนี้

ภาพพระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรีนธรโลกนาถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 224)
 

พระบูรพาบรรพต

พระพุทธปฏิมาที่พุทธศาสนิกชนชาวอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เคารพสักการะ ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาเจดีย์ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีประเพณีสำคัญประจำปีที่จัดขึ้นเพื่อสักการบูชา คือ ในกลางเดือน ๕ ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์จะมีงานประจำปีขึ้นเขาเจดีย์ ประเพณีแห่ผ้าห่มผ้า และสักการบูชาพระบูรพาบรรพตประเพณีเดิน-วิ่งของนักศึกษาใหม่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร สู่ยอดเขาเจดีย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสักการบูชาพระบูรพาบรรพต เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ๑ ใน ๙ องค์ของจังหวัดชุมพรที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดชุมพรจัดประเพณีไหว้พระ ๙ วัด
พระบูรพาบรรพตเป็นพระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระบนฐานบัว ขนาดใหญ่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานที่วัดเขาเจดีย์ มองเห็นได้แต่ไกล หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ด้านอ่าวไทย
** ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ จะยังเรียกว่าปางประทานอภัย แต่ถ้าสร้างสมัยหลังรัชกาลที่ ๓ ลงมาต้องเรียกว่าปางห้ามพยาธิ **
วัดเขาเจดีย์เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองที่ซาวอำเภอปะทิวให้ความเคารพนับถือ มีตำนานการสร้าง ๒ ตำนาน ตำนานแรกเล่าว่าก่อสร้างในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่ข้าศึก ลักษณะเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละประมาณ ๙ เมตร ผู้สร้างคือเจ้าอ้าย เจ้ายี่ เศรษฐี ๒ พี่บ้องพร้อมด้วยข้าทาสบริวารแล่นสำเภาบรรทุกสิ่งของเครื่องใช้เพื่อหายอดเขาที่สวยงามสำหรับก่อสร้างเจดีย์ได้มาจอดเรือที่โคกยายแรมบริเวณ หน้าวัดสุวรรณารามในปัจจุบันนี้ เห็นว่ายอดเขาที่ตั้งเขาเจดีย์เป็นที่เหมาะสม จึงให้บ่าวไพร่นำธงขึ้นไปปักบนยอดเขาและก่อสร้างเจดีย์ขึ้นโดยใช้คนยืนส่งก้อนอิฐที่จะสร้างเจดีย์โดยส่งมือต่อมือจากที่เรือจอดบริเวณท่าโคกยายแรมถึงยอดเขา ส่วนอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าเจ้าอ้ายพญา และเจ้ายี่พญาเป็นผู้สร้างในคราวที่ล่องเรือสำเภาพร้อมด้วยบริวารเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อ สร้างพระบรมธาตุ แต่เมื่อมาถึงเมืองปะทิวได้ทราบว่าทางนครศรีธรรมราชได้สร้างพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นบนยอดเขาที่นี้แทน สำหรับองค์พระบูรพาบรรพตนั้นทางวัดเขาเจดีย์ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนและเพื่อความเป็นสิริมงคล

ภาพพระบูรพาบรรพต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 226)

 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นจตุรพุทธปราการ หมายความถึง พระพุทธรูปปกบ้านคู่เมือง หรือพระอารามที่มีมหิทธานุภาพลํ้าลึกปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล เสริมดวงชะตาเมือง ตลอดทั้งคุ้มครองอาณาประซาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็น ตามตำราพุทธไชยปราการที่สืบทอดมาแต่โบราณ
พระพุทธปฏิมาสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ โลหะหล่อสำริด หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว พระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทชวาทับพระบาทซ้าย
ย้อนเวลาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑ สืบมาระยะหนึ่ง สถานการณ์บ้านเมืองมีภัยอันตรายจากลัทธิคอมมิวนิสต์ มีผู้ก่อการร้ายที่กระจายอยู่กว้างขวางรอบทิศที่มุ่งครอบครองประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ มีพระราชหฤทัยปรารถนาแรงกล้า ให้บ้านเมืองผ่านพ้นภัยพิบัติ พลเมืองดำรงชีวิตเป็นสุขราบรื่น ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ไม่หลงเป็นเครื่องมือแห่งความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงต่อสู้ประหัตประหารกันเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หล่อ “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่งได้ประมวลเอาคุณวิเศษอันเอกอุที่บุรพมหากษัตริย์ทรงปกบ้องภัยบ้านเมืองและพสกนิกรในอดีตมารวมไว้ โดยกรมการรักษาดินแดนกองทัพบก กระทรวงกลาโหม เป็นผู้จัดสร้าง
กรมการรักษาดินแดน คือหน่วยปกป้องรักษาบ้านเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนา ทรงมีพระพุทธนิรโรคันตราย ความหมายว่า “การปราศจากซึ่งภยันตรายทั้งปวง” เป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาล เมื่อรวมพลังแห่งพระพุทธชัยวัฒน์แล้ว พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ย่อมบริบูรณ์แก่การปกปักรักษาบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ในแผ่นดินทั้งสี่ทิศให้รุ่งเรืองเป็นที่สุด
วันที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง ๔ จังหวัด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต อัญเชิญไปประดิษฐานคุ้มครองแผ่นดินในทิศทั้งสี่ตามพระราชปณิธานสืบไป

ภาพพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 214)
 

สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์

สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จังหวัดชลบุรี วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๒๕ พระพุทธปฏิมาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนยิ่งนัก เป็นพุทธปฏิมาแห่งความสมปรารถนา
พระพุทธรูปองค์นี้ หล่อตามแบบพระพุทธชินสีห์พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เมื่อตรวจแบบหุ่นขี้ผึ้งเป็นที่เรียบร้อย จึงจัดพิธีเททองขึ้น เมื่อเททองเสร็จปรากฏว่าไม่งดงามอย่างที่ตั้งใจไว้และไม่เหมือนกับองค์ต้นแบบ อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนฐานชุกชีก่อนเพื่อรอฉลองในวันรุ่งขึ้นปาฏิหาริย์แห่งองค์สมเด็จพุทธญาณนเรศวร์ได้บังเกิดขึ้นเมื่อทำพิธี ฉลอง สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ มีรัศมีที่เปล่งประกาย พระพักตร์ที่ไม่งดงาม กลับเปลี่ยนเป็นพระพักตร์ที่ผ่องแผ้วงดงามด้วยเมตตาปรานีบริสุทธิ์สะอาด ทรงบารมีน่าเกรงขามเมื่อถึงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินขึ้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ยอดพระเกศ เป็นปาฏิหาริย์ยังความสง่างามให้บังเกิดสมพระบารมี
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ โดยใช้ต้นแบบจากพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร พระพุทธปฏิมามีนามประธานว่า “สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์” มีความหมายว่า “พระพุทธผู้ทรงสัพพัญณุตญาณใหญ่ยิ่งนรชน” สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ทรงกอบกู้เอกราชของไทยมิให้ตกเป็น เมืองขึ้นของพม่าเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน จึงดำริประดิษฐานองค์พระพุทธปฏิมาให้อยู่บนพื้นแผ่นดินโดยการต่อท่อบรรจุดินขึ้นมาจนถึงฐานชุกชี เพื่อให้แผ่พระบารมีไปทั่วทั้งแผ่นดิน ที่พระเกศพระประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และองค์พระบรรจุพระพุทธพิมพ์เท่าพระธรรมขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
กล่าวกันว่า มีผู้ไปกราบสักการะอธิษฐานขอพรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวันสุดสัปดาห์หรือวันหยุดเทศกาลจะมีผู้ไปพักค้างคืนเพื่อปฏิบัติธรรม มักได้รับความเบิกบานจิตใจสงบแจ่มใสและสมความปรารถนาโดยทั่วหน้ากัน

ภาพสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 216)
 

พระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี

พระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
พระพุทธโภคัยศิริขัยมหาศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัยประทับขัดสมาธิราบ หล่อโลหะ หน้าตักกว้าง ๑ วา ๕ นิ้ว (๑๓ เซนติเมตร) สูงจรดพระเมาลี ๑ วา ๑ ศอก ฐานสูง ๒ นิ้ว หล่อขึ้นตามแบบพระพุทธชินราช จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งทำซุ้มเรือนแก้วในลักษณะเดียวกันด้วย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ในโอกาสที่วัดพระพุทธบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง พุทธสมาคมจังหวัดแพร่ ซึ่งมีนายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นนายกสมาคม และนายทอง กันทาธรรม อุปนายกสมาคม มีดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองขึ้นในโอกาสสำคัญ ดังกล่าว พระพุทธรูปองค์นี้ได้เททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิดติโสภโณ) วัดเบญจบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยพระมหาเถรานุเถระร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และสวดปลุกเสก ๑๐๘ รูป พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์พระธรรมราชานุวัตร ถวายนามว่า “พระพุทธโภศัยศิริชัย มหาศากยมุนี”

ภาพพระพุทธโภคัยศิริซัยมหาศากยมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 218)
 

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลประดิษฐานอยู่ภายในอุทยานเขากง วัดเขากง มงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งในอดีตบริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางสำคัญทางพระพุทธศาสนามาก่อน
พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ประทับขัดสมาธิเพขร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระ หน้าดักกว้าง ๑๗ เมตร พระพักตร์วัดจากพระกรรณขวาถึงพระกรรณซ้าย ๔ เมตร จากพระหนุถึงยอดพระเกศบัวตูม ๙ เมตร สูงจากฐานถึงยอดพระเกศบัวตูม ๒๔ เมตร ลักษณะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ผสมผสานกับพุทธศิลป์แบบนครศรีธรรมราช หรือแบบขนมต้ม
คณะสงฆ์กับจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงมีดำริว่า บริเวณเขากงในอดีตเคยเป็นแหล่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก เช่น บริเวณด้านทิศเหนือของเนินเขาได้พบซากเจดีย์ ๓ องค์ ซึ่งเหลือเพียงแต่ส่วนฐาน เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๙ คณะสงฆ์จึงได้ร่วมมือกับหน่วยราชการสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลขึ้น โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ กรมอาชีวศึกษาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ครั้นเมื่อองค์พระพุทธรูปแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๓

ภาพพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 220)
 

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ประดิษฐาน ณ สวนพุทธอุทยาน วัดทิพย์สุคนธาราม อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและความห่วงใยของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม ต่อราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้งและประการสำคัญคือ โครงการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์เป็นพระพุทธรูปยืน หล่อด้วยสำริดสูง ๓๒ เมตร ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะ ที่สูงที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐานบนฐานแปดเหลี่ยมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๙ เมตร สูงจากพื้นดิน ๘ เมตร พุทธลักษณะเป็นแบบศิลปะคันธาระผสมผสานกับพุทธศิลป์แบบไทยทรงผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบนํ้าฝน) พระหัตถ์ขวายกขึ้นราวพระอุระ ทำกริยากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นเป็นกริยารองรับนํ้าฝน ณ วัดชนะสงคราม ทรงได้รับทราบถึงโครงการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวด้วย พระราชหฤทัยเลื่อมใสศรัทธาจึงทรงรับเป็นพระราชธุระที่จะทรงซ่วยสานต่อ ปณิธานของเจ้าพระคุณสมเด็จๆ และมีพระมหากรุณาธิคุณรับโครงการจัดสร้างพระพุทธปฏิมาองค์นี้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๔ หากแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในระหว่างการดำเนินโครงการฯ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้อาพาธและถึงแก่มรณภาพ ณ วัดชนะสงคราม ในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ด้วยความระลึกถึงและพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ ที่จะทรงช่วยสานต่อปณิธานของสมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงทรงรับเป็นพระราซธุระดำเนินโครงการดังกล่าว
คณะกรรมการโครงการฯ ประกอบด้วยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานคณะกรรมการโครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต และนายพลากร สุวรรณรัตน์ องคมนตรี เป็นประธานคณะอำนวยการโครงการฯ ฝ่ายฆราวาสได้ดำเนินการจัดพิธีบวงสรวงการก่อสร้าง ณ บริเวณอันเป็นที่ประดิษฐานพุทธเมตตา ประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๔ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเททองหล่อพระหัตถ์ขวา ซึ่งเป็นขึ้นส่วนสำคัญซององค์พระปฏิมา ณ วัดชนะสงคราม โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๗ รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น ๓ ปี ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนรา=สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชพระพุทธเมตตาประซาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ณ วัดทิพย์สุคนธาราม จังหวัดกาญจนบุรี

ภาพพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 222)

พระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรีนธรโลกนาถ

จังหวัดปราจีนบุรีสร้างพระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรินธรโลกนาถ ร่วมกับรัฐบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โครงการพระพุทธอุทยานโลกเขาอีโต้ ตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นศูนย์รวมพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออก การสร้างพระพุทธรูปเนื่องตามวันพระราชสมภพตรงกับปางนาคปรก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณ งดงามมีคุณค่าทางศิลปะ ค้นพบที่เมืองปราจีนบุรี ซึ่งอานุภาพ แห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก หมายถึง คุ้มภัย คุ้มเมือง คุ้มครองดวงชะตา รักษาโรคภัยไข้เจ็บ มั่นคง รํ่ารวยและอุดมสมบูรณ์ ความงดงามขององค์พระพุทธรูปมองเห็นแต่ไกลเป็นทัศนียภาพที่เสริมสร้างเจริญศรัทธาให้ผู้มาสักการะเลื่อมใสอย่างยิ่ง
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างตามแบบพระพุทธรูปนาคปรก ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะทวารวดี ก่ออิฐถือปูน สูง ๓๔ เมตร สองข้างประดับด้วยพระสถูปจำลอง มีพญานาคลักษณะหัวคล้ายงูใหญ่ ๗ เศียร แผ่พังพานอยู่ด้านหลังองค์พระประดับโมเสดสีทอง ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ของวนอุทยานแห่งชาติเขาอีโต้ สูงเด่นเป็นสง่า
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ จังหวัดปราจีนบุรี ได้ร่วมกับมูลนิธิพุทธขยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นประธานมีความเห็นจัดสร้างพระพุทธรูปประจำจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสนี้ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาตสร้าง และได้รับพระราชทานนามพระพุทธปฏิมากรนี้ว่า “พระพุทธทวารวดี ศรีปราจีน ลิรินธรโลกนาถ” เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗ สำเร็จ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๘ เพื่อเช้าร่วมในโครงการที่รัฐบาลจัดสร้างพระพุทธอุทยานโลกเฉลิมพระเกียรติในโอกาสนี้

ภาพพระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรีนธรโลกนาถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 224)
 

พระบูรพาบรรพต

พระพุทธปฏิมาที่พุทธศาสนิกชนชาวอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เคารพสักการะ ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาเจดีย์ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีประเพณีสำคัญประจำปีที่จัดขึ้นเพื่อสักการบูชา คือ ในกลางเดือน ๕ ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์จะมีงานประจำปีขึ้นเขาเจดีย์ ประเพณีแห่ผ้าห่มผ้า และสักการบูชาพระบูรพาบรรพตประเพณีเดิน-วิ่งของนักศึกษาใหม่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร สู่ยอดเขาเจดีย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อสักการบูชาพระบูรพาบรรพต เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ๑ ใน ๙ องค์ของจังหวัดชุมพรที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดชุมพรจัดประเพณีไหว้พระ ๙ วัด
พระบูรพาบรรพตเป็นพระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระบนฐานบัว ขนาดใหญ่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานที่วัดเขาเจดีย์ มองเห็นได้แต่ไกล หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ด้านอ่าวไทย
** ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ จะยังเรียกว่าปางประทานอภัย แต่ถ้าสร้างสมัยหลังรัชกาลที่ ๓ ลงมาต้องเรียกว่าปางห้ามพยาธิ **
วัดเขาเจดีย์เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองที่ซาวอำเภอปะทิวให้ความเคารพนับถือ มีตำนานการสร้าง ๒ ตำนาน ตำนานแรกเล่าว่าก่อสร้างในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่ข้าศึก ลักษณะเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละประมาณ ๙ เมตร ผู้สร้างคือเจ้าอ้าย เจ้ายี่ เศรษฐี ๒ พี่บ้องพร้อมด้วยข้าทาสบริวารแล่นสำเภาบรรทุกสิ่งของเครื่องใช้เพื่อหายอดเขาที่สวยงามสำหรับก่อสร้างเจดีย์ได้มาจอดเรือที่โคกยายแรมบริเวณ หน้าวัดสุวรรณารามในปัจจุบันนี้ เห็นว่ายอดเขาที่ตั้งเขาเจดีย์เป็นที่เหมาะสม จึงให้บ่าวไพร่นำธงขึ้นไปปักบนยอดเขาและก่อสร้างเจดีย์ขึ้นโดยใช้คนยืนส่งก้อนอิฐที่จะสร้างเจดีย์โดยส่งมือต่อมือจากที่เรือจอดบริเวณท่าโคกยายแรมถึงยอดเขา ส่วนอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าเจ้าอ้ายพญา และเจ้ายี่พญาเป็นผู้สร้างในคราวที่ล่องเรือสำเภาพร้อมด้วยบริวารเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อ สร้างพระบรมธาตุ แต่เมื่อมาถึงเมืองปะทิวได้ทราบว่าทางนครศรีธรรมราชได้สร้างพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นบนยอดเขาที่นี้แทน สำหรับองค์พระบูรพาบรรพตนั้นทางวัดเขาเจดีย์ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนและเพื่อความเป็นสิริมงคล

ภาพพระบูรพาบรรพต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 226)