ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธมหาชนก

พระพุทธมหาชนก พระพุทธปฏิมาประธานทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิ ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชกาลที่ ๑ เขตส้มพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญฉลองพระองศ์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีความงดงามด้วยศิลปกรรมการตกแต่งอย่างพระพุทธมหาจักรพรรดิ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒ เซนติเมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองศ์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ลักษณะที่น่าสนใจของพระพุทธรูปองศ์นี้ คือ การครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นการสร้างให้มีลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม การครองจีวรลายดอกนี้คงเนื่องมาจากการนำผ้าเนื้อดีที่เป็นสิ่งนำเข้าจากต่างประเทศ คือ ผ้าแพรจากประเทศจีน นำไปย้อมเป็นผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อถวายพระพุทธรูป
วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดสำเพ็ง สร้างมาแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสูรสิงหนาท ทรงบูรณ์ปฏิสังขรณใหม่หมดทั้งวัด อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ต้นพระบรม ราชจักรีวงศ์ แล้วพระราชทานนามว่า วัดปทุมคงคา พระพุทธปฏิมาได้รับการ ตกแต่งให้มั่นคงงดงาม เมื่อถึงรัชกาลที่ ๓ วัดทรุดโทรมมาก พระยาสวัสดีวารี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าซ่อมแซม เมื่อเริ่มลงมือก็เสียชีวิต การจึงค้างมาถึง รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการต่อโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสีหวิกรมเกรียงไกรเป็นแม่กองดำเนินการบูรณะ ต่อจนแล้วเสร็จเฉพาะพระพุทธปฏิมาประธานทรงยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองศ์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิ ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ถวายนามว่า “พระพุทธมหาชนก

ภาพพระพุทธมหาชนก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 194)
 

พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง)

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของชาติ จำลองมาจากพระสัมพุทธพรรณีในพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ซึ่งพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) องค์นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นพระราชอนุสรณ์เมื่อครั้งทรงพระผนวชและจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระศก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาประดิษฐาน และบรรจุพระราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถภายใต้พุทธบัลลังก์
ศิลปะรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ปางสมาธิวัสดุกะไหล่ทอง หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๒๗ นิ้ว ฐานกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๙.๕ นิ้ว
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ชำรุดทรุดโทรมหนักในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะครั้งใหญ่ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระราชดำรินำแบบพระสัมพุทธพรรณีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยใว้มาเป็นแบบพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงหล่อ ณ พระราชพิธีพุทธาภิเษกสมโภช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สรงพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองคำแล้วประดิษฐานในพระศก พระสัมพุทธพรรณ์จำลอง ได้เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เขียนจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถด้วยสีเฟรสโกเรื่อง ทศชาติบูชาพระสัมพุทธพรรณี เมื่อแล้วเสร็จอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ต่อมาบรรจุพระราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถภายใต้พุทธบัลลังก์

ภาพพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 196)
 

พระนิรันตราย (จำลอง)

พระนิรันตรายองค์นี้เป็นพระพุทธรูปจำลองมาจากพระนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแก้วน้อย พระอารามบนพระราชวัง พระนครคีรี (เขาวัง) ซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นที่สักการะของประชาซนและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมซมหรือมาปฏิบัติธรรมในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร จำลองแบบจากพระนิรันตรายในวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งมีพุทธลักษณะและการครองผ้าอย่างธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยม สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ไม่มีอุษณีษะ พระนิรันตราย (จำลอง) มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๔.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๙๔.๔ เซนติเมตรฐานสูง ๖๘ เซนติเมตร ความสูงเฉพาะองค์พระ ๘๙ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๑๔๗ เซนติเมตร ซุ้มใบโพธิ์สูง ๖๘ เซนติเมตร รวมสูงฐานถึง ยอดซุ้ม ๒๒๔ เซนติเมตร
เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ กำนันอินแขวงเมืองปราจีนบุรี ขุดพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งแถบขายป่าดงศรีมหาโพธิ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหกน้ำหนัก แปดตำลึง ประทับขัดสมาธิเพชร ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ มอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลเป็นเงิน ๘ ตำลึง แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญ ไปเก็บไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร พร้อมด้วยพระกริ่งองค์น้อย ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๐๓ คนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อย ส่วนพระทองคำองค์ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กันกลับไม่เอาไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินกับนายยังบุตรทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งองค์ใหญ่กว่าพระกริ่งควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปองค์นั้นไป แต่กลับแคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง ทั้งที่ผู้ขุดได้ก็ไม่ทำอันตรายเป็นอัศจรรย์อยู่ จึงพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” แล้วโปรดเกล้าฯให้ หล่อพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชรด้วยทองคำ หน้าตัก ๔ นิ้วครึ่ง ต้องตาม พุทธลักษณะสวมไว้อีกชั้นหนึ่ง และให้หล่อด้วยเงินอีกองค์หนึ่งคู่กัน ซึ่งองค์ที่หล่อด้วยทองคำโปรดให้ใช้สำหรับตั้งในพระราชพิธีต่างๆ
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูป พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำที่สวมพระนิรันตรายองค์เดิม หล่อด้วย ทองเหลือง กะไหล่ทองคำ ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วจำนวน ๑๘ องค์ เท่ากับปีที่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ อีกทั้งมืพระราชดำริจะหล่อต่อไปปีละองค์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาถวายนามพระพุทธรูปที่หล่อในโอกาสตังกล่าว เหมือนกันว่า “พระนิรันตราย”
พระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์ได้หล่อแล้วเสร็จสมดังพระราชประสงค์ แต่ ยังไม่หันได้กะไหล่ทอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กะไหล่ทองพระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์จนแล้วเสร็จ และพระราชทานไป ตามพระอารามธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมชนก นาถ อีกทั้งต่อมายังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานพระอาราม หลวง ซึ่งเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกายอารามละองค์อีกด้วย
ส่วนพระนิรันตราย พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดพระแก้วน้อย ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีนี้ ข้าราชการในจังหวัดเพชรบุรีได้จำลองโดยมีพุทธลักษณะเซ่นเดียวกับพระนิรันตราย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น และมอบให้อัญเชิญมาประดิษฐานเมื่อคราวเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๓2

ภาพพระนิรัยตราย (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 198)
 

พระไพรีพินาศ (จำลอง)

จำลองจากพระไพรีพินาศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ทรงเชื่อในอานุภาพว่าสามารถกำจัดผู้คิดร้ายให้พ่ายแพ้ไป ในขณะทรงผนวช มีพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองศ์และขุนนางบางคนตั้งตนเป็นศัตรูที่ชัดเจน คือ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ ต่อมาต้องราชภัยถูกถอดเป็นหม่อมไกรสร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่าพระพุทธรูปองศ์นี้ปกปักรักษาและคุ้มครองพระองศ์ไว้เป็นที่มาของนามพระพุทธรูปว่า “ไพรีพินาศ”
ตามประวัติพระไพรีพินาศนี้ไม่ปรากฏแน่ชัด กล่าวแต่เพียงว่ามีผู้นำมา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้โนสาสน์สมเด็จที่ทรงมีไปมากับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า
“เรื่องพระพุทธไพรีพินาศที่อยู่วัดบวรนิเวศ หม่อมฉันไปพิจารณาดูองค์พระพุทธรูปนั้น เป็นพระพุทธรูปศิลาแบบมหายานปางนั่งประทานพร คือ เหมือนมารวิชัยแต่หงายพระหัตถ์ หม่อมฉันเคยพบเรื่องในประกาศพระราชพิธีจรว่า ทูลกระหม่อมทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๓๙๖ ศวามในประกาศนั้นกับพระนามพระพุทธรูปบ่งชัดว่าบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพ้นภัยจากหม่อมไกรสร พระพุทธรูปองค์นี้ทูลกระหม่อมเห็นจะทรง ได้ไว้แต่ยังทรงผนวชใกล้ๆ กับเวลากำจัดหม่อมไกรสร จึงทรงถือเป็นนิมิตเดิม เห็นจะเอาไว้ที่อื่นที่โปรดๆให้สร้างเก็งประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นั้นไว้ที่พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารเห็นจะเป็นตอนปลายรัชกาลที่ ๔”
พระพุทธรูปปางประทานพรองศ์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่โดย จำลองมาจากพระไพรีพินาศ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร หน้าตักกว้าง ๕๓.๓ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๕๖.๖ เซนติเมตร ฐานสูง ๓๖ เซนติเมตร องศ์พระสูง ๘๓.๘ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๑๑๙.๘ เซนติเมตร แต่มีการปั้นแต่งเติมแท่นประดิษฐานเพิ่มเติม และมีจารึกข้อความที่ฐานด้านหน้าว่า “พระไพรีพินาศ”ต้านหลังจารีกว่า “จังหวัดเพชรบุรี” และ “พ.ศ.๒๕๓๒”
พระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่นี้ จังหวัดเพชรบุรี มอบให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีที่เปิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เพื่อ อัญเชิญประดิษฐาน ณ พุทธสถานวัดพระแก้วน้อย บริเวณยอดเขาทางทิศตะวันออกของอุทยาน เป็นพระพุทธรูปที่ประซาซนและนักท่องเที่ยวเข้าไปชมและสักการะอยู่เสมอ และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรียังนำพระพุทธรูปองศ์นี้ในการจัดกิจกรรมวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ

ภาพพระไพรีพินาศ (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 200)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

วัดมหาสมณาราม ราชวรวิหาร หรือ วัดเขาวัง ตั้งอยู่ไหล่เขาด้านทิศตะวันออก เป็นวัดเก่าแก่ชื่อวัดสมน ภายหลังจากการสร้างพระนครคีรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมจนเรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์ และพระราชทานนามมี ความหมายให้เป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ว่า “วัดมหาสมณาราม”
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วจีวรเป็นธรรมชาติ ลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกลางพระวรกาย รวมทั้งการทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน เป็นแบบเฉพาะที่นิยมในศิลปะด้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระสาวกคือพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรขนาบด้านข้าง ผนังพระอุโบสถและเสามีภาพเขียนฝีมือ “ขรัวอินโข่ง” จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นจิตรกรรมสีฝุ่น ซึ่งปรากฏภาพวาดพระนครคีรีด้วยเช่นกัน ที่ผนังทิศใต้ด้านขวาพระประธานเหนือขอบหน้าต่าง
พระอุโบสถของวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร เป็นอาคารทรงไทยขนาดกลาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางโบราณคดีและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อย่างดี ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน ผู้ที่ผ่านไปมามักจะมาลักการะ พระพุทธรูปภายในพระอุโบสถและซมภาพจิตรกรรมฝีมือขรัวอินโข่งที่มีคุณค่ามหาศาล เพราะนอกจากจะสะท้อนถึงจิตวิญญาณของผู้คนชาวเมืองได้อย่างลึกซึ้ง และบ่งบอกถึงฝีมืออันเลิศของศิลปินผู้สร้างสรรค์แล้วยังเป็นเครื่องน้อมนำจิตผู้พบเห็นให้ละเอียดประณีตได้อย่างวิเศษยิ่ง
ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 202)
 

พระพุทธอังคีรส

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๕ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สร้างจากทองเครื่องแต่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงพระเยาว์ มีราชประเพณีบำเพ็ญกุศลประจำปี ในวันที่ ๒๐ กันยายน ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบำเพ็ญกุศลถวายแด่พระมหากษัตริย์พระบรมราชินีที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารไว้ที่ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรส
พระพุทธอังคีรสเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานบนฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนจากประเทศอิตาลี ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ จำลองแบบมาจากพระลัมพุทธพรรณี องค์พระปฏิมาวัสดุ กะไหล่ทองเนื้อแปด หนัก ๑๐๘ บาท หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว พระรัศมีเป็น เปลว ไม่มีพระอุษณีษะ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเป็นริ้วแนบพระองค์เป็นธรรมชาติ สังฆาฏิกว้างพาดยาวถึงพระนาภี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ เกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธอังคีรสว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้หล่อขึ้นเมื่อแรกสถาปนาวัดราชบพิธ แต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ทรงนิพนธ์ไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อขึ้นมีพระราชประสงค์จะนำไปประดิษฐาน ณ องค์พระปฐมเจดีย์ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำพิธีหล่อขึ้นเป็นการพระราชพิธี
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงเป็นพระราชวงศ์สายราชสกุลในรัชกาลที่ ๓ ทรงบรรจุพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๕ และพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งทรงครอบครองไว้ที่ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรส เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงทำนุบำรุงวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แทนการสร้างวัดประจำรัชกาล เมื่อเสด็จสวรรคตได้บรรจุพระบรมราชสรีรังคารและพระราชสรีรังคารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไว้ ณ ใต้พุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรสด้วย

ภาพพระพุทธอังคีรส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 204)
 

พระพุทธชินราช (จำลอง)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาด หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ มีพระอุณาโลมติดอยู่ระหว่างพระขนง พระวรกายอวบอ้วน มีสังฆาฏิยาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบฝังด้วยแก้ว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาทแบนราบค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และ รูปท้าวเวสสุวัณหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ มีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทองประณีตอ่อนช้อยประดับอยู่เบื้องหลังช่วยเน้นให้พระพุทธชินราชมีความงดงามยิ่งขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาเป็นพระประธานวัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม ทรงพอพระราชหฤทัยพระพุทธชินราชซึ่งมีความงดงามไม่มีที่เปรียบด้วยทรงรำลึก ได้ว่าขณะทรงบรรพซาเป็นสามเณรได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปนมัสการ แต่พระพุทธชินราชเป็นมิ่งขวัญของซาวพิษณุโลก การจะอัญเชิญลงมานั้นไม่สมควร จึงโปรดให้จำลองแบบหล่อขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็น หลวงประสิทธิปฏิมา) จางวาง ช่างหล่อขวา เป็นหัวหน้าช่างขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบพระพุทธชินราช สมเด็จฯ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงานกับพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ช้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก เมื่อปั้นหุ่นเสร็จแล้วและได้พระฤกษ์เททองหล่อ จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปทรงร่วมพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๔ เวลาเช้ายํ่ารุ่งแล้ว ๓๘ นาที ๔๔ วินาที นํ้าหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ บาท และได้อัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง ล่องเรือมาเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔ เพื่อควบคุมและแต่งองค์พระที่กรมทหารเรือ โดยพลเรือโทพระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามารับราชการเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ ทรงปิดทอง เบิกพระเนตร ประดับอุณาโลมทองคำฝังเพชร เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ออกแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองสามเสน คลองเปรมประชากร เทียบ หน้าวัดแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ กระบวนแห่ครั้งนั้นเป็นกระบวนแห่ทางเรือที่ยิ่งใหญ่ มีผู้มีศรัทธาแต่งเรือเข้ากระบวนกว่า ๑,๐๐๐ ลำ เมื่อเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ทรงปีติโสมนัสมีพระราชศรัทธาทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์ อันเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับราชตระกูลถวายเป็นพุทธบูชาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ทางวัดได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีและอัญเชิญมาคล้องถวายที่พระหัตถ์ พระพุทธชินราชในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคมของทุกปี
เมื่ออัญเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานแล้ว โปรดให้ประชาชนสักการะปิดทองครั้งแรกในวันที่ ๑๔ - ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วจึงจัดการสมโภช ๙ วัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างซุ้มเรือนแก้วประดับองค์พระพุทธรูป และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ปรับปรุงซุ้มเรือนแก้วให้งดงามยิ่งขึ้น

ภาพพระพุทธชินราช (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 206)
 

พระนฤมลธรรโมภาส

พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระประธานในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ตำบลบางเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ดวงจักร) อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ (ผู้ปั้นหล่อพระสยามเทวาธิราช และพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ - ๔ ที่ประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร) เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการปั้นหล่อ พระพุทธนฤมลธรรโมกาสเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งามบริสุทธิ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๒.๕ นิ้ว สูง ๓๖.๕ นิ้ว หล่อด้วยโลหะกะไหล่ทองทั้งองค์พระและฐาน บน ฐาน ๓ ชั้น โดยมีชั้นแรกเป็นกลีบบัวหงาย เปรียบเสมือนดอกบัวที่รองรับองค์ พระพุทธเจ้าศิลปะรัตนโกสินทร์แบบประเพณีนิยมผสมผสานกับศิลปะตะวันตก พุทธลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญ ทั้งพระพักตร์ พระวรกาย พระหัตถ์ รวมทั้งจีวรห่มเฉียงก็มีลักษณะเป็นธรรมชาติคล้ายกับทรงนุ่งห่มจีวรที่เป็นผ้าอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือไม่มีอุษณีษะ และขัดสมาธิเพชรแบบเดียวกับพระนิรันตราย
พระพุทธนฤมลธรรโมภาส และพระอัครสาวกทั้งสองข้างประดิษฐานอยู่ในซุ้มแบบโกธิกศิลปะตะวันตก ลักษณะคล้ายกับที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน โดยโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่งในศิลปะแบบโกธิก แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ พระราชทานนามว่า วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก สังกัดธรรมยุติกนิกาย แล้วโปรดให้พระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ดวงจักร) อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ ประติมากรเอกของไทยในสมัยนั้นทรงเป็นผู้ออกแบบปั้นหล่อพระประธานในพระอุโบสถพระราชทานนามว่า พระพุทธนฤมลธรรโมภาส

ภาพพระนฤมลธรรโมภาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 208)
 

พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล อนุสรณ์ในมหามงคลที่พระพุทธศาสนาเจริญมาได้ ๒,๕๐๐ ปี หมายถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพานล่วงแล้ว ๒,๕๐๐ ปี ในฐานะที่ประเทศไทยนับถือพระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติ รัฐบาลจึงเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศต่างๆ ที่นับถือ พระพุทธศาสนาในวาระเดียวกันกำหนดสร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธสาราณียสถาน เครื่องระลึกถึงความรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สร้างพระพุทธปฏิมาปางลีลาเพื่อเป็นประธานแห่งพุทธมณฑลนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงถวายนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาปฏิบัติธรรม และพักผ่อนสงบจิตใจสมํ่าเสมอ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปลีลา (อิริยาบถเดิน) ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ หล่อโลหะสำริด บนแท่นบัลลังก์เหนือชาลาสองชั้น แต่ละชั้นทำบริเวณประทักษิณกว้างขวางโดยรอบ เฉพาะองค์พระพุทธปฏิมาสูงจากพระบาทจรดพระรัศมี ๒,๕๐๐ กระเบียด เท่ากับ ๑๕.๗๘๕ เมตร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างแบบกึ่งสมจริง แต่รักษาแบบอุดมคติไว้ ด้วยกัน กล่าวคือ แนวคิดและรูปแบบมาจากพระพุทธรูปลีลาสุโขทัยที่มีความงามตามอุดมคติ ผสมเข้ากับความคิดแบบเหมือนจริง ครองจีวรที่มีริ้ว และ สังฆาฏิเป็นแผ่นแบนแบบธรรมชาติ ซึ่งแนวความคิดนี้มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ออกแบบพระพุทธปฏิมาปางลีลาไว้เมื่อแรกดำเนินการเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช ๒๕๐๐ งานโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลต้องชะงักเนื่องจากขาดงบประมาณดำเนินการ กระทั่งได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ เพื่อเป็นโครงการในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงสำเร็จสมบูรณ์เป็นพุทธมณฑลที่เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนา และชาติไทยอย่างสง่างามตราบปัจจุบัน

ภาพพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 210)
 

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พระพุทธกาญจนธรรมสถิตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ โดยน่าจะมีเค้าต้นแบบจากพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย มีอัครสาวกพระโมคัลลานะ และพระสาริบุตรอยู่เบื้องซ้ายและเบื้องขวาตามลำดับ ฐานชุกชีเป็นฐานปัทม์ พระประธานประจำพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก สร้างขึ้นตามพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โดยมีผู้ออกแบบ คือ พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และประติมากรผู้ปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ คือ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้น
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกว่า “พระพุทธกาญจนธรรม สถิต” ต่อมาในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวซิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงยกฉัตรพระประธาน “พระพุทธกาญจน ธรรมสถิต” และทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเศียรพระประธาน ซึ่งได้มาจากพระสถูปโบราณ ณ เมืองกุสินารา อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาพพระพุทธกาญจนธรรมสถิต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 212)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธมหาชนก

พระพุทธมหาชนก พระพุทธปฏิมาประธานทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิ ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชกาลที่ ๑ เขตส้มพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญฉลองพระองศ์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีความงดงามด้วยศิลปกรรมการตกแต่งอย่างพระพุทธมหาจักรพรรดิ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒ เซนติเมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองศ์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ลักษณะที่น่าสนใจของพระพุทธรูปองศ์นี้ คือ การครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นการสร้างให้มีลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม การครองจีวรลายดอกนี้คงเนื่องมาจากการนำผ้าเนื้อดีที่เป็นสิ่งนำเข้าจากต่างประเทศ คือ ผ้าแพรจากประเทศจีน นำไปย้อมเป็นผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อถวายพระพุทธรูป
วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดสำเพ็ง สร้างมาแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสูรสิงหนาท ทรงบูรณ์ปฏิสังขรณใหม่หมดทั้งวัด อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ต้นพระบรม ราชจักรีวงศ์ แล้วพระราชทานนามว่า วัดปทุมคงคา พระพุทธปฏิมาได้รับการ ตกแต่งให้มั่นคงงดงาม เมื่อถึงรัชกาลที่ ๓ วัดทรุดโทรมมาก พระยาสวัสดีวารี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าซ่อมแซม เมื่อเริ่มลงมือก็เสียชีวิต การจึงค้างมาถึง รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการต่อโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสีหวิกรมเกรียงไกรเป็นแม่กองดำเนินการบูรณะ ต่อจนแล้วเสร็จเฉพาะพระพุทธปฏิมาประธานทรงยกแท่นฐานสูงขึ้นและแปลงองศ์พระเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิ ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ถวายนามว่า “พระพุทธมหาชนก

ภาพพระพุทธมหาชนก

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 194)
 

พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง)

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญของชาติ จำลองมาจากพระสัมพุทธพรรณีในพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ซึ่งพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) องค์นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นพระราชอนุสรณ์เมื่อครั้งทรงพระผนวชและจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระศก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาประดิษฐาน และบรรจุพระราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถภายใต้พุทธบัลลังก์
ศิลปะรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ปางสมาธิวัสดุกะไหล่ทอง หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๒๗ นิ้ว ฐานกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๙.๕ นิ้ว
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ชำรุดทรุดโทรมหนักในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะครั้งใหญ่ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระราชดำรินำแบบพระสัมพุทธพรรณีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยใว้มาเป็นแบบพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงหล่อ ณ พระราชพิธีพุทธาภิเษกสมโภช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สรงพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองคำแล้วประดิษฐานในพระศก พระสัมพุทธพรรณ์จำลอง ได้เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เขียนจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถด้วยสีเฟรสโกเรื่อง ทศชาติบูชาพระสัมพุทธพรรณี เมื่อแล้วเสร็จอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ต่อมาบรรจุพระราชสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถภายใต้พุทธบัลลังก์

ภาพพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 196)
 

พระนิรันตราย (จำลอง)

พระนิรันตรายองค์นี้เป็นพระพุทธรูปจำลองมาจากพระนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแก้วน้อย พระอารามบนพระราชวัง พระนครคีรี (เขาวัง) ซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นที่สักการะของประชาซนและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมซมหรือมาปฏิบัติธรรมในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร จำลองแบบจากพระนิรันตรายในวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งมีพุทธลักษณะและการครองผ้าอย่างธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยม สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ไม่มีอุษณีษะ พระนิรันตราย (จำลอง) มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๔.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๙๔.๔ เซนติเมตรฐานสูง ๖๘ เซนติเมตร ความสูงเฉพาะองค์พระ ๘๙ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๑๔๗ เซนติเมตร ซุ้มใบโพธิ์สูง ๖๘ เซนติเมตร รวมสูงฐานถึง ยอดซุ้ม ๒๒๔ เซนติเมตร
เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ กำนันอินแขวงเมืองปราจีนบุรี ขุดพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งแถบขายป่าดงศรีมหาโพธิ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหกน้ำหนัก แปดตำลึง ประทับขัดสมาธิเพชร ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ มอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลเป็นเงิน ๘ ตำลึง แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญ ไปเก็บไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร พร้อมด้วยพระกริ่งองค์น้อย ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๐๓ คนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อย ส่วนพระทองคำองค์ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กันกลับไม่เอาไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินกับนายยังบุตรทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งองค์ใหญ่กว่าพระกริ่งควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปองค์นั้นไป แต่กลับแคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง ทั้งที่ผู้ขุดได้ก็ไม่ทำอันตรายเป็นอัศจรรย์อยู่ จึงพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” แล้วโปรดเกล้าฯให้ หล่อพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชรด้วยทองคำ หน้าตัก ๔ นิ้วครึ่ง ต้องตาม พุทธลักษณะสวมไว้อีกชั้นหนึ่ง และให้หล่อด้วยเงินอีกองค์หนึ่งคู่กัน ซึ่งองค์ที่หล่อด้วยทองคำโปรดให้ใช้สำหรับตั้งในพระราชพิธีต่างๆ
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูป พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำที่สวมพระนิรันตรายองค์เดิม หล่อด้วย ทองเหลือง กะไหล่ทองคำ ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วจำนวน ๑๘ องค์ เท่ากับปีที่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ อีกทั้งมืพระราชดำริจะหล่อต่อไปปีละองค์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาถวายนามพระพุทธรูปที่หล่อในโอกาสตังกล่าว เหมือนกันว่า “พระนิรันตราย”
พระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์ได้หล่อแล้วเสร็จสมดังพระราชประสงค์ แต่ ยังไม่หันได้กะไหล่ทอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กะไหล่ทองพระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์จนแล้วเสร็จ และพระราชทานไป ตามพระอารามธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมชนก นาถ อีกทั้งต่อมายังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานพระอาราม หลวง ซึ่งเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกายอารามละองค์อีกด้วย
ส่วนพระนิรันตราย พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดพระแก้วน้อย ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีนี้ ข้าราชการในจังหวัดเพชรบุรีได้จำลองโดยมีพุทธลักษณะเซ่นเดียวกับพระนิรันตราย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น และมอบให้อัญเชิญมาประดิษฐานเมื่อคราวเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๓2

ภาพพระนิรัยตราย (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 198)
 

พระไพรีพินาศ (จำลอง)

จำลองจากพระไพรีพินาศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ทรงเชื่อในอานุภาพว่าสามารถกำจัดผู้คิดร้ายให้พ่ายแพ้ไป ในขณะทรงผนวช มีพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองศ์และขุนนางบางคนตั้งตนเป็นศัตรูที่ชัดเจน คือ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ ต่อมาต้องราชภัยถูกถอดเป็นหม่อมไกรสร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่าพระพุทธรูปองศ์นี้ปกปักรักษาและคุ้มครองพระองศ์ไว้เป็นที่มาของนามพระพุทธรูปว่า “ไพรีพินาศ”
ตามประวัติพระไพรีพินาศนี้ไม่ปรากฏแน่ชัด กล่าวแต่เพียงว่ามีผู้นำมา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้โนสาสน์สมเด็จที่ทรงมีไปมากับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า
“เรื่องพระพุทธไพรีพินาศที่อยู่วัดบวรนิเวศ หม่อมฉันไปพิจารณาดูองค์พระพุทธรูปนั้น เป็นพระพุทธรูปศิลาแบบมหายานปางนั่งประทานพร คือ เหมือนมารวิชัยแต่หงายพระหัตถ์ หม่อมฉันเคยพบเรื่องในประกาศพระราชพิธีจรว่า ทูลกระหม่อมทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๓๙๖ ศวามในประกาศนั้นกับพระนามพระพุทธรูปบ่งชัดว่าบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพ้นภัยจากหม่อมไกรสร พระพุทธรูปองค์นี้ทูลกระหม่อมเห็นจะทรง ได้ไว้แต่ยังทรงผนวชใกล้ๆ กับเวลากำจัดหม่อมไกรสร จึงทรงถือเป็นนิมิตเดิม เห็นจะเอาไว้ที่อื่นที่โปรดๆให้สร้างเก็งประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นั้นไว้ที่พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารเห็นจะเป็นตอนปลายรัชกาลที่ ๔”
พระพุทธรูปปางประทานพรองศ์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่โดย จำลองมาจากพระไพรีพินาศ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร หน้าตักกว้าง ๕๓.๓ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๕๖.๖ เซนติเมตร ฐานสูง ๓๖ เซนติเมตร องศ์พระสูง ๘๓.๘ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๑๑๙.๘ เซนติเมตร แต่มีการปั้นแต่งเติมแท่นประดิษฐานเพิ่มเติม และมีจารึกข้อความที่ฐานด้านหน้าว่า “พระไพรีพินาศ”ต้านหลังจารีกว่า “จังหวัดเพชรบุรี” และ “พ.ศ.๒๕๓๒”
พระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่นี้ จังหวัดเพชรบุรี มอบให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีที่เปิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เพื่อ อัญเชิญประดิษฐาน ณ พุทธสถานวัดพระแก้วน้อย บริเวณยอดเขาทางทิศตะวันออกของอุทยาน เป็นพระพุทธรูปที่ประซาซนและนักท่องเที่ยวเข้าไปชมและสักการะอยู่เสมอ และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรียังนำพระพุทธรูปองศ์นี้ในการจัดกิจกรรมวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ

ภาพพระไพรีพินาศ (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 200)
 

พระประธานในพระอุโบสถ

วัดมหาสมณาราม ราชวรวิหาร หรือ วัดเขาวัง ตั้งอยู่ไหล่เขาด้านทิศตะวันออก เป็นวัดเก่าแก่ชื่อวัดสมน ภายหลังจากการสร้างพระนครคีรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมจนเรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์ และพระราชทานนามมี ความหมายให้เป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ว่า “วัดมหาสมณาราม”
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วจีวรเป็นธรรมชาติ ลักษณะเหมือนจริงแบบสัจนิยม สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ พาดกลางพระวรกาย รวมทั้งการทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน เป็นแบบเฉพาะที่นิยมในศิลปะด้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระสาวกคือพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรขนาบด้านข้าง ผนังพระอุโบสถและเสามีภาพเขียนฝีมือ “ขรัวอินโข่ง” จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นจิตรกรรมสีฝุ่น ซึ่งปรากฏภาพวาดพระนครคีรีด้วยเช่นกัน ที่ผนังทิศใต้ด้านขวาพระประธานเหนือขอบหน้าต่าง
พระอุโบสถของวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร เป็นอาคารทรงไทยขนาดกลาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางโบราณคดีและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อย่างดี ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน ผู้ที่ผ่านไปมามักจะมาลักการะ พระพุทธรูปภายในพระอุโบสถและซมภาพจิตรกรรมฝีมือขรัวอินโข่งที่มีคุณค่ามหาศาล เพราะนอกจากจะสะท้อนถึงจิตวิญญาณของผู้คนชาวเมืองได้อย่างลึกซึ้ง และบ่งบอกถึงฝีมืออันเลิศของศิลปินผู้สร้างสรรค์แล้วยังเป็นเครื่องน้อมนำจิตผู้พบเห็นให้ละเอียดประณีตได้อย่างวิเศษยิ่ง
ภาพพระประธานในพระอุโบสถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 202)
 

พระพุทธอังคีรส

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๕ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สร้างจากทองเครื่องแต่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงพระเยาว์ มีราชประเพณีบำเพ็ญกุศลประจำปี ในวันที่ ๒๐ กันยายน ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบำเพ็ญกุศลถวายแด่พระมหากษัตริย์พระบรมราชินีที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารไว้ที่ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรส
พระพุทธอังคีรสเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานบนฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนจากประเทศอิตาลี ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ จำลองแบบมาจากพระลัมพุทธพรรณี องค์พระปฏิมาวัสดุ กะไหล่ทองเนื้อแปด หนัก ๑๐๘ บาท หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว พระรัศมีเป็น เปลว ไม่มีพระอุษณีษะ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเป็นริ้วแนบพระองค์เป็นธรรมชาติ สังฆาฏิกว้างพาดยาวถึงพระนาภี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ เกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธอังคีรสว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้หล่อขึ้นเมื่อแรกสถาปนาวัดราชบพิธ แต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ทรงนิพนธ์ไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อขึ้นมีพระราชประสงค์จะนำไปประดิษฐาน ณ องค์พระปฐมเจดีย์ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำพิธีหล่อขึ้นเป็นการพระราชพิธี
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงเป็นพระราชวงศ์สายราชสกุลในรัชกาลที่ ๓ ทรงบรรจุพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๕ และพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งทรงครอบครองไว้ที่ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรส เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงทำนุบำรุงวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แทนการสร้างวัดประจำรัชกาล เมื่อเสด็จสวรรคตได้บรรจุพระบรมราชสรีรังคารและพระราชสรีรังคารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ไว้ ณ ใต้พุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรสด้วย

ภาพพระพุทธอังคีรส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 204)
 

พระพุทธชินราช (จำลอง)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ขนาด หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ มีพระอุณาโลมติดอยู่ระหว่างพระขนง พระวรกายอวบอ้วน มีสังฆาฏิยาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบฝังด้วยแก้ว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาทแบนราบค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และ รูปท้าวเวสสุวัณหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ มีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทองประณีตอ่อนช้อยประดับอยู่เบื้องหลังช่วยเน้นให้พระพุทธชินราชมีความงดงามยิ่งขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาเป็นพระประธานวัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม ทรงพอพระราชหฤทัยพระพุทธชินราชซึ่งมีความงดงามไม่มีที่เปรียบด้วยทรงรำลึก ได้ว่าขณะทรงบรรพซาเป็นสามเณรได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปนมัสการ แต่พระพุทธชินราชเป็นมิ่งขวัญของซาวพิษณุโลก การจะอัญเชิญลงมานั้นไม่สมควร จึงโปรดให้จำลองแบบหล่อขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็น หลวงประสิทธิปฏิมา) จางวาง ช่างหล่อขวา เป็นหัวหน้าช่างขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบพระพุทธชินราช สมเด็จฯ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงานกับพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ช้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก เมื่อปั้นหุ่นเสร็จแล้วและได้พระฤกษ์เททองหล่อ จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปทรงร่วมพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๔ เวลาเช้ายํ่ารุ่งแล้ว ๓๘ นาที ๔๔ วินาที นํ้าหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ บาท และได้อัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง ล่องเรือมาเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔ เพื่อควบคุมและแต่งองค์พระที่กรมทหารเรือ โดยพลเรือโทพระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามารับราชการเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ ทรงปิดทอง เบิกพระเนตร ประดับอุณาโลมทองคำฝังเพชร เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ออกแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองสามเสน คลองเปรมประชากร เทียบ หน้าวัดแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ กระบวนแห่ครั้งนั้นเป็นกระบวนแห่ทางเรือที่ยิ่งใหญ่ มีผู้มีศรัทธาแต่งเรือเข้ากระบวนกว่า ๑,๐๐๐ ลำ เมื่อเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ทรงปีติโสมนัสมีพระราชศรัทธาทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์ อันเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับราชตระกูลถวายเป็นพุทธบูชาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ทางวัดได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีและอัญเชิญมาคล้องถวายที่พระหัตถ์ พระพุทธชินราชในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคมของทุกปี
เมื่ออัญเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานแล้ว โปรดให้ประชาชนสักการะปิดทองครั้งแรกในวันที่ ๑๔ - ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วจึงจัดการสมโภช ๙ วัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างซุ้มเรือนแก้วประดับองค์พระพุทธรูป และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ปรับปรุงซุ้มเรือนแก้วให้งดงามยิ่งขึ้น

ภาพพระพุทธชินราช (จำลอง)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 206)
 

พระนฤมลธรรโมภาส

พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระประธานในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ตำบลบางเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ดวงจักร) อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ (ผู้ปั้นหล่อพระสยามเทวาธิราช และพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ - ๔ ที่ประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร) เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการปั้นหล่อ พระพุทธนฤมลธรรโมกาสเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งามบริสุทธิ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๒.๕ นิ้ว สูง ๓๖.๕ นิ้ว หล่อด้วยโลหะกะไหล่ทองทั้งองค์พระและฐาน บน ฐาน ๓ ชั้น โดยมีชั้นแรกเป็นกลีบบัวหงาย เปรียบเสมือนดอกบัวที่รองรับองค์ พระพุทธเจ้าศิลปะรัตนโกสินทร์แบบประเพณีนิยมผสมผสานกับศิลปะตะวันตก พุทธลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญ ทั้งพระพักตร์ พระวรกาย พระหัตถ์ รวมทั้งจีวรห่มเฉียงก็มีลักษณะเป็นธรรมชาติคล้ายกับทรงนุ่งห่มจีวรที่เป็นผ้าอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือไม่มีอุษณีษะ และขัดสมาธิเพชรแบบเดียวกับพระนิรันตราย
พระพุทธนฤมลธรรโมภาส และพระอัครสาวกทั้งสองข้างประดิษฐานอยู่ในซุ้มแบบโกธิกศิลปะตะวันตก ลักษณะคล้ายกับที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน โดยโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่งในศิลปะแบบโกธิก แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ พระราชทานนามว่า วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก สังกัดธรรมยุติกนิกาย แล้วโปรดให้พระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ดวงจักร) อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ ประติมากรเอกของไทยในสมัยนั้นทรงเป็นผู้ออกแบบปั้นหล่อพระประธานในพระอุโบสถพระราชทานนามว่า พระพุทธนฤมลธรรโมภาส

ภาพพระนฤมลธรรโมภาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 208)
 

พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล อนุสรณ์ในมหามงคลที่พระพุทธศาสนาเจริญมาได้ ๒,๕๐๐ ปี หมายถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพานล่วงแล้ว ๒,๕๐๐ ปี ในฐานะที่ประเทศไทยนับถือพระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติ รัฐบาลจึงเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศต่างๆ ที่นับถือ พระพุทธศาสนาในวาระเดียวกันกำหนดสร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธสาราณียสถาน เครื่องระลึกถึงความรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สร้างพระพุทธปฏิมาปางลีลาเพื่อเป็นประธานแห่งพุทธมณฑลนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงถวายนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาปฏิบัติธรรม และพักผ่อนสงบจิตใจสมํ่าเสมอ
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปลีลา (อิริยาบถเดิน) ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ หล่อโลหะสำริด บนแท่นบัลลังก์เหนือชาลาสองชั้น แต่ละชั้นทำบริเวณประทักษิณกว้างขวางโดยรอบ เฉพาะองค์พระพุทธปฏิมาสูงจากพระบาทจรดพระรัศมี ๒,๕๐๐ กระเบียด เท่ากับ ๑๕.๗๘๕ เมตร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างแบบกึ่งสมจริง แต่รักษาแบบอุดมคติไว้ ด้วยกัน กล่าวคือ แนวคิดและรูปแบบมาจากพระพุทธรูปลีลาสุโขทัยที่มีความงามตามอุดมคติ ผสมเข้ากับความคิดแบบเหมือนจริง ครองจีวรที่มีริ้ว และ สังฆาฏิเป็นแผ่นแบนแบบธรรมชาติ ซึ่งแนวความคิดนี้มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ออกแบบพระพุทธปฏิมาปางลีลาไว้เมื่อแรกดำเนินการเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช ๒๕๐๐ งานโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลต้องชะงักเนื่องจากขาดงบประมาณดำเนินการ กระทั่งได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ เพื่อเป็นโครงการในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงสำเร็จสมบูรณ์เป็นพุทธมณฑลที่เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนา และชาติไทยอย่างสง่างามตราบปัจจุบัน

ภาพพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 210)
 

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พระพุทธกาญจนธรรมสถิตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๙ โดยน่าจะมีเค้าต้นแบบจากพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย มีอัครสาวกพระโมคัลลานะ และพระสาริบุตรอยู่เบื้องซ้ายและเบื้องขวาตามลำดับ ฐานชุกชีเป็นฐานปัทม์ พระประธานประจำพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก สร้างขึ้นตามพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โดยมีผู้ออกแบบ คือ พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และประติมากรผู้ปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ คือ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้น
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกว่า “พระพุทธกาญจนธรรม สถิต” ต่อมาในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวซิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงยกฉัตรพระประธาน “พระพุทธกาญจน ธรรมสถิต” และทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเศียรพระประธาน ซึ่งได้มาจากพระสถูปโบราณ ณ เมืองกุสินารา อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาพพระพุทธกาญจนธรรมสถิต

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 212)