ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เป็นศาสนาเดียวที่ไม่มีบรมศาสดาที่เป็นบุคคล อุบัติมาเพื่อประกาศศาสนาและทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนแก่มวลมนุษยชาติ อย่างเช่นหลายๆ ศาสนา หากมีแต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ความเก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ไม่อาจประมาณเวลาได้ คาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า ๕,000 ปี ด้วย “พระพรหม” ผู้สร้างโลก แล้วก็ดับสูญ เกิดดับมามาก โลกของเราจะเป็นโลกที่เท่าใดแล้ว ไม่สามารถคำนวณได้

เมื่อเริ่มต้นเรียกศาสนาว่า “สนาตนธรรม” แปลว่า กายอันไม่รู้จักตาย หมายถึง พระวิษณุ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิษณุธรรม คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ต่อมาอีกหลายพันปี เรียกว่า “ไวทิกธรรม” อีกหลายพันปีต่อมา มีผู้ตั้งชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า “อารยธรรม” แปลว่า ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม ต่อมาอีกหลายพันปี ศาสนาสนาตนธรรม เปลี่ยนไปเรียกว่า “พราหมณธรรม” แม้จะมีชื่อตามยุคต่างๆ ตามที่สาธยายมา แท้จริงแล้วคือธรรมะอันเดียวกันทั้งสิ้น

เมื่อ ๗๐๐ ปี มานี้ ศาสนาเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่ว่า “สินธุ” และ “หินทู” และ “ฮินดู” แปลว่า ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสา แม้ไม่อาจสอบค้นได้ว่าสนาตนธรรมเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม ในคัมภีร์พระเวทบอกว่า คือธรรมอันไม่มีต้นไม่มีปลาย เกิดขึ้นมาตั้งแต่สร้างโลกแล้ว นับว่าเป็นเวลานานอย่างเหลือที่จะคณานับ เมื่อสนาตนธรรมเป็นศาสนาของตน จึงแปลว่า ศาสนาที่มีมาแต่นิรันดรกาล คือมีมาตั้งแต่ตั้งเดิม ไม่มีผู้ใดรู้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด การได้เรียนธรรมจากสนาตนธรรม เชื่อว่ากล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทซึ่งมิใช่เป็นคัมภีร์ที่มนุษย์แต่ง หากพวกฤๅษีได้ยินมาโดยตรงจากพระผู้เป็นเจ้าคัมภีร์จึงมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า ศรุติ แปลว่า “การได้ยิน” ฤๅษีผู้ได้ยินคัมภีร์พระเวทเป็นผู้มีญาณวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดา ดังนั้น พราหมณ์ - ฮินดูจึงเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นทั่วไป ได้นำความเก่าแก่ของคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาเป็นเกณฑ์กำหนดยุคของศาสนาด้วย เล่าว่าจุดเริ่มต้นของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ อันเป็นที่มาของคำว่าฮินดู ต้นน้ำเกิดจากภูเขาหิมาลัยในเขตประเทศอินเดีย ไหลผ่านประเทศปากิสถานไปลงทะเลอาหรับ ชาวอารยันมีคัมภีร์ทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เรียกว่า เวทะ หรือ พระเวท แรกทีเดียวมี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท สามเวท และ ยชุรเวท ต่อมา มีคัมภีร์อาถรรพเวทเพิ่มขึ้นมาอีกคัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์ของ พราหมณ์ - ฮินดูมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามสมัยในกาลต่อมา ซึ่งกำหนดไว้เป็น ๓ สมัย คือ
(1) สมัยแรก เรียกว่า สมัยพระเวท แรกทีเดียว มี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท สามเวท และ ยชุรเวท ต่อมา มีคัมภีร์อาถรรพเวทเพิ่มขึ้นมาอีกคัมภีร์หนึ่ง
(2) สมัยที่ ๒ เรียกว่า สมัยอิติหาสะ มี ๒ คัมภีร์ คือ รามายณะและมหาภารตะ
(3) สมัยที่ ๓ เรียกว่า สมัยปุราณะ มีคัมภีร์ปุราณะเกิดขึ้น ๑๘ คัมภีร์ และคัมภีร์อุปปุราณะ เกิดขึ้นอีก ๑๘ คัมภีร์ นับแล้วมีมากกว่า ๑๐๐ คัมภีร์จนไม่สามารถกล่าวได้หมด

คัมภีร์ทั้ง ๓ สมัย คือ สมัยพระเวท สมัยอิติหาสะ และ สมัยปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ใช้ภาษาสันสกฤตทั้งสิ้น ผู้รู้ภาษาสันสกฤตและสามารถประกอบพิธีทางศาสนาคือพราหมณ์เท่านั้น ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้มีการแต่งคัมภีร์และบทสวดบูชาพระเป็นเจ้าและเทพเจ้าด้วยภาษาท้องถิ่น เพื่อให้ชนในท้องถิ่นนั้นๆ เข้าใจในศาสนาง่าย ขึ้น เช่น เรื่องรามเกียรติ์ นิกายไวษณพจะนับถือพระนารายณ์เป็นเจ้า แต่งด้วยภาษาอวธี ในอินเดียภาคใต้ มีผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ทั้งนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุดและนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเจ้าสูงสุด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้แต่งกวีบทสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่ตนนับถือด้วยภาษาทมิฬ

พราหมณ์ - ฮินดูถือว่า ในสนาตนธรรม มีตำราหรือคัมภีร์ ที่ยกย่องในศาสนา ดังนี้ พระเวท ๔ เล่ม อุปเวท ๔ เล่ม ศาสตร์ ๖ เล่ม อุปนิษัท ๓๘ เล่ม ปุราณะ ๑๘ เล่ม อุปปุราณะ ๑๘ เล่ม นอกจากนั้น มีคัมภีร์อื่นๆ ทำนองอรรถาธิบายจำนวนมากนับได้หลายพันเล่ม และมี คัมภีร์ที่เป็นสาระแห่งคัมภีร์ทั้งหลายอีก ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาภารตะ ซึ่ง มีศรีมัทภควัทคีตาเป็นตอนที่สำคัญที่สุด และคัมภีร์รามายณะ ว่าด้วย พระรามเป็นอวตารปางที่ ๗ ของพระวิษณุ ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า ทุกๆ ครอบครัวชาวอินเดีย ทั้งในและนอกประเทศ มีพระคัมภีร์เหล่านี้ไว้ในครอบครองของตน นอกจากจะถือเป็นวรรณกรรมสำคัญแล้ว ยังเป็นคัมภีร์ที่ให้บทเรียนทางปรัชญา ทางศาสนา และจริยธรรมหลากหลายด้าน ด้วยเป็นคัมภีร์แห่งมนุษยธรรม จึงมีการแปลเผยแผ่ออกไปหลาย ภาษา ด้วยหลักคำสอนที่ว่า ชีวะ คือ วิญญาณ ไม่มีวันตายและไม่เคยมีวันสูญสลายไปเลย ย่อมมีอยู่ตลอดกาล เพียงแต่หมุนเวียนอยู่ในกรรมคติที่กระทำอยู่ตลอดเวลา

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วรรณะพราหมณ์ได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นสื่อกลางสำหรับการสื่อสารระหว่างมนุษย์และพระผู้เป็นเจ้า และเชื่อว่าพราหมณ์ถือกำเนิดมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหม เป็นผู้มีความรู้คัมภีร์พระเวทสัจธรรมความรู้สูงสุดอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา การสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าด้วยการประกอบพิธีบวงสรวงบูชาอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าให้บันดาลความสุขแก่มนุษย์ได้ความสำเร็จ จึงถือว่าเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างใกล้ชิด

แม้พราหมณ์ - ฮินดู จะเป็นศาสนาเทวนิยม ที่เน้นพิธีกรรม และการสวดอ้อนวอนบูชาพระผู้เป็นเจ้า แต่ก็มีการปฏิบัติเพื่อให้ถึงความหลุดพ้นตามหลักขององค์ประกอบ ๓ ประการ คือ กรรมโยค คือ การ ประพฤติกรรมดีละเว้นกรรมชั่ว ชญานโยค คือ ความรู้ความเห็นที่ถูกต้องเป็นเกณฑ์ ภักติโยค คือ ความภักดีแด่องค์ภควานโดยไม่หวังผลตอบแทน การปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะนำไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นจากกองทุกข์ กองกิเลส อันเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมัน ซึ่งไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไป และพราหมณ์เท่านั้นจะเป็นผู้เผยแผ่พระเวทและหนทางไปสู่การหลุดพ้นนั้นได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคำสอนต่างๆ ของพราหมณ์ หรือฤๅษี ได้รับการถ่ายทอดมาจากพระเจ้า พระพรหมโดย ศรุติ (หมายถึง ได้ยินเสียงจากพระเป็นเจ้า) ด้วยตนเอง แล้วมีการจดจำ และถ่ายทอดกันผ่านทางความทรงจำ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น แต่ก็ได้มีผู้แต่งตำราที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำลัทธิ ผู้สืบทอดหลักการทางศาสนา โดยสามารถสรุปได้ ดังตารางด้านล่าง

ลำดับ พราหมณ์ บทบาทของการเผยแพร่ศาสนา
1 วยาสะ แต่งคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อิติหาสะ และคัมภีร์ปุราณะ
2 วาลฆีกิ แต่งมหากาพย์รามายณะ
3 โคตมะหรือเคาตมะ ผู้ตั้งลัทธินยายะ
4 กณาทะ ผู้ตั้งลัทธิไวฌศษิกะ
5 กปิละ ผู้ตั้งลัทธิสางขยะ
6 ปตัญชลิ ผู้ตั้งลัทธิโยคะ
7 ไชมินิ ผู้ตั้งลัทธิมีมางสา
8 มนู หรือ มนุ ผู้แต่งคัมภีร์ธรรมศาสตร์
9 พาทรายณะ ผู้ตั้งลัทธิเวทานตะ
10 จารวากะ ผู้ตั้งลัทธิโลกายนะ หรือวัตถุนิยม
11 ศังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถา / ผู้ตั้งลัทธิอไทวตะ
12 นาถมุนี เป็นผู้นำคนแรกของลัทธิไวษณวะ
13 รามานุชาจารย์ เป็นคนสำคัญของลัทธิไวษณวะ
14 มัธวาจารย์ เป็นผู้นำลัทธิไวษณวะ
15 ลกุลีศะ ผู้ก่อตั้งนิกายปศุปตะ
16 วสุคุปตะ เป็นผู้ตั้งลัทธิไศวะฝ่ายเหนือ
17 รามโมหัน รอย เป็นผู้ตั้งพรหมสมาช(สมาคม)
18 สวามีทะยานัน สรัสวดี เป็นผู้ก่อตั้งอารยสมาช
19 รามกฤษณะ เป็นผู้นำทางความรู้และทางปฏิบัติ

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เป็นศาสนาเดียวที่ไม่มีบรมศาสดาที่เป็นบุคคล อุบัติมาเพื่อประกาศศาสนาและทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนแก่มวลมนุษยชาติ อย่างเช่นหลายๆ ศาสนา หากมีแต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ความเก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ไม่อาจประมาณเวลาได้ คาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า ๕,000 ปี ด้วย “พระพรหม” ผู้สร้างโลก แล้วก็ดับสูญ เกิดดับมามาก โลกของเราจะเป็นโลกที่เท่าใดแล้ว ไม่สามารถคำนวณได้

เมื่อเริ่มต้นเรียกศาสนาว่า “สนาตนธรรม” แปลว่า กายอันไม่รู้จักตาย หมายถึง พระวิษณุ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิษณุธรรม คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ต่อมาอีกหลายพันปี เรียกว่า “ไวทิกธรรม” อีกหลายพันปีต่อมา มีผู้ตั้งชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า “อารยธรรม” แปลว่า ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม ต่อมาอีกหลายพันปี ศาสนาสนาตนธรรม เปลี่ยนไปเรียกว่า “พราหมณธรรม” แม้จะมีชื่อตามยุคต่างๆ ตามที่สาธยายมา แท้จริงแล้วคือธรรมะอันเดียวกันทั้งสิ้น

เมื่อ ๗๐๐ ปี มานี้ ศาสนาเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่ว่า “สินธุ” และ “หินทู” และ “ฮินดู” แปลว่า ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสา แม้ไม่อาจสอบค้นได้ว่าสนาตนธรรมเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม ในคัมภีร์พระเวทบอกว่า คือธรรมอันไม่มีต้นไม่มีปลาย เกิดขึ้นมาตั้งแต่สร้างโลกแล้ว นับว่าเป็นเวลานานอย่างเหลือที่จะคณานับ เมื่อสนาตนธรรมเป็นศาสนาของตน จึงแปลว่า ศาสนาที่มีมาแต่นิรันดรกาล คือมีมาตั้งแต่ตั้งเดิม ไม่มีผู้ใดรู้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด การได้เรียนธรรมจากสนาตนธรรม เชื่อว่ากล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทซึ่งมิใช่เป็นคัมภีร์ที่มนุษย์แต่ง หากพวกฤๅษีได้ยินมาโดยตรงจากพระผู้เป็นเจ้าคัมภีร์จึงมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า ศรุติ แปลว่า “การได้ยิน” ฤๅษีผู้ได้ยินคัมภีร์พระเวทเป็นผู้มีญาณวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดา ดังนั้น พราหมณ์ - ฮินดูจึงเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นทั่วไป ได้นำความเก่าแก่ของคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาเป็นเกณฑ์กำหนดยุคของศาสนาด้วย เล่าว่าจุดเริ่มต้นของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ อันเป็นที่มาของคำว่าฮินดู ต้นน้ำเกิดจากภูเขาหิมาลัยในเขตประเทศอินเดีย ไหลผ่านประเทศปากิสถานไปลงทะเลอาหรับ ชาวอารยันมีคัมภีร์ทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เรียกว่า เวทะ หรือ พระเวท แรกทีเดียวมี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท สามเวท และ ยชุรเวท ต่อมา มีคัมภีร์อาถรรพเวทเพิ่มขึ้นมาอีกคัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์ของ พราหมณ์ - ฮินดูมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามสมัยในกาลต่อมา ซึ่งกำหนดไว้เป็น ๓ สมัย คือ
(1) สมัยแรก เรียกว่า สมัยพระเวท แรกทีเดียว มี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท สามเวท และ ยชุรเวท ต่อมา มีคัมภีร์อาถรรพเวทเพิ่มขึ้นมาอีกคัมภีร์หนึ่ง
(2) สมัยที่ ๒ เรียกว่า สมัยอิติหาสะ มี ๒ คัมภีร์ คือ รามายณะและมหาภารตะ
(3) สมัยที่ ๓ เรียกว่า สมัยปุราณะ มีคัมภีร์ปุราณะเกิดขึ้น ๑๘ คัมภีร์ และคัมภีร์อุปปุราณะ เกิดขึ้นอีก ๑๘ คัมภีร์ นับแล้วมีมากกว่า ๑๐๐ คัมภีร์จนไม่สามารถกล่าวได้หมด

คัมภีร์ทั้ง ๓ สมัย คือ สมัยพระเวท สมัยอิติหาสะ และ สมัยปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ใช้ภาษาสันสกฤตทั้งสิ้น ผู้รู้ภาษาสันสกฤตและสามารถประกอบพิธีทางศาสนาคือพราหมณ์เท่านั้น ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้มีการแต่งคัมภีร์และบทสวดบูชาพระเป็นเจ้าและเทพเจ้าด้วยภาษาท้องถิ่น เพื่อให้ชนในท้องถิ่นนั้นๆ เข้าใจในศาสนาง่าย ขึ้น เช่น เรื่องรามเกียรติ์ นิกายไวษณพจะนับถือพระนารายณ์เป็นเจ้า แต่งด้วยภาษาอวธี ในอินเดียภาคใต้ มีผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ทั้งนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุดและนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเจ้าสูงสุด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้แต่งกวีบทสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่ตนนับถือด้วยภาษาทมิฬ

พราหมณ์ - ฮินดูถือว่า ในสนาตนธรรม มีตำราหรือคัมภีร์ ที่ยกย่องในศาสนา ดังนี้ พระเวท ๔ เล่ม อุปเวท ๔ เล่ม ศาสตร์ ๖ เล่ม อุปนิษัท ๓๘ เล่ม ปุราณะ ๑๘ เล่ม อุปปุราณะ ๑๘ เล่ม นอกจากนั้น มีคัมภีร์อื่นๆ ทำนองอรรถาธิบายจำนวนมากนับได้หลายพันเล่ม และมี คัมภีร์ที่เป็นสาระแห่งคัมภีร์ทั้งหลายอีก ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาภารตะ ซึ่ง มีศรีมัทภควัทคีตาเป็นตอนที่สำคัญที่สุด และคัมภีร์รามายณะ ว่าด้วย พระรามเป็นอวตารปางที่ ๗ ของพระวิษณุ ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า ทุกๆ ครอบครัวชาวอินเดีย ทั้งในและนอกประเทศ มีพระคัมภีร์เหล่านี้ไว้ในครอบครองของตน นอกจากจะถือเป็นวรรณกรรมสำคัญแล้ว ยังเป็นคัมภีร์ที่ให้บทเรียนทางปรัชญา ทางศาสนา และจริยธรรมหลากหลายด้าน ด้วยเป็นคัมภีร์แห่งมนุษยธรรม จึงมีการแปลเผยแผ่ออกไปหลาย ภาษา ด้วยหลักคำสอนที่ว่า ชีวะ คือ วิญญาณ ไม่มีวันตายและไม่เคยมีวันสูญสลายไปเลย ย่อมมีอยู่ตลอดกาล เพียงแต่หมุนเวียนอยู่ในกรรมคติที่กระทำอยู่ตลอดเวลา

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วรรณะพราหมณ์ได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นสื่อกลางสำหรับการสื่อสารระหว่างมนุษย์และพระผู้เป็นเจ้า และเชื่อว่าพราหมณ์ถือกำเนิดมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหม เป็นผู้มีความรู้คัมภีร์พระเวทสัจธรรมความรู้สูงสุดอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา การสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าด้วยการประกอบพิธีบวงสรวงบูชาอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าให้บันดาลความสุขแก่มนุษย์ได้ความสำเร็จ จึงถือว่าเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างใกล้ชิด

แม้พราหมณ์ - ฮินดู จะเป็นศาสนาเทวนิยม ที่เน้นพิธีกรรม และการสวดอ้อนวอนบูชาพระผู้เป็นเจ้า แต่ก็มีการปฏิบัติเพื่อให้ถึงความหลุดพ้นตามหลักขององค์ประกอบ ๓ ประการ คือ กรรมโยค คือ การ ประพฤติกรรมดีละเว้นกรรมชั่ว ชญานโยค คือ ความรู้ความเห็นที่ถูกต้องเป็นเกณฑ์ ภักติโยค คือ ความภักดีแด่องค์ภควานโดยไม่หวังผลตอบแทน การปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะนำไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นจากกองทุกข์ กองกิเลส อันเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมัน ซึ่งไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไป และพราหมณ์เท่านั้นจะเป็นผู้เผยแผ่พระเวทและหนทางไปสู่การหลุดพ้นนั้นได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคำสอนต่างๆ ของพราหมณ์ หรือฤๅษี ได้รับการถ่ายทอดมาจากพระเจ้า พระพรหมโดย ศรุติ (หมายถึง ได้ยินเสียงจากพระเป็นเจ้า) ด้วยตนเอง แล้วมีการจดจำ และถ่ายทอดกันผ่านทางความทรงจำ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น แต่ก็ได้มีผู้แต่งตำราที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำลัทธิ ผู้สืบทอดหลักการทางศาสนา โดยสามารถสรุปได้ ดังตารางด้านล่าง

ลำดับ พราหมณ์ บทบาทของการเผยแพร่ศาสนา
1 วยาสะ แต่งคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อิติหาสะ และคัมภีร์ปุราณะ
2 วาลฆีกิ แต่งมหากาพย์รามายณะ
3 โคตมะหรือเคาตมะ ผู้ตั้งลัทธินยายะ
4 กณาทะ ผู้ตั้งลัทธิไวฌศษิกะ
5 กปิละ ผู้ตั้งลัทธิสางขยะ
6 ปตัญชลิ ผู้ตั้งลัทธิโยคะ
7 ไชมินิ ผู้ตั้งลัทธิมีมางสา
8 มนู หรือ มนุ ผู้แต่งคัมภีร์ธรรมศาสตร์
9 พาทรายณะ ผู้ตั้งลัทธิเวทานตะ
10 จารวากะ ผู้ตั้งลัทธิโลกายนะ หรือวัตถุนิยม
11 ศังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถา / ผู้ตั้งลัทธิอไทวตะ
12 นาถมุนี เป็นผู้นำคนแรกของลัทธิไวษณวะ
13 รามานุชาจารย์ เป็นคนสำคัญของลัทธิไวษณวะ
14 มัธวาจารย์ เป็นผู้นำลัทธิไวษณวะ
15 ลกุลีศะ ผู้ก่อตั้งนิกายปศุปตะ
16 วสุคุปตะ เป็นผู้ตั้งลัทธิไศวะฝ่ายเหนือ
17 รามโมหัน รอย เป็นผู้ตั้งพรหมสมาช(สมาคม)
18 สวามีทะยานัน สรัสวดี เป็นผู้ก่อตั้งอารยสมาช
19 รามกฤษณะ เป็นผู้นำทางความรู้และทางปฏิบัติ