share line share line

ประวัติความเป็นมา

วัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ในบริเวณพื้นที่และตำแหน่งเดิมที่พระองค์ได้ทรงถวายพระเพลิงศพให้กับเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ภายในหลังจากการกระทำยุทธหัตถี เพื่อแย่งชิงราชสมบัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราชพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. 1967

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนครอินทราธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ โปรดเกล้าให้พระราชโอรสของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาและเจ้าสามพระยา แยกย้ายกันปกครองหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงมอบหมายให้เจ้าอ้ายพระยา พระราชโอรสองค์ใหญ่ปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา พระราชโอรสองค์กลางปกครองเมืองแพรกศรีราชา และเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์เล็ก ปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก)

ในปี พ.ศ. 1967 สมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตโดยที่ยังมิได้สถาปนาพระมหาอุปราชผู้เป็นรัชทายาทครอบครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาทราบข่าวการสวรรคต จึงยกกองทัพเข้ากรุง เพื่อชิงราชสมบัติสืบแทนพระราชบิดา ทั้งสองพระองค์ยกทัพมาเวลาเดียวกันพอดี เจ้าอ้ายพระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดพลับพลาไชย ป่ามะพร้าว เจ้ายี่พระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดชัยภูมิ ป่ามะพร้าว แล้วทั้งสองพระองค์ก็เคลื่อนทัพเข้าสู้กัน บริเวณสะพานป่าถ่านในปัจจุบัน ทั้ง 2 พระองค์ทรงพระแสงของ้าวฟันต้องพระศอขาดพร้อมกันทำให้สวรรคตพร้อมๆกัน เจ้าสามพระยาซึ่งไม่ได้มาร่วมด้วย จึงเสด็จจากเมืองชัยนาท ขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยา แทนพระราชบิดาทันที มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 เมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราชทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหาร มีนามว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา

ที่มา wikipedia