share line share line

ไม่พบข้อมูลพิกัด

Cr:ภาพ คุณ สมช@@dra.go.th 
Cr:ข้อมูลเผยแพร่: 9 พ.ค. 2560 12:27   โดย: MGR Online 
ศ.17 ม.ค 2020(2563)

วันพระ ณ วัดพรหมรังษี แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 
+++++++++++++++++++++++

สักการะ 4 สังเวชนียสถานในเมืองกรุง ที่ “วัดพรหมรังษี” ดอนเมืองสำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น คงจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของพุทธชาดกเกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้ามาหลายครั้งแล้ว บางคนไม่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น แต่ยังได้เดินทางไปถึงสถานที่เหล่านั้นในประเทศอินเดียและเนปาลด้วย เพราะชาวพุทธเชื่อกันว่าการได้ไปสักการะสถานที่เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” สักครั้งหนึ่งในชีวิตถือเป็นสิ่งที่ได้บุญกุศลแรง

แต่ถ้าหากไม่อยากเดินทางไปไกลถึงอินเดีย ในกรุงเทพฯ เองก็มีสังเวชนียสถานครบทั้ง 4 แห่ง รวมอยู่ในวัดเดียวให้ได้กราบไหว้กัน นั่นก็คือที่ “วัดพรหมรังษี” ในเขตดอนเมืองนี่เอง ฉันก็เลยถือโอกาสในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันพระใหญ่ เดินทางไปทำบุญที่วัดพรหมรังษีเสียเลยวัดพรหมรังษีไม่ใช่วัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2520 โดยคณะศิษยานุศิษย์ที่มีความเคารพศรัทธาในสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี แม้จะไม่ใช่วัดเก่าแก่ แต่ความโดดเด่นของวัดพรหมรังษีนี้ก็อยู่ที่สิ่งก่อสร้างน่าสนใจอย่างสังเวชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ ซึ่งแม้จะไม่ได้จำลองมาจากต้นแบบทุกกระเบียดนิ้ว แต่ก็งดงามและน่าศรัทธาไม่แพ้กัน

สำหรับการก่อสร้างสังเวชนียสถานจำลองในวัดพรหมรังษีนี้ก็ได้เริ่มจากการสร้าง “ปราสาทพุทธมารดา” ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ส่วนด้านในมีรูปหล่อองค์พุทธมารดาและพระรูปของพระพุทธเจ้าปางประสูติประดิษฐาน
พระสมเด็จชินปัญชรสมณโคดมเจ้า พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง
พระสมเด็จชินปัญชรสมณโคดมเจ้า พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง
สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น คงจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของพุทธชาดกเกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้ามาหลายครั้งแล้ว บางคนไม่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น แต่ยังได้เดินทางไปถึงสถานที่เหล่านั้นในประเทศอินเดียและเนปาลด้วย เพราะชาวพุทธเชื่อกันว่าการได้ไปสักการะสถานที่เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” สักครั้งหนึ่งในชีวิตถือเป็นสิ่งที่ได้บุญกุศลแรง

แต่ถ้าหากไม่อยากเดินทางไปไกลถึงอินเดีย ในกรุงเทพฯ เองก็มีสังเวชนียสถานครบทั้ง 4 แห่ง รวมอยู่ในวัดเดียวให้ได้กราบไหว้กัน นั่นก็คือที่ “วัดพรหมรังษี” ในเขตดอนเมืองนี่เอง ฉันก็เลยถือโอกาสในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันพระใหญ่ เดินทางไปทำบุญที่วัดพรหมรังษีเสียเลย

ปราสาทพุทธมารดา
ปราสาทพุทธมารดา

วัดพรหมรังษีไม่ใช่วัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2520 โดยคณะศิษยานุศิษย์ที่มีความเคารพศรัทธาในสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี แม้จะไม่ใช่วัดเก่าแก่ แต่ความโดดเด่นของวัดพรหมรังษีนี้ก็อยู่ที่สิ่งก่อสร้างน่าสนใจอย่างสังเวชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ ซึ่งแม้จะไม่ได้จำลองมาจากต้นแบบทุกกระเบียดนิ้ว แต่ก็งดงามและน่าศรัทธาไม่แพ้กัน

สำหรับการก่อสร้างสังเวชนียสถานจำลองในวัดพรหมรังษีนี้ก็ได้เริ่มจากการสร้าง “ปราสาทพุทธมารดา” ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ส่วนด้านในมีรูปหล่อองค์พุทธมารดาและพระรูปของพระพุทธเจ้าปางประสูติประดิษฐานไว้

เจดีย์พุทธคยา
เจดีย์พุทธคยา

จากนั้นฉันก็ไปชมสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าต่อ สถานที่แห่งนี้คงจะคุ้นตาสำหรับหลายๆ คน เพราะมี “เจดีย์พุทธคยา” (จำลอง) ตั้งเด่นเป็นสง่า อีกทั้งด้านหลังองค์เจดีย์ยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นหน่อจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย มาปลูกไว้ และยังได้สร้างแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งเป็นแท่นที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งอธิษฐานจิตบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มาจำลองไว้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้อีกด้วย

คราวนี้อ้อมมาทางด้านหน้าเจดีย์พุทธคยากันบ้าง เจดีย์องค์นี้นอกจากจะเป็นการจำลองสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว ด้านบนเจดีย์ก็ยังใช้เป็นอุโบสถของวัดอีกด้วยและเมื่อได้ขึ้นไปกราบสักการะพระประธานด้านบน ฉันก็ต้องทึ่งในความสวยงาม เพราะด้านบนนี้มีพระประธานประดิษฐานอยู่ถึง 28 พระองค์ด้วยกัน ซึ่งก็เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าในอดีตทั้ง 28 พระองค์นั่นเอง ซึ่งวัดที่มีพระประธานมากขนาดนี้ฉันก็เพิ่งเคยเห็นอยู่สองวัด คือวัดพรหมรังษี และวัดอัปสรสวรรค์เพียงสองวัดเท่านั้นพระประธาน 28 พระองค์ ภายในพระอุโบสถ

แม้อุโบสถแห่งนี้จะไม่ได้มีขนาดกว้างใหญ่มากนัก แต่ก็มีบรรยากาศที่สงบและเย็นสบายมากๆ ที่เย็นสบายก็เพราะสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง 
อีกทั้งพระประธานทั้ง 28 พระองค์ก็งดงามเป็นสีทองจับตา สร้างบรรยากาศของความศรัทธาได้ดีทีเดียวพระสถูปเจดีย์ สถานที่แสดงปฐมธรรมเทศนา

จากสถานที่ตรัสรู้ ฉันก็เดินมายัง “พระสถูปเจดีย์ สถานที่แสดงปฐมธรรมเทศนา” ซึ่งได้จำลองและย่อสัดส่วนมาจากอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย ภายในสถูปเจดีย์ก็มีรูปหล่อพระพุทธเจ้าทรงกำลังแสดงพระธรรมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ซึ่งกำลังนั่งพนมมือฟังธรรมจากพระพุทธองค์อยู่พระสถูปเจดีย์ สถานที่ปรินิพพาน

และไม่ไกลกันนั้นก็คือ “พระสถูปเจดีย์ สถานที่ปรินิพพาน” ภายในมีรูปหล่อพระพุทธเจ้าในปางปรินิพพานประดิษฐานอยู่บนแท่นรูปร่างคล้ายภูเขาย่อมๆ

และนอกจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลที่จำลองมานี้แล้ว ภายในวัดก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอย่าง “วิหารสมเด็จฯ โต” ซึ่งภายในวิหารนั้นนอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ แล้ว ก็ยังมีรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี อยู่หลายองค์ในหลายอิริยาบถด้วยกันพระพุทธเจ้าปางปรินิพพานประดิษฐานอยู่บนแท่น

และมี “พระสมเด็จชินปัญชรสมณโคดมเจ้า” พระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางแจ้งที่สร้างขึ้นเป็นสิ่งแรกๆ ภายในวัด มีพระพุทธรูปปางทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา พระพุทธรูปปางนาคปรก และสิ่งอื่นๆ อีกมากที่ต้องมาชมเอง

วัดพรหมรังษี” ตั้งอยู่ใน ซอยศิริสุข ถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร การเดินทาง วิ่งเข้ามาตามถนนช่างอากาศอุทิศ (ซอยข้างสำนักงานเขตดอนเมือง) วิ่งตรงมาเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้านศิริสุข วัดจะอยู่ท้ายหมู่บ้านศิริสุข