share line share line

หอพระพุทธสิหิงค์

ที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

ประวัติความเป็นมา สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

          พระพุทธสิหิงค์ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาติ คู่เคียงกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เล่าขาน เป็นตำนานนิทานสืบต่อกันมาตั้งแต่ลังกาตรังศรีธรรมราชสุโขทัย พิษณุโลก อยุธยา กำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน ล้านช้าง และกรุงเทพฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏเป็นหลักฐาน วัดพระสิงห์อันเป็นสถานที่เคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ใน หลายถิ่น พร้อมทั้งพระพุทธสิหิงค์มีอยู่เฉพาะ 3 องค์แรก ที่เชื่อถือ กันว่าเป็นองค์หลักของชาติคือองค์ที่เมืองนครศรีธรรมราชเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งชาวเมืองต่างเชื่อกันว่าเป็นองค์ดั้งเดิม เนื่องจากก่อนจะอัญเชิญไปยังเมืองอื่นนั้น ได้ทำการจำลององค์อื่น มอบให้และเก็บองค์จริงซ่อนไว้

          การบูชาพระพุทธสิหิงค์นิยมบูชานอกจากประวัติตำนาน และความสำคัญขององค์พระซึ่งเป็นเสมือนพระประจำชาติ ประจำเมือง เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่หมายถึงการสถาปนา พระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทย รวมทั้งความงามแห่งองค์พระ ที่น้อมนำให้มีจิตใจสงบเย็นแล้วคำสีห + อิงค ยังแปลว่ามีลักษณะ ท่าทางอย่างราชสีห์ผู้องอาจกล้าหาญปราศจากซึ่งความกลัวใดๆ จึงเป็นอีกความหมายให้น้อมรำลึกว่าการกราบบูชาพระพุทธสิหิงค์ คือ การตั้งสติและถือปฏิบัติมั่นในการเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ใน พระพุทธศาสนาตามแบบอย่างและพระธรรมคำสอนขององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักจะนำออกมาสรงน้ำบูชาพระพุทธสิหิงค์ ช่วงประเพณีสำคัญของงานตรุษสงกรานต์ จึงสามารถทำได้ใน ทุกท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบใด หรือพระพุทธสิหิงค์องค์ใด แต่ก็ไม่มีองค์ไหนที่จะถือว่าเท่ากับองค์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะเป็นองค์ต้นทาง เพียงวันเดียวในหนึ่งปีเท่านั้นที่มีการอัญเชิญ มาแห่และประดิษฐาน ให้ได้สรงน้ำเป็นสิริมงคลร่วมกับการสรงน้ำ ขอพรพระผู้ใหญ่และอาบน้ำคนแก่บน “เบญจา”
เบื้องหน้า พระพุทธสิหิงค์อีกด้วย