share line share line

วัดพระธาตุบุ (พระธาตุโพนจิกเวียงงัว)

ที่ตั้ง : ถนนรพช. นค. 3078 (บ้านปะโค-บ้านโคกคำ) ตำบล ปะโค อำเภอเมืองหนองคาย หนองคาย 43000

ประวัติความเป็นมา

          พระธาตุบุ มีลักษณะเป็นฐานกลมฉาบปูนซ้อนกัน 4 ชั้น ด้านบนเป็นศิลาแลง รูปคล้ายดอกบัวตูม ปลายสุดเป็นลูกแก้วกลมฉาบปูน ตามตำนานเป็นพระธาตุปิดรูพญานาค ซึ่งพญานาคได้ “บุ” (ภาษาอีสานแปลว่า โผล่พ้นด้นดั้นขึ้นมา) พื้นดินเป็นรูขึ้นมา จากหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม กล่าวว่า ท่านเคยเห็น พญานาคมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์กับท่าน พญานาคเป็นอมนุษย์มีอิทธิฤทธิ์มาก แสดง ปาฏิหาริย์จำแลงร่างให้เป็นร่างต่างๆ พญานาคมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบทำบุญและฟังธรรม เมื่อพญานาคจากเมืองบังพวนทราบว่า เมืองโพนจิกเวียงงัว มีพระบรมสารีริกธาตุและมีพระอรหันต์ประจำอยู่จึงบุพื้นขึ้นมากราบสักการะพระบรม สารีริกธาตุ ทำบุญและฟังธรรม บางครั้งมนต์ในการแปลงร่างเสื่อมคลาย ทำให้คืนร่างเป็น พญานาค เมื่อชาวบ้านเห็นเข้าก็เกิดความกลัว จึงได้ช่วยกันก่อพระธาตุปิดรูพญานาค พระธาตุบุได้สร้างขึ้นก่อนที่จะสร้างพระมหาธาตุโพนจิกเวียงงัว 8 ปี ซึ่งมีทั้งเทพ เทวาอารักษ์และพญายมทั้งหลายมาเคารพบูชา

สิ่งสำคัญภายในวัดที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและวัตถุ กรมศิลปากร

          1. พระธาตุโพนจิกเวียงงัว

          2. ซากโบราณสถาน

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

          วัดพระธาตุบุ มีศาสนวัตถุและโบราณสถานสำคัญที่ประชาชนให้ความเคารพ ศรัทธา เดินทางมาสักการะบูชาและเยี่ยมชม คือ

          พระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นพระธาตุที่เชื่อกันว่าบรรจุพระธาตุเขี้ยวฝาง (พระทันตธาตุ) มีลักษณะทางศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงระฆังสูง ก่ออิฐสอปูนผสมยางไม้ มีฐานประทักษิณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ภายในฐานประทักษิณถมดินอัดแน่น ทั้งสี่ทิศพบซากฐาน อิฐรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นพระธาตุจำลองประจำมุม ถัดขึ้นไปคือฐานเขียงล่างเป็นทรงสี่เหลี่ยม 6 วัดพระธาตุบุ ทำแท่นประดิษฐานโดยรอบ เรือนธาตุเป็น องค์ระฆังทรงกลมเรียวยาวอยู่ด้านบน ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวลูกแก้วในผังกลมซ้อนกัน 4 ชิ้น ส่วนยอดเป็นปลีทรงแหลมสูง

          ซากโบราณสถานอิฐ (วิหาร) อยู่บริเวณด้านหน้าพระธาตุโพนจิกเป็นซาก อาคารก่ออิฐ มีสภาพพังทลายไม่เห็นรูป ชัดเจน