share line share line

วัดพระธาตุเรณู

ที่ตั้ง : 85 หมู่ที่ 1 ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร นครพนม 48170

ประวัติความเป็นมา

          วัดธาตุเรณู เดิมชื่อวัดกลาง ตั้งอยู่ระหว่างตำบลเรณู และตำบลโพนทองติดต่อกันเนื้อที่ดินตั้งวัดตามโฉนดทั้งหมดใน ปัจจุบัน 23 ไร่ 3 งาน 45.6 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ 1 ไร่ 1 งาน 38.9 ตารางวา

          วัดนี้เป็นวัดสร้างขึ้นมาแต่ครั้งโบราณกาล แต่ไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำสร้างและได้สร้างขึ้นแต่ครั้งใด พ.ศ. ใด ตามคำผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเล่าสืบๆ กันมาว่า เจ้าเมืองผู้ปกครอง เมืองเวคนแรก เมื่อได้สร้างบ้านสร้างเมืองกันเสร็จเป็นที่เรียบร้อย แล้ว ก็ได้พร้อมด้วยอุปราชและกรรมการเมืองทั้งหลายตลอด ไพร่ฟ้าราษฎรปรึกษาพิจารณาตกลงกันเป็นเอกฉันท์ เพื่อสร้างวัด ขึ้นไว้ในที่ตรงกลางใจเมือง ราวปีพ.ศ. 2373 ให้เป็นวัดคู่บ้าน คู่เมืองและเป็นวัดสำหรับประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามธรรมเนียมหรือประเพณีการทางบ้านเมืองในสมัยนั้น

          ดังนั้น วัดนี้ชาวบ้านทั่วไปจึงได้เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งวัด ว่า “วัดกลาง” สืบต่อกันมา เพราะตั้งอยู่กลางเมือง หรือตั้งอยู่ ระหว่างกลางของวัดทั้ง 2 คือ วัดเหนือและวัดใต้ซึ่งวัดทั้ง 2 นี้ ได้สร้างขึ้นภายหลังเพราะการเรียกชื่อสถานที่ต่างๆ มีวัด เป็นต้น ของชนในสมัยก่อนโน้นมักนิยมเรียกกันตามภูมิประเทศหรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ

          ต่อมาถึงรัชกาลที่ 3 กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จ ประพาสภาคอีสาน ได้ทรงเข้าแวะเยี่ยมประชาชนชาวเมืองเวได้ทรงเห็นดอกไม้นานาชนิดมีดอกบัว เป็นต้น ขึ้นอยู่ตามที่ต่างๆ มากมายและประกอบทั้งการได้ทอดพระเนตรเห็นสุภาพสตรี สาวสวยชาวเมืองเวที่มารับเสด็จจำนวนมากมาย จึงได้ประทาน เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองเว นามเดิมมาเป็นเมืองเรณูนคร ตั้งแต่ บัดนั้นมาเมืองเวจึงได้ชื่อว่าเมืองเรณูนครจนทุกวันนี้ส่วนวัดก็ยังคง ชื่อวัดกลางอยู่ตามเดิม

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

          วัดพระธาตุเรณู มีศาสนวัตถุและโบราณสถานสำคัญที่ ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา เดินทางมาสักการะบูชาและ เยี่ยมชม คือ

พระธาตุเรณู (พระธาตุประจำวันเกิดของผู้เกิดวันจันทร์)

          “พระธาตุเรณู” ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุเรณูสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 ในการก่อสร้างพระธาตุองค์นี้สร้างขึ้นด้วยกำลัง พระสงฆ์สามเณรและทายกทายิกา ชาวตำบลเรณูนคร ตำบล โพนทองและตำบลแสนพันร่วมกัน มิได้รับงบประมาณการช่วยเหลือ ทางการรัฐบาลแต่ประการใด เมื่อสร้างขึ้นสำเร็จเรียบร้อยและได้ จัดทำบุญฉลองสมโภชแล้วจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า “พระธาตุเรณู”เพื่อให้ ต้องตามสถานที่ที่ได้สร้างขึ้นในเมืองเรณูนคร ตั้งแต่ “วัดกลาง” จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดธาตุเรณู” จนกระทั่งทุกวันนี้

          เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกๆ ปีนับตั้งแต่ได้สร้างองค์ พระธาตุเรณูขึ้น ประชาชนชาวตำบลแสนพัน และอำเภอใกล้เคียง ได้พร้อมกันนำข้าวเปลือกข้าวสารและปัจจัยไทยทานต่างๆ ตาม กำลังของตนมาถวายเป็นพุทธบูชาองค์พระธาตุเรณูเป็นประจำ ทุกๆปีซึ่งการสักการะบูชาดังกล่าวนี้เรียกกันว่าบูชาพิชภาคพระธาตุ ประจำปีซึ่งถือว่าได้บุญกุศลมาก ต่อมาเจ้าอาวาสวัดพร้อมด้วย กรรมการวัดได้ประชุมตกลงกันจัดให้มีงานนมัสการสมโภชเป็นงาน เทศกาลประจำปีทุกปีโดยเปลี่ยนกำหนดวันงานจากวันเพ็ญเดือน 3 มาเป็นวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่งเริ่มงานในวันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี

สิ่งของบูชาพระธาตุเรณู ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้งดอกไม้สีเหลืองธูป 15 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม