share line share line

มัสยิดกลางยะลา (มัสยิดเราฎอตุลยันนะห์)

ที่ตั้ง : 835 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000

ประวัติความเป็นมา

          มีหลักฐานบันทึกความเป็นมาของมัสยิดแห่งนี้ว่า พุทธศักราช 2468 นายอุสมาน ตอเฮะ ได้ซื้อที่ดินแปลง หนึ่งในเขตตําบลสะเตง อําเภอเมืองยะลา เนื้อที่ประมาณ 250 ตารางวา และได้ลั่นวาจาว่าหากใครจะสร้างมัสยิดตน ยินดียกที่ดินแปลงนี้ให้ ต่อมาพุทธศักราช 2470 โต๊ะครู หะยีอาแว หะยีตันตู ซึ่งมีปอเนาะอยู่ตรงข้ามกับที่ดินของ นายอุสมาน ดอเฮะ กําลังจัดหาที่ดินเพื่อสร้างมัสยิดจึงเชิญนาย แวยูโซะ โต๊ะแปเราะ มาปรึกษาและให้ช่วยหาที่ดินเพื่อที่จะ สร้างมัสยิดนายแวยูโซะ แจ้งว่ามีที่ดินของนายอุสมาน ดอเฮะ อยู่ตรงข้ามกับปอเนาะของโต๊ะครู แต่ที่ดินแปลงนี้ได้จัดการ แบ่งมรดกกันไปแล้วหลังจากนายอุสมาน ดอเฮะ ถึงแก่กรรม ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางแมะเยาะ น้องสาวคนสุดท้องใน ที่สุดโต๊ะครูจึงซื้อที่ดินแปลงอื่นมาแลกเปลี่ยนทดแทนที่ดิน ของนางแมะเยาะ

          พุทธศักราช 2475 จึงเริ่มดําเนินการก่อสร้าง เป็น อาคารชั้นเดียว เสาไม้หลังคามุงกระเบื้องหลังจากนั้นเป็นต้นมา มัสยิดแห่งนี้ได้มีการปรับปรุง ต่อเติม และขยายอาณาเขต ที่ดินของมัสยิด โดยมีผู้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมให้อีก จนกระทั่ง พุทธศักราช 2511 มีดําริจะซื้อมัสยิดหลังเก่าแล้วสร้างมัสยิด หลังใหม่ขึ้น แต่ไม่ได้ดําเนินการเพราะได้รับการคัดค้านจาก ประชาชน จนพุทธศักราช 2525 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างอาคารมัสยิด เฉพาะตัวอาคาร ตามนโยบายความมั่นคง ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต่อมาได้รับการปรับปรุงอาคาร และอาคารประกอบอยู่เสมอ เช่นงานลงพื้นหินอ่อนทั้งสามชั้นงานก่อสร้างอาคารประกอบและห้องรับรองอาคารห้องน้ำชาย โดยใช้พื้นที่ชั้น 2 เป็นห้องส่งสถานีวิทยุชุมชนประจํามัสยิด ออกอากาศบริการชุมชน และกิจกรรมศาสนาทุกวัน

          พุทธศักราช 2555 ได้ก่อสร้างอาคารประกอบ และห้องรับรอง มีห้องพักค้างคืนสําหรับสตรี พร้อมห้องน้ำ
ที่สะดวกสบายมากขึ้น

          พุทธศักราช 2556 ปรับปรุงอาคารอาบน้ำมัสยิด (อาบน้ำศพ) เพื่อให้ทําพร้อมกันได้หลายราย ปรับปรุงห้องน้ำรวม ก่อสร้างที่อาบน้ำละหมาดเพิ่มเติม ก่อสร้างป้ายชื่อ มัสยิดพร้อมไฟส่องป้าย ปรับพื้นโดยรอบเพื่อรองรับผู้มาฟัง บรรยายธรรมประจําสัปดาห์วันอาทิตย์ ปรับปรุงปูกระเบื้อง ลานบันไดชั้นสอง เป็นต้น

ลักษณะสถาปัตยกรรม

          ตัวอาคารมัสยิดได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก ของกระทรวงศึกษาธิการ มีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น กว้าง 30 เมตร ยาว 70 เมตร หออะซานสูง 38 เมตร โดยมี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยที่สอดแทรกเส้น กรอบทรงสุเหร่าไว้อย่างกลมกลืน ด้านหน้ามัสยิดเป็นบันได กว้าง มีขั้นบันไดประมาณ 30 ขั้น ทอดยาวสู่ลานชั้นบน และลักษณะของหลังคาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยมีโดมขนาด ใหญ่วางอยู่ตรงกลาง บนยอดประดับสัญลักษณ์ดาวและ พระจันทร์เสี้ยว