share line share line

วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

ที่ตั้ง : 435 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

ประวัติความเป็นมา

        ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่าวัดพระบรมธาตุ หรือ วัดพระธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีความสําคัญทาง พระพุทธศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ภาคใต้มายาวนาน ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศรวมถึงชาวต่าง ประเทศหลั่งไหลมาสักการะและเยี่ยมชม กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสําคัญของชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2479

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระบรมธาตุเจดีย์ ตํานานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช สรุปความเป็นมาว่า ทนทกุมารและนาง เหมชาลา พระโอรสและพระธิดาของท้าวโกสีหราชแห่งทนทบุรี หลบหนีศึกสงครามนําพระทันตธาตุออกจากเมือง ไปยังเมืองลังกา และซ่อนพระทันตธาตุไว้ระหว่างทางตรง บริเวณหาดทรายแก้ว ภายหลังมีพระอรหันต์ ชื่อมหาเถร พรหมเทพเหาะมานมัสการพระทันตธาตุและทํานายว่า ภายหน้าบริเวณนี้ พญาศรีธรรมาโศกราชจะมาตั้งเมือง ใหญ่ชื่อว่า นครศรีธรรมราช ฝ่ายสองพี่น้องเมื่อเดินทางไป ถึงยังเมืองลังกา เจ้าเมืองลังการับและสมโภชพระทันตธาตุ แล้วมอบให้พราหมณ์ 4 คน อัญเชิญพระบรมธาตุ 1 ทะนาน เดินทางไปกับเจ้าสองพี่น้องเพื่อกลับเมืองทนทบุรี เมื่อถึงยังหาดทรายแก้วที่ซ่อนพระธาตุไว้ ก็แบ่งพระธาตุ ออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุผอบแก้วใส่ขันทองฝังไว้ที่ เดิม แล้วก่อพระเจดีย์สวมไว้ ส่วนพระบรมธาตุอีกส่วนหนึ่ง อัญเชิญกลับไปยังเมืองทนทบุรี ต่อมาพญาศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อพุทธศักราช 1719 และสร้างพระสถูปครอบองค์พระบรมธาตุ ครั้นเมื่อกาลเวลาล่วงไป มีการซ่อมและ บูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ หลายครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองนคร และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า “วัดมหาธาตุ วรมหาวิหาร” พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชถือเป็น 1 ใน 8 จอมเจดีย์สําคัญ ของประเทศไทย ซึ่งปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีคําบรรยายกํากับภาพไว้ว่า “พระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราชสร้างเมื่อพระพุทธศาสนา ลังกาวงศ์แรกุมาถึงเมืองไทย”

        องค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ สถาปัตยกรรมทรงระฆังคว่ำ ที่มีอิทธิพลศิลปะ ลังกา คือมีฐานประทักษิณยกสูง ชุดฐานบัวเตี้ยๆ รองรับระฆังขนาดใหญ่ทรงโอคว่ำ บัลลังก์ในผัง สี่เหลี่ยมมีเสาติดประดับ เหนือขึ้นไป คือ แกน ปล้องไฉนมีเสาหานซึ่งปรากฏรูปพระสาวก เดินประทักษิณติดอยู่ เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า พระเวียน จากนั้นจึงเป็นปล้องไฉนทรงสูง และ ปลียอดที่หุ้มด้วยทองคํา จากรูปแบบดังกล่าว จึงอาจกําหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีจุดเด่นอยู่ที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคําแท้ องค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณ และ ของมีค่ามากมายจดปลายเจดีย์ ซึ่งของมีค่า เหล่านี้ พุทธศาสนิกชนนํามาถวายพระพุทธเจ้า โดยความเชื่อที่ว่า จะได้เข้าถึงนิพพาน นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์องค์เล็กรายล้อมองค์พระธาตุ เรียกว่า เจดีย์บริวารมีจํานวน 149 องค์ เป็นเจดีย์ที่ ลูกหลานสร้างให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อบรรจุอัฐิ ของญาติ

        นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสําคัญอื่นๆ ได้แก่ วิหารพระทรงม้า วิหารเซียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารหลวง พระอุโบสถเป็นต้น

        วันเพ็ญเดือนมาฆะ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จะมีประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประเพณีสําคัญของชาวนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ เป็นหนึ่งในพระมหาเจดียสถาน สถานที่ตั้งพิธีเสกทําน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก