share line share line

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (จอมทอง)

ที่ตั้ง : ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150

ประวัติความเป็นมา

        วัดราชโอรสาราม หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัดราชโอรส เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และถือเป็น วัดประจํารัชกาลที่ 3 มีประวัติว่าเป็นวัดโบราณที่สร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า “วัดจอมทอง” “วัดเจ้าทอง” หรือ “วัดกองทอง” ส่วนนามวัดราชโอรสาราม ได้รับพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย รัชกาลที่ 2 เนื่องจากเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ วัดราชโอรสเป็นวัดแรกที่สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมในพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือตกแต่งด้วยศิลปกรรมจีนผสมผสาน ศิลปกรรมแบบไทยอย่างกลมกลืนทั้งที่พระอุโบสถ พระวิหาร รวมถึงกุฏิพระสงฆ์เป็นอาคารตึกแทนเรือนไม้แบบของเดิม เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีเจดีย์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทยแบบใหม่ โดยมีศิลปกรรมผสมระหว่างไทยกับจีน หลังคา เป็นแบบจีนแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ งดงาม แต่ง เป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน คือ มังกร หงส์ และนกยูง ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มี บ้านเรือน สัตว์เลี้ยง ภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ ซุ้มประตูหน้าต่างประดับ กระเบื้องสีเป็นลวดลายดอกเบญจมาศบานประตูด้านนอกประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆด้านในประตูเขียนรูปทวารบาล แบบจีน ส่วนจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายเครื่องบูชาแบบจีน บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตาม คติของจีน บนเพดานเขียนลายดอกเบญจมาศสีทองบนพื้นสีแดง มีพระประธานหล่อด้วยสําริด สร้างตามแบบ พระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๓ นามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” แต่เป็นปางสมาธิ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ที่ฐานพระพุทธรูป

        พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกําแพงแก้ว เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ รูปแบบ สถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นลงรักปิดทองสร้างครั้งรัชกาลที่ 3 นามว่า “พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินศากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร” ที่ฝ่าพระบาทมีลายมงคล 108 บานประตูและบานหน้าต่างด้านนอกประดับด้วยลายปูนปั้นที่เรียกว่า กระแหนะ เป็นรูปเสี้ยวกางแบบไทย เพดานพระวิหารเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม และหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องสีเป็นลายดอก เบญจมาศและรูปสัตว์มงคลของจีนเช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ โดยรอบลานพระวิหารมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ประดิษฐานอยู่ 32 องค์ ที่ผนังพระระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีแผ่นหินอ่อนจารึกตํารายาและตํารา หมอนวด ติดเป็นระยะๆ จํานวนทั้งสิ้น 42 แผ่น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คล้ายกับที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

        ศาลาการเปรียญ มีลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน เช่นเดียวกันกับพระอุโบสถและพระวิหารบนหลังคาประดับรูปถะ ระหว่างมังกรกระเบื้องเคลือบสี อย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล ภายใน เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง แสดงพระหัตถ์ขวาคว่ำลง บนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตรคล้ายแว่นแก้ว ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีพระนามว่า “พระพุทธ ชัยสิทธิธรรมนาท” ประทับขัดสมาธิราบ นอกจากนั้นภายในศาลาการเปรียญยังมีพระพุทธบาท จําลอง ประดิษฐานอยู่ด้วย