share line share line

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ที่ตั้ง : 2 ถนนเฟื่องนคร แขวง วัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารฝ่าย ธรรมยุติกนิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น และพระราชทาน นามว่า “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เมื่อพุทธศักราช 2512จึงถือว่าเป็นวัดประจํารัชกาล นามของวัดมีความ หมายว่า พระอารามที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง มีขอบเขต สีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวง สุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างวัดประจํารัชกาลตาม โบราณราชประเพณี

สิ่งสําคัญภายในวัด

พระเจดีย์ จุดเด่นของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คือ การมีพระเจดีย์ประธานตั้งเป็นศูนย์กลางของแผนผังวัดล้อมรอบด้วยพระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารทิศ โดยมี พระวิหารคดหรือพระระเบียง เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่าง อาคารต่างๆ มีกําแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสและ สังฆาวาส ซึ่งคล้ายกับที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานครและวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ลักษณะองค์พระเจดีย์เป็นทรงระฆัง สูงประมาณ 43 เมตร รอบฐานยาวประมาณ 56 เมตร ตกแต่งด้วยกระเบื้อง เคลือบเบญจรงค์ทั้งองค์อย่างงดงาม ยอดพระเจดีย์เป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รอบนอกองค์พระเจดีย์มี ซุ้มพระพุทธรูปรวม 14 ซุ้ม

        พระอุโบสถ พระอุโบสถและพระวิหารมีลักษณะใกล้เคียงกันคือ เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมตะวันตก ภายนอกมีลักษณะแบบสถาปัตยกรรมไทย หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปช้างเจ็ดเศียรทูนพานพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจํารัชกาลที่ 5 ขนาบข้างด้วยรูปราชสีห์ คชสีห์ หน้าบันมุขหน้า เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้น มียอดทรงมณฑปลงรักปิดทอง ที่สําคัญบานประตูเป็นลายรดน้ำประดับมุก ลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย 5 ตระกูล ที่ขอบบานประตูมี พระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ทั้งบานประตูและหน้าต่างย้ายมาจากปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลัง เกิดเพลิงไหม้เมื่อพุทธศักราช 2456

        ภายในตกแต่งงดงามตามแบบอย่างตะวันตก ผนังส่วนบนเขียนลวดลายในรัชกาลที่ 7 เป็นลายดอกไม้ร่วง แทนของเดิมที่เขียนภาพพุทธประวัติ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ชนิดกะไหล่ทอง ครอง จีวรเป็นริ้วแบบเหมือนจริง ไม่มีพระเมาลี ตามพระราชนิยมและคงเริ่มหล่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เดิมนั้นโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อไปประดิษฐาน ณ วัดพระปฐมเจดีย์ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในช่วงต้นสมัย รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ แทน พระราชทานนามว่า “พระพุทธ อังคีรส” ซึ่งมีความหมายว่า มีรัศมีซ่านออกจากพระวรกาย ปัจจุบันใต้ฐานพุทธบัลลังก์ประดิษฐานพระบรมราช สรีรางคาร พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัย สมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรม ราชินีในรัชกาลที่ 7 และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

        สุสานหลวง ตั้งอยู่นอกกําแพงนอกเขตพุทธาวาส ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม สร้างมาแต่ครั้ง รัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารและเป็นอนุสรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ
สุนันทานุสาวรีย์ รังษีวัฒนา เสาวภาประดิษฐาน สุขุมาลย์นฤมิตร อนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยก่อสร้างเป็นทั้งแบบพระเจดีย์ พระปรางค์ และอาคารแบบยุโรป

        ปัจจุบัน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นที่ประทับของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชพระองค์ที่ 20 พระองค์ปัจจุบัน