share line share line

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ที่ตั้ง : 69 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิม ชื่อวัดแหลม แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เมื่อพุทธศักราช 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าพนมวันกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสใน รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร จึงทรงให้ตั้ง กองบัญชาการที่วัดแหลมแห่งนี้ หลังการปราบกบฏแล้วเสร็จ
กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระอนุชาและ พระขนิษฐาที่ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม และสร้างเจดีย์ไว้หน้าวัดรวม 5 องค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งหมายถึงวัดที่สร้างด้วยเจ้านาย 5 พระองค์ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดที่จะสร้างพระราชอุทยานเพื่อเป็นที่พักผ่อนพระราชอิริยาบถจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่ดินที่เป็นสวนและทุ่งนาที่ อยู่ใกลจากพระบรมมหาราชวังไปทางทิศเหนือ พระราชทาน นามว่า“สวนดุสิต” ในระหว่างการก่อสร้าง โปรดเกล้าฯ ให้ผาติกรรมวัดดุสิตและวัดปากคลองซึ่งเป็นวัดร้างมาแต่ เดิม เข้ากับวัดเบญจบพิตร เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดที่มีพื้นที่ ใหญ่ขึ้น มีความสมบูรณ์สง่างาม สมกับเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ เขตพระราชฐาน โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบและ ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดเบญจมบพิตร” อันหมายถึงวัดที่พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ที่ 5 ทรงสร้าง และเมื่อพุทธศักราช 2552 ประกาศ สถาปนาวัดเบญจมบพิตรพร้อมทั้งเพิ่มสร้อยนามเป็น “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ในคราวที่ได้มีพระสงฆ์และ สามเณรมาจําพรรษาและพระราชทานที่ดินเพิ่มให้วัดใน ปีถัดมา ปัจจุบันถือว่าเป็นวัดประจํารัชกาลที่ 5

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระอุโบสถ สร้างพร้อมกับพระระเบียง ตามแบบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์พระยาราช สงคราม (กร หงสกุลบุตรพระยาราชสงคราม ทัด) ข่างก่อสร้างฝีมือดีที่สุดในขณะนั้นเป็นผู้ควบคุม การก่อสร้างการก่อสร้างล่วงเลยมาแล้วเสร็จใน สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารทรงจัตุรมุข มีมุขเด็จยื่นออกมาทาง ทิศตะวันออกและตะวันตก พระอุโบสถเชื่อมต่อ กับพระระเบียงที่มีผังรูปสี่เหลี่ยม หลังคาประดับ ด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ ปิดทองทีบ ด้วยเหตุที่ผนังเสา พื้นพระอุโบสถและ ผนังภายนอกพระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อน ที่โปรดเกล้าฯ ให้สั่งเข้ามาจากประเทศอิตาลี พระอารามแห่งนี้จึงเป็นที่งดงามและแปลกตา แก่ผู้พบเห็น ประดุจดังสร้างจากหินอ่อนทั้งหลัง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่รู้จักพระอาราม แห่งนี้ในชื่อของ “Marble Temple”

        ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธ ชินราชจําลอง เป็นพระประธานด้วยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยโปรด พระพุทธชินราชที่เมืองพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูป ที่งดงาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้เอาปืนทองเหลืองที่ไม่ได้ใช้แล้ว ไปย่อยที่กรมทหารเรือ แล้วขนย้ายไปหล่อที่เมืองพิษณุโลก ภายใต้การกํากับของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดํารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น และมีหลวงประสิทธิปฏิมา จางวางช่างหล่อ เป็นผู้ควบคุมการหล่อ พระพุทธชินราชจําลองแม้จะมีขนาดย่อมกว่า แต่มีพุทธศิลป์ เช่นเดียวกับพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย

        พระระเบียง หรือ วิหารคด เสาและพื้นเป็นหินอ่อน หลังคาประดับตกแต่งด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน จําหลักลวดลายเป็นตราประจํากระทรวงต่างๆ ภายในพระระเบียงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นทั้งของโบราณดั้งเดิมที่อัญเชิญมาจากวัดตามหัวเมือง และมาปฏิสังขรณ์ใหม่ รวมทั้งที่สร้างจําลองจากของโบราณ รวม 52 องค์ ที่โดดเด่นได้แก่ พระพุทธรูปลีลาที่มีพุทธลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม หล่อด้วยสําริด ศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ และ ยังมีพระพุทธรูปศิลาทั้งที่เป็นของต่างประเทศและของไทยในซุ้มคูหาด้านนอกพระระเบียงอีกด้วย

        พระวิหารสมเด็จ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้สร้างถวายเป็น พระราชกุศลในคราวสถาปนาพระอาราม เมื่อพุทธศักราช 2445 เพื่อเป็นหอธรรมประจําวัด และประดิษฐานพระพุทธรูป สําคัญ คือ พระพุทธนรสีห์และพระฝาง ปัจจุบันจัดเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร จัดแสดง พระพุทธรูปปางต่างๆ เครื่องโต๊ะถ้วยปั้น เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องประกอบสมณศักดิ์ เป็นต้น