share line share line

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

ที่ดั้ง : 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10200

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร มีประวัติว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นทําการบูรณะ ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้าง ตามหัวเมืองมาปฏิสังขรณ์และประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ พระวิหารและพระระเบียง จนแล้วเสร็จเมื่อ พุทธศักราช 2344 พระราชทานนามว่า “วัดพระเซตุพน วิมลมังคลาวาส”ครั้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายอาณาเขตพระอารามขึ้น ทั้งด้านทิศใต้และทิศตะวันตกและให้รวบรวมตําราต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ตําราการนวดและการแพทย์ มาจารึกไว้บนแผ่นหินชนวน ติดไว้ตามเสาศาลารายโดย รอบ กระทั่งถึงคราวบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเปลี่ยนสร้อยนามพระอาราม เป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ประชาชนทั่วไปรวมทั้ง นักท่องเที่ยวนิยมเรียกชื่อวัดสั้นๆ ว่า “วัดโพธิ์”

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระอุโบสถ รูปแบบเดิมนั้นสร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามแบบ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ส่วนที่เห็นในปัจจุบันนี้เป็นแบบ พระราชนิยมที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวมีเสาสี่เหลี่ยมเรียงรายรอบพระระเบียงรวมทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง ระหว่างเสาเฉลียงด้านนอกรอบ พระอุโบสถประดับด้วยศิลาจําหลักภาพนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ รวม 152 ภาพแต่ละภาพจําหลักคําโคลงกํากับไว้ผนังภายใน เหนือขอบหน้าต่างเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องมโหสถชาดกมีพระพุทธรูปปางสมาธิ สมัยอยุธยา หล่อด้วยสําริดลงรัก ปิดทองนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” เป็นพระประธาน ประจําพระอุโบสถ ใต้ฐานเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ ๑ จึงถือกันว่าเป็น วัดประจํารัชกาลที่ ๑

        พระอุโบสถล้อมรอบด้วยพระระเบียง คั่น ด้วยพระวิหารทั้ง 4 ทิศ ภายในพระวิหารประดิษฐาน พระประธานอันเป็นพระพุทธรูปโบราณที่อัญเชิญมาจาก วัดในเมืองสุโขทัยและพระนครศรีอยุธยา จะมีแต่พระวิหาร เหนือเท่านั้นที่ประดิษฐาน “พระพุทธปาลิไลยก์” ฝีมือช่าง สมัยรัชกาลที่ 9 อย่างแท้จริงตามแนวพระระเบียงทั้งชั้นนอกและชั้นใน ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายสมัย ที่เสาพระระเบียงติด ศิลาจารึกหินชนวนประเภทวรรณคดี เช่น เพลงยาวกล อักษร ตําราฉันท์ต่างๆ

        พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือ วิหารพระนอน (พระพุทธไสยาส สะกดอักษรตามนามของพระนอน) เป็น พระวิหารขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์และ ขยายขอบเขตวัดและสร้างพระพุทธไสยาสยาวถึง 46 เมตร พระบาทประดับมุกลายมงคล 108 ประดิษฐานไว้ภายใน มีแนวพระราชดําริและคติการสร้างพระนอนขนาดใหญ่ไว้ในพระนคร เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนและเพื่อเป็นพระมหากุศลเจริญพระเกียรติยศของพระองค์ให้ปรากฏสืบไป

        พระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล เป็นหมู่พระเจดีย์ลักษณะย่อมุม 4 องค์ ตั้งอยู่ใกล้กับพระวิหารพระพุทธไสยาส ล้วนประดับตกแต่งองค์พระเจดีย์ด้วยกระเบื้องเคลือบสีแตกต่างกัน ได้แก่ “พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ” เป็นเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายในบรรจุชิ้นส่วน “พระศรีสรรเพชดาญาณ” พระพุทธรูปที่ อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ชํารุดเกินกว่าจะทําการบูรณะ เป็นพระมหาเจดีย์ประจํา รัชกาลที่ 9 อีกองค์หนึ่ง ชื่อเรียกว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” สร้างครั้งรัชกาลที่ 3 เพื่อเป็นพระราชอุทิศถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร” ขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาส่วนพระองค์ จึงนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจํารัชกาลที่ ๓ ส่วนองค์สุดท้ายเป็นพระมหาเจดีย์ประจํารัชกาลที่ 4 โดยให้ถ่ายแบบมาจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงมีนามว่า“พระมหาเจดีย์ศรีสุริโยทัย” ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม

        ประติมากรรมรูปฤษีดัดตน หล่อด้วยโลหะผสมสังกะสีและดีบุก ตั้งวางอยู่บริเวณเขามอมุมด้านทิศใต้นอก พระระเบียงพระอุโบสถ ซึ่งเป็นเขามอที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาจากสวนขวาในพระบรม มหาราชวังมาถวายเป็นพุทธบูชา รูปฤษีทําท่าทางดัดตนแตกต่างกันไป เพื่อรักษาโรคภัยแต่ละชนิด เดิมมี 80 รูป ชํารุด เสียหายไปหลายตนตามกาลเวลา จึงได้มีการสร้างใหม่จนครบสมบูรณ์เมื่อพุทธศักราช 2551

        วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่รวมปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่มีรูปแบบทางศิลปกรรม งดงามสะดุดตา เป็นแหล่งเรียนรู้รวมจารึกสรรพวิชาและภูมิปัญญาหลากหลาย ซึ่งเปรียบดั่งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของ ประเทศไทย และเมื่อพุทธศักราช 2554 องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ จํานวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจําแห่งโลก