share line share line

เทวสถานสำหรับพระนคร  (โบสถ์พราหมณ์)

ที่ตั้ง : 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

          คนทั่วไปนิยมเรียกว่าโบสถ์พราหมณ์พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2327 โดยสกุลพราหมณ์จากภาคใต้เป็นผู้กํากับดูแล หลัก ในการก่อตั้งพราหมณ์ ณ เทวสถานแห่งนี้ มีบทบาทสําคัญทําหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายในการพระราชพิธีแห่ง พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกรัชกาลของแผ่นดิน ตลอดทั้ง พิธีกรรมของพระราชวงศ์ รวมถึงหน่วยงานราชการ และ ประชาชนให้ศานติสุขร่มเย็นสืบมาจนปัจจุบัน

สิ่งสําคัญภายในศาสนสถาน

          ภายในเทวสถานมีโบสถ์ 3 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐ ถือปูนชั้นเดียว มีกําแพงล้อมรอบ

          สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัย พระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้ มีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทําชั้นลด 1 ชั้นหน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร พระอุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูป วิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเฆมและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มี ลวดลาย ภายในเทวสถาน มีเทวรูปพระอิศวรสําริดประทับ ยืนปางประทานพรและยังมีเทวรูปขนาดกลางอีก 31 องค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจามีเทวรูป ศิวลึงค์ 2 องค์ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูป พระพรหม 3 องค์ พระราชครูวามเทพมุนี้เป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 และพระสรัสวดีสองข้างแท่นลด มีเทวรูปพระอิศวรและพระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้น โบราณ ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สําหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธี ตรียัมพวาย - ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระอิศวร พระอุมา พระคเณศ) วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีช้าหงส์ใน วันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำเดือนยี่ เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 1 ค่ำ เป็นพิธีที่จัดให้มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพมุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิม พระชนมพรรษา 3 รอบ พระนักษัตร

          สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถาน พระอิศวร ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวร 5 องค์ ทําด้วยหิน คือ หินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทําด้วยสําริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์

          สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทําเช่นเดียว กับสถานพระพิฆเนศวร ภายในประดิษฐานบุษบก 3 องค์เคียงกัน ประกอบด้วยเทวรูปพระลักษมี (บุษบกองค์ซ้ายมือ) พระนารายณ์ (บุษบกองค์กลาง) พระภูมิเทวี (บุษบกองค์ขวามือ) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สําหรับประกอบพิธีช้าหงส์

          บริเวณลานเทวสถาน ด้านหน้าประตูทางเข้ามีเทวาลัยขนาดเล็กประดิษฐานพระพรหม ตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2515

          นอกจากนี้ยังมี หอเวทวิทยาคม เป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดี พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ทางศาสนา พราหมณ์ โหราศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บําเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามโอกาสอันควร หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็น ศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้านประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย เปิดให้ประชาชนเข้า ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาฮินดู

          กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสําคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492