share line share line

วัดพระแก้ว พระอารามหลวง

ที่ตั้ง : เลขที่ 19 หมู่ที่ 1 ถนนไตรรัตน์ ตําบลในเวียง อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000

ประวัติความเป็นมา

        วัดพระแก้ว เป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสําคัญวัดหนึ่ง สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ หลักฐาน เดิมมีชื่อว่า “ญรุกขวนาราม” ซึ่งแปลว่า “วัดป่าญะ” หรือ “วัดป่าเบี้ยะ” สร้างมาก่อน พ.ศ. 2477 ขึ้นไป บริเวณวัดนี้จะมีไม้ไผ่ชนิดหนึ่งชื่อไม้ญะ คล้ายไม้ไผ่สีสุก แต่ไม่มีหนาม คงจะมีมากในบริเวณนี้ ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมนําไปใช้ทําคันธนูและหน้าไม้ จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศว่า “วัดป่าญะ” หรือ “วัดป่าเบี้ยะ”

        ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ พระเจดีย์วัดป่าญะถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) พังทลายลง เจ้าอาวาสและพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ครั้งแรกเข้าใจว่า เป็นพระพุทธรูปปูนธรรมดา โดยได้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระวิหาร ต่อมาปูนที่พอก องค์พระไว้กะเทาะออก ทําให้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงดงามยิ่ง จึงได้กะเทาะออกหมดทั้งองค์ ปรากฏเป็นพระพุทธรูปแก้วเขียวเป็นแท่งทึบ ต่อมาได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่จังหวัด ลําปาง เชียงใหม่ กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์) จนกระทั่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๒) ได้อัญเชิญมา ประดิษฐานที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครตามลําดับ ปัจจุบันประดิษฐานไว้ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดยถวาย พระนามว่า “พระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร”

สถานที่สําคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

        วัดพระแก้วมีศาสนสถาน ศาสนวัตถุที่ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา เดินทางมา สักการะบูชา คือ

        พระพุทธรตนากร นวศิวัสสานุสรณ์มงคล

        พระพุทธรูปหยกองค์นี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์แทนพระแก้วมรกต รวมทั้งเพื่อเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานนาม ถวายว่า “พระพุทธรตนากร นวุศิวัสสานุสรณ์มงคล” แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็น อากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ 90 พรรษา และโปรดเกล้าให้เรียกนามสามัญว่า “พระหยกเชียงราย" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2534 และจังหวัดเชียงราย ได้ประกอบพิธีแห่เข้าเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534

        หอพระหยกเชียงราย

วัดในภาคเหนือในสมัยโบราณ นอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิสงฆ์ หอพระธรรม ฯลฯ แล้วยังมี “หอพระสําหรับเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป” วัดพระแก้ว จึงได้สร้าง “หอพระหยก เชียงราย” เป็นอาคารทรงแบบลานนาโบราณ เป็นอาคารค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร วางศิลาฤกษ์ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณณโชโต) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534

หอพิพิธภัณฑ์ “โฮงหลวงแผงแก้วเฉสิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี"

        หอพิพิธภัณฑ์ “โฮงหลวงแสงแก้ว" เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธศรีเชียงรายพระประธานโฮงหลวงแสงแก้ว ซึ่งเป็นพุทธรูป ปางมารวิชัยวัสดุโลหะปิดทองศิลปะแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง โดยลักษณะอาคารหอพิพิธภัณฑ์เป็นทรงล้านนาประยุกต์สูง 2 ชั้น ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 23.25 เมตร

        พระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสน วัสดุโลหะสําริด เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่าถ้าได้อิษฐาน
ขอพรจากพระพุทธรูปองค์นี้จะได้รับผลรวดเร็วทันใจ

        หีบธรรม หีบไม้โบราณสําหรับบรรจุพระคัมภีร์ใบลานคัมภีร์ธรรม พระธรรมที่จารึกในใบลานผูกไว้เป็นมัดหรือ “ผูก” ผู้หญิงล้านนาเชื่อว่าผู้ใดได้ทําผ้าห่อหุ้มคัมภีร์ธรรมจะมี ปัญญาเฉลียวฉลาด

        พระเจ้า ๕ พระองค์ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม (พระตถาคตองค์ปัจจุบัน) และพระศรีอริย เมตไตรยโย