share line share line

มัสยิดกลางปัตตานี

ที่ตั้ง : 249 ตำบล อาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ปัตตานี 94000

ประวัติความเป็นมา

          สร้างในเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 55 ตารางวา เมื่อ พุทธศักราช 2497 วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2500 ทําพิธีเปิดโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจ ของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ หอคอยสองข้างนี้เดิมใช้เป็น หอกลองสําหรับตีกลอง เป็นสัญญาณเรียกให้มุสลิมมาร่วม ปฏิบัติศาสนกิจ ต่อมาใช้เป็นที่ติดตั้งลําโพง เครื่องขยายเสียง แทนเสียงกลอง ปัจจุบันขยายด้านข้างออกไปทั้ง 2 ข้างและ สร้างหออะซาน พร้อมขยายสระน้ำและที่อาบน้ำละหมาด ให้ดูสง่างามยิ่งขึ้น ภายในมัสยิดประดับด้วยหินอ่อนอย่าง สวยงาม นับเป็นมัสยิดที่สวยที่สุด

          มัสยิดกลางแห่งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ บพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใน รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดําเนินมายังมัสยิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2536 เพื่อทรงเยี่ยมเยียนผู้นําศาสนา อิสลามและชาวมุสลิม ทั้งมีพระราชกระแสรับสั่งให้บูรณะ ปรับปรุงมัสยิดแห่งนี้โดยปรับปรุงเพิ่มเติมดังปรากฏจนปัจจุบัน

          สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร ขณะทรงดํารงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดําเนินมา พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดการอัญเชิญ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2546 และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2559 เสด็จพระราชดําเนินไปยังมัสยิดกลาง ปัตตานี พระราชทานถ้วยรางวัลการทดสอบการอัญเชิญ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับประเทศและพระราชทานโล่ เกียรติคุณ และเงินรางวัลแก่คณะกรรมการอิสลามประจํา จังหวัดและอิหม่ามในจังหวัดภาคใต้ที่มีผลการปฏิบัติงาน ดีเด่น รวมถึงผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามในภาคใต้

          มัสยิดแห่งนี้นอกจากจะใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจเป็นส่วนใหญ่ คือ ประกอบพิธีละหมาดวันละ 5 เวลา ซึ่งเป็นกิจประจําวันแล้ว ยังใช้ในการ ละหมาดใหญ่ทุกวันศุกร์ โดยมีชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ชาวท้องที่อื่น ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมพิธี นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนศาสนา ในวันเสาร์อาทิตย์ มีการสอนอัลกุรอานแก่เด็กๆ ทําให้มัสยิดแห่งนี้ผูกพันกับ ชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งในวิถีของมุสลิมในจังหวัดปัตตานี

ลักษณะสถาปัตยกรรม

          สร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคาทรงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว ตรงกลางมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้างสูง เด่นเป็นสง่า บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิด มีลักษณะเป็นห้องโถงมีระเบียงสองข้าง ภายในห้องโถงมีมิมบัรเป็นที่สําหรับ “คอเต็บ” ยืนอ่านคุตบะฮ์ในการละหมาดวันศุกร์