share line share line
nopic

วัดป่าตาล ตั้งอยู่เลขที่ 49 บ้านป่าตาล หมู่ที่ 4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะ สงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาณาเขตมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 84 ตารางวา วัดป่าตาลสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2487 มีคณะศรัทธา 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านป่าตาล บ้านต้นดู่และบ้านแม่แต รวม 300 หลังคาเรือน วัดป่าตาลเริ่มสร้างขึ้นในคราวที่ชนพม่าไตยยองได้อพยพมาจากเมืองสิบสองปันนาในปี พ.ศ.2348 มาอยู่เมืองลำพูนและ บางส่วนได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายแดนเมืองเชียงใหม่ด้านทิศใต้ เช่นตำบลบวกค้างในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่าไม้ไผ่และหญ้าคา ขณะนั้นมีสองตายายมาอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของวัดและปลูกฝักทองขึ้นปกคลุมขึ้นที่เป็นกู่ (เจดีย์ร้าง) จึงมองเห็นบริเวณนี้เป็นกู่คงเป็นวัดร้างมาก่อน สมควรจะเป็นวัดสืบต่อไปจึงได้ชักชวนกันแผ้วถางก่อสร้างวัดขึ้นมา และบริเวณที่เป็นกู่คือตรงที่พระประธานในวิหารของวัดทรงประทับอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ ยุครุ่งเรืองของวัดป่าตาลเมื่อในอดีต สมัยเจ้าอธิการคำอ้าย ปุญญทินโน เป็นเจ้าอาวาสท่านครองวัดนี้นานกว่า 60 ปี (พ.ศ.2450–2513) ได้ทำการสร้างถาวรภายในวัดให้รุ่งเรืองมีพระภิกษุเข้ามาบวชอยู่จำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมากจนขนาดที่ว่าวัดใกล้เคียงที่ขาดพระอยู่จำพรรษาต้องมาขอเอาพระจากวัดป่าตาลไปอยู่ อย่างเช่นวัดพญาชมพู อำเภอสารภี เมื่อในอดีตว่าเว้นเจ้าอาวาสศรัทธาชาวบ้านได้มานิมนต์เอาพระอธิการดวงดี สุมโน จากวัดป่าตาลไปเป็นเจ้าอาวาส พระครูรัตนถิราจาร(ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโร) วัดศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ก็บวชที่วัดป่าตาลแล้วได้ย้ายไปอยู่ที่เชียงแสนและเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดศรีดอนมูล ดังนั้นพอที่จะแสดงให้เห็นว่าวัดป่าตาลในสมัยก่อนมีความรุ่งเรืองมาตามลำดับ โดยมีเจ้าอาวาสครองวัดและมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาอยู่มิได้ขาดจนถึงปัจจุบัน การเดินทางมา เมื่อท่านเดินทางมาจากตัวจังหวัด บนถนนสายเชียงใหม่-อำเภอแม่ออน สายตัดใหม่ (ถนนเส้นซุปเปอร์ดอนจั่น) ถึงบริเวณสี่แยกบ้านต้นดู่ ให้เลี้ยวขวา ก็จะเป็นหมู่บ้านต้นดู่และติดๆกันนั้นก็จะเป็นหมู่บ้านป่าตาล และวัดป่าตาล ภายในวัดก็จะมีถาวรวัตถุประกอบด้วยพระวิหาร มีพระประธานซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูนที่มีพุทธลักษณะอันอ่อนช้อยงดงาม หมู่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร ซุ้มประตูและกำแพง ปัจจุบันทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุเจ้าจอมยอง และวิหารเพื่อไว้ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่คู่วัดขึ้น นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวยองเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้เยี่ยมชม

ขอบคุณเนื้อหาจาก : https://thailandtourismdirectory.go.th/