share line share line

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

ที่ตั้ง : 146 ถนนบำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ถือว่าเป็นวัดประจํารัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8

        เมื่อพุทธศักราช 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เทวสถานโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้าบริเวณกลางพระนคร ประดุจดังศูนย์กลางแห่งจักรวาล ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2350 เพื่อให้เป็นไปตามคติการสร้างพระนครใหม่ จึงให้ สร้างวัดขนาดใหญ่เหมือนวัดพนัญเชิงในกรุงศรีอยุธยา และเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งอัญเชิญมาจาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย เมื่อสถาปนา วัดในพุทธศักราช 2350 จึงพระราชทานนามว่า “วัดมหา สุทธาวาส” แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดพระใหญ่ วัดพระโต หรือวัดเสาชิงช้า ภายหลังเมื่อการก่อสร้างพระอารามแล้ว เสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม วัดใหม่อีกครั้งว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระวิหารหลวง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสร้างครอบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ “พระใหญ่” ที่ อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธาน แต่มาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเช่น เดียวกับพระวิหารมงคลบพิตรหลังเดิมที่พระนครศรีอยุธยา หน้าบันมุขเด็จเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองภาพ นารายณ์ทรงสุบรรณ งานไม้แกะสลักที่งดงามอีกชิ้นหนึ่งคือบานประตูด้านหน้าพระวิหาร ที่มีประวัติว่าลวดลาย บางส่วนเป็นฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ภายหลังถูกเพลิงไหม้ จึงถอดเก็บรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่เห็นในปัจจุบันเป็นบานที่ถอดจากด้านหลังมาใส่แทน ส่วนผนังภายใน เขียนจิตรกรรมเรื่องไตรภูมิกถา ฝีมือช่างรัชกาลที่ 2 - รัชกาลที่ 3

        พระศรีศากยมุนี เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุสุโขทัย ขณะนั้นเป็น วัดร้าง เมื่อแรกเรียกกันว่า พระใหญ่ หรือพระโต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม ว่า “พระศรีศากยมุนี” เป็นพระพุทธรูปสําริด ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ถือเป็นพระพุทธรูปสําริดสมัย สุโขทัย อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด มีหลักฐานว่า รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้ปรับ แก้ไขพระเศียรให้ใหญ่ขึ้น แก้ไขนิ้วพระหัตถ์ให้ยาวเสมอกัน ตามความนิยมในสมัยนั้น ที่ด้านหลังพุทธบัลลังก์ มีแผ่นหินแกะสลักเป็นภาพยมกปาฏิหาริย์ สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด

        พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย กว้าง 22.60 เมตร ยาว 72.25 เมตร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน คือ “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” ปางมารวิชัยที่หล่อขึ้นตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช 2384 และพระราชทานนามโดยรัชกาลที่ 4 เป็น พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทั้งองค์ ประดิษฐานบนฐานซุกซีสูง เบื้องหน้าประดิษฐานพระอสีติมหาสาวกนั่ง พนมมือ 80 องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนภาพเกี่ยวกับวรรณคดีไทย บานประตู เขียน เรื่องรามเกียรติ์ เป็นผลงานของจิตรกรสมัยรัชกาลที่ 3 และส่วนใหญ่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

        สัตตมหาสถาน ศาสนสถานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระอารามแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อันมีความหมายว่า เป็นสถานที่ 7 แห่ง สื่อถึงเหตุการณ์สําคัญในช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งปณิธานที่ จะบําเพ็ญสมาธิ กระทั่งตรัสรู้พระโพธิญาณ ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธ มุจลินทร์และราชายตนะ ซึ่งล้วนแสดงด้วยศิลปกรรมแบบจีน

        พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ประดิษฐานอยู่ที่ลานทักษิณชั้นล่าง มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระวิหาร ด้วยเป็นพระอารามแห่งแรกที่ เสด็จพระราชดําเนินมาในคราวนิวัตพระนคร และเป็นวัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ผ้าทิพย์ด้านหน้า พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนี เมื่อพุทธศักราช 2493 และมีพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลในวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี