share line share line

วัดธาตุประสิทธิ์

ที่ตั้ง : 187 หมู่ 2 ถนนปู่ตา ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า นครพนม 48180

ประวัติความเป็นมา

          พระธาตุประสิทธิ์ (พระธาตุประจำวันเกิดของผู้เกิด วันพฤหัสบดี)

          วัดธาตุประสิทธิ์ แต่เดิมชื่อ “วัดธาตุ” ตั้งขึ้นพร้อมกับ การสร้างบ้านนาหว้า เมื่อครั้งไทญ้อ จากเมืองปุ่งลิงอพยพหาทำเล สร้างบ้านเมือง จนมาพบทำเลบริเวณบ้านนาหว้าปัจจุบันมีเจดีย์ เก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาในสมัยใด ลักษณะเป็นเจดีย์ รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองฐานเจดีย์กว้างด้านละประมาณ 7 เมตร เท่ากันทั้งสี่ด้าน สูงประมาณ 30 เมตร ฐานซ้อนกันเป็นชั้นๆ อิฐที่ใช้ทำการก่อสร้างเป็นอิฐขนาดใหญ่มีซุ้มจัตุรมุข เชื่อว่าแต่เดิม คงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ พระเจดีย์องค์นี้มีลักษณะคล้ายกับ เจดีย์วัดศรีบุญเรือง บ้านเวียงคุก หรือเจดีย์วัดนาค ชานนคร เวียงจันทน์สันนิษฐานว่าอาจสร้างรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่เจดีย์ ในอีสานสมัยโบราณ ส่วนใหญ่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จาก กษัตริย์ล้านช้าง ได้แก่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (เจ้าเชษฐวังโส) พระเจ้าบัณฑิตโพธิสาร หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ตำนานธาตุโพ่น เรียก พระยาแสนหลวงนคร ตำนานธาตุพนม เรียก พระเจ้านครหลวงพิชิตทศทิศราชธานี-ศีรีโคตรบูรหลวง หรือพระเจ้าขัติยวงศาราชบุตรมหา ไชยไตรทศ เดชเชษฐบุรี ศรีโคตรบูรณ์หลวงก็เรียกนามเดิมคือเจ้าองค์หล่อ) พระเจ้าสุริยวงศา ธรรมิกราช เป็นต้น

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

          วัดธาตุประสิทธิ์ มีศาสนวัตถุ และศาสนสถานสำคัญ ที่ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา เดินทางมาสักการะบูชาและ เยี่ยมชม คือ

          พระพุทธรูปโบราณ

          เป็นพระประธานที่อยู่ภายในอุโบสถหลังเก่า หลังจากรื้อ อุโบสถหลังเก่าแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานที่ หอพระพุทธรูป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของอุโบสถ

          ศาลาการเปรียญหลังเก่า

          มีรูปทรงสวยงามแปลกตา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 เคยใช้ เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้ากฐินส่วนพระองค์ (พระกฐินต้น) ณ วัดธาตุประสิทธิ์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ ที่เขียนด้วยสีฝุ่น ที่เขียนโดยหม่อมหลวงมรกต บรรจงราชเสนา ณ อยุธยา

          พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทญ้อ สิ่งของโบราณที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มาจากชาวบ้าน ในคราวที่ได้ทำการเปลี่ยนฉัตรองค์พระธาตุใหม่เมื่อปีพ.ศ. 2544 สิ่งของที่ชาวบ้านนำมาจะนำมาร่วมหลอมฉัตรพระธาตุ วัสดุ เพียงพอในการหลอมแล้ว