share line share line

สักการสถาน พระมารดาแห่งมรณสักขี (Church of the Seven blessed marty)

ที่ตั้ง : บ้านสองคอน ตำบล ป่งขาม อำเภอ หว้านใหญ่ มุกดาหาร 49150

ประวัติความเป็นมา

          สักการสถาน พระมารดาแห่งมรณสักขี หรือ ที่เรียกกันว่า “วัดสองคอน” เนื่องจากตั้งอยู่ที่อําเภอสองคอน จังหวัดมุกดาหาร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสักการะ บุญราศีมรณสักขีทั้ง 7 ที่อุทิศชีวิตในป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ พิสูจน์ศรัทธาต่อพระเจ้า เริ่มต้นเมื่อพุทธศักราช 2430 คุณพ่อซาเวียร์ เกโก (Franc Xavier Marie Guego) พระสงฆ์ มิชชันนารี คณะมิสซังต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส เดินทางมาถึงบ้านสองคอนเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย จากโรคระบาด ขณะเดียวกันท่านสอนให้มีความเชื่อในพระเจ้า เมื่อผู้คนหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่อย่างปกติสุขก็สมัครใจเข้าเป็นคริสตชน หลังจากนั้นคุณพ่อจึง สร้างสถานที่พักพิงแก่ชาวคริสตชน ยังมีคนอีกหลายกลุ่ม ที่มาอาศัยอยู่ที่ชุมชนนี้ได้แก่ผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านอื่น เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ และกลุ่มที่เคยเป็นทาสที่ คุณพ่อซาเวียร์ เกโก ได้ไถให้เป็นอิสระ จํานวนชาวคริสตชน ค่อยๆ เพิ่มขึ้นและคุณพ่อได้ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “วัดแม่ พระไถ่ทาส”

          จนกระทั่งเมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระยะนั้นผู้คนแถบชายแดนจะศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์กันเป็นจํานวน มาก และบาทหลวงส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส ทําให้ชาวบ้านเข้าใจผิดคิดว่าศาสนาคริสต์เป็น ศาสนาของฝรั่งเศส จึงมีคนกล่าวหากันว่าคนที่นับถือคริสต์ช่วงนั้นจะฝักใฝ่ฝรั่งเศสทรยศต่อ ประเทศชาติ รวมทั้งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายอย่าง ทางการจึงมีคําสั่งให้ชาวบ้านเลิก นับถือซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมรับว่าจะเลิก แต่ยังมีครูสอนคําสอนรวม 7 คนได้ยอมพลีชีพ เพื่อยืนยันความเชื่อความศรัทธาของตน ในพุทธศักราช 2532 พระสันตะปาปาได้ประกาศ ให้คริสตชนทั้งเจ็ดคนเป็น “บุญราศีมรณสักขี” ซึ่งหมายถึงคริสตชนผู้ที่ประกอบกรรมดีและ พลีชีพเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ยอมละทิ้งศาสนา และสักการสถานแห่งนี้ จะมีพิธีเฉลิมฉลองรําลึกการสถาปนาแต่งตั้งบุญราศี ณ กรุงโรม ในวันที่ 22 ตุลาคมและ พิธีรําลึกบุญราศีสองคอนในวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี

ลักษณะสถาปัตยกรรม

          เป็นโบสถ์คริสต์ สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้รับรางวัล สถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2535 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โถงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว ผนังของวัดและส่วนไว้พระธาตุเป็นกระจกใส บริเวณด้านหน้าเป็นส่วนประกอบพิธี มีพื้นที่ กว้างขวาง ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของบุญราศีทั้ง 7 ภายในมีโลงแก้วบรรจุหุ่นขี้ผึ้งของบุญราศีทั้ง 7 ไว้ให้ สักการบูชา มีไม้กางเขน 7 แห่งด้านหน้าแทนบุญราศีทั้ง 7

          วัสดุก่อสร้างที่ใช้มีทั้งกระจกเรียบและหินทรายหยาบ ต้นไม้ด้านในกําแพงมีการจัดแต่งวางเป็นระเบียบ กําแพงโบสถ์สร้างโอบล้อมโบสถ์เป็นครึ่งวงกลม มีผนังโค้งประดับภาพนูนต่ำ เล่าเรื่องราวประวัติบุญราศีแห่งวัด สองคอน ด้านหลังเปิดโล่งเป็นสนามเพื่อเอาไว้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของแม่น้ำโขง บริเวณยังมีบ้านไม้เก่าหรือ เรือนอนุรักษ์ มีลักษณะใต้ถุนสูงหลังเล็กๆ ซึ่งเป็นบ้านพักของซิสเตอร์ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น โดยโบสถ์ หลังนี้ได้ทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายพุทธศักราช 2538 ศาสนสถานแห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถาน จาริกแสวงบุญระดับประเทศ เป็นอนุสรณ์สถานเทิดเกียรติ บุญราศี ทั้ง 7 และยังเป็นอนุสรณ์แห่งความภาค ภูมิใจในความสามัคคี เสียสละร่วมแรงใจของคริสตชนชาวไทย