share line share line

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร

ที่ตั้ง : 92 3 ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเรียก ทั่วไปว่า วัดใหญ่เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามมากที่สุด องค์หนึ่งของประเทศไทย พุทธศาสนิกชนทั่วโลกหลังไหล ไปสักการบูชา

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ศูนย์กลางของวัด หลักฐาน จากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) บันทึกว่า พ่อขุนศรีนาวนําถมทรงสร้าง “พระทันตธาตุ สุคนธเจดีย์" สมัยสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) (พุทธศักราช 1890 - 1911) ได้ทรงสถาปนาพระมหาธาตุและสร้าง พระพุทธรูปประจําพระวิหารทิศ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างน่าจะเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พุทธศักราช 1991 - 2031) ในระยะเวลาที่ทรงขึ้นมาปกครองเมืองพิษณุโลก โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระปรางค์โดยสร้าง พระสถูปทรงปรางค์สวมครอบพระเจดีย์ประธานองค์เดิม

        พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นแบบ ย่อมุมไม้ยี่สิบ ล้อมรอบด้วยระเบียงคดชั้นใน มีพระวิหาร หลวงพระอัฏฐารส อยู่ด้านตะวันออก พระวิหารพระพุทธ ชินราชอยู่ด้านตะวันตก พระวิหารพระพุทธชินสีห์ตั้งอยู่ ด้านเหนือ และพระวิหารพระศรีศาสดาตั้งอยู่ด้านใต้ของ พระปรางค์ประธาน ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จังหวัด พิษณุโลก กําหนดจัดงานสมโภช เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ

        พระพุทธชินราช หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลก เรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปสําคัญ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่มีพุทธลักษณะงดงามมากที่สุดองค์หนึ่งของไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานโดยอ้างอิงจากพงศาวดารเหนือว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1900 ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ด(ลิไท) สมัยเดียวกับพระพุทธรูปสําคัญอีก 3 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ (หล่อขึ้นจากเศษทองสําริดที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช)

        พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสําริด ลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า หมวดพระพุทธชินราช หรือสกุลช่างเมืองพิษณุโลก คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระวรกายค่อน ข้างอวบอ้วนนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน ทรงจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตัก กว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก ประดับด้วยซุ้มเรือนแก้ว แกะสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทองลวดลายประณีตอ่อนช้อย งดงามหลายท่อนต่อกัน ล่างสุดของซุ้มเรือนแก้ว แกะเป็นมังกรคาบแก้ว ยืนด้วย 2 เท้า ที่พระเพลาทั้งสองข้างประดับด้วย รูปอาศวกยักษ์ทางด้านขวา และรูปท้าวเวสสุวัณทางด้านซ้าย กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถาน ของชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2479

        พระวิหารพระพุทธชินราชเป็นหนึ่งในพระมหาเจดียสถาน สําหรับตั้งพิธีเสกทําน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สําหรับสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก