share line share line

สมาคมฮินดูธรรมสภา หรือ วัดวิษณุ ยานนาวา เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่เยื้องกับวัดปรก เขตสาทร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
ลักษณะสถาปัตยกรรมของเทวสถานคล้ายพุทธคยาในประเทศอินเดียโดยเมื่อเขาไปตรงกลางมีซุ้มเทพประธานของวัดนี้คือ พระวิษณุและพระลักษมีโดยประทับพร้อมกันบนอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร เป็นองค์ประธานภายในวัด โดยถัดมาด้านซ้ายมือของเทพองค์ประธาน เป็นซุ้ม พระกฤษณะและพระแม่ราธา ถัดออกไปริมสุดด้านขวามือเป็นซุ้ม พระพุทธรูป

ส่วนทางด้านขวามือของเทพองค์ประธานคือ พระรามและนางสีดา และซุ้มพระหนุมาน และ ด้านริมหน้าต่างด้านขวามือเป็นซุ้มที่ประดิษฐาน พระแม่ทุรคา ส่วนด้านซ้ายมือริมหน้าต่างเป็นที่ประดิษฐาน พระพิฆเนศพร้อมทั้งพระนางพุทธิและพระนางสิทธิชายาของพระพิฆเนศ โดยด้านข้างของโบสถ์ด้านล่าง ซึ่งเป็นเทวสถานขนาดย่อมที่ประดิษฐานเทพเจ้าอีกหลายองค์ได้แก่ “ศาลพระพรหม” และ

เทวสถานครอบครัวพระศิวะโดยด้านในมีเทวรูปพระอิศวรประทับคู่กับพระแม่อุมาโดยมีพระพิฆเนศประทับอยู่บนตัก เทวรูปพระขันธกุมารและศิวลึงค์
ส่วนเทวสถานข้างหลังมีซุ้มประดิษฐาน พระแม่ทุรคา ขนาบข้างด้วยเทวรูป พระแม่ลักษมี พระแม่ศีลตาเทวี(ซ้ายมือของเทพประธาน)พระแม่สุรัสวดีพระแม่กาลี ขวามือของเทพประธาน.
ถัดมาเป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปสัมฤทธิ์สีดำขนาดใหญ่ของพระอิศวรขณะทรงบำเพ็ญสมาธิ
ถัดจากซุ้มเทวรูปสัมฤทธิ์ของพระอิศวรเป็นซุ้มของพระแม่คงคา โดยภายในประดิษฐานเทวรูปเทพประธานคือพระแม่คงคา และเทวรูปอื่นๆ โดยเรียงจากซ้ายมาขวาดังนี้ เทวรูปพระพิฆเนศปัจมุข(พระพิฆเนศห้าเศียร) พระนารายณ์ พระลักษมี พระแม่คงคา(เทพประธานของซุ้มนี้) พระแม่สันโดษี และเทวรูปพระแม่ทุรคา.
และเมื่อเลยไปด้านในก็เป็นซุ้มที่ประดิษฐานเทวรูปเทวดานพเคราะห์ ซุ้มบูชาเทพนาคราชและพระแม่มนสาเทวี(อยู่ใต้ต้นโพธิ์)และศิวลึงค์ ซุ้มของพระนาฎราย่า(ข้างต้นโพธิ์)

วัดวิษณุ

ที่ตั้ง : 96 ซอยเจริญราษฎร์ 3 ถนนเจริญราษฎร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

ประวัติความเป็นมา

          วัดวิษณุ เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เพียงแห่งเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ สร้าง ด้วยหินอ่อน แกะสลักด้วยมือจากประเทศอินเดีย สร้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่อง จากศาสนิกชนชาวอินเดียในประเทศไทยมีจํานวนมากขึ้น สถานที่ประกอบศาสนกิจที่มีอยู่เดิม คือ วัดพระศรี มหาอุมาเทวี (วัดแขก) คับแคบ ไม่สามารถขยายได้ จึงได้มีการเรี่ยไรเงินจากชาวอินเดียที่มาจากแคว้นอุตตร ประเทศ และชาวฮินดู รวมถึงหัวหน้าคณะวิศวกรชาว อังกฤษ ในบริษัทอีสต์เอเชียติกร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อ ที่ดินบริเวณซอยวัดปรก และได้สร้างมหามณเฑียรหรือ เทวาลัย (โบสถ์) ขึ้นในที่เดียวกับที่ตั้งสมาคมฮินดูสภาโดยอัญเชิญเทวรูปต่างๆ จากประเทศอินเดียมาประดิษฐาน เพื่อสักการบูชา ทําพิธีเปิด เมื่อพุทธศักราช 2464 ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา - วัดวิษณุ

          ต่อมา ได้จัดสร้างศาลาโบสถ์ สุสานฮินดู และอาคาร อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งสร้าง หอสมุด เป็นตึกสองชั้น เพื่ออํานวยประโยชน์ในการศึกษา หาความรู้ แก่ชาวฮินดู และผู้สนใจทั่วไปจวบจนพุทธศักราช 2535 มหามณเฑียร หรือโบสถ์ของวัดวิษณุ มีความเก่า แก่ทรุดโทรมลง จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์และจัดสร้างขึ้นใหม่ใช้เวลาประมาณ 9 ปี แล้วเสร็จพุทธศักราช 2554

สิ่งสําคัญภายในศาสนสถาน

          พุทธศักราช 2547 ได้อัญเชิญเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ 24 องค์ จากอินเดียมา ประดิษฐานที่โบสถ์ใหม่แห่งนี้ สําหรับสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปนั้น ในโบสถ์ ใหญ่กลางมีรูปพระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ พระศาลิคคราม พระแม่ทุรคา พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะพระราธาในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยอีก คือ โบสถ์พระแม่ทรุคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราซ (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และโบสถ์ พระหนุมาน นอกพระมณฑปด้านขวามีรูปพระพุทธเจ้าปางต่างๆ และด้านซ้ายมี พระคัมภีร์พระเวท

          วัดวิษณุ นอกจากจะเป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ยังเป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูอุตตรประเทศยังเป็นต้นแบบของไวษณพนิกาย นับถือ พระวิษณุว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุดยิ่งใหญ่กว่าเทพใดๆ รวมถึงเป็นที่ตั้งของสมาคมฮินดู ธรรมสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน ทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด