ศาสนาซิกข์กำเนิดขึ้นในแคว้นปัญจาบทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๒ เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม คือ นับถือพระเจ้าพระองค์เดียว โดยเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและ มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุด

คำว่า “ซิกข์” เป็นภาษาปัญจาบ ตรงกับคำภาษาสันสกฤตว่า “คิษฺย” แปลว่า ผู้ศึกษา หรือศิษย์ หมายความว่า ชาวซิกข์หรือผู้นับถือศาสนาซิกข์ทุกคนเป็นศิษย์ของ “คุรุ” หรือครู ซึ่งหมายถึง ศาสดาของศาสนาซิกข์

นิกายของศาสนาซิกข์ที่สำคัญแบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ นิกายขาลสาและนิกายสหัซธรี นิกายขาลสาหรือสิงห์นิกายจะเน้นตามคำสอนของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์เป็นหลัก ซาวซิกข์ไนนิกาย นี้ต้องผ่านพิธีรับอมฤตและรับคาสนสัญลักษณ์ ๔ ประการ จึงมีการไว้ผมและหนวดเครา โดยไม่ตัด หรือโกนตลอดชีวิต ส่วนนิกายสหัชธรีนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นนิกายเดียวกับนามธารี ซึ่งหมายถึง การเทิดทูนพระผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือพระผู้เป็นเจ้า

ชาวซิกข์เดินทางเข้ามาสู่ดินแดนไทยครั้งแรกเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานระบุแน่ซัด แต่สามารถอนุมานได้ว่า ชาวซิกข์เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของซาวซิกข์ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพาหุรัดกระจายออกไปตลอดแนวตั้งแต่ถนนบ้านหม้อมาจนจดถนนพาหุรัด จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ปลูกสร้างอาคารตึกแถวริมถนนพาหุรัดขึ้น เพื่อไซ้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ พ่อค้าชาวซิกข์จึงเริ่มเข้าไปจับจองเพื่อเปิดร้านค้าขายผ้าและสินค้านำเข้าจากประเทศอินเดีย ทำให้พาหุรัดกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญเรื่อยมาจนปัจจุบัน

อนึ่ง การสร้างตึกแถวบริเวณถนนพาหุรัดในช่วงแรกคงจะทำการก่อสร้างเฉพาะตึกแถวริมถนนเท่านั้น ส่วนด้านในยังคงเป็นบ้านไม้ หลังคามุงแฝก หรือบ้านไม้ฝาไม้ไผ่ขัดแตะเช่นเดิม จนเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ จึงมีประกาศห้ามการก่อสร้างอาคารไม้ในบริเวณพื้นที่เพลิงไหม้ ทำให้อาคารตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณริมถนนพาหุรัดกลายเป็นอาคารคอนกรีตที่มีรูปแบบทันสมัยมากขึ้น เมื่อประกอบกับการเป็นย่านการค้าและย่านชุมชนมาแต่เดิม ส่งผลให้บริเวณนั้นมีความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ ดังปรากฏภาพความเจริญของย่านนี้ในหนังสือ เรื่อง นิราศบางกอก ตอน “นิราศชมตลาดสำเพ็ง” ของนายบุศย์ ซึ่งแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๖๔ บทกลอนดังกล่าวสะท้อนภาพความเจริญทางการค้า และความดับคั่งของผู้คนในย่านถนนจักรเพชร ถนน พาหุรัด สะพานหัน ลำเพ็ง เรื่อยไปจนถึงบริเวณวัดเกาะ (วัดลัมพันธวงศ์) ซึ่งบริเวณนั้นมีการจำหน่ายสินค้าหลากชนิด ทั้งผ้า และผลไม้จากต่างประเทศ ร้านยาไทยและจีน เครื่องแก้ว เครื่องกระป๋อง หนังสัตว์ และ เครื่องเทศ ฯลฯ

อนึ่ง ปรากฏหลักฐานว่าซาวซิกข์บางคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าในย่านพาหุรัด และมีเงินทุนสะสมมากพอได้ทำคำร้องขอซื้อบ้านและที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ชาวไทยเพื่อไข้เป็นที่พักอาศัยถาวร จึงทำให้ทราบว่า บุคคลดังกล่าวได้เข้ามาพักอาศัยในดินแดนไทยเป็นเวลาไม่ น้อยกว่า ๑๐ ปีแล้ว เนื่องจากตามหลักกฎหมายที่ดินไทยว่าด้วยการขายที่ดินให้แก่ชาวต่างประเทศ ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กำหนดไว้ว่า ที่ดินภายในกำแพงพระนครและห่างจากกำแพงพระนครโดยรอบออกไป ๒๐๐ เส้น ห้ามผู้เป็นเจ้าของที่ดินขายที่ดินนั้นเป็นสิทธิขาดแก่ซาวต่างประเทศ ซึ่งยังเข้ามาพักอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยไม่ถึง ๑๐ ปี

นอกจากบริเวณพาหุรัดและถนนจักรเพชรแล้ว ยังมีชาวซิกข์บางส่วนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณบ้านหม้อ ถนนราชวงศ์ และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย เมื่อชาวซิกช์ได้เข้ามาพำนักอาศัยในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้น จึงน่าไปสู่การมีศาสนสถาน ๕ แห่งแรกในบริเวณถนนบ้านหม้อ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ โดยคาสนิกซนซาวซิกข์ได้เช่าบ้านเรือนไม้ ๑ คูหา แล้วจัดตกแต่งสถานที่ให้เหมาะสม แต่เนื่องจากความไม่สะดวกในการประกอบคาสนกิจบางประการ คาสนิกชนชาวซิกข์จึงประกอบคาสนกิจ กันเองสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

ต่อมาเมื่อชุมซนขยายตัวขึ้น ชาวซิกข์จึงได้ย้ายจากสถานที่เดิมมาเช่าบ้านหลังใหญ่ขึ้น ณ บริเวณหัวมุมถนนพาหุรัดและถนนจักรเพชร หลังจากตกแต่งแก้ไขจนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ก็พร้อมใจกันอัญเชิญพระมหาคัมภีร์มาประดิษฐานเป็นประธาน และสวดมนต์ปฏิบัติคาสนกิจเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๖

พ.ศ.๒๔๗๕ สังคมชาวซิกข์เติบโตมากขึ้น คาสนิกชนชาวซิกข์จึงเห็นถึงความจำเป็นในการมีศาสนสถานถาวรแทนการเช่าสถานที่เพื่อทำเป็นคาสนสถาน ดังนั้น จึงมีการรวบรวมทุนทรัพย์เพื่อจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างศาสนสถานเป็นอาคารขนาด ๓ ชั้นใช้ชื่อว่า “ศาสน สถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา” ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริเวณย่าน พาหุรัดได้รับความเสียหายจากการทั้งระเบิดของฝ่ายส้มพันธมิตร แรงสั่นสะเทือนทำให้คาสนสถานคุรุดวาราบางส่วนเสียหายจนไม่สามารถประกอบศาสนกิจได้อีกต่อไป จนกระทั้ง พ.ศ.๒๔๒๒ ชาวไทยซิกข์ พร้อมด้วยสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาได้ร่วมใจกันก่อสร้างศาสนสถานคุรุดวาราขึ้นใหม่บนพื้นที่เดิม ถือเป็นศูนย์รวมของซิกข์คาสนิกชนในประเทศไทยสืบมาตราบจนปัจจุบัน ทั้งนี้ องค์การศาสนาซิกข์ ที่กรมการศาสนาให้การรับรอง ปัจจุบันมี ๒ องค์การ คือ 1) สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา และ 2) สมาคมนามธารีลังดัตแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

ศาสนาซิกข์กำเนิดขึ้นในแคว้นปัญจาบทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๒ เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม คือ นับถือพระเจ้าพระองค์เดียว โดยเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและ มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุด

คำว่า “ซิกข์” เป็นภาษาปัญจาบ ตรงกับคำภาษาสันสกฤตว่า “คิษฺย” แปลว่า ผู้ศึกษา หรือศิษย์ หมายความว่า ชาวซิกข์หรือผู้นับถือศาสนาซิกข์ทุกคนเป็นศิษย์ของ “คุรุ” หรือครู ซึ่งหมายถึง ศาสดาของศาสนาซิกข์

นิกายของศาสนาซิกข์ที่สำคัญแบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ นิกายขาลสาและนิกายสหัซธรี นิกายขาลสาหรือสิงห์นิกายจะเน้นตามคำสอนของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์เป็นหลัก ซาวซิกข์ไนนิกาย นี้ต้องผ่านพิธีรับอมฤตและรับคาสนสัญลักษณ์ ๔ ประการ จึงมีการไว้ผมและหนวดเครา โดยไม่ตัด หรือโกนตลอดชีวิต ส่วนนิกายสหัชธรีนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นนิกายเดียวกับนามธารี ซึ่งหมายถึง การเทิดทูนพระผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือพระผู้เป็นเจ้า

ชาวซิกข์เดินทางเข้ามาสู่ดินแดนไทยครั้งแรกเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานระบุแน่ซัด แต่สามารถอนุมานได้ว่า ชาวซิกข์เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของซาวซิกข์ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพาหุรัดกระจายออกไปตลอดแนวตั้งแต่ถนนบ้านหม้อมาจนจดถนนพาหุรัด จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ปลูกสร้างอาคารตึกแถวริมถนนพาหุรัดขึ้น เพื่อไซ้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ พ่อค้าชาวซิกข์จึงเริ่มเข้าไปจับจองเพื่อเปิดร้านค้าขายผ้าและสินค้านำเข้าจากประเทศอินเดีย ทำให้พาหุรัดกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญเรื่อยมาจนปัจจุบัน

อนึ่ง การสร้างตึกแถวบริเวณถนนพาหุรัดในช่วงแรกคงจะทำการก่อสร้างเฉพาะตึกแถวริมถนนเท่านั้น ส่วนด้านในยังคงเป็นบ้านไม้ หลังคามุงแฝก หรือบ้านไม้ฝาไม้ไผ่ขัดแตะเช่นเดิม จนเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ จึงมีประกาศห้ามการก่อสร้างอาคารไม้ในบริเวณพื้นที่เพลิงไหม้ ทำให้อาคารตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณริมถนนพาหุรัดกลายเป็นอาคารคอนกรีตที่มีรูปแบบทันสมัยมากขึ้น เมื่อประกอบกับการเป็นย่านการค้าและย่านชุมชนมาแต่เดิม ส่งผลให้บริเวณนั้นมีความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ ดังปรากฏภาพความเจริญของย่านนี้ในหนังสือ เรื่อง นิราศบางกอก ตอน “นิราศชมตลาดสำเพ็ง” ของนายบุศย์ ซึ่งแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๖๔ บทกลอนดังกล่าวสะท้อนภาพความเจริญทางการค้า และความดับคั่งของผู้คนในย่านถนนจักรเพชร ถนน พาหุรัด สะพานหัน ลำเพ็ง เรื่อยไปจนถึงบริเวณวัดเกาะ (วัดลัมพันธวงศ์) ซึ่งบริเวณนั้นมีการจำหน่ายสินค้าหลากชนิด ทั้งผ้า และผลไม้จากต่างประเทศ ร้านยาไทยและจีน เครื่องแก้ว เครื่องกระป๋อง หนังสัตว์ และ เครื่องเทศ ฯลฯ

อนึ่ง ปรากฏหลักฐานว่าซาวซิกข์บางคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าในย่านพาหุรัด และมีเงินทุนสะสมมากพอได้ทำคำร้องขอซื้อบ้านและที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ชาวไทยเพื่อไข้เป็นที่พักอาศัยถาวร จึงทำให้ทราบว่า บุคคลดังกล่าวได้เข้ามาพักอาศัยในดินแดนไทยเป็นเวลาไม่ น้อยกว่า ๑๐ ปีแล้ว เนื่องจากตามหลักกฎหมายที่ดินไทยว่าด้วยการขายที่ดินให้แก่ชาวต่างประเทศ ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กำหนดไว้ว่า ที่ดินภายในกำแพงพระนครและห่างจากกำแพงพระนครโดยรอบออกไป ๒๐๐ เส้น ห้ามผู้เป็นเจ้าของที่ดินขายที่ดินนั้นเป็นสิทธิขาดแก่ซาวต่างประเทศ ซึ่งยังเข้ามาพักอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยไม่ถึง ๑๐ ปี

นอกจากบริเวณพาหุรัดและถนนจักรเพชรแล้ว ยังมีชาวซิกข์บางส่วนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณบ้านหม้อ ถนนราชวงศ์ และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย เมื่อชาวซิกช์ได้เข้ามาพำนักอาศัยในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้น จึงน่าไปสู่การมีศาสนสถาน ๕ แห่งแรกในบริเวณถนนบ้านหม้อ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ โดยคาสนิกซนซาวซิกข์ได้เช่าบ้านเรือนไม้ ๑ คูหา แล้วจัดตกแต่งสถานที่ให้เหมาะสม แต่เนื่องจากความไม่สะดวกในการประกอบคาสนกิจบางประการ คาสนิกชนชาวซิกข์จึงประกอบคาสนกิจ กันเองสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

ต่อมาเมื่อชุมซนขยายตัวขึ้น ชาวซิกข์จึงได้ย้ายจากสถานที่เดิมมาเช่าบ้านหลังใหญ่ขึ้น ณ บริเวณหัวมุมถนนพาหุรัดและถนนจักรเพชร หลังจากตกแต่งแก้ไขจนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ก็พร้อมใจกันอัญเชิญพระมหาคัมภีร์มาประดิษฐานเป็นประธาน และสวดมนต์ปฏิบัติคาสนกิจเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๖

พ.ศ.๒๔๗๕ สังคมชาวซิกข์เติบโตมากขึ้น คาสนิกชนชาวซิกข์จึงเห็นถึงความจำเป็นในการมีศาสนสถานถาวรแทนการเช่าสถานที่เพื่อทำเป็นคาสนสถาน ดังนั้น จึงมีการรวบรวมทุนทรัพย์เพื่อจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างศาสนสถานเป็นอาคารขนาด ๓ ชั้นใช้ชื่อว่า “ศาสน สถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา” ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริเวณย่าน พาหุรัดได้รับความเสียหายจากการทั้งระเบิดของฝ่ายส้มพันธมิตร แรงสั่นสะเทือนทำให้คาสนสถานคุรุดวาราบางส่วนเสียหายจนไม่สามารถประกอบศาสนกิจได้อีกต่อไป จนกระทั้ง พ.ศ.๒๔๒๒ ชาวไทยซิกข์ พร้อมด้วยสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาได้ร่วมใจกันก่อสร้างศาสนสถานคุรุดวาราขึ้นใหม่บนพื้นที่เดิม ถือเป็นศูนย์รวมของซิกข์คาสนิกชนในประเทศไทยสืบมาตราบจนปัจจุบัน ทั้งนี้ องค์การศาสนาซิกข์ ที่กรมการศาสนาให้การรับรอง ปัจจุบันมี ๒ องค์การ คือ 1) สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา และ 2) สมาคมนามธารีลังดัตแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล