ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อสุโขทัย)
พระพุทธปฏิมากร “หลวงพ่อสุโขทัย” เป็นพระพุทธรูปประธาน ในพระอุโบสถวัดหนัง ราชวรวิหาร ฝังขวาของคลองด่าน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปฏิมากร “หลวงพ่อสุโขทัย” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗๐.๘๖ นิ้ว สูง ๙๘.๔๒ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย มีจารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ภาษาไทยที่พระปฤษฎางค์ว่าหล่อขึ้น ใน พ.ศ.๑๙๖๖ อย่างไรก็ตาม อาจมีการซ่อมพระพักตร์เมื่อคราวที่อัญเชิญมา เป็นพระประธานในสมัยรัชกาลที่ ๓
พระพุทธปฏิมากรองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย โดยมีข้อความจารึกไว้ที่พระปฤษฎางค์ของพระพุทธรูปอย่างชัดเจนว่าสร้างเมื่อพุทธคักราช ๑๙๖๖ สันนิษฐานว่าสร้างโดยผู้สูงศักดิ์หลายท่าน ได้แก่ “...พ่อพระยาเจาไทย พ่อขุน พ่อเมดธาเจ้า...” แม้จะมีหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องราวและยุคสมัยของการสร้างที่ย้อนกลับไปถึงสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอนชัดเจน แต่สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดหนังนี้เมื่อใดและอย่างไรนั้น เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนังทั้งพระอารามในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๗๘ ทรงสถาปานาขึ้นใหม่เกือบทั้งพระอาราม ยกเว้นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลา ๒- ๓ องค์ ในพระวิหาร และระฆัง พระพุทธ ปฏิมากรจึงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถมาแต่เดิม ทำให้สันนิษฐานว่า พระพุทธปฏิมากรอาจจะเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปกว่า ๑,๒๐๐ องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้รวบรวมอัญเชิญลงมาจากหัวเมืองเหนือในรัชกาลของพระองค์ เพื่อมาประดิษฐานตามพระอารามต่าง ๆ ทั่วพระนคร

ภาพพระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อสุโขทัย)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 72)

หลวงพ่อร่วง

พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารวัดมหรรณพาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สำคัญเสมอพระพุทธรูปสุโขทัยที่อัญเชิญมาเป็นพระพุทธรูปคู่,บ้านคู่เมืองในกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และอีกหลายๆ องค์ เป็นนามตามพระนามพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำที่หุ้มด้วยปูนไว้มิดชิด เช่น พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร เนื้อวัสดุขององค์หลวงพ่อร่วงนั้น เป็นสำริดหล่อด้วยโลหะผสมที่มีเนื้อทองคำสูงถึง ร้อยละ ๖๐ มิความอร่ามเรืองรองอยู่ภายในกรมศิลปากรลอกรักและปูนบริเวณ พระอุระขนาด ๑ ตารางศอก พบสีทองอยู่ภายในจึงปิดไว้เช่นเดิม ลงรักปิดทองทุ้มภายนอกไว้พระพุทธปฏิมานี้คงค่าควรเมืองอันมิอาจประมาณได้และมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า “หลวงพ่อพระร่วงทองคำวัดมหรรณพ”
หลวงพ่อร่วง ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า อุดมด้วยพุทธลักษณะเป็นเลิศ พระเกียรติคุณแห่งพุทธานุภาพเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งในชุมชนนี้และแพร่หลายกว้างขวาง หลังจากประจักษ์ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำ มิพุทธลักษณะละม้ายเหมือนพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นที่เลื่อมใสมากขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ได้ปัดเป่าความทุกข์นานาแก่ผู้มาขอพรประสบความสำเร็จเป็นที่เลื่องลือ จึงนิยมนำตะกร้อและว่าวมาถวาย กำหนดเทศกาลเฉลิมฉลองเป็นงานประจำปีพร้อมเทศกาลตรุษจีน
พระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ วัสดุสำริด หล่อโลหะผสม เนื้อทองคำร้อยละ ๖๐ หน้าตักกว้าง ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว สูง ๑ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว ทำรอยต่อ ๙ แห่ง มิหมุดสลักเชื่อมต่อองค์พระ ให้สมบูรณ์ เดิมเป็นพระพุทธรูปในวิหารวัดโคกลิงคาราม วัดร้างปรักหักพังในเมืองศรีสัชนาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ ผู้ทรงอุปถัมภกพระพุทธศาสนาอย่างเอกอุ มีพระราชปรารถนา จะได้พระพุทธรูปที่วิจิตรงดงามจากเมืองเหนือที่ทิ้งร้างอยู่ในดงในป่า ลงมาเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดมหรรณพารามที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอุดมรัตนราษี เมื่อดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ ตั้งพระทัยสร้าง ถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อดำรงสิริราชสมบัติปีที่ ๒๗ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองสำรวจค้นหาพบที่วัดโคกลิงคาราม จึงโปรดให้อัญเชิญลงมา ขณะนั้นทรงมีพระอาการประชวรมาก วัดมหรรณพารามสร้างเสร็จ และผูกพัทธ์สีมาสมโภชพระอุโบสถไปแล้ว ๓ เดือน พระพุทธรูปจึงเดินทางมาถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ประดิษฐานหลวงพ่อร่วงเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารตลอดมา ตราบปัจจุบัน

ภาพหลวงพ่อร่วง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 74)
 

พระสิทธิธารถ

พระสิทธารถ หรือ หลวงพ่อสมปรารถนา เป็นพระปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนจำนวนมากเคารพสักการะรวมทั้งซาวคลองสานที่เลื่อมใสเคารพนับถือและผูกพันตั้งแต่ครั้งโบราณ เชื่อว่าอำนวยพรให้สมปรารถนาในการต่างๆ ได้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ นิ้ว ๑ กระเบียด สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร มีพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาปานกลาง พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายได้สัดส่วน งดงาม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระเนตรเรียวบาง พระนาสิกโด่ง แย้มพระโอษฐ์ ริมพระโอษฐ์โค้งหยักขึ้นคล้ายคลื่น นิ้วพระหัตถ์เรียวยาว ไม่เสมอกัน ลักษณะโดยรวมเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ อายุราว ด้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด แต่ปรากฏตามประวัติว่าได้ อัญเชิญมาจากวิหารหลวงเมืองพิษณุโลก พร้อมพระทศพลญาณ พระปฏิมา ประธานในพระอุโบสถ วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชศรัทธา โปรดให้ อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดจากเมืองสุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก และลพบุรี จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาบูรณปฏิสังขรณ์ให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทาน ไปประดิษฐานยังพระอารามต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ พระสิทธารถเป็นพระพุทธรูป ๑ ใน ๗ องค์ที่อัญเชิญมาจากเมืองเหนือพิษณุโลก ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า เดิมน่าจะประดิษฐานอยู่วัดที่สำคัญวัดใดวัดหนึ่งของเมือง พิษณุโลก คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดวิหารทอง วัดราชประดิษฐาน และวัดจุฬามณี
พระสิทธารถ วัดพิชยญาติการาม เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งองค์หนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ทอดพระเนตรเห็น มีพระราชศรัทธาโปรดฯ ให้ช่างหลวงสร้างเบญจปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว ๔ ขั้นถวายเป็นพุทธบูชา

ภาพพระสิทธิธารถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 76)
 

พระพุทธนาคน้อย

พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่นับถือและเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งขาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะประจักษ์ในความมหัศจรรย์และอภินิหารขององค์พระปฏิมาหลายอย่าง เชื่อ กันว่ามีเทพยดาหลายองค์สถิตอยู่ในองค์พระ มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระวิหารได้รับความเสียหายจากสะเก็ดระเบิดหลังคาพังลงมา สิ่งของต่างๆ ภายในพระวิหารได้รับความเสียหาย แต่องค์พระพุทธนาคน้อยกลับไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใดเป็นที่น่าอัศจรรย์ ชาวไทยเชื้อสายจีนเรียกนามของพระพุทธนาคน้อยว่า “ลักเน่ย” หรือ“ลักน้อย” ซึ่งแปลว่า กลีบนัว ๖ ขั้น อันประดับอยู่ใต้ฐานชุกชี และยกย่องเป็น “ชำปอกง” อีกด้วย พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับซัดสมาธิราบ วัสดุเนื้อนากปิดทอง หน้าดักกว้าง ๔.๒๔ เมตร หรือ ๘ ศอก ๑๒ นิ้ว สูง ๔.๗๐ เมตร ศิลปะแบบสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่พระขนงและพระโอษฐ์คล้ายกับ
พระพุทธนาคน้อยเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองเหนือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จะเป็นในช่วงรัชกาลที่ ๑ หรือรัชกาลที่ ๓ ยัง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างสันนิษฐานว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปต่างๆ จากหัวเมืองเหนือ จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มายังกรุงเทพฯ เพื่อบูรณะซ่อมแปลงให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทานไปประดิษฐานตามพระอารามต่างๆ ซึ่งพระพุทธนาคน้อย คงได้รับการอัญเชิญมาตั้งแต่ครั้งนั้น ส่วนเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ได้ชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาจากเมืองสุโขทัย

ภาพพระพุทธนาคน้อย

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 78)
 

พระสุรภีพุทธพิมพ์
พระสุรภีพุทธพิมพ์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดปรินายก วรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพเอกในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้สร้าง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสร้างถนนราชดำเนินไปสู่พระราชวังดุสิต ในชุมชนบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔นิ้ว ประดิษฐาน บนชุกชี ปูนซ้น ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่จะมีพระวรกายบอบบาง แต่พระสุรภีพุทธพิมพ์มีพระวรกาย อวบอ้วนเล็กน้อย จึงอาจได้รับอิทธิพลทางศิลปะล้านนา หรือมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แล้ว
นามวัดนี้เดิม'ซื่อ วัดพรหมสุรินทร์ เจ้าพระยาบดินทรเดซาสร้างเมื่อปลายรัชกาลที่ ๒ ต้องไปราชการทัพในลาว เขมรและญวน ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงรับวัดพรหมสุรินทร์ เป็นพระอารามหลวง สันนิษฐานว่า อัญเชิญพระพุทธปฏิมาจากเมืองเหนือ โดยไม่ปรากฏแหล่งที่มา มิได้ประดิษฐานเป็นพระปฏิมาประธาน อยู่ใต้ด้นสารภีมานาน ชาวบ้านขานนามตามด้นสารภีว่า “พระสุรภี” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัด และสร้างพระอุโบสถใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพระสุรภี มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ ถวายนามใกล้เคียงกับ ซื่อเดิมว่า “พระสุรภีพุทธพิมพ์”

ภาพพระสุรภีพุทธพิมพ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 80)

พระทศพลญาณ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๒.๑๐ เมตร นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน เป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช แต่ลักษณะพระพักตร์ที่ค่อนข้างกลม พระนาสิกไม่โด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์เรียบตรง ซึ่งคล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะอยุธยา ซึ่งอาจเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช ที่มีการผสมผสานกับพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแล้ว จึงน่าจะมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระทศพลญาณ มีประวัติทราบเพียงว่าอัญเชิญมาจากวัดเก่าวัดใดวัดหนึ่งในเมืองพิษณุโลก สันนิษฐานว่า อัญเชิญมาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชศรัทธาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดจากเมืองสุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก และลพบุรี จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาบูรณปฏิสังขรณ์ให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทานไปประดิษฐานยังพระอารามต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสันนิษฐานไว้พอเป็นแนวทางในหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง ดำนานพระพุทธรูปว่า
“...พระพุทธรูปที่เชิญมาจากเมืองเหนือในชั้นหลัง มีพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ คือพระทศพลญาณเป็นประธานวัดบรมนิวาสองค์หนึ่ง และพระสิทธารถ เป็นพระประธานวัดพิชัยญาติองค์หนึ่ง ปรากฏเรื่องในตำนานว่าอัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก แต่จะมาจากวัดไหนสืบไม่ได้ความ พระพุทธรูปสององค์นี้ พิเคราะห์ดูลักษณะเป็นฝีมือช่างสุโขทัย...”

ภาพพระทศพลญาณ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 82)
 

พระพุทธเทวปฏิมากร

พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เดิมซื่อวัดโพธาราม สร้างตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ทรงเลือกพระพุทธรูปที่งดงามสมควรเป็นพระประธานมาประดิษฐานในพระอุโบสถ โดยอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ฝั่งธนบุรี หรือวัดคูหาสวรรคในปัจจุบัน พระราชทานนามว่า พระพุทธเทว ปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือว่าวัดแห่งนี้ เป็นเจดียสถานสำคัญ เมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้ว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ครั้งนั้นได้ประทับ ณ พระอุโบสถ ทรงสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม จึงเป็นราชประเพณีสืบมาที่พระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค จะทรงสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรทุกรัชกาล ศิลปะอยุธยา ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดลงรัก ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๖๒ นิ้ว (๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว) สูงตลอดถึงพระรัศมี ๗๙ นิ้ว พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง มีจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ครั้งรัชกาลที่ ๑ ในวิหาร ทิศตะวันออก มุขหลังว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน) โปรดให้สร้างสร้อยสังวาลนพรัตน์ถวาย ผ้าสีทับทิม ชั้นใน ตาดชั้นนอก ห่มองค์พระปฏิมา พร้อมทั้งพัดแฉกขนาดใหญ่ (กึ่งกลางระหว่างพระอัครสาวก) ต่อมาในรัชกาล ที่ ๓ โปรดให้ลงรักปิดทอง และรื้อฐานทำใหม่เป็น ๓ ชั้น โปรดให้สร้างพระอัครสาวกเพิ่มเติมอีก ๘ องค์ รวมของเดิมเป็น ๑๐ องค์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใต้ฐานชุกชีของพระพุทธอาสน์พระพุทธเทวปฏิมากร และที่ผ้าทิพย์ฐานชั้นบนประดับอุณาโลม พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๑ และถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร เหนือองค์พระพุทธปฏิมา
รัชกาลต่อๆ มาได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งบูรณะองค์พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โปรดให้สร้างฉัตรทำด้วยผ้าตาดทองขนาดและลักษณะเดิม และเสด็จพระราชดำเนินยกฉัตรถวาย เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ ต่อมาถวายผ้าห่มพระประธาน ทำด้วยผ้าตาดสีเหลืองทอง กึ่งกลางพระอุระประดับพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. แทนผืนเดิม ปิดทองพระประธานและพระอัครสาวกทั้ง ๑๐ องค์ และซ่อมสร้อยสังวาลนพรัตน์สังวาลของเก่า

ภาพพระพุทธเทวปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 84)
 

พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์ฯ

พระพุทธมารวิชัยฯ หรือพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ เป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก มุขหน้า ในเขตพุทธาวาส วัดพระเขตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย)
ศิลปะอยุธยา ขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ อยู่ในอิริยาบถนั่งชัดสมาธิ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้ายทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา เรียกท่าชัดสมาธินี้ว่า ชัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้า พระชงฆ์ขวา นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงเบื้องล่าง เรียกว่า ปางมารวิชัย เบื้องหลังมีต้น พระศรีมหาโพธิ

เดิมประดิษฐานที่วัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก แต่พระกรชำรุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้อัญเชิญมาปฏิสังขรณ์ ด้วยนาก แล้วประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก มุขหน้า บรรจุพระบรมธาตุ ถวายนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้มหาโพธิ” และ โปรดให้สร้างต้นพระศรีมหาโพธิ์ไว้เบื้องหลังพระพุทธรูป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธมารวิไชย อไภยปรปักษ์ อสัตถพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร”

ภาพพระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 86)
 

พระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตรเป็นพระประธานในวิหารพระมงคลบพิตร พระราชวัง โบราณ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งของไทย มีพุทธลักษณะที่งดงาม และได้รับความเคารพนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด (แกนในเป็นอิฐก่อ) ขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๙.๕๕ เมตร ความสูงเฉพาะองค์ พระพุทธรูป ๑๒.๔๕ เมตร ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ๔.๔๐ เมตร รวมความสูงจากฐานถึงปลายพระรัศมี ๑๖.๙๔ เมตร ลักษณะทางศิลปะเป็นแบบอยุธยาตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย คือ พระพักตร์มนรูปไข่ พระขนงโค้ง ซึ่งเป็นแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เชื่อว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชโปรดให้สร้าง ณ วัดชีเชียง เมื่อ พ.ศ.๒๐๘๑ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่กลางแจ้งไม่ได้อยู่ในวิหาร หรืออาคารต่อมาสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชักพระมงคลบพิตรที่อยู่ข้างฝ่ายตะวันออกมาไว้ฝั่งตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปครอบไว้เมื่อพ.ศ.๒๑๔๔ ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารว่าวัดสุมงคลบพิตร
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ อสนีบาตลงยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักลงมาต้องพระเศียรพระมงคลบพิตรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือจึงโปรดให้ซ่อมพระมณฑปและองค์พระพุทธรูป อีกครั้งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โปรดให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงดำเนินการโดยโปรดให้รื้อมณฑปของเดิมแล้วสร้างใหม่เป็น พระวิหารที่มีขนาดใหญ่รวมถึงองค์พระมงคลบพิตรโปรดให้ปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลง ลักษณะพุทธศิลป์ตามราชนิยมในสมัยนั้นด้วย
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาพ.ศ.๒๓๑๐ วิหารพระมงคลบพิตรถูกเผาทำลาย องค์พระพุทธรูปถูกไฟไหม้ พระเมาลี และพระกรข้างขวาหัก กรมศิลปากรได้เริ่มเข้ามาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๐๐ ในครั้งนี้ได้พบพระพุทธรูปบรรจุอยู่ภายในพระพาหาเบื้องซ้าย ของพระมงคลบพิตรเป็นจำนวนมาก เป็นพระพุทธรูปแบบต่างๆ เช่น พระพุทธรูปแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราช พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เป็นต้น ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ภาพพระมงคลบพิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 88)
 

พระสัมพุทธมุนี

พระส้มพุทธมุนี เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดเสื่อ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ ขยายพระราชวังจันทรเกษมออกไปทำให้วัดเสื่อเป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชฐาน วัดเสื่อจึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะอยุธยา หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๒ นิ้ว สูงตลอดพระรัศมี ๓ ศอก ๑ นิ้ว ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้ว ยอดเป็นรูปพระมหามงกุฎ ภายในซุ้มทาสีแดงประดับด้วยลายปูนปั้นปิดทอง ลวดลายงดงาม ที่ซุ้มเรือนแก้วมีอักษรขอมจารึกไว้ ด้านหลังเป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังรูปเทพชุมนุม
พระสัมพุทธมุนี เป็นพระพุทธรูปประจำวัดเสื่อ หรือวัดเสนาสนาราม สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน เมื่อสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดเสื่อกลายเป็นวัดร้างทรุดโทรมมาก จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดเสื่อทั้งพระอารามโดยโปรดให้พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) เป็นประธานในการบูรณะ พร้อมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ไนการบูรณะ ๓๐๐ ชั่งเศษ การดำเนินงานแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเสนาสนาราม และพระราชทานให้กับ พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ภาพพระสัมพุทธมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 90)
 

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อสุโขทัย)
พระพุทธปฏิมากร “หลวงพ่อสุโขทัย” เป็นพระพุทธรูปประธาน ในพระอุโบสถวัดหนัง ราชวรวิหาร ฝังขวาของคลองด่าน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปฏิมากร “หลวงพ่อสุโขทัย” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗๐.๘๖ นิ้ว สูง ๙๘.๔๒ นิ้ว พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย มีจารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ภาษาไทยที่พระปฤษฎางค์ว่าหล่อขึ้น ใน พ.ศ.๑๙๖๖ อย่างไรก็ตาม อาจมีการซ่อมพระพักตร์เมื่อคราวที่อัญเชิญมา เป็นพระประธานในสมัยรัชกาลที่ ๓
พระพุทธปฏิมากรองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย โดยมีข้อความจารึกไว้ที่พระปฤษฎางค์ของพระพุทธรูปอย่างชัดเจนว่าสร้างเมื่อพุทธคักราช ๑๙๖๖ สันนิษฐานว่าสร้างโดยผู้สูงศักดิ์หลายท่าน ได้แก่ “...พ่อพระยาเจาไทย พ่อขุน พ่อเมดธาเจ้า...” แม้จะมีหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องราวและยุคสมัยของการสร้างที่ย้อนกลับไปถึงสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอนชัดเจน แต่สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดหนังนี้เมื่อใดและอย่างไรนั้น เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนังทั้งพระอารามในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๗๘ ทรงสถาปานาขึ้นใหม่เกือบทั้งพระอาราม ยกเว้นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลา ๒- ๓ องค์ ในพระวิหาร และระฆัง พระพุทธ ปฏิมากรจึงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถมาแต่เดิม ทำให้สันนิษฐานว่า พระพุทธปฏิมากรอาจจะเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปกว่า ๑,๒๐๐ องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้รวบรวมอัญเชิญลงมาจากหัวเมืองเหนือในรัชกาลของพระองค์ เพื่อมาประดิษฐานตามพระอารามต่าง ๆ ทั่วพระนคร

ภาพพระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อสุโขทัย)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 72)

หลวงพ่อร่วง

พระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารวัดมหรรณพาราม วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สำคัญเสมอพระพุทธรูปสุโขทัยที่อัญเชิญมาเป็นพระพุทธรูปคู่,บ้านคู่เมืองในกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และอีกหลายๆ องค์ เป็นนามตามพระนามพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำที่หุ้มด้วยปูนไว้มิดชิด เช่น พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร เนื้อวัสดุขององค์หลวงพ่อร่วงนั้น เป็นสำริดหล่อด้วยโลหะผสมที่มีเนื้อทองคำสูงถึง ร้อยละ ๖๐ มิความอร่ามเรืองรองอยู่ภายในกรมศิลปากรลอกรักและปูนบริเวณ พระอุระขนาด ๑ ตารางศอก พบสีทองอยู่ภายในจึงปิดไว้เช่นเดิม ลงรักปิดทองทุ้มภายนอกไว้พระพุทธปฏิมานี้คงค่าควรเมืองอันมิอาจประมาณได้และมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า “หลวงพ่อพระร่วงทองคำวัดมหรรณพ”
หลวงพ่อร่วง ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า อุดมด้วยพุทธลักษณะเป็นเลิศ พระเกียรติคุณแห่งพุทธานุภาพเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งในชุมชนนี้และแพร่หลายกว้างขวาง หลังจากประจักษ์ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำ มิพุทธลักษณะละม้ายเหมือนพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นที่เลื่อมใสมากขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ได้ปัดเป่าความทุกข์นานาแก่ผู้มาขอพรประสบความสำเร็จเป็นที่เลื่องลือ จึงนิยมนำตะกร้อและว่าวมาถวาย กำหนดเทศกาลเฉลิมฉลองเป็นงานประจำปีพร้อมเทศกาลตรุษจีน
พระพุทธรูปปางมารวิขัย ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ วัสดุสำริด หล่อโลหะผสม เนื้อทองคำร้อยละ ๖๐ หน้าตักกว้าง ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว สูง ๑ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว ทำรอยต่อ ๙ แห่ง มิหมุดสลักเชื่อมต่อองค์พระ ให้สมบูรณ์ เดิมเป็นพระพุทธรูปในวิหารวัดโคกลิงคาราม วัดร้างปรักหักพังในเมืองศรีสัชนาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ ผู้ทรงอุปถัมภกพระพุทธศาสนาอย่างเอกอุ มีพระราชปรารถนา จะได้พระพุทธรูปที่วิจิตรงดงามจากเมืองเหนือที่ทิ้งร้างอยู่ในดงในป่า ลงมาเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดมหรรณพารามที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอุดมรัตนราษี เมื่อดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ ตั้งพระทัยสร้าง ถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อดำรงสิริราชสมบัติปีที่ ๒๗ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองสำรวจค้นหาพบที่วัดโคกลิงคาราม จึงโปรดให้อัญเชิญลงมา ขณะนั้นทรงมีพระอาการประชวรมาก วัดมหรรณพารามสร้างเสร็จ และผูกพัทธ์สีมาสมโภชพระอุโบสถไปแล้ว ๓ เดือน พระพุทธรูปจึงเดินทางมาถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดให้ประดิษฐานหลวงพ่อร่วงเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารตลอดมา ตราบปัจจุบัน

ภาพหลวงพ่อร่วง

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 74)
 

พระสิทธิธารถ

พระสิทธารถ หรือ หลวงพ่อสมปรารถนา เป็นพระปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนจำนวนมากเคารพสักการะรวมทั้งซาวคลองสานที่เลื่อมใสเคารพนับถือและผูกพันตั้งแต่ครั้งโบราณ เชื่อว่าอำนวยพรให้สมปรารถนาในการต่างๆ ได้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ นิ้ว ๑ กระเบียด สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร มีพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาปานกลาง พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายได้สัดส่วน งดงาม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระเนตรเรียวบาง พระนาสิกโด่ง แย้มพระโอษฐ์ ริมพระโอษฐ์โค้งหยักขึ้นคล้ายคลื่น นิ้วพระหัตถ์เรียวยาว ไม่เสมอกัน ลักษณะโดยรวมเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ อายุราว ด้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด แต่ปรากฏตามประวัติว่าได้ อัญเชิญมาจากวิหารหลวงเมืองพิษณุโลก พร้อมพระทศพลญาณ พระปฏิมา ประธานในพระอุโบสถ วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชศรัทธา โปรดให้ อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดจากเมืองสุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก และลพบุรี จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาบูรณปฏิสังขรณ์ให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทาน ไปประดิษฐานยังพระอารามต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ พระสิทธารถเป็นพระพุทธรูป ๑ ใน ๗ องค์ที่อัญเชิญมาจากเมืองเหนือพิษณุโลก ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า เดิมน่าจะประดิษฐานอยู่วัดที่สำคัญวัดใดวัดหนึ่งของเมือง พิษณุโลก คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดวิหารทอง วัดราชประดิษฐาน และวัดจุฬามณี
พระสิทธารถ วัดพิชยญาติการาม เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งองค์หนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ทอดพระเนตรเห็น มีพระราชศรัทธาโปรดฯ ให้ช่างหลวงสร้างเบญจปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว ๔ ขั้นถวายเป็นพุทธบูชา

ภาพพระสิทธิธารถ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 76)
 

พระพุทธนาคน้อย

พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่นับถือและเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งขาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะประจักษ์ในความมหัศจรรย์และอภินิหารขององค์พระปฏิมาหลายอย่าง เชื่อ กันว่ามีเทพยดาหลายองค์สถิตอยู่ในองค์พระ มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระวิหารได้รับความเสียหายจากสะเก็ดระเบิดหลังคาพังลงมา สิ่งของต่างๆ ภายในพระวิหารได้รับความเสียหาย แต่องค์พระพุทธนาคน้อยกลับไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใดเป็นที่น่าอัศจรรย์ ชาวไทยเชื้อสายจีนเรียกนามของพระพุทธนาคน้อยว่า “ลักเน่ย” หรือ“ลักน้อย” ซึ่งแปลว่า กลีบนัว ๖ ขั้น อันประดับอยู่ใต้ฐานชุกชี และยกย่องเป็น “ชำปอกง” อีกด้วย พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับซัดสมาธิราบ วัสดุเนื้อนากปิดทอง หน้าดักกว้าง ๔.๒๔ เมตร หรือ ๘ ศอก ๑๒ นิ้ว สูง ๔.๗๐ เมตร ศิลปะแบบสุโขทัยหมวดใหญ่ อายุราวกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่พระขนงและพระโอษฐ์คล้ายกับ
พระพุทธนาคน้อยเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองเหนือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จะเป็นในช่วงรัชกาลที่ ๑ หรือรัชกาลที่ ๓ ยัง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างสันนิษฐานว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปต่างๆ จากหัวเมืองเหนือ จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มายังกรุงเทพฯ เพื่อบูรณะซ่อมแปลงให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทานไปประดิษฐานตามพระอารามต่างๆ ซึ่งพระพุทธนาคน้อย คงได้รับการอัญเชิญมาตั้งแต่ครั้งนั้น ส่วนเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ได้ชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาจากเมืองสุโขทัย

ภาพพระพุทธนาคน้อย

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 78)
 

พระสุรภีพุทธพิมพ์
พระสุรภีพุทธพิมพ์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดปรินายก วรวิหาร พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพเอกในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้สร้าง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสร้างถนนราชดำเนินไปสู่พระราชวังดุสิต ในชุมชนบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔นิ้ว ประดิษฐาน บนชุกชี ปูนซ้น ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่จะมีพระวรกายบอบบาง แต่พระสุรภีพุทธพิมพ์มีพระวรกาย อวบอ้วนเล็กน้อย จึงอาจได้รับอิทธิพลทางศิลปะล้านนา หรือมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แล้ว
นามวัดนี้เดิม'ซื่อ วัดพรหมสุรินทร์ เจ้าพระยาบดินทรเดซาสร้างเมื่อปลายรัชกาลที่ ๒ ต้องไปราชการทัพในลาว เขมรและญวน ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงรับวัดพรหมสุรินทร์ เป็นพระอารามหลวง สันนิษฐานว่า อัญเชิญพระพุทธปฏิมาจากเมืองเหนือ โดยไม่ปรากฏแหล่งที่มา มิได้ประดิษฐานเป็นพระปฏิมาประธาน อยู่ใต้ด้นสารภีมานาน ชาวบ้านขานนามตามด้นสารภีว่า “พระสุรภี” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัด และสร้างพระอุโบสถใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพระสุรภี มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ ถวายนามใกล้เคียงกับ ซื่อเดิมว่า “พระสุรภีพุทธพิมพ์”

ภาพพระสุรภีพุทธพิมพ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 80)

พระทศพลญาณ

พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย หล่อด้วยสำริดลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๒.๑๐ เมตร นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน เป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช แต่ลักษณะพระพักตร์ที่ค่อนข้างกลม พระนาสิกไม่โด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์เรียบตรง ซึ่งคล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะอยุธยา ซึ่งอาจเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช ที่มีการผสมผสานกับพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแล้ว จึงน่าจะมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
พระทศพลญาณ มีประวัติทราบเพียงว่าอัญเชิญมาจากวัดเก่าวัดใดวัดหนึ่งในเมืองพิษณุโลก สันนิษฐานว่า อัญเชิญมาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชศรัทธาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดจากเมืองสุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก และลพบุรี จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาบูรณปฏิสังขรณ์ให้งดงามบริบูรณ์ แล้วพระราชทานไปประดิษฐานยังพระอารามต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสันนิษฐานไว้พอเป็นแนวทางในหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง ดำนานพระพุทธรูปว่า
“...พระพุทธรูปที่เชิญมาจากเมืองเหนือในชั้นหลัง มีพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ คือพระทศพลญาณเป็นประธานวัดบรมนิวาสองค์หนึ่ง และพระสิทธารถ เป็นพระประธานวัดพิชัยญาติองค์หนึ่ง ปรากฏเรื่องในตำนานว่าอัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก แต่จะมาจากวัดไหนสืบไม่ได้ความ พระพุทธรูปสององค์นี้ พิเคราะห์ดูลักษณะเป็นฝีมือช่างสุโขทัย...”

ภาพพระทศพลญาณ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 82)
 

พระพุทธเทวปฏิมากร

พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เดิมซื่อวัดโพธาราม สร้างตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ทรงเลือกพระพุทธรูปที่งดงามสมควรเป็นพระประธานมาประดิษฐานในพระอุโบสถ โดยอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ฝั่งธนบุรี หรือวัดคูหาสวรรคในปัจจุบัน พระราชทานนามว่า พระพุทธเทว ปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือว่าวัดแห่งนี้ เป็นเจดียสถานสำคัญ เมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้ว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ครั้งนั้นได้ประทับ ณ พระอุโบสถ ทรงสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม จึงเป็นราชประเพณีสืบมาที่พระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค จะทรงสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรทุกรัชกาล ศิลปะอยุธยา ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดลงรัก ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๖๒ นิ้ว (๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว) สูงตลอดถึงพระรัศมี ๗๙ นิ้ว พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง มีจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ครั้งรัชกาลที่ ๑ ในวิหาร ทิศตะวันออก มุขหลังว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน) โปรดให้สร้างสร้อยสังวาลนพรัตน์ถวาย ผ้าสีทับทิม ชั้นใน ตาดชั้นนอก ห่มองค์พระปฏิมา พร้อมทั้งพัดแฉกขนาดใหญ่ (กึ่งกลางระหว่างพระอัครสาวก) ต่อมาในรัชกาล ที่ ๓ โปรดให้ลงรักปิดทอง และรื้อฐานทำใหม่เป็น ๓ ชั้น โปรดให้สร้างพระอัครสาวกเพิ่มเติมอีก ๘ องค์ รวมของเดิมเป็น ๑๐ องค์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใต้ฐานชุกชีของพระพุทธอาสน์พระพุทธเทวปฏิมากร และที่ผ้าทิพย์ฐานชั้นบนประดับอุณาโลม พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๑ และถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร เหนือองค์พระพุทธปฏิมา
รัชกาลต่อๆ มาได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งบูรณะองค์พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โปรดให้สร้างฉัตรทำด้วยผ้าตาดทองขนาดและลักษณะเดิม และเสด็จพระราชดำเนินยกฉัตรถวาย เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ ต่อมาถวายผ้าห่มพระประธาน ทำด้วยผ้าตาดสีเหลืองทอง กึ่งกลางพระอุระประดับพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. แทนผืนเดิม ปิดทองพระประธานและพระอัครสาวกทั้ง ๑๐ องค์ และซ่อมสร้อยสังวาลนพรัตน์สังวาลของเก่า

ภาพพระพุทธเทวปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 84)
 

พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์ฯ

พระพุทธมารวิชัยฯ หรือพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ เป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก มุขหน้า ในเขตพุทธาวาส วัดพระเขตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย)
ศิลปะอยุธยา ขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ อยู่ในอิริยาบถนั่งชัดสมาธิ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้ายทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา เรียกท่าชัดสมาธินี้ว่า ชัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้า พระชงฆ์ขวา นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงเบื้องล่าง เรียกว่า ปางมารวิชัย เบื้องหลังมีต้น พระศรีมหาโพธิ

เดิมประดิษฐานที่วัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก แต่พระกรชำรุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้อัญเชิญมาปฏิสังขรณ์ ด้วยนาก แล้วประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก มุขหน้า บรรจุพระบรมธาตุ ถวายนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้มหาโพธิ” และ โปรดให้สร้างต้นพระศรีมหาโพธิ์ไว้เบื้องหลังพระพุทธรูป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธมารวิไชย อไภยปรปักษ์ อสัตถพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร”

ภาพพระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์ฯ

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 86)
 

พระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตรเป็นพระประธานในวิหารพระมงคลบพิตร พระราชวัง โบราณ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งของไทย มีพุทธลักษณะที่งดงาม และได้รับความเคารพนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด (แกนในเป็นอิฐก่อ) ขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๙.๕๕ เมตร ความสูงเฉพาะองค์ พระพุทธรูป ๑๒.๔๕ เมตร ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ๔.๔๐ เมตร รวมความสูงจากฐานถึงปลายพระรัศมี ๑๖.๙๔ เมตร ลักษณะทางศิลปะเป็นแบบอยุธยาตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย คือ พระพักตร์มนรูปไข่ พระขนงโค้ง ซึ่งเป็นแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เชื่อว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชโปรดให้สร้าง ณ วัดชีเชียง เมื่อ พ.ศ.๒๐๘๑ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่กลางแจ้งไม่ได้อยู่ในวิหาร หรืออาคารต่อมาสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชักพระมงคลบพิตรที่อยู่ข้างฝ่ายตะวันออกมาไว้ฝั่งตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปครอบไว้เมื่อพ.ศ.๒๑๔๔ ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารว่าวัดสุมงคลบพิตร
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ อสนีบาตลงยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักลงมาต้องพระเศียรพระมงคลบพิตรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือจึงโปรดให้ซ่อมพระมณฑปและองค์พระพุทธรูป อีกครั้งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โปรดให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงดำเนินการโดยโปรดให้รื้อมณฑปของเดิมแล้วสร้างใหม่เป็น พระวิหารที่มีขนาดใหญ่รวมถึงองค์พระมงคลบพิตรโปรดให้ปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลง ลักษณะพุทธศิลป์ตามราชนิยมในสมัยนั้นด้วย
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาพ.ศ.๒๓๑๐ วิหารพระมงคลบพิตรถูกเผาทำลาย องค์พระพุทธรูปถูกไฟไหม้ พระเมาลี และพระกรข้างขวาหัก กรมศิลปากรได้เริ่มเข้ามาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๐๐ ในครั้งนี้ได้พบพระพุทธรูปบรรจุอยู่ภายในพระพาหาเบื้องซ้าย ของพระมงคลบพิตรเป็นจำนวนมาก เป็นพระพุทธรูปแบบต่างๆ เช่น พระพุทธรูปแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราช พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เป็นต้น ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ภาพพระมงคลบพิตร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 88)
 

พระสัมพุทธมุนี

พระส้มพุทธมุนี เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดเสื่อ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ ขยายพระราชวังจันทรเกษมออกไปทำให้วัดเสื่อเป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชฐาน วัดเสื่อจึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะอยุธยา หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๒ นิ้ว สูงตลอดพระรัศมี ๓ ศอก ๑ นิ้ว ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้ว ยอดเป็นรูปพระมหามงกุฎ ภายในซุ้มทาสีแดงประดับด้วยลายปูนปั้นปิดทอง ลวดลายงดงาม ที่ซุ้มเรือนแก้วมีอักษรขอมจารึกไว้ ด้านหลังเป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังรูปเทพชุมนุม
พระสัมพุทธมุนี เป็นพระพุทธรูปประจำวัดเสื่อ หรือวัดเสนาสนาราม สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน เมื่อสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดเสื่อกลายเป็นวัดร้างทรุดโทรมมาก จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดเสื่อทั้งพระอารามโดยโปรดให้พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) เป็นประธานในการบูรณะ พร้อมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ไนการบูรณะ ๓๐๐ ชั่งเศษ การดำเนินงานแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเสนาสนาราม และพระราชทานให้กับ พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ภาพพระสัมพุทธมุนี

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 90)