share line share line

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร

ที่ตั้ง : 183  ถนนชยางกูร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดสําคัญของภาคอีสาน ตั้งอยู่บริเวณภูกําพร้า เป็น ที่ประดิษฐานพระธาตุพนม ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนสอง ฝั่งแม่น้ำโขง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน องค์ พระธาตุพนม เป็นโบราณวัตถุสถานสําคัญของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478

        องค์พระธาตุพนม หรือเรียกตามแผ่นทองจารึก ว่า ธาตุปะนม ลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างรูปสี่เหลี่ยม ก่อสร้างด้วยอิฐ กว้างด้านละ 16 เมตร จากฐานไปถึง บัวถลาหรือบัวฝาละมี ประดับลายขุดจําหลักบนแผ่นอิฐ ทั้ง 4 ด้าน สูง 53 เมตร ฉัตรทองคําสูง 4.50 เมตร รวม ความสูง 57.50 เมตร รูปแบบศิลปะ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนล่างซึ่งเคยเป็นปราสาทก่ออิฐในศิลปะจาม หรือ เขมรก่อนเมืองพระนคร มีลวดลายสลักอิฐประดับบนเสาติด ผนังที่มุมทั้งสี่ ซุ้มประตูเป็นซุ้มคดโค้งมีใบระกาแหลมขนาด ใหญ่เหนือขึ้นไปคือเรือนธาตุจําลองหนึ่งชั้น ต่อด้วยฐานบัว ลูกแก้วอกไก่ และส่วนบนเป็นยอดทรงบัวเหลี่ยมในศิลปะล้านช้างทรงเพรียวสูงประดับด้วยปูนปั้นปิดทองเป็นลายก้าน ต่อดอก พระธาตุพนมเป็นเจดีย์ 1 ใน 8 แห่งที่สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงกําหนดว่าเป็น ปูชนียสถานสําคัญเรียกว่า จอมเจดีย์ทรงให้เขียนคําบรรยาย ใต้ภาพที่ฝาผนังพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร เพื่ออธิบายความสําคัญของพระธาตุพนม ว่า พระธาตุพนมที่เมืองนครพนม เก่าก่อนพระเจดีย์องค์อื่น หมดในแว่นแคว้นอีสาน

        ตํานานอุรังคธาตุหรืออุรังคนิทาน เล่าถึงตํานาน พระธาตุพนมว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ประทับที่ดอยกัปปนคีรี หรือภูกําพร้า อันเป็นที่ตั้งของ พระธาตุพนมในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ ทรงทํานายอนาคตของพญาศรีโคตรบูร ซึ่งได้นิมนต์พระพุทธ องค์ไปบิณฑบาตในเมืองว่า พญาศรีโคตรบูรจะได้เป็น ผู้สถาปนาพระอุรังคธาตุ (กระดูกบริเวณหน้าอก)ไว้ที่ภูกําพร้า จากนั้นเสด็จไปยังภูอีกแห่งหนึ่งแล้วเรียกพระมหากัสสปะ จากเมืองราชคฤห์มาสั่งความว่าเมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพาน แล้วให้นําพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ที่ภูกําพร้า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 8 ปี พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ และเจ้าผู้ครองนครในแคว้น ต่างๆ ได้แก่ พญานันทแสนเมืองศรีโคตรบูรพญาจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตนคร และพญาคําแดงเมืองหนองหานน้อย ได้ร่วมกันก่อสร้างอูบมุงประดิษฐานพระอุรังคธาตุและบริจาควัตถุมีค่าบูชาพระธาตุ ต่อมาพญาสุมิตรธรรมวงศาแห่งเมือง มรุกขนคร จึงได้บรรจุพระธาตุไว้ภายในแล้วก่ออิฐปิดตาย ทําให้ไม่สามารถนําพระธาตุออกมาบูชาได้

        พระธาตุพนมผ่านการบูรณะมาหลายครั้งและพังทลายลงทั้งองค์เมื่อพุทธศักราช 2518 กรมศิลปากรได้บูรณะ แล้วเสร็จ เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดําเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2522 และพระราชทานเทียนพรรษา ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง บูชาองค์พระธาตุพนมทุกปี และในวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี จะมีงานนมัสการพระธาตุพนม จัดเป็นประเพณีของจังหวัดสืบต่อกันจนปัจจุบัน

สิ่งสําคัญภายในวัด

        พระธาตุพนม เป็นหนึ่งในพระมหาเจดีย์สถานสําหรับตั้งพิธีเสกทําน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สําหรับสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

        เสาหลักศิลา เสาหลักศิลาเสมา เสาอินทขิล เสาหลักเมือง เป็นแบบทวารวดี หินทรายทรงแปดเหลี่ยม

    พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่ทางด้านทิศเหนือ นอกเขตพุทธวาส ใกล้สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ และพระพุทธบาทจําลอง กล่าวกันว่า ก่อนที่จะนําพระอุรังคธาตุเข้าประดิษฐานในอูบมุงภูกําพร้านั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุมาก่อน