share line share line

มัสยิดต้นสน

ที่ตั้ง : 447 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600

ประวัติความเป็นมา

          มัสยิดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พุทธศักราช 2231 ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช โดยออกญาราชวังสันเสนี (มะหะมุด) และบริวาร ถือเป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร เดิมเรียก ว่า “กุฎีใหญ่” ย่อมาจากคําว่า “กุฎีบางกอกใหญ่” เพราะ ตั้งอยู่บริเวณใกล้ปากคลองบางกอกใหญ่ หลังจากมีการ สร้างอาคารใหม่และปลูกต้นสนคู่ที่หน้าประตูกําแพง จึง เปลี่ยนชื่อเป็น มัสยิดต้นสน ต่อมามีการสร้างมัสยิดขึ้นใหม่ เมื่อพุทธศักราช 2358 แล้วเสร็จในพุทธศักราช 2359 มีลักษณะเป็นแบบไทยประเพณี มัสยิดแห่งนี้ได้ชํารุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงรื้อและสร้างใหม่เมื่อพุทธศักราช 2495 แล้วเสร็จพุทธศักราช 2497 จนกระทั่งพุทธศักราช 2552 ได้บูรณะใหม่อีกครั้ง ดังปรากฏในปัจจุบัน ขณะ เดียวกันก็ได้สร้างมิห์รอบและมิมบัรขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เข้า กันและรับกับมัสยิดหลังใหม่ด้วย

          มัสยิดแห่งนี้มีคุณค่าและความสําคัญทาง ประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ รวมทั้งวิถี ชีวิตและวิวัฒนาการของชุมชนมุสลิม

          นอกจากนี้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ได้เสด็จฯ มายังมัสยิดแห่งนี้ด้วย ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และสุลต่าน อิสมานแอลปุตรา อิบนิ อัรมรสุม สุลต่านยะห์ยาปุตราแห่งรัฐกลันตัน สหพันธรัฐมาเลเซียพร้อมด้วยพระชายา และ พระราชโอรส (ตวนกูมะโกตา)

          ภายในกุโบร์ หรือสุสานที่ฝังศพยังเป็นที่ฝังศพบรรพชนชาวมุสลิมซึ่งมีบทบาทสําคัญต่อประวัติศาสตร์ ของสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย อาทิ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (หมุต) พระยาราชวังสัน (ฉิม) แม่ทัพเรือในรัชกาล ที่ 3 หลวงโกชาอิศหาก(นาโคตาลี) ผู้ปฏิสังขรณ์มัสยิดต้นสน รวมทั้งยังเป็นสุสานที่ฝังศพของจุฬาราชมนตรี 9 ท่าน รวมทั้งเจ้าจอมที่เป็นชาวมุสลิม เช่น เจ้าจอมหงส์ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมจีบในรัชกาลที่ 2 เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5

 

ลักษณะสถาปัตยกรรม

          มัสยิดต้นสนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จึงมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแปรเปลี่ยนไปตาม ยุคสมัย เมื่อแรกสร้างเป็นเพียงเรือนไม้ยกพื้น ฝาขัดแตะ หลังคามุงจาก ต่อมามีการขยายมัสยิดให้กว้างขวาง โดยเปลี่ยนเป็นเรือนไม้สักและหลังคามุงกระเบื้อง จนราวกลางพุทธศักราช 2358 มัสยิดทรุดโทรมลงมาก หลวงโกชาอิศหาก (นาโคตาลี) มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านเกตุ และท่านสน จึงสร้าง ใหม่แทนของเดิม สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2359 มัสยิดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยม สถาปัตยกรรม ไทยผสมสถาปัตยกรรมตะวันตกที่สอดแทรกลายประดับแบบอิสลามไว้ตามจุดต่างๆ หลังคาทรงจั่ว หน้าบัน เป็นหน้าอุด ไม่มีซ่อฟ้าและหางหงส์ นับว่าเป็นมัสยิดที่หรูหราสง่างามที่สุดในสมัยนั้น

          ต่อมาในพุทธศักราช 2495 มัสยิดทรุดโทรมลงอีก กอปรกับพื้นที่ของมัสยิดไม่เพียงพอที่จะ รองรับจํานวนผู้ละหมาดที่เพิ่มขึ้น จึงรื้อและสร้างใหม่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก แผนผังเป็นรูปตัวแอล (L) ประกอบด้วยอาคารสองส่วน อาคารมัสยิดทาด้วยสีเขียวอ่อน ส่วนโดมทาด้วยสีเขียวเข้ม มัสยิดหลังนี้สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2497

          จนกระทั่งพุทธศักราช 2552 อาคารมัสยิดเริ่มทรุดตัว เหล็กที่ยึดโดมด้านบนผุกร่อน การปรับปรุง ครั้งนี้ยังคงสืบทอดแนวคิดการออกแบบโดมของมัสยิดให้เหมือนโดมในประเทศอียิปต์ ด้วยการตกแต่งด้วยลาย ปูนปั้นแบบศิลปะอิสลามในประเทศอียิปต์ผสมกับศิลปะอิสลามในประเทศสเปนและประเทศโมรอกโก เน้นลาย พันธุ์พฤกษาและลายเรขาคณิต กรอบประตูและหน้าต่างต่อเติมเป็นช่องโค้งเกือกม้าตลอดจนทาสีอาคารใหม่ทั้ง หลังให้เป็นสีน้ำตาลเหมือนสีของมัสยิดในประเทศอียิปต์ที่เกิดจากการก่อด้วยอิฐและดิน ตลอดจนปรับแก้โดม ให้มีรูปทรงเหมือนโดมของมัสยิดในอียิปต์มากขึ้น