1 พิธีการตั้งชื่อบุตร
เมื่อครอบครัวซาวซิกฃ์มีการให้กำเนิดบุตร และมารดาได้พักผ่อนร่างกายจนมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ครอบครัวและญาติจะพาทารกที่เกิดใหม่นั้นไปยังคุรุดวาราใกล้บ้านของตน เพื่อประกอบพิธีเจริญธรรม ขับร้องบทสวดจากพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ โดยขับร้องต่อหน้าพระพักตร์พระศาสดาคุรุครันถ์ซาฮิบ เพื่อแสดงความปีติและขอบคุณพระศาสดา ท่านศาสนาจารย์จะอัญเชิญประกาศ คือ การเปิดอ่านพระ มหาคัมภีร์ที่ประทับบนบัลลังก์ขณะนั้น โดยสุ่มเปิดอ่านจากด้านบนซ้าย และประกาศอักษรของคำแรกที่ได้อ่านจากพระบัญชาของพระศาสดา ให้ที่ชุมนุมเจริญธรรมรับทราบ บิดามารดาก็จะน้อมรับไปตั้งชื่อบุตรของตน ตามตัวอักษรที่ได้รับมานั้น โดยเด็กชายจะมีนามท้ายชื่อว่า “ชิงห์” ส่วนเด็กหญิงจะมีนามท้ายชื่อว่า “กอร์” จากนั้นคาสนิกชนที่มาร่วมพิธีจะพร้อมใจกันสวดอธิษฐานขอพรจากพระศาสดา เมื่อเสร็จพิธีแล้วศาสนาจารย์จะแจกขนมหวานที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และเนยในอัตราส่วนเท่ากัน เรียกว่า “คาร่าปืรสาท” ซึ่งหมายถึง การได้รับพรจากพระศาสดาให้แก่ผู้มาร่วมชุมนุมเจริญธรรมทุกคน
2 พิธีการรับอมฤต
พิธีการรับอมฤต ถือเป็นพิธีที่สำคัญของชาวซิกข์ เปรียบได้กับการบรรพชาในศาสนวินัยซิกข์ พิธีนั้นเริ่มมีขึ้นในสมัยของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์ ศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาซิกข์ ซึ่งทรงบัญญัติหลักการทางศาสนาเพิ่มเติมว่า ชาวซิกข์ที่ปวารณาตัวจะสืบศาสนาต่อไปต้องผ่านพิธีดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะเป็น “ขาลสา” หรือศิษย์ผู้บริสุทธิ์โดยทั่วไป ชาวซิกข์ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ไม่จำกัดอายุ เมื่อต้องการเข้าพิธีรับอมฤตและสามารถรักษาศาสนวินัยได้จะมาแจ้งความจำนงต่อศาสนาจารย์ในคุรุดวศาสนิกชนที่มารันอมฤตจะต้องสระผมก่อน และต้องมีศาสน สัญลักษณ์ ๕ ประการ ได้แก่ เกศา (ผมและหนวดเครา) กังฆะ (หวีไม้) กัจฉะ (กางเกงผ้าผ้ายขาสั้น) การ่า (กำไลข้อมือเหล็ก) และกิรปาน (มืด ดาบสั้น) เมื่อรับอมฤตแล้วจะต้องประพฤติตนอยู่ในศาสนวินัยของซิกข์ และรักษาปฏิบัติศาสนสัญลักษณ์ทั้ง ๕ ประการ ให้อยู่กับตัวตลอดเวลา การประพฤติปฏิบัติที่ผิดศาสนวินัยของศาสนาซิกข์อย่างร้ายแรงมี ๔ ประการ คือ
(1) ห้ามการกระทำใดที่ล่วงเกินต่อเกศา (คือ การตัด โกนเล็ม)
(2) ห้ามรับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ซึ่งถูกฆ่าด้วยวิธีทรมาน
(3) ห้ามร่วมประเวณีกับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่ครองของตน
(4) ห้ามเสพยาสูบ น้ำเมา หรือสิ่งเสพติดทุกชนิด
บุรุษชาวซิกข์ที่ผ่านพิธีดื่มน้ำอมฤตแล้ว จะมีคำต่อท้ายชื่อว่า “ชิงห์” (Singh) แปลว่า ราชสีห์ ส่วนสตรีจะมีคำท้ายซื่อว่า “กอร์” (Ghaur) แปลว่า ผู้สง่างามและกล้าหาญดุจเจ้าชาย ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เห็นว่าสตรีชาวซิกข์มีความเข้มแข็งและความรับผิดขอบเฉกเช่นเดียวกับบุรุษ อันแสดงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและสังคมของชายหญิงรา จากนั้นเจ้าหน้าที่ในศาสนสถานจะกำหนดวันและเวลาให้ผู้ที่ประสงค์จะรับอมฤตมารวมตัวกัน ณ สถานที่ประกอบพิธีกรรม โดยจะมีการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบและแต่งตั้ง “ปัญจะปิยะ” ซึ่งคัดเสือกจากชาวซิกข์ที่รับอมฤตแล้ว และมีความประพฤติตามศาสนวินัยครบถ้วนมาเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรม
ทั้งนี้ ยังมีวันที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์อีก ดังนี้ (สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา, 2553: 45-48)

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

1 พิธีการตั้งชื่อบุตร
เมื่อครอบครัวซาวซิกฃ์มีการให้กำเนิดบุตร และมารดาได้พักผ่อนร่างกายจนมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ครอบครัวและญาติจะพาทารกที่เกิดใหม่นั้นไปยังคุรุดวาราใกล้บ้านของตน เพื่อประกอบพิธีเจริญธรรม ขับร้องบทสวดจากพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ โดยขับร้องต่อหน้าพระพักตร์พระศาสดาคุรุครันถ์ซาฮิบ เพื่อแสดงความปีติและขอบคุณพระศาสดา ท่านศาสนาจารย์จะอัญเชิญประกาศ คือ การเปิดอ่านพระ มหาคัมภีร์ที่ประทับบนบัลลังก์ขณะนั้น โดยสุ่มเปิดอ่านจากด้านบนซ้าย และประกาศอักษรของคำแรกที่ได้อ่านจากพระบัญชาของพระศาสดา ให้ที่ชุมนุมเจริญธรรมรับทราบ บิดามารดาก็จะน้อมรับไปตั้งชื่อบุตรของตน ตามตัวอักษรที่ได้รับมานั้น โดยเด็กชายจะมีนามท้ายชื่อว่า “ชิงห์” ส่วนเด็กหญิงจะมีนามท้ายชื่อว่า “กอร์” จากนั้นคาสนิกชนที่มาร่วมพิธีจะพร้อมใจกันสวดอธิษฐานขอพรจากพระศาสดา เมื่อเสร็จพิธีแล้วศาสนาจารย์จะแจกขนมหวานที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และเนยในอัตราส่วนเท่ากัน เรียกว่า “คาร่าปืรสาท” ซึ่งหมายถึง การได้รับพรจากพระศาสดาให้แก่ผู้มาร่วมชุมนุมเจริญธรรมทุกคน
2 พิธีการรับอมฤต
พิธีการรับอมฤต ถือเป็นพิธีที่สำคัญของชาวซิกข์ เปรียบได้กับการบรรพชาในศาสนวินัยซิกข์ พิธีนั้นเริ่มมีขึ้นในสมัยของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์ ศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาซิกข์ ซึ่งทรงบัญญัติหลักการทางศาสนาเพิ่มเติมว่า ชาวซิกข์ที่ปวารณาตัวจะสืบศาสนาต่อไปต้องผ่านพิธีดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะเป็น “ขาลสา” หรือศิษย์ผู้บริสุทธิ์โดยทั่วไป ชาวซิกข์ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ไม่จำกัดอายุ เมื่อต้องการเข้าพิธีรับอมฤตและสามารถรักษาศาสนวินัยได้จะมาแจ้งความจำนงต่อศาสนาจารย์ในคุรุดวศาสนิกชนที่มารันอมฤตจะต้องสระผมก่อน และต้องมีศาสน สัญลักษณ์ ๕ ประการ ได้แก่ เกศา (ผมและหนวดเครา) กังฆะ (หวีไม้) กัจฉะ (กางเกงผ้าผ้ายขาสั้น) การ่า (กำไลข้อมือเหล็ก) และกิรปาน (มืด ดาบสั้น) เมื่อรับอมฤตแล้วจะต้องประพฤติตนอยู่ในศาสนวินัยของซิกข์ และรักษาปฏิบัติศาสนสัญลักษณ์ทั้ง ๕ ประการ ให้อยู่กับตัวตลอดเวลา การประพฤติปฏิบัติที่ผิดศาสนวินัยของศาสนาซิกข์อย่างร้ายแรงมี ๔ ประการ คือ
(1) ห้ามการกระทำใดที่ล่วงเกินต่อเกศา (คือ การตัด โกนเล็ม)
(2) ห้ามรับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ซึ่งถูกฆ่าด้วยวิธีทรมาน
(3) ห้ามร่วมประเวณีกับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่ครองของตน
(4) ห้ามเสพยาสูบ น้ำเมา หรือสิ่งเสพติดทุกชนิด
บุรุษชาวซิกข์ที่ผ่านพิธีดื่มน้ำอมฤตแล้ว จะมีคำต่อท้ายชื่อว่า “ชิงห์” (Singh) แปลว่า ราชสีห์ ส่วนสตรีจะมีคำท้ายซื่อว่า “กอร์” (Ghaur) แปลว่า ผู้สง่างามและกล้าหาญดุจเจ้าชาย ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เห็นว่าสตรีชาวซิกข์มีความเข้มแข็งและความรับผิดขอบเฉกเช่นเดียวกับบุรุษ อันแสดงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและสังคมของชายหญิงรา จากนั้นเจ้าหน้าที่ในศาสนสถานจะกำหนดวันและเวลาให้ผู้ที่ประสงค์จะรับอมฤตมารวมตัวกัน ณ สถานที่ประกอบพิธีกรรม โดยจะมีการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบและแต่งตั้ง “ปัญจะปิยะ” ซึ่งคัดเสือกจากชาวซิกข์ที่รับอมฤตแล้ว และมีความประพฤติตามศาสนวินัยครบถ้วนมาเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรม
ทั้งนี้ ยังมีวันที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์อีก ดังนี้ (สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา, 2553: 45-48)

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล