ดังกล่าวแล้วว่า ศาสนสถานของซิกข์เรียกว่า “คุรุดวารา” ซึ่งหมายถึง ประตูหรือหนทางที่ทอดไปสู่พระศาสดา ศาสนาซิกข์มีคำสอนที่ระบุว่า ในที่ใดซึ่งมีชาวซิกข์มากกว่า ๒ ครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน ที่นั้นควรมีสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน แต่ศาสนสถานของชาวซิกข์นั้นไม่จำเป็นต้องก่อสร้างในลักษณะที่เป็นศาสนสถานถาวร หากยังไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง ชาวซิกข์สามารถใช้สถานที่ใดๆ เป็นศาสนสถานได้ แต่บริเวณนั้นจะต้องสะอาดและมีที่สำหรับประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระศาสดา โดยที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นแท่นหรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณโดยรอบ เหนือแท่นต้องมีผ้าขาวดาดอยู่เบื้องบน บริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ประดิษฐานอยู่ บริเวณนั้นถือว่าเป็นศาสนสถานของขาวซิกข์ได้

ในห้องโถงใหญ่ของคุรุดวาราทุกแห่ง ซึ่งประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับคาสนิกชนมาชุมนุมเจริญธรรม สวดภาวนาขับร้องบทสวดสรรเสริญ (ในรูปแบบกิรตัน) ประกอบพิธีกรรม งานเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่นต่างๆ เช่น การตั้งซื่อบุตร งานมงคลสมรส พิธีรับน้ำอมฤต และการประกาศกิจกรรมที่สำคัญ คุรุดวาราจึงเป็นศูนย์รวมทั้งทางโลกและทางธรรมของชาวซิกข์

นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคุรุดวารา คือ โรงครัวพระศาสดา (คุรุกาลังกัรุ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบริการ อาหารสำหรับศาสนิกชนที่มาเคารพพระศาสดา ไม่ว่าศาสนิกชนนั้นจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ ภาษา หรือวรรณะใดก็สามารถมาร่วมรับประทานอาหารได้ โดยนั่งรับประทานเป็นแถวในระดับเดียวกันรับอาหาร จากหม้อหรือภาชนะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอภาคทางสิทธิ ฐานะ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ฉันพี่น้องในหมู่ศาสนิกชนทั้งหลาย

บุคคลทั่วไปไม่ว่านับถือศาสนาหรือความเชื่อใด สามารถเข้าไปสักการะทำความเคารพภายในคุรุดวาราได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในคุรุดวาราของซิกข์ทุกแห่ง คือ ก่อนเช้าไปภายในอาคารต้องถอดรองเท้า หรือหากเป็นไปได้ควรถอดถุงเท้าด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงความเคารพต่อศาสนสถานและป้องกัน มิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกติดตัวเข้าไปภายในอาคาร ส่วนศาสนิกชนที่มิได้เป็นชาวซิกข์ ให้คลุมศีรษะด้วยผ้าซึ่งทางคุรุดวาราจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาสนิกชน และพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประดิษฐานเป็นองค์ประธานในห้องโถงชุมนุมเจริญธรรม นอกจากนี้ ยังห้ามนำเครื่องดื่มมึนเมา สุรา ยาเสพติด บุหรี่ หรืออาวุธทุกชนิดเข้ามาภายในคุรุดวาราด้วย เมื่อเช้ามาในห้องโถงแล้วให้เดินอย่างสำรวมเข้าไปทำความเคารพโดยการกราบพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบหนึ่งครั้ง แล้วเดินมานั่งที่พื้นอย่างสงบ การกระทำนี้ไม่เพียงแต่แสดงความเคารพภายนอกเท่านั้น แต่เป็นการแสดงว่าศาสนิกชนนั้นมาเคารพองค์ศาสดา และตั้งจิตมั่นรำลึกไปยังธรรมในพระมหาคัมภีร์และองค์พระผู้เป็นเจ้า

ปัจจุบันมีคุรุดวารา หรือศาสนสถานซิกข์ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยประมาณ ๑๗ แห่ง ๖ซึ่งคุรุดวาราในกรุงเทพมหานครถือเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการปฏิบัติ ศาสนกิจทุกวัน โดยเฉพาะในวันหยุดและวันสำคัญทางศาสนาจะมีศาสนิชนชาวซิกข์จำนวนมาก ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย อินเดีย และประเทศอื่นๆ มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจด้วย ทำให้คุรุดวาราในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นสถานที่พบปะของพี่น้องศาสนิกชนชาวซิกข์ไปโดยปริยาย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

ตราสัญลักษณ์

 

คันด้า คือสัญลักษณ์ของศาสนาสิข ประกอบด้วย กีรปาน (ดาบของชาวสิข) สองด้าม ,คันด้าตรงกลางหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักร (ห่วงกลม) กลมภายในหนึ่งห่วง
     ดามทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจอธิปไตย ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์
     วงจักร แสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้าง ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง
     ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม

ดังกล่าวแล้วว่า ศาสนสถานของซิกข์เรียกว่า “คุรุดวารา” ซึ่งหมายถึง ประตูหรือหนทางที่ทอดไปสู่พระศาสดา ศาสนาซิกข์มีคำสอนที่ระบุว่า ในที่ใดซึ่งมีชาวซิกข์มากกว่า ๒ ครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน ที่นั้นควรมีสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน แต่ศาสนสถานของชาวซิกข์นั้นไม่จำเป็นต้องก่อสร้างในลักษณะที่เป็นศาสนสถานถาวร หากยังไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง ชาวซิกข์สามารถใช้สถานที่ใดๆ เป็นศาสนสถานได้ แต่บริเวณนั้นจะต้องสะอาดและมีที่สำหรับประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระศาสดา โดยที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นแท่นหรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณโดยรอบ เหนือแท่นต้องมีผ้าขาวดาดอยู่เบื้องบน บริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ประดิษฐานอยู่ บริเวณนั้นถือว่าเป็นศาสนสถานของขาวซิกข์ได้

ในห้องโถงใหญ่ของคุรุดวาราทุกแห่ง ซึ่งประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับคาสนิกชนมาชุมนุมเจริญธรรม สวดภาวนาขับร้องบทสวดสรรเสริญ (ในรูปแบบกิรตัน) ประกอบพิธีกรรม งานเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่นต่างๆ เช่น การตั้งซื่อบุตร งานมงคลสมรส พิธีรับน้ำอมฤต และการประกาศกิจกรรมที่สำคัญ คุรุดวาราจึงเป็นศูนย์รวมทั้งทางโลกและทางธรรมของชาวซิกข์

นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคุรุดวารา คือ โรงครัวพระศาสดา (คุรุกาลังกัรุ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบริการ อาหารสำหรับศาสนิกชนที่มาเคารพพระศาสดา ไม่ว่าศาสนิกชนนั้นจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ ภาษา หรือวรรณะใดก็สามารถมาร่วมรับประทานอาหารได้ โดยนั่งรับประทานเป็นแถวในระดับเดียวกันรับอาหาร จากหม้อหรือภาชนะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอภาคทางสิทธิ ฐานะ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ฉันพี่น้องในหมู่ศาสนิกชนทั้งหลาย

บุคคลทั่วไปไม่ว่านับถือศาสนาหรือความเชื่อใด สามารถเข้าไปสักการะทำความเคารพภายในคุรุดวาราได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในคุรุดวาราของซิกข์ทุกแห่ง คือ ก่อนเช้าไปภายในอาคารต้องถอดรองเท้า หรือหากเป็นไปได้ควรถอดถุงเท้าด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงความเคารพต่อศาสนสถานและป้องกัน มิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกติดตัวเข้าไปภายในอาคาร ส่วนศาสนิกชนที่มิได้เป็นชาวซิกข์ ให้คลุมศีรษะด้วยผ้าซึ่งทางคุรุดวาราจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาสนิกชน และพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประดิษฐานเป็นองค์ประธานในห้องโถงชุมนุมเจริญธรรม นอกจากนี้ ยังห้ามนำเครื่องดื่มมึนเมา สุรา ยาเสพติด บุหรี่ หรืออาวุธทุกชนิดเข้ามาภายในคุรุดวาราด้วย เมื่อเช้ามาในห้องโถงแล้วให้เดินอย่างสำรวมเข้าไปทำความเคารพโดยการกราบพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบหนึ่งครั้ง แล้วเดินมานั่งที่พื้นอย่างสงบ การกระทำนี้ไม่เพียงแต่แสดงความเคารพภายนอกเท่านั้น แต่เป็นการแสดงว่าศาสนิกชนนั้นมาเคารพองค์ศาสดา และตั้งจิตมั่นรำลึกไปยังธรรมในพระมหาคัมภีร์และองค์พระผู้เป็นเจ้า

ปัจจุบันมีคุรุดวารา หรือศาสนสถานซิกข์ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยประมาณ ๑๗ แห่ง ๖ซึ่งคุรุดวาราในกรุงเทพมหานครถือเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการปฏิบัติ ศาสนกิจทุกวัน โดยเฉพาะในวันหยุดและวันสำคัญทางศาสนาจะมีศาสนิชนชาวซิกข์จำนวนมาก ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย อินเดีย และประเทศอื่นๆ มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจด้วย ทำให้คุรุดวาราในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นสถานที่พบปะของพี่น้องศาสนิกชนชาวซิกข์ไปโดยปริยาย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

ตราสัญลักษณ์

 

คันด้า คือสัญลักษณ์ของศาสนาสิข ประกอบด้วย กีรปาน (ดาบของชาวสิข) สองด้าม ,คันด้าตรงกลางหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักร (ห่วงกลม) กลมภายในหนึ่งห่วง
     ดามทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจอธิปไตย ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์
     วงจักร แสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้าง ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง
     ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม