ศาสนสถานของซิกข์เรียกว่า “คุรุดวารา” ซึ่งหมายถึง ประตูหรือหนทางที่ทอดไปสู่พระศาสดา ศาสนาซิกข์มีคำสอนที่ระบุว่า ในที่ใดซึ่งมีชาวซิกข์มากกว่า ๒ ครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน ที่นั้นควรมีสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน แต่ศาสนสถานของชาวซิกข์นั้นไม่จำเป็นต้องก่อสร้างในลักษณะที่เป็นศาสนสถานถาวร หากยังไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง ชาวซิกข์สามารถใช้สถานที่ใดๆ เป็นศาสนสถานได้ แต่บริเวณนั้นจะต้องสะอาดและมีที่สำหรับประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระศาสดา โดยที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นแท่นหรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณโดยรอบ เหนือแท่นต้องมีผ้าขาวดาดอยู่เบื้องบนบริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ประดิษฐานอยู่บริเวณนั้นถือว่าเป็นศาสนสถานของขาวซิกข์ได้ ในห้องโถงใหญ่ของคุรุดวาราทุกแห่ง ซึ่งประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับคาสนิกชนมาชุมนุมเจริญธรรม สวดภาวนาขับร้องบทสวดสรรเสริญ (ในรูปแบบกิรตัน) ประกอบพิธีกรรมงานเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นต่างๆ เช่น การตั้งซื่อบุตร งานมงคลสมรส พิธีรับน้ำอมฤต และการประกาศกิจกรรมที่สำคัญ คุรุดวาราจึงเป็นศูนย์รวมทั้งทางโลกและทางธรรมของชาวซิกข์

นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคุรุดวารา คือ โรงครัวพระศาสดา (คุรุกาลังกัรุ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบริการอาหารสำหรับศาสนิกชนที่มาเคารพพระศาสดา ไม่ว่าศาสนิกชนนั้น จะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ ภาษา หรือวรรณะใดก็สามารถมาร่วมรับประทานอาหารได้โดยนั่งรับประทานเป็นแถวในระดับเดียวกันรับอาหาร จากหม้อ หรือภาชนะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอภาคทางสิทธิ ฐานะ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ฉันพี่น้องในหมู่ศาสนิกชนทั้งหลาย

บุคคลทั่วไปไม่ว่านับถือศาสนาหรือความเชื่อใด สามารถเข้าไปสักการะทำความเคารพภายในคุรุดวาราได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในคุรุดวาราของซิกข์ทุกแห่ง คือ ก่อนเช้าไปภายในอาคารต้องถอดรองเท้า หรือหากเป็นไปได้ควรถอดถุงเท้าด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงความเคารพต่อศาสนสถาน และป้องกันมิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกติดตัวเข้าไปภายในอาคาร ส่วนศาสนิกชนที่มิได้เป็นชาวซิกข์ ให้คลุมศีรษะด้วยผ้าซึ่งทางคุรุดวาราจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาสนิกชนและพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประดิษฐานเป็นองค์ประธานในห้องโถงชุมนุมเจริญธรรม นอกจากนี้ ยังห้ามนำเครื่องดื่มมึนเมา สุรา ยาเสพติด บุหรี่ หรืออาวุธทุก ชนิดเข้ามาภายในคุรุดวาราด้วย เมื่อเช้ามาในห้องโถงแล้ว ให้เดินอย่างสำรวมเข้าไปทำความเคารพโดยการกราบพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบหนึ่งครั้ง แล้วเดินมานั่งที่พื้นอย่างสงบ การกระทำนี้ไม่เพียงแต่แสดงความเคารพภายนอกเท่านั้น แต่เป็นการแสดงว่าศาสนิกชนนั้นมาเคารพองค์ศาสดา และตั้งจิตมั่นรำลึกไปยังธรรมในพระมหาคัมภีร์และองค์พระผู้เป็นเจ้า

ปัจจุบันมีคุรุดวารา หรือศาสนสถานซิกข์ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยจำนวน ๑8 แห่ง ซึ่งคุรุดวาราในกรุงเทพมหานคร ถือเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการปฏิบัติศาสนกิจทุกวัน โดยเฉพาะในวันหยุดและวันสำคัญทางศาสนาจะมีศาสนิชนชาวซิกข์จำนวนมาก ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย อินเดีย และ ประเทศอื่นๆ มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจด้วย ทำให้คุรุดวาราในกรุงเทพมหานครกลายเป็นสถานที่พบปะของพี่น้องศาสนิกชนชาวซิกข์ไปโดยปริยาย

ศาสนสถานซิกข์ทั่วประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 18 แห่ง โดยภาคที่มีจำนวนศาสนสถานซิกข์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ภาคใต้ จำนวน 7 แห่ง (ร้อยละ 38.88) รองลงมา คือ ภาคกลาง จำนวน 4 แห่ง (ร้อยละ 22.22) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 16.66) ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 16.66) และภาคตะวันออก จำนวน 1 แห่ง (ร้อยละ 5.55)
แผนภูมิแสดงสัดส่วนศาสนสถานซิกข์ในประเทศไทย

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกศาสนสถานซิกข์ทั่วประเทศ แบ่งตามภูมิภาคและรายจังหวัด สามารถอธิบายได้ ดังนี้
ภาคเหนือ
 (1) เชียงใหม่ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา เชียงใหม่
134 ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง

(2) เชียงราย ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา เชียงราย
เลขที่ 118 หมู่ 12 ซ.พุทธรักษา ถ.ร่องปลาค้าว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง

(3) ลำปาง ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ลำปาง
228 สี่แยกศรีชุม ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง

ภาคกลาง
(1) กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมนามธารีสังคัตแห่งประเทศไทย
127/1 ซอยอโศก 21 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
2. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพมหานคร
565 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร

(2) นครสวรรค์ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา นครสวรรค์
676 ถนนธำรงประสิทธิ์ ตำบลโกสีห์ อำเภอเมือง

(3) สมุทรปราการ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมุทรปราการ
1799 ถนนริมทางรถไฟเก่า ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง
 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(1) ขอนแก่น ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ขอนแก่น
157-159 ถนนรวมจิต ตำบลในเมือง อำเภอเมือง

(2) อุดรธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา อุดรธานี
1/9 ถนนหมากแข้ง อำเภอเมือง

(3) อุบลราชธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา อุบลราชธานี
291-293 ถนนอุบลกิจ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
 

ภาคตะวันออก
(1) ชลบุรี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ชลบุรี
483/4 ซอย 17 สายใต้ – 2 อำเภอเมือง
 

ภาคใต้

(1) ตรัง ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ตรัง
223 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง

(2) นครราชสีมา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา นครราชสีมา
3 ซอยสหพันธ์ ถนนจอมพล อำเภอเมือง

(3) ปัตตานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ปัตตานี
172 ถนนฤดี อำเภอเมือง

(4) ภูเก็ต ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ภูเก็ต
8 ถนนสุทัศน์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง

(5) ยะลา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ยะลา
19 ถนนรวมมิตร

(6) สงขลา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สงขลา
22/26 ซอยเพชรเกษม 21 อำเภอหาดใหญ่

(7) สุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สุราษฎร์ธานี
4/41หมู่ 2 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

ศาสนสถานของซิกข์เรียกว่า “คุรุดวารา” ซึ่งหมายถึง ประตูหรือหนทางที่ทอดไปสู่พระศาสดา ศาสนาซิกข์มีคำสอนที่ระบุว่า ในที่ใดซึ่งมีชาวซิกข์มากกว่า ๒ ครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน ที่นั้นควรมีสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน แต่ศาสนสถานของชาวซิกข์นั้นไม่จำเป็นต้องก่อสร้างในลักษณะที่เป็นศาสนสถานถาวร หากยังไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง ชาวซิกข์สามารถใช้สถานที่ใดๆ เป็นศาสนสถานได้ แต่บริเวณนั้นจะต้องสะอาดและมีที่สำหรับประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระศาสดา โดยที่ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นแท่นหรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณโดยรอบ เหนือแท่นต้องมีผ้าขาวดาดอยู่เบื้องบนบริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ประดิษฐานอยู่บริเวณนั้นถือว่าเป็นศาสนสถานของขาวซิกข์ได้ ในห้องโถงใหญ่ของคุรุดวาราทุกแห่ง ซึ่งประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับคาสนิกชนมาชุมนุมเจริญธรรม สวดภาวนาขับร้องบทสวดสรรเสริญ (ในรูปแบบกิรตัน) ประกอบพิธีกรรมงานเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นต่างๆ เช่น การตั้งซื่อบุตร งานมงคลสมรส พิธีรับน้ำอมฤต และการประกาศกิจกรรมที่สำคัญ คุรุดวาราจึงเป็นศูนย์รวมทั้งทางโลกและทางธรรมของชาวซิกข์

นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคุรุดวารา คือ โรงครัวพระศาสดา (คุรุกาลังกัรุ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบริการอาหารสำหรับศาสนิกชนที่มาเคารพพระศาสดา ไม่ว่าศาสนิกชนนั้น จะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ ภาษา หรือวรรณะใดก็สามารถมาร่วมรับประทานอาหารได้โดยนั่งรับประทานเป็นแถวในระดับเดียวกันรับอาหาร จากหม้อ หรือภาชนะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอภาคทางสิทธิ ฐานะ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ฉันพี่น้องในหมู่ศาสนิกชนทั้งหลาย

บุคคลทั่วไปไม่ว่านับถือศาสนาหรือความเชื่อใด สามารถเข้าไปสักการะทำความเคารพภายในคุรุดวาราได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในคุรุดวาราของซิกข์ทุกแห่ง คือ ก่อนเช้าไปภายในอาคารต้องถอดรองเท้า หรือหากเป็นไปได้ควรถอดถุงเท้าด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงความเคารพต่อศาสนสถาน และป้องกันมิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกติดตัวเข้าไปภายในอาคาร ส่วนศาสนิกชนที่มิได้เป็นชาวซิกข์ ให้คลุมศีรษะด้วยผ้าซึ่งทางคุรุดวาราจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาสนิกชนและพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประดิษฐานเป็นองค์ประธานในห้องโถงชุมนุมเจริญธรรม นอกจากนี้ ยังห้ามนำเครื่องดื่มมึนเมา สุรา ยาเสพติด บุหรี่ หรืออาวุธทุก ชนิดเข้ามาภายในคุรุดวาราด้วย เมื่อเช้ามาในห้องโถงแล้ว ให้เดินอย่างสำรวมเข้าไปทำความเคารพโดยการกราบพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบหนึ่งครั้ง แล้วเดินมานั่งที่พื้นอย่างสงบ การกระทำนี้ไม่เพียงแต่แสดงความเคารพภายนอกเท่านั้น แต่เป็นการแสดงว่าศาสนิกชนนั้นมาเคารพองค์ศาสดา และตั้งจิตมั่นรำลึกไปยังธรรมในพระมหาคัมภีร์และองค์พระผู้เป็นเจ้า

ปัจจุบันมีคุรุดวารา หรือศาสนสถานซิกข์ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยจำนวน ๑8 แห่ง ซึ่งคุรุดวาราในกรุงเทพมหานคร ถือเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการปฏิบัติศาสนกิจทุกวัน โดยเฉพาะในวันหยุดและวันสำคัญทางศาสนาจะมีศาสนิชนชาวซิกข์จำนวนมาก ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย อินเดีย และ ประเทศอื่นๆ มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจด้วย ทำให้คุรุดวาราในกรุงเทพมหานครกลายเป็นสถานที่พบปะของพี่น้องศาสนิกชนชาวซิกข์ไปโดยปริยาย

ศาสนสถานซิกข์ทั่วประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 18 แห่ง โดยภาคที่มีจำนวนศาสนสถานซิกข์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ภาคใต้ จำนวน 7 แห่ง (ร้อยละ 38.88) รองลงมา คือ ภาคกลาง จำนวน 4 แห่ง (ร้อยละ 22.22) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 16.66) ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 16.66) และภาคตะวันออก จำนวน 1 แห่ง (ร้อยละ 5.55)
แผนภูมิแสดงสัดส่วนศาสนสถานซิกข์ในประเทศไทย

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกศาสนสถานซิกข์ทั่วประเทศ แบ่งตามภูมิภาคและรายจังหวัด สามารถอธิบายได้ ดังนี้
ภาคเหนือ
 (1) เชียงใหม่ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา เชียงใหม่
134 ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง

(2) เชียงราย ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา เชียงราย
เลขที่ 118 หมู่ 12 ซ.พุทธรักษา ถ.ร่องปลาค้าว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง

(3) ลำปาง ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ลำปาง
228 สี่แยกศรีชุม ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง

ภาคกลาง
(1) กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมนามธารีสังคัตแห่งประเทศไทย
127/1 ซอยอโศก 21 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
2. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพมหานคร
565 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร

(2) นครสวรรค์ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา นครสวรรค์
676 ถนนธำรงประสิทธิ์ ตำบลโกสีห์ อำเภอเมือง

(3) สมุทรปราการ ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมุทรปราการ
1799 ถนนริมทางรถไฟเก่า ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง
 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(1) ขอนแก่น ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ขอนแก่น
157-159 ถนนรวมจิต ตำบลในเมือง อำเภอเมือง

(2) อุดรธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา อุดรธานี
1/9 ถนนหมากแข้ง อำเภอเมือง

(3) อุบลราชธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา อุบลราชธานี
291-293 ถนนอุบลกิจ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
 

ภาคตะวันออก
(1) ชลบุรี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ชลบุรี
483/4 ซอย 17 สายใต้ – 2 อำเภอเมือง
 

ภาคใต้

(1) ตรัง ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ตรัง
223 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง

(2) นครราชสีมา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา นครราชสีมา
3 ซอยสหพันธ์ ถนนจอมพล อำเภอเมือง

(3) ปัตตานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ปัตตานี
172 ถนนฤดี อำเภอเมือง

(4) ภูเก็ต ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ภูเก็ต
8 ถนนสุทัศน์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง

(5) ยะลา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา ยะลา
19 ถนนรวมมิตร

(6) สงขลา ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สงขลา
22/26 ซอยเพชรเกษม 21 อำเภอหาดใหญ่

(7) สุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยศาสนสถานซิกข์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สุราษฎร์ธานี
4/41หมู่ 2 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล