ศาสดาแห่งศาสนาซิกข์เรียกว่า “คุรุ” องค์ปฐมบรมศาสดา คือ คุรุนานักเทพ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๒ ณ หมู่บ้านตัลวันคืน ซึ่งเป็น หมู่บ้านเล็กๆ ปัจจุบันเรียก'ว่า “บันกาปา ซาสิบ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของเมืองลาโฮร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

ในสมัยของพระองค์ ศาสนาอิสลาม นิกายชุนนี ซึ่งมุ่งสอนเรื่องการสละความหรูหราสะดวกสบายกำลังมีบทบาทอย่างมากในสังคม ส่วนศาสนาฮินดูก็ได้เกิดลัทธิภักดีขึ้น ลัทธินี้มุ่งเน้นความจงรักภักดี และเชื่อมั่นในพระเป็นเจ้า โดยไม่ประสงค์สิ่งใดตอบแทน คุรุนานักเทพซึ่งมีความสนใจในศาสนามาแต่วัยเยาว์ จึงได้ศึกษาทั้งศาสนาฮินดูและอิสลาม โดยได้สนทนาธรรมกับนักบุญของทั้งสองศาสนา เมื่อเจริญวัยและแต่งงานมีครอบครัวได้แยกตัวไปบำเพ็ญตนและพิจารณาธรรมเพียงผู้เดียว เมื่อแน่ใจว่าตนได้ค้นพบธรรมะอันเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้เริ่มสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งปวง

ขณะนั้นประเทศอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในอินเดียนับถือศาสนาฮินดู จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นับถือศาสนาทั้งสอง พระศาสดาคุรุนานักเทพได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยสั่งสอนให้ทั้งสองฝ่ายสามัคคีไม่แบ่งแยกซึ่งกันและกันในเบื้องต้น พระศาสดาคุรุนานักเทพมีสาวกเพียงสองคน คนหนึ่งเป็นชาวฮินดู ส่วนอีก คนเป็นนักดนตรีชาวมุสลิม ทั้งสองคนได้ติดตามพระศาสดาคุรุนานักเทพ ออกเดินทางไปสอนศาสนายังที่ต่างๆ โดยแต่งหลักธรรมเป็นโศลกหรือ กาพย์กลอน แล้วดีดพิณร้องไป ทำให้มีชาวบ้านสนใจมาพิงมากในทุกแห่ง พระศาสดาคุรุนานักเทพกล่าวว่าตนเป็นเพียงครูผู้หนึ่งเท่านั้น เมื่อกลับจากสั่งสอนศาสนาแล้วได้กลับมาเป็นผู้ครองเรือนดังเดิม และสั่งสอนให้ทุกคนเป็นผู้ครองเรือนที่ดีและตั้งมั่นอยู่ในศาสนา ไม่สนับสนุนให้คนสละโลกเพื่อบำเพ็ญตบะ ด้วยเห็นว่าคฤหัสถ์เพศก็สามารถหลุดพ้นจากห้วงสงสารได้ หากบำเพ็ญภาวนาชำระล้างจิตใจให้สะอาดอยู่เสมอ ตามประวัติพระศาสดาคุรุนานักเทพเป็นผู้มีเมตตาสูงและมีความนอบน้อม แต่เคร่งครัดในหลักศาสนาและยึดมั่นในความถูกต้อง ตลอดชีวิตพระองค์ได้ออกเดินทางสอนศาสนาไปทั่วประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศใกล้เคียงได้พยายามสร้างความประนีประนอมและความสามัคคีระหว่างศาสนาต่างๆ ในประเทศอินเดียโดยให้ถือว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน เพราะมาจากพระเจ้าพระองค์เดียวกันและพระองค์เป็นพระเจ้าของมนุษยชาติทั้งมวล

ทั้งนี้ เมื่อพระศาสดาคุรุนานักเทพสิ้นพระชนม์ ศาสนาซิกข์มี พระศาสดาสืบต่อมาอีก 10 พระองค์ ดังนี้ (ชวลิต เสาวภาคย์พงศ์ชัย, 2555: 125-147)
(1) คุรุนานักซาฮิบ (Guru Nanak Sahib) (พ.ศ.2046 - 2081)
ศาสนาซิกข์ก่อกำเนิดโดยศาสดาคุรุนานักซาฮิบ พระองค์ประสูติในปี พ.ศ.2012 (ค.ศ. 1469) ในหมู่บ้านตัลวันดี ปัจจุบันมีนามว่า “นันกาน่า ซาฮิบ” ใกล้เมืองลาโฮร์ (ในประเทศปากีสถาน) ตั้งแต่วัยเยาว์ศาสดาคุรุนานักซาฮิบทรงปฏิเสธ และไม่เคยเชื่อถือหรือยอมรับในพิธีกรรมต่างๆ ที่ไร้เหตุผล หรือหลักฐาน เช่น การเชื่อถือในโชคลางหรือในเวทมนตร์คาถาใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนในสมัยนั้นเลื่อมใสและยึดถือเป็นสรณะ ศาสดาคุรุนานักซาฮิบและศาสดาทั้งเก้าพระองค์ที่สืบทอดจากพระองค์ได้ทรงวางรากฐาน และทรงปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างอันงดงามของการดำรงชีวิตในกรอบแห่งศีลธรรม ขณะเดียวกันก็ยังคงมีส่วนร่วมและบทบาทอันเข้มแข็งในสังคมฆราวาส (ทางโลก) ควบคู่กันไป

ภาพคุรุนานักซาฮิบ (Guru Nanak Sahib) ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(2) คุรุอังคัท (Guru Angad Dev) (พ.ศ.2081 - 2095)
ท่านคุรุอังคัต เกิดเมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2047 ที่หมู่บ้านมัตเตดิไซรานในเมือง
ฟิโรซปูร ซึ่งต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายมาอยู่ในเมืองคัดปูร พระบิดาของ ท่านหบายเลห์น่า มีพระนามว่า ศรีเฟอรูมาล ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำผู้มีจิตใจเมตตา พระมารดาของท่านหบายเลห์น่า มีพระนามว่า มาตาซับหราย และต่อมาในปี พ.ศ.2062 ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้สมรสกับท่านศรีขีวิ และต่อมามีลูกชาย 2 คน คือดาโส และดาโธ และมีลูกสาว 2 คน คืออัลโร และอโนขิ
เช่นเดียวกับพระบิดาของท่าน ท่านหบายเลห์น่า ก็เป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในเทพพระเจ้า “พระแม่ดุรกา” เป็นอย่างยิ่ง ท่านจะร่วมเดินทางกับพระบิดาของท่านเพื่อไปร่วมนมัสการพระแม่เจ้ายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สม่ำเสมอทุกปี และในการเดินทางครั้งหนึ่ง ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้พบกับ ท่านหบายโจทธา ผู้ซึ่งกำบังร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าได้อย่างไพเราะและเป็นที่น่าประทับใจยิ่งนัก เมื่อท่านหบายเลห์น่า ได้สอบถามดูก็ได้ความว่าเพลงร้องสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้านี้เป็นเพลงที่ ท่านคุรุนานัก เป็นผู้แต่งขึ้น ท่านหบายเลห์น่า จึงได้ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยม ท่านคุรุนานัก ที่เมืองการ์ตาร์ปูระ ในที่สุด ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้มาพบกับ ท่านคุรุนานัก เมื่อท่านมีอายุได้ 27 ปี และได้เลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของ ท่านคุรุนานัก อย่างเคร่งครัดและท่านได้เลิกเชื่อถือและปฏิบัติตามความเชื่อเดิมของท่านตั้งแต่นั้นเรื่อยมา
ครั้งหนึ่งในระหว่างที่ ท่านหบายเลห์น่า อยู่ในเมืองการ์ตาร์ปูร ท่านได้ยินท่านคุรุนานัก สั่งให้ลูกชายของท่านช่วยเก็บภาชนะที่ตกลงไปในท่อระบายน้ำเสีย ซึ่งลูกชายทั้งสองของท่านคุรุนานัก ปฏิเสธที่จะลงไปเก็บภาชนะในท่อระบายน้ำเสียอันสกปรกนั้น ในทันทีทันใดนั้นท่านหบายเลห์น่า ก็ได้รีบกระโดดลงไปในท่อระบายน้ำอันสกปรกนั้นและเก็บภาชนะใบนั้นมาให้ ท่านคุรุนานัก ด้วยความเต็มใจ
ท่านหบายเลห์น่า ทำตามคำสั่งของ ท่านคุรุนานัก ทุกประการ ซึ่งทำให้ ท่านคุรุนานัก ประทับใจและชื่อชมในความจริงใจและความวิริยะอุตสาหะของท่านหบายเลห์น่า เป็นอย่างยิ่ง จนในที่สุด ท่านคุรุนานัก ก็ได้ขนานสมญานามใหม่ให้ ท่านหบายเลห์น่า คือ “อังขัต” ซึ่งแปลว่า “เป็นส่วนหนึ่งของเรา” และต่อมาเราชาวซิกข์ก็ได้เรียกท่านว่า “คุรุ อังขัต” มาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากที่ท่านได้อุทิศตนเพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ตามคำสั่งสอนของท่านคุรุรนานัก ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และด้วยจิตใจที่เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาซิกข์เป็นยิ่งนัก ท่านจึงได้หวนกลับไปหา ท่านคุรุนานัก ที่เมืองการ์ตาร์ปูระ และได้ปรนนิบัติรับใช้ ท่านคุรุรนานัก ด้วยความจริงใจและศรัทธาอันแรงกล้า และได้ผ่านการทดสอบที่นับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดท่านคุรุนานัก ก็ได้แต่งตั้งให้ท่านขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ใหม่ และได้ตั้งชื่อให้ท่านว่าท่านศาสดาคุรุอังขัต เพื่อเป็นผู้รับช่วงต่อจากท่านใน ปีพ.ศ.2082 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ ท่านคุรุนานัก ได้สิ้นพระชนม์ลง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท่านคุรุอังขัต เดินทางกลับไปยังเมืองคาดูร เพื่อปฏิบัติธรรมและทำสมาธิอยู่นานถึง 6 เดือน จนในที่สุด ลูกศิษย์ชาวซิกข์ทั้งหลาย นำโดย ท่านบาบาบุดดา ก็ได้เดินทางไปหาท่าน เพื่อโน้มน้าวให้ท่านคุรุอังขัต กลับมาอยู่กับพวกเขาทุกคน ซึ่งท่านอังขัต ก็ได้ตอบ ท่านบาบาบุดดา ดังนี้
“ท่านคุรุนานัก ผู้ซึ่งเป็นคนที่เรารักยิ่งกว่าสิ่งใดได้ตายจากไปแล้ว ชีวิตที่ปราศจากท่านอันเป็นที่รักยิ่งเป็นชีวิตที่ถูกสาปแช่ง ศีรษะควรถูกตัดออกจากบ่าหากไม่สามารถก้มกราบท่านอาจารย์ได้อีก โอ้... ท่านนานัก! ร่างที่ต้องทรมานจากการพรากจากนี้น่าจะถูกเผาไหม้ไปเสีย ทุกคนที่ได้ฟังธรรมจาก ท่านคุรุนานักนั้นเปรียบเสมือนกับได้รับพรอันประเสริฐ เราจะไปบังอาจสอนลูกศิษย์ของท่านคุรุนานัก ได้อย่างไร”
ท่านคุรุอังขัต ปฏิบัติภารกิจประจำวันตามแบบอย่างของท่านคุรุนานัก โดยท่านจะตื่นนอนตอนเช้ามืดเพื่อร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้า คือท่านจะสวดมนต์ตามบทสวด “ซัปจิ” ซึ่งเป็นบทสวดมนต์สำหรับตอนเช้า และตามด้วยการร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าตามบทสวด “อาซาดิวาร (Asa Di War)” ก่อนออกไปทำงาน และเมื่อกลับมาในตอนเย็นท่านก็จะสวดมนต์และร้องเพลงสรรเสริญเพื่อขอพรจากพระเจ้าอีกครั้งเป็นประจำทุกวัน
ท่านคุรุอังขัต เป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรภาษาปัญจาบี หรือที่เรียกว่า ตัวอักษรกุรมักขิ (Gurmukhi) นั่นเอง ท่านได้แนะนำและส่งเสริมให้ลูกศิษย์ของท่านจดบันทึกบทเพลงและบทสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งต่อมาตัวอักษรดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นสื่อที่สำคัญที่ใช้เป็นภาษาในการบันทึกบทเพลงและบทสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าต่างๆ ที่ได้บัญญัติขึ้นโดยศาสดาทั้งหมดของศาสนาซิกข์นั่งเอง

ภาพคุรุอังคัท (Guru Angad Dev) ศาสดาองค์ที่ 2 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(3) คุรุอมรทาส (Guru Amar Das) (พ.ศ.2095 - 2117)
ท่านคุรุอมรทาส เกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2022 ที่หมู่บ้านบาซาร์เก ซึ่งตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอมฤตสระ ประมาณ 13 กิโลเมตร พระบิดาของท่านมีพระนามว่า ศรีเตจบาน ปรพกอบอาชีพเป็นพ่อค้าชาวนา พระมารดาของท่านมีพระนามว่า มาตาลักษมี และท่านได้สมรสกับท่านบิบิบรามกอร์ และต่อมามีลูกชาย 2 คน คือ โมฮริ และโมฮันและมีลูกสาว 2 คน คือ ดาณิ และบาณี
ท่านเป็นผู้ที่เคยเคร่งศาสนาฮินดูนิกายเวชชานาไวท์อย่างมาก ท่านได้เดินทางไปแสวงบุญและปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูและการถือศีลอดอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อท่านมีอายุประมาณ 55 ปี ท่านก็ได้ยินหลานสาวของท่านที่มีชื่อว่า บิบิอัมโร ร้องเพลงสวดมนต์ของพระและสรรเสริญพระเจ้าของท่านคุรุนานัก ในทันทีทันใดนั้นท่านก็ได้ตัดสินใจที่จะร่วมเดินทางไปยังเมืองคาร์ดูร พร้อมกับหลานสาว บิบิ อัมโร เมืองนี้คือเมืองที่ม่านคุรุอังขัต ได้พำนักอาศัยอยู่เพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อไปถึงที่นั่นท่านคุรุรอมรทาสก็ได้ก้มลงกราบแทบเท้าของท่านคุรุอังชขัต เพื่อของให้ท่านยอมรับตนในฐานะลูกศิษย์ที่นอบน้อมของท่าน ท่านคุรุอมรทาส ได้อุทิศตนเพื่อรับใช้ ท่านคุรุอังขัต ด้วยจิตใจที่ยึดมั่นและศรัทธาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 12 ปีทีเดียว
ท่านคุรุอมรทาสได้พบกับสัจธรรมและแสงสว่างในชีวิต ด้วยการชี้นำจากท่านคุรุอังขัต ที่เมืองดาร์ดูร ในปี พ.ศ.2084 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2095 ท่านคุรุอังขัตก็ได้ส่งมอบหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่ได้รับมาจากท่านคุรุนานัก ให้แก่ ท่านคุรุอมรทาสเพื่อให้ท่านเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างแห่งชีวิตให้กับเหล่าชาวซิกข์ต่อไป ด้วยการแต่งตั้งให้ท่านคุรุอมรทาสขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากนี้ไม่นาน ชาวซิกข์มากมายก็ได้พากันมากราบนมัสการท่านคุรุอมรทาส ที่เมืองโกอิงวัล ซึ่งในขณะนั้น ท่านดาโธ ลูกชายของท่านคุรุอังขัต ก็ได้ประกาศตนเองเป็นท่านคุรุเช่นกัน หลังจากที่ท่านคุรุอังขัตเสียชีวิตลงและอาศัยอยู่ในเมืองคาดูร ท่านดาโธไม่พอใจและอิจฉาริษยาต่อท่านคุรุอมรทาส ที่ได้ขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ต่อไปเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดเดินทางไปยังเมืองโกอิงวัลและยิ่งไม่พอใจเมื่อได้เห็นผู้คนมากราบนมัสการท่านคุรุอมรทาสอย่างมากมาย ท่านดาโธได้กล่าวว่าท่านคุรุอมรทาส ว่าท่านเป็นเพียงผู้รับใช้ในบ้านของเราเมื่อวานนี้ และกล้าดีอย่างไรถึงได้ประกาศตนเองขึ้นเป็นพระศาสดาในวันนี้ และพยายามหาวิธีเพื่อให้ท่านคุรุอมรทาสเลิกเป็นพระศาสดา
ที่นี่ท่านคุรุอมรทาส ได้เก็บตัวเองอยู่คนเดียวในบ้านเล็กๆ หลังหนึ่งและเริ่มการทำสมาธิอย่างตั้งมั่นที่หน้าประตูของบ้านหลังนี้ ท่านได้เขียนประกาศไว้ว่า “ใครก็ตามที่เปิดประตูนี้เข้ามาไม่ใช่ลูกศิษย์ชาวซิกข์ของเรา และเราก็ไม่ใช่พระศาสดาของท่าน” ซึ่งต่อมาลูกศิษย์ชาวซิกข์ผู้ซื่อสัตย์ของท่านมากมาย โดยมีท่านบาบาบุดดาเป็นผู้นำ ได้สืบพบบ้านหลังนี้ และได้อ่านประกาศที่หน้าประตูบ้าน จึงได้หาวิธีเข้าบ้านหลังนี้ด้วยการพังหน้าต่างเข้าไป และกล่าวกับท่านคุรุอมรทาสว่าท่านพระศาสดาไม่ได้สนใจในชื่อเสียง ความร่ำรวย หรือแม้กระทั่งลูกศิษย์ แต่พวกเราลูกศิษย์ของท่านไม่สามารถอยู่โดยปราศจากคำแนะนำของท่านได้ หากท่านไม่ชี้นำทางให้แก่พวกเรา เราก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางใด เมื่อท่านคุรุอมรทาส ได้เห็นลูกศิษย์ของท่านร้องไห้อ้อนวอนท่าน ท่านก็ตัดสินใจเดินทางกลับไปยังเมืองโกอิงวัล ส่วนท่านดาโธ เมื่อไม่มีใครสนใจและยอมเป็นลูกศิษย์ท่าน ท่านจึงได้เดินทางกลับไปยังเมือคาดูร
ท่านคุรุอมรทาสยังคงจัดให้มีการทำอาหารเพื่อแจกให้กับชาวซิกข์ทุกคน (LanKar) ซึ่งจะเปิดแจกอาหารตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าท่านจะจัดให้มีการแจกอาหารที่ดีอย่างไร แต่ท่านคุรุอมรทาสก็ยังคงรับประทานอาหารธรรมดาเท่านั้น ท่านจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลรักษาและทำการพยาบาลให้แก่คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยและคนแก่สูงอายุ ท่านคุรุอมรทาสได้กล่าวไว้ว่า ใครก็ตามที่ต้องการให้เราสนใจดูแลจะต้องรับประทาอาหารที่เราแจกให้ก่อน
ท่านคุรุอมรทาสไม่เพียงแต่สนับสนุนความเสมอภาค เท่าเทียมกันของคนทุกคนแล้ว ท่านยังได้สนับสนุนสิทธิสตรี โดยท่านพยายามสอนให้ผู้หญิงเลิกการที่จะต้องใช้ผ้าคลุมหน้าตลอดเวลาและเลิกการที่จะต้องเผาตัวเองตายตามสามีที่ตายจากเธอไป ที่เรียกกันว่า พิธีสตี ท่านคุรุอมรทาส ยังได้ต่อต้านต่อการที่ผู้หญิงที่เป็นแม่หม้าย ห้ามแต่งงานใหม่อีกต่อไปในชีวิตของเธอ
ท่านคุรุอมรทาสได้ทำการวางแผนในการเผยแพร่ศาสนาซิกข์อย่างเป็นระบบ ท่านได้ฝึกอบรมเขาอบรมลูกศิษย์ของท่านกว่า 146 คน เรียกว่า มาซันส์ ซึ่งเป็นผู้หญิงถึง 52 คน เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ต่อไป ท่านยังได้จัดตั้งศูนย์กลางปฏิบัติธรรมถึง 22 แห่ง เรียกว่า มันยิส สถานที่เหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการเผยแผ่ศาสนาซิกข์และรวบรวมเงินบริจาคเพื่อไว้ใช้ในภารกิจต่างๆ ท่านคุรุอมรทาส ยังได้กำหนดวันสำคัญทางศาสนาขึ้นอีก 3 วัน ดังนี้ คือ วันที่ 13 เดือนเมษายน เป็นวันบายซาขิ และวันที่ขึ้น 15 ค่ำของเดือน 1 เป็นวันมักขิ และวันดิวาลิ ซึ่งเป็นเฉลิมฉลองด้วยการจุดไฟตามศาสนาฮินดู ซึ่งทั้ง 3 วันนี้ ชาวซิกข์ทุกท่านควรอธิฐานสวดมนต์สรรเสริญเพื่อขอพรจากพระเจ้า
จากการที่ศาสนาซิกข์ได้เผยแผ่ออกไปอย่างรวดเร็วนั้น ท่านคุรุอมรทาสได้สั่งให้ลูกเขยผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ซื่อสัตย์ของท่าน คือ ท่าน เจทธา ได้เดินทางไปดูแลและก่อตั้งเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง ท่านคุรุอมรทาสต้องการให้ท่านเจทธาไปขุดบ่อน้ำและสร้างบ้านของตัวเองขึ้นเป็นอย่างแรก ท่านเจทธาได้เดินทางไปซื้อที่ดินเป็นจำนวน 700 รูปี ในเมืองตัง ท่านได้ทำการขุดบ่อน้ำ และสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ โดยต่อมาท่านได้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า เมืองรามดาสปูร ซึ่งปัจจุบันก็คือ เมืองอมฤตสระ เมืองที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์และเป็นที่ตั้งของวิหารทองคำนั่นเอง
ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2117 ท่านคุรุอมรทาส ได้รู้ว่าท่านต้องจากโลกนี้ไปแล้ว ท่านจึงได้เรียกลูกศิษย์คนสำคัญต่างๆ ของท่านมาและประกาศว่า ตามประเพณีที่ได้ก่อตั้งขึ้นโดยท่าน คุรุนานัก ตำแหน่งพระศาสดาจะต้องถูกสืบทอดต่อไปยังลูกศิษย์ที่ได้ปฏิบัติรับใช้ด้วยจิตใจที่ยึดมั่นศรัทธามากที่สุด ดังนั้น เราจึงขอยกตำแหน่งนี้ให้กับลูกเขยของเรา คือ ท่านเจทธา และได้เปลี่ยนชื่อให้ท่านเจทธาเป็น “รามทาส” ซึ่งแปลว่า ผู้รับใช้พระเจ้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกๆ คนยินดีและก้มลงกราบท่านคุรุรามทาสศาสดาแห่งศาสนาซิกข์องค์ใหม่ ยกเว้นท่านโมฮัน ลูกชายคนโตของท่านคุรุอมรทาส เท่านั้น และหลังจากนั้นไม่นาน ท่านคุรุอมรทาส ก็ถึงแก่ความตามในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกันยายน ในปี พ.ศ.2117 ซึ่งในขณะนั้นท่านได้มีอายุ 95 ปี
ภาพคุรุอมระ ทาส (Guru Amar Das) ศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(4) คุรุรามทาส (Guru Ram Das) (พ.ศ.2117 - 2124)
ท่านคุรุรามทาส เดิมคือท่านเจทธา เกิดในปี ค.ศ.2077 ในหมู่บ้านจูนามันดิ ในเมืองลาธอร์ ในแคว้นปัญขาบ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน พระบิดาของท่านคือท่านศรีฮารทาส และพระมารดาของท่าน คือ ท่านมาตาดายา กอร์ ท่านได้สมรสกับท่านบิบิบาณิ และมีลูกชาย 3 คน คือ ท่านปริทริจันทร์ ท่านมหาเดวะ และท่านอัรยัน
การอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และการถ่อมตัว เป็นคุณธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านคุรุอังขัต และท่านคุรุอมรทาสได้ผ่านการทดสอบที่เคร่งครัดมากก่อนที่ท่านจะได้รับการยอมรับเป็นลูกศิษย์ของท่านพระศาสดาต่างๆ จนท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาในที่สุด ท่านคุรุรามทาสก็เช่นกัน ท่านได้สูญเสียพระมารดาของท่านไปตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็กทารก และพระบิดาของท่านก็ได้จากท่านไปตั้งแต่ตอนที่ท่านมีอายุเพียง 7 ปี ถึงแม้ว่าท่านจะยังเป็นเพียงเด็กน้อย แต่ท่านก็ยังพยายามปลอบท่านย่าของท่านให้หยุดเศร้าโศกเสียใจ ท่านได้เติบโตในเมืองบาซาร์เก และครอบชีพด้วยการเป็นพ่อค้าเข็นรถขายเมล็ดถั่วต้ม
ท่านคุรุอมรทาสได้สังเกตท่านมาตั้งแต่นั้น ด้วยการเป็นลูกค้าอุดหนุนท่าน และท่านก็ได้รับการต้อนรับที่น่าประทับใจตลอดมา เมื่อท่านคุรุอมรทาสได้ย้ายไปยังเมืองโกอิงวัล ท่านเจทธาก็ได้เดินทางไปด้วย และในเวลาต่อมาท่านก็ได้แต่งงานลูกสาวท่าน คือ ท่านบิบิบาณิ ท่านหบายเจทธา ได้ทำตามที่ท่านคุรุอมรทาสรับสั่ง คือ ได้สร้างเมืองในสถานที่ที่ท่านคุรุอมรทาสได้รับสั่งไว้
ต่อมาเมืองแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ ได้ถูกเรียกว่า คุรุจักร ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อของเมืองรามดาสปูระ และต่อมาเมื่อท่านได้ก่อสร้างบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา สถานที่นี้ก็ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อเมืองอมฤตสระ ซึ่งแปลว่า “บ่อน้ำแห่งความอมตะ” จนมีคนกล่าวขานกันว่า “การได้ลงไปอาบน้ำในบ่อน้ำของท่านคุรุรามทาสนี้ เปรียบเสมือนกับการได้ล้างบาปทั้งหมดให้หมดสิ้นไป” เมืองอัมฤตสระนี้ก็ยังคงเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อศาสนาซิกข์ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
การทุ่มเทปรนนิบัติรับใช้ท่านพระศาสดาด้วยความศรัทธาและจริงใจของท่านหบายเจทธา นี้ทำให้ท่านคุรุอมรทาสชื่นชมยินดียิ่งนัก จนในที่สุด ในปี ค.ศ.2117 ท่านก็ได้ส่งมอบหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ท่านคุรุรามทาส และได้แต่งตั้งให้ท่านขึ้นเป็นพระศาสดา เพื่อให้ท่านเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างแห่งชีวิตให้กับชาวซิกข์ต่อไป
ท่านคุรุรามทาสยังคงจัดให้มีการร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญ และขอพรจากพระเจ้า (Kirtan) และจัดให้มีการทำอาหารเพื่อแจกให้กับชาวซิกข์ทุกคน (Lankar) และคอยดูแลรับใช้ทุกคนด้วยความถ่อมตน (Sewa) ท่านคุรุรามทาสจะเน้นถึงการปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่นด้วยความถ่อมตนและถือว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญของชาวซิกข์ทุกคน นอกจากนี้ท่านยังสอนให้ยึดมั่นใจความซื่อสัตย์สุจริตและสวดมนต์สรรเสริญรวมทั้งของพรจากพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอ
ครั้งหนึ่งหลานคนแรกของท่านคุรุรามทาสได้มาเชื้อเชิญให้ท่านเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองลาฮอร์ เพื่อไปจัดการจัดพิธีแต่งงานให้กับลูกชายของเขา แต่ท่านคุรุรามทาสไม่สามารถละทิ้งหน้าที่นี้ไปได้จึงได้สัญญาว่าจะส่งลูกชายของตนไปแทน ซึ่งต่อมาท่านคุรุรามทาสได้ขอให้ลูกชายคนโตของท่าน คือท่านปริทริจันทร์ ให้ไปจัดการแทนท่าน แต่ลูกชายของท่านได้ปฏิเสธท่านเพราะกลัวว่าท่านคุรุรามทาสจะยายามคิที่จะกำจัดท่านไปให้พ้นทาง เพื่อจะได้แต่งตั้งให้น้องชายคนเล็กสุดของท่าน คือ ท่านอัรยัน ขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ต่อไป เพราะท่านอัรยันเป็นลูกชายคนโปรดของท่าน ส่วนท่านมหาเดวซึ่งเป็นลูกชายคนกลางของท่านคุรุรามทาส นั้นต้องการอยู่อย่างสันโดษ และไม่สนใจในทางโลก
ดังนั้น ท่านคุรุรามทาสจึงต้องขอให้ลูกชายคนสุดท้องของท่าน คือ ท่านอัรยัน ไปจัดการแทน ซึ่งท่านก็ยินดีที่จะไปด้วยความเต็มใจ ทำให้ท่านคุรุรามทาส ปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ท่านอัรยัน ก็ได้เดินทางออกสู่เมืองลาฮอร์ และอยู่ที่นั้นตามคำสั่งของพระบิดาของท่าน เพื่อเผยแผ่หลักธรรมและคำสอนของศาสนาซิกข์ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเรียกให้กลับมา อีก 2 ปีต่อมา ท่านอัรยัน รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ เพราะคิดถึงบ้านเกิดเป็นอย่างยิ่ง จึงได้แต่งบทกลอน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอุทิศตนขึ้นมา และได้ส่งไปให้ท่านคุรุรามทาส ซึ่งต่อมาอีกประมาณ 2 – 3 เดือน ท่านอัรยันก็ได้ส่งบทกลอนไปให้พระบิดาของท่านอีก แต่จดหมายของท่านอัรยัน ไม่เคยถึงมือพระบิดาของท่าน เนื่องจากพี่ชายของท่าน คือ ท่านปริทริจันทร์ เกิดความอิจฉาริษยา และคอยกลั่นแกล้งไม่ส่งจดหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นให้พระบิดา ท่านอัตยัน จึงเขียนจดหมายฉบับที่ 3 ขึ้นมาใหม่ และสั่งให้คนส่งข่าวนำไปให้กับมือของท่านคุรุรามทาส แต่เพียงผู้เดียว
จดหมายนี้มีความว่า “เวลาแห่งการพรากจากนั้นช่างยาวนานมาก เมื่อไรเราจะได้เจอท่านพระบิดาที่รักอีก หากไม่ได้เจอท่าน วันคืนของเราก็ไม่ยอมผ่านไป เรานอนไม่เคยหลับ เราเป็นผู้เสียสละอุทิศตน และจะเสียสละอุทิศตนอีกครั้งเพื่อท่าน ท่านพระศาสดาของมนุษย์ทั่งปวง”
ทันทีที่ได้อ่านบทกลอนนี้ในจดหมายที่ได้รับ ท่านรู้สึกได้ว่ามีจดหมายจากลูกชาย คือท่านอัรยัน ที่ส่งมาถึงท่านก่อนหน้าที่ถึง 2 ฉบับ แต่ท่านไม่ได้รับ จึงได้เรียกลูกชายคนโตของท่านคือ ท่านปริทริจันทร์ และถามหาความจริง ซึ่งในครั้งแรกท่านปฏิเสธ แต่เมื่อพระบิดาซักถามบ่อยครั้งเข้า ท่านก็ยอมรับ และสารภาพความจริงทุกอย่าง และมอบจดหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นให้พระบิดาของท่าน เมื่อท่านคุรุรามทาส ได้อ่านจดหมายนั้น ท่านก็ถึงกับน้ำตาคลอ ซึ้งกับความจริงใจและการถ่อมตนของท่านอัรยัน ดังนั้น ท่านจึงได้สั่งให้ท่านบาบาบุดดารีบเดินทางไปยังเมืองลาฮอร์ และรับลูกชายของท่านกลับมาในทันที ซึ่งต่อมา ท่านคุรุรามทาส ก็ได้แต่งตั้งให้ท่านอัรยัน ขึ้นเป็นพระศาสดา ซึ่งทำให้ท่านปริทริจันทร์ไม่พอใจในการตัดสินใจของพระบิดา และคอยกลั่นแกล้งและด่าว่า ท่านคุรุอัรยันอยู่ตลอด ทำให้ท่านคุรุรามทาสต้องประณามและลงโทษในการกระทำลูกชายคนโตของท่านต่อหน้าสาธารณชน ต่อมาไม่นานนักท่านคุรุรามทาสก็ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 1 เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2124
ภาพคุรุรามทาส (Guru Ram Das) ศาสดาองค์ที่ 4 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(5) คุรุอัรยันซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ศาสดาพระองค์ที่ 5 คุรุอัรยันซาฮิบ
ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของศาสดาพระองค์ก่อนๆ ทั้ง 4 พระองค์รวมทั้งของพระองค์เองและนักบุญ นักบวชต่างๆ ไม่ว่าจะศาสนาใดที่มีแนวคิด ปรัชญา และความสัจจะ รู้แจ้งเห็นจริงและขนานนามพระมหาคัมภีร์นี้ว่า “อาดิครันถ์ซาฮิบ” เป็นพระคัมภีร์องค์เดียวในสากลโลกที่มีการเรียบเรียงโดยศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา) ในช่วงสมัยพระชนมายุของพระองค์เอง ศาสดาคุรุอรยันซาฮิบได้ทรงก่อตั้งคุรุดวารา (ศาสนาสถานซิกข์) ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของโลก คือ - ศิริฮัรมันดิรซาฮิบ (สุวรรณวิหารในนครอมฤตสระ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์ ในปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐปันจาบ ประเทศอินเดีย
ภาพคุรุอัรยันซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาดิครันถ์เป็นพระมหาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์ สำหรับชาวซิกข์พระมหาคัมภีร์ คือ องค์พระศาสดา ศาสดาคุรุโควินท์สิงห์ได้ทรงบัญญัติว่าหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ให้ชาวซิกข์เคารพและปฏิบัติตามบทสั่งสอนในศาสดาศรีคุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประกอบด้วยบทสวดภาวนา บทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ในพระมหาคัมภีร์เปี่ยมล้นด้วยบทแห่งความรัก สัจธรรม ความถ่อมตน มนุษยธรรม ความเมตตาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ความรักในเพื่อนมนุษย์ การควบคุมกิเลส ความเมตตาต่อมวลชีวิต ความบริสุทธิ์ของกายและใจ การค้นหาตนเอง และพัฒนาจิตใจให้สูงส่งความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง การรับใช้ผู้อื่นและแนวทางดำรงชีวิตอย่างมีสัจธรรมหนทางแห่งความหลุดพ้นจากสังสารวัฎ
ภาพมหาคัมภีร์ “อาดิครันถ์ซาฮิบ”

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(6) คุรุหริโควินท์ (Guru Har Gobind) (พ.ศ. 2149-2181)
ท่านคุรุหริโควินทร์ เกิดที่หมู่บ้านวาดาลิในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2138 ท่านเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของท่านคุรุอัรยัน โดยได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระศาสดาตั้งแต่อายุ 11 ปี ในขณะที่ กษัตริย์จีฮังกีระกำลังตามจับท่านคุรุอัรยันไปกักขังไว้ในเมืองลาฮอร์ ท่านคุรุหริโควินทร์มีลูกชาย 5 คน คือ ท่านกุรดทตะ , ท่านสุรัช มาล , ท่านอะนิหราย , ท่านอตัลหราย และท่านเทคะบาฮาดูร
ท่านคุรุอัรยันได้สอนท่านคุรุหริโควินทร์ ทั้งความรู้ทางภาษา และทางปรัชญาศาสนานอกจากนี้ยังสอนให้ท่านหัดขี่ม้า ฝึกใช้อาวุธ สอนความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการดูแลชุมชน ท่านบาบาบุดดาได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนความรู้ทางด้านศาสนาให้แก่ท่านคุรุหริโควินทร์ ส่วนวิชาอื่นๆ นั้น ก็มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิชานั้นๆ โดยเฉพาะเป็นอาจารย์
ในพิธีแต่งตั้งให้ท่านคุรุหริโควินทร์ขึ้นเป็นพระศาสดา ท่านได้ประกาศยกเลกการสวมใส่ผ้าแซหลิ (ผ้าที่ใช้โพกศรีษะ) ซึ่งเป็นประเพณีการสวมใส่มาตั้งแต่สมัยของท่านคุรุนานัก หากแต่ประกาศให้มีการใช้ผ้าโพกหัวแบบซิกข์ โดยลักษณะผ้าแซหรินั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับผ้าโพกหัวของชาวมุสลิม อีกทั้งประกาศให้มีพกดาบประจำตัวให้ชายชาวซิกข์ไว้กับตัวทุกคน ท่านบาบาบุดดาไม่เคยถือดาบมาก่อน จึงได้สะพายดาบให้ท่านคุรุหริโควินทร์ผิดด้าน ท่านคุรุหริโควินทร์จึงสั่งให้นำดาบอีกอันหนึ่งมาให้ท่านแล้วกล่าวว่า “เราจะสะพายดาบทั้ง 2 อัน คือ ดาบแห่งพลังอำนาจ (Shakti) และดาบแห่งแสงสว่าง (Bhakti)” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ 2 อย่างของท่านคุรุหริโควินทร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพระศาสดาในปี พ.ศ.2149 ต่อมาก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ในเมืองอมฤตสระ คือ วัดอกาล ตาคัธ ซึ่งวัดนี้จะออกแบบให้มีด้านหน้าหันเข้าหาคุรุดวาราหริมันดิระซาฮิบ (วิหารทองคำ) และท่านคุรุหริโควินทร์ อาศัยอยู่ที่นี่เพื่อดูแลและเผยแพร่หลักธรรมและคำสอนของศาสนาซิกข์ ท่านคุรุหริโควินทร์ รู้ดีว่าเราชาวซิกข์จะต้องไม่นิ่งดูดายต่อเอกราชที่พวกเขามีอยู่หากแต่ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้แข็งแรงเพื่อปกป้องเอกราชของตนต่อไป ท่านส่งเสริมให้ชายชาวซิกข์ทุกคนฝึกฝนทางด้านวิชาทหาร และมีการแจกพาหนะคือม้า และอาวุธคือดาบให้แก่ชาวซิกข์ที่สนใจ ชาวซิกข์จะต้องไม่เพียงแต่ตั้งมั่นศรัทธาและสวดมนต์ขอพรจากพระเจ้า หากแต่จะต้องฝึกหัดตน เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ให้ได้ด้วย ต่อมาไม่นานนัก ท่านคุรุหริโควินทร์ ก็สามารถสร้างกองกำลังกองทัพทหารม้าได้มากกว่า 1,000 คน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านคุรุหริโควินทร์ ก็ยังคงปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของท่านอย่างเคร่งครัด ซึ่งก็คือ การร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญ และขอพรจากพระเจ้าในตอนเช้ามือของทุกวันสม่ำเสมอ
กษัตริย์จีฮังกีระ ได้ข่าวกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ของท่านคุรุหริโควินทร์ จึงประกาศให้ทำการจับตัวท่านคุรุหริโควินทร์ทันที ท่านคุรุหริโควินทร์ถูกจับตัวเป็นเชลยอยู่ที่ป้อมปราการกวาเลอร์นานถึง 3 ปี ทำให้ชาวซิกข์ทั้งหลายเป็นห่วงท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดพากันไปเฝ้าท่านที่บริเวณหน้าป้อมปราการ แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถเข้าพบท่านคุรุหริโควินทร์ ได้ พวกเข้าก็พากันกราบไว้ท่านจากทางด้านนอกแทน ซึ่งในช่วงเวลานั้น แคว้นปัญจาบกำลังอยู่ในความวุ่นวาย เนื่องจากมีการก่อกบฏ เหตุเพราะว่ากษัตริย์ไม่ยอมปล่อยตัวท่านคุรุหริโควินทร์ ให้เป็นอิสระถึงแม้ว่าจะมีนักปราชญ์ชาวมุสลิมผู้รักความสงบบางคน พยายามโน้มน้าวให้กษัตริย์ปล่อยตัวท่านออกมาก็ตาม
แต่ท่านคุรุหริโควินทร์ก็ได้ตั้งเงื่อนไขให้กษัตริย์ปล่อยตัวกษัตริย์ผู้บริสุทธิ์ของเมืองอื่นๆ ที่ถูกจับตัวมาเป็นเชลยให้เป็นอิสระด้วย กษัตริย์เหล่านี้ได้เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านคุรุหริโควินทร์เป็นยิ่งนัก ทำให้ท่านกษัตริย์จีฮังกีระต้องจำใจยอมทำตาม แต่ตกลงจะปล่อยกษัตริย์เหล่านี้ให้เป็นอิสระพร้อมกับท่านคุรุหริโควินทร์ ตามจำนวนกษัตริย์ที่สามารถจับเสื้อผ้าที่ท่านคุรุหริโควินทร์สวมใส่อยู่และเดินตามท่าน?

ศาสดาแห่งศาสนาซิกข์เรียกว่า “คุรุ” องค์ปฐมบรมศาสดา คือ คุรุนานักเทพ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๒ ณ หมู่บ้านตัลวันคืน ซึ่งเป็น หมู่บ้านเล็กๆ ปัจจุบันเรียก'ว่า “บันกาปา ซาสิบ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของเมืองลาโฮร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

ในสมัยของพระองค์ ศาสนาอิสลาม นิกายชุนนี ซึ่งมุ่งสอนเรื่องการสละความหรูหราสะดวกสบายกำลังมีบทบาทอย่างมากในสังคม ส่วนศาสนาฮินดูก็ได้เกิดลัทธิภักดีขึ้น ลัทธินี้มุ่งเน้นความจงรักภักดี และเชื่อมั่นในพระเป็นเจ้า โดยไม่ประสงค์สิ่งใดตอบแทน คุรุนานักเทพซึ่งมีความสนใจในศาสนามาแต่วัยเยาว์ จึงได้ศึกษาทั้งศาสนาฮินดูและอิสลาม โดยได้สนทนาธรรมกับนักบุญของทั้งสองศาสนา เมื่อเจริญวัยและแต่งงานมีครอบครัวได้แยกตัวไปบำเพ็ญตนและพิจารณาธรรมเพียงผู้เดียว เมื่อแน่ใจว่าตนได้ค้นพบธรรมะอันเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้เริ่มสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งปวง

ขณะนั้นประเทศอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในอินเดียนับถือศาสนาฮินดู จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นับถือศาสนาทั้งสอง พระศาสดาคุรุนานักเทพได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยสั่งสอนให้ทั้งสองฝ่ายสามัคคีไม่แบ่งแยกซึ่งกันและกันในเบื้องต้น พระศาสดาคุรุนานักเทพมีสาวกเพียงสองคน คนหนึ่งเป็นชาวฮินดู ส่วนอีก คนเป็นนักดนตรีชาวมุสลิม ทั้งสองคนได้ติดตามพระศาสดาคุรุนานักเทพ ออกเดินทางไปสอนศาสนายังที่ต่างๆ โดยแต่งหลักธรรมเป็นโศลกหรือ กาพย์กลอน แล้วดีดพิณร้องไป ทำให้มีชาวบ้านสนใจมาพิงมากในทุกแห่ง พระศาสดาคุรุนานักเทพกล่าวว่าตนเป็นเพียงครูผู้หนึ่งเท่านั้น เมื่อกลับจากสั่งสอนศาสนาแล้วได้กลับมาเป็นผู้ครองเรือนดังเดิม และสั่งสอนให้ทุกคนเป็นผู้ครองเรือนที่ดีและตั้งมั่นอยู่ในศาสนา ไม่สนับสนุนให้คนสละโลกเพื่อบำเพ็ญตบะ ด้วยเห็นว่าคฤหัสถ์เพศก็สามารถหลุดพ้นจากห้วงสงสารได้ หากบำเพ็ญภาวนาชำระล้างจิตใจให้สะอาดอยู่เสมอ ตามประวัติพระศาสดาคุรุนานักเทพเป็นผู้มีเมตตาสูงและมีความนอบน้อม แต่เคร่งครัดในหลักศาสนาและยึดมั่นในความถูกต้อง ตลอดชีวิตพระองค์ได้ออกเดินทางสอนศาสนาไปทั่วประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศใกล้เคียงได้พยายามสร้างความประนีประนอมและความสามัคคีระหว่างศาสนาต่างๆ ในประเทศอินเดียโดยให้ถือว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน เพราะมาจากพระเจ้าพระองค์เดียวกันและพระองค์เป็นพระเจ้าของมนุษยชาติทั้งมวล

ทั้งนี้ เมื่อพระศาสดาคุรุนานักเทพสิ้นพระชนม์ ศาสนาซิกข์มี พระศาสดาสืบต่อมาอีก 10 พระองค์ ดังนี้ (ชวลิต เสาวภาคย์พงศ์ชัย, 2555: 125-147)
(1) คุรุนานักซาฮิบ (Guru Nanak Sahib) (พ.ศ.2046 - 2081)
ศาสนาซิกข์ก่อกำเนิดโดยศาสดาคุรุนานักซาฮิบ พระองค์ประสูติในปี พ.ศ.2012 (ค.ศ. 1469) ในหมู่บ้านตัลวันดี ปัจจุบันมีนามว่า “นันกาน่า ซาฮิบ” ใกล้เมืองลาโฮร์ (ในประเทศปากีสถาน) ตั้งแต่วัยเยาว์ศาสดาคุรุนานักซาฮิบทรงปฏิเสธ และไม่เคยเชื่อถือหรือยอมรับในพิธีกรรมต่างๆ ที่ไร้เหตุผล หรือหลักฐาน เช่น การเชื่อถือในโชคลางหรือในเวทมนตร์คาถาใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนในสมัยนั้นเลื่อมใสและยึดถือเป็นสรณะ ศาสดาคุรุนานักซาฮิบและศาสดาทั้งเก้าพระองค์ที่สืบทอดจากพระองค์ได้ทรงวางรากฐาน และทรงปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างอันงดงามของการดำรงชีวิตในกรอบแห่งศีลธรรม ขณะเดียวกันก็ยังคงมีส่วนร่วมและบทบาทอันเข้มแข็งในสังคมฆราวาส (ทางโลก) ควบคู่กันไป

ภาพคุรุนานักซาฮิบ (Guru Nanak Sahib) ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(2) คุรุอังคัท (Guru Angad Dev) (พ.ศ.2081 - 2095)
ท่านคุรุอังคัต เกิดเมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2047 ที่หมู่บ้านมัตเตดิไซรานในเมือง
ฟิโรซปูร ซึ่งต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายมาอยู่ในเมืองคัดปูร พระบิดาของ ท่านหบายเลห์น่า มีพระนามว่า ศรีเฟอรูมาล ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำผู้มีจิตใจเมตตา พระมารดาของท่านหบายเลห์น่า มีพระนามว่า มาตาซับหราย และต่อมาในปี พ.ศ.2062 ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้สมรสกับท่านศรีขีวิ และต่อมามีลูกชาย 2 คน คือดาโส และดาโธ และมีลูกสาว 2 คน คืออัลโร และอโนขิ
เช่นเดียวกับพระบิดาของท่าน ท่านหบายเลห์น่า ก็เป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในเทพพระเจ้า “พระแม่ดุรกา” เป็นอย่างยิ่ง ท่านจะร่วมเดินทางกับพระบิดาของท่านเพื่อไปร่วมนมัสการพระแม่เจ้ายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สม่ำเสมอทุกปี และในการเดินทางครั้งหนึ่ง ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้พบกับ ท่านหบายโจทธา ผู้ซึ่งกำบังร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าได้อย่างไพเราะและเป็นที่น่าประทับใจยิ่งนัก เมื่อท่านหบายเลห์น่า ได้สอบถามดูก็ได้ความว่าเพลงร้องสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้านี้เป็นเพลงที่ ท่านคุรุนานัก เป็นผู้แต่งขึ้น ท่านหบายเลห์น่า จึงได้ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยม ท่านคุรุนานัก ที่เมืองการ์ตาร์ปูระ ในที่สุด ท่านหบายเลห์น่า ก็ได้มาพบกับ ท่านคุรุนานัก เมื่อท่านมีอายุได้ 27 ปี และได้เลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของ ท่านคุรุนานัก อย่างเคร่งครัดและท่านได้เลิกเชื่อถือและปฏิบัติตามความเชื่อเดิมของท่านตั้งแต่นั้นเรื่อยมา
ครั้งหนึ่งในระหว่างที่ ท่านหบายเลห์น่า อยู่ในเมืองการ์ตาร์ปูร ท่านได้ยินท่านคุรุนานัก สั่งให้ลูกชายของท่านช่วยเก็บภาชนะที่ตกลงไปในท่อระบายน้ำเสีย ซึ่งลูกชายทั้งสองของท่านคุรุนานัก ปฏิเสธที่จะลงไปเก็บภาชนะในท่อระบายน้ำเสียอันสกปรกนั้น ในทันทีทันใดนั้นท่านหบายเลห์น่า ก็ได้รีบกระโดดลงไปในท่อระบายน้ำอันสกปรกนั้นและเก็บภาชนะใบนั้นมาให้ ท่านคุรุนานัก ด้วยความเต็มใจ
ท่านหบายเลห์น่า ทำตามคำสั่งของ ท่านคุรุนานัก ทุกประการ ซึ่งทำให้ ท่านคุรุนานัก ประทับใจและชื่อชมในความจริงใจและความวิริยะอุตสาหะของท่านหบายเลห์น่า เป็นอย่างยิ่ง จนในที่สุด ท่านคุรุนานัก ก็ได้ขนานสมญานามใหม่ให้ ท่านหบายเลห์น่า คือ “อังขัต” ซึ่งแปลว่า “เป็นส่วนหนึ่งของเรา” และต่อมาเราชาวซิกข์ก็ได้เรียกท่านว่า “คุรุ อังขัต” มาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากที่ท่านได้อุทิศตนเพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ตามคำสั่งสอนของท่านคุรุรนานัก ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และด้วยจิตใจที่เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาซิกข์เป็นยิ่งนัก ท่านจึงได้หวนกลับไปหา ท่านคุรุนานัก ที่เมืองการ์ตาร์ปูระ และได้ปรนนิบัติรับใช้ ท่านคุรุรนานัก ด้วยความจริงใจและศรัทธาอันแรงกล้า และได้ผ่านการทดสอบที่นับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดท่านคุรุนานัก ก็ได้แต่งตั้งให้ท่านขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ใหม่ และได้ตั้งชื่อให้ท่านว่าท่านศาสดาคุรุอังขัต เพื่อเป็นผู้รับช่วงต่อจากท่านใน ปีพ.ศ.2082 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ ท่านคุรุนานัก ได้สิ้นพระชนม์ลง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท่านคุรุอังขัต เดินทางกลับไปยังเมืองคาดูร เพื่อปฏิบัติธรรมและทำสมาธิอยู่นานถึง 6 เดือน จนในที่สุด ลูกศิษย์ชาวซิกข์ทั้งหลาย นำโดย ท่านบาบาบุดดา ก็ได้เดินทางไปหาท่าน เพื่อโน้มน้าวให้ท่านคุรุอังขัต กลับมาอยู่กับพวกเขาทุกคน ซึ่งท่านอังขัต ก็ได้ตอบ ท่านบาบาบุดดา ดังนี้
“ท่านคุรุนานัก ผู้ซึ่งเป็นคนที่เรารักยิ่งกว่าสิ่งใดได้ตายจากไปแล้ว ชีวิตที่ปราศจากท่านอันเป็นที่รักยิ่งเป็นชีวิตที่ถูกสาปแช่ง ศีรษะควรถูกตัดออกจากบ่าหากไม่สามารถก้มกราบท่านอาจารย์ได้อีก โอ้... ท่านนานัก! ร่างที่ต้องทรมานจากการพรากจากนี้น่าจะถูกเผาไหม้ไปเสีย ทุกคนที่ได้ฟังธรรมจาก ท่านคุรุนานักนั้นเปรียบเสมือนกับได้รับพรอันประเสริฐ เราจะไปบังอาจสอนลูกศิษย์ของท่านคุรุนานัก ได้อย่างไร”
ท่านคุรุอังขัต ปฏิบัติภารกิจประจำวันตามแบบอย่างของท่านคุรุนานัก โดยท่านจะตื่นนอนตอนเช้ามืดเพื่อร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้า คือท่านจะสวดมนต์ตามบทสวด “ซัปจิ” ซึ่งเป็นบทสวดมนต์สำหรับตอนเช้า และตามด้วยการร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าตามบทสวด “อาซาดิวาร (Asa Di War)” ก่อนออกไปทำงาน และเมื่อกลับมาในตอนเย็นท่านก็จะสวดมนต์และร้องเพลงสรรเสริญเพื่อขอพรจากพระเจ้าอีกครั้งเป็นประจำทุกวัน
ท่านคุรุอังขัต เป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรภาษาปัญจาบี หรือที่เรียกว่า ตัวอักษรกุรมักขิ (Gurmukhi) นั่นเอง ท่านได้แนะนำและส่งเสริมให้ลูกศิษย์ของท่านจดบันทึกบทเพลงและบทสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งต่อมาตัวอักษรดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นสื่อที่สำคัญที่ใช้เป็นภาษาในการบันทึกบทเพลงและบทสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าต่างๆ ที่ได้บัญญัติขึ้นโดยศาสดาทั้งหมดของศาสนาซิกข์นั่งเอง

ภาพคุรุอังคัท (Guru Angad Dev) ศาสดาองค์ที่ 2 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(3) คุรุอมรทาส (Guru Amar Das) (พ.ศ.2095 - 2117)
ท่านคุรุอมรทาส เกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2022 ที่หมู่บ้านบาซาร์เก ซึ่งตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอมฤตสระ ประมาณ 13 กิโลเมตร พระบิดาของท่านมีพระนามว่า ศรีเตจบาน ปรพกอบอาชีพเป็นพ่อค้าชาวนา พระมารดาของท่านมีพระนามว่า มาตาลักษมี และท่านได้สมรสกับท่านบิบิบรามกอร์ และต่อมามีลูกชาย 2 คน คือ โมฮริ และโมฮันและมีลูกสาว 2 คน คือ ดาณิ และบาณี
ท่านเป็นผู้ที่เคยเคร่งศาสนาฮินดูนิกายเวชชานาไวท์อย่างมาก ท่านได้เดินทางไปแสวงบุญและปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูและการถือศีลอดอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อท่านมีอายุประมาณ 55 ปี ท่านก็ได้ยินหลานสาวของท่านที่มีชื่อว่า บิบิอัมโร ร้องเพลงสวดมนต์ของพระและสรรเสริญพระเจ้าของท่านคุรุนานัก ในทันทีทันใดนั้นท่านก็ได้ตัดสินใจที่จะร่วมเดินทางไปยังเมืองคาร์ดูร พร้อมกับหลานสาว บิบิ อัมโร เมืองนี้คือเมืองที่ม่านคุรุอังขัต ได้พำนักอาศัยอยู่เพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อไปถึงที่นั่นท่านคุรุรอมรทาสก็ได้ก้มลงกราบแทบเท้าของท่านคุรุอังชขัต เพื่อของให้ท่านยอมรับตนในฐานะลูกศิษย์ที่นอบน้อมของท่าน ท่านคุรุอมรทาส ได้อุทิศตนเพื่อรับใช้ ท่านคุรุอังขัต ด้วยจิตใจที่ยึดมั่นและศรัทธาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 12 ปีทีเดียว
ท่านคุรุอมรทาสได้พบกับสัจธรรมและแสงสว่างในชีวิต ด้วยการชี้นำจากท่านคุรุอังขัต ที่เมืองดาร์ดูร ในปี พ.ศ.2084 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2095 ท่านคุรุอังขัตก็ได้ส่งมอบหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่ได้รับมาจากท่านคุรุนานัก ให้แก่ ท่านคุรุอมรทาสเพื่อให้ท่านเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างแห่งชีวิตให้กับเหล่าชาวซิกข์ต่อไป ด้วยการแต่งตั้งให้ท่านคุรุอมรทาสขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากนี้ไม่นาน ชาวซิกข์มากมายก็ได้พากันมากราบนมัสการท่านคุรุอมรทาส ที่เมืองโกอิงวัล ซึ่งในขณะนั้น ท่านดาโธ ลูกชายของท่านคุรุอังขัต ก็ได้ประกาศตนเองเป็นท่านคุรุเช่นกัน หลังจากที่ท่านคุรุอังขัตเสียชีวิตลงและอาศัยอยู่ในเมืองคาดูร ท่านดาโธไม่พอใจและอิจฉาริษยาต่อท่านคุรุอมรทาส ที่ได้ขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ต่อไปเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดเดินทางไปยังเมืองโกอิงวัลและยิ่งไม่พอใจเมื่อได้เห็นผู้คนมากราบนมัสการท่านคุรุอมรทาสอย่างมากมาย ท่านดาโธได้กล่าวว่าท่านคุรุอมรทาส ว่าท่านเป็นเพียงผู้รับใช้ในบ้านของเราเมื่อวานนี้ และกล้าดีอย่างไรถึงได้ประกาศตนเองขึ้นเป็นพระศาสดาในวันนี้ และพยายามหาวิธีเพื่อให้ท่านคุรุอมรทาสเลิกเป็นพระศาสดา
ที่นี่ท่านคุรุอมรทาส ได้เก็บตัวเองอยู่คนเดียวในบ้านเล็กๆ หลังหนึ่งและเริ่มการทำสมาธิอย่างตั้งมั่นที่หน้าประตูของบ้านหลังนี้ ท่านได้เขียนประกาศไว้ว่า “ใครก็ตามที่เปิดประตูนี้เข้ามาไม่ใช่ลูกศิษย์ชาวซิกข์ของเรา และเราก็ไม่ใช่พระศาสดาของท่าน” ซึ่งต่อมาลูกศิษย์ชาวซิกข์ผู้ซื่อสัตย์ของท่านมากมาย โดยมีท่านบาบาบุดดาเป็นผู้นำ ได้สืบพบบ้านหลังนี้ และได้อ่านประกาศที่หน้าประตูบ้าน จึงได้หาวิธีเข้าบ้านหลังนี้ด้วยการพังหน้าต่างเข้าไป และกล่าวกับท่านคุรุอมรทาสว่าท่านพระศาสดาไม่ได้สนใจในชื่อเสียง ความร่ำรวย หรือแม้กระทั่งลูกศิษย์ แต่พวกเราลูกศิษย์ของท่านไม่สามารถอยู่โดยปราศจากคำแนะนำของท่านได้ หากท่านไม่ชี้นำทางให้แก่พวกเรา เราก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางใด เมื่อท่านคุรุอมรทาส ได้เห็นลูกศิษย์ของท่านร้องไห้อ้อนวอนท่าน ท่านก็ตัดสินใจเดินทางกลับไปยังเมืองโกอิงวัล ส่วนท่านดาโธ เมื่อไม่มีใครสนใจและยอมเป็นลูกศิษย์ท่าน ท่านจึงได้เดินทางกลับไปยังเมือคาดูร
ท่านคุรุอมรทาสยังคงจัดให้มีการทำอาหารเพื่อแจกให้กับชาวซิกข์ทุกคน (LanKar) ซึ่งจะเปิดแจกอาหารตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าท่านจะจัดให้มีการแจกอาหารที่ดีอย่างไร แต่ท่านคุรุอมรทาสก็ยังคงรับประทานอาหารธรรมดาเท่านั้น ท่านจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลรักษาและทำการพยาบาลให้แก่คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยและคนแก่สูงอายุ ท่านคุรุอมรทาสได้กล่าวไว้ว่า ใครก็ตามที่ต้องการให้เราสนใจดูแลจะต้องรับประทาอาหารที่เราแจกให้ก่อน
ท่านคุรุอมรทาสไม่เพียงแต่สนับสนุนความเสมอภาค เท่าเทียมกันของคนทุกคนแล้ว ท่านยังได้สนับสนุนสิทธิสตรี โดยท่านพยายามสอนให้ผู้หญิงเลิกการที่จะต้องใช้ผ้าคลุมหน้าตลอดเวลาและเลิกการที่จะต้องเผาตัวเองตายตามสามีที่ตายจากเธอไป ที่เรียกกันว่า พิธีสตี ท่านคุรุอมรทาส ยังได้ต่อต้านต่อการที่ผู้หญิงที่เป็นแม่หม้าย ห้ามแต่งงานใหม่อีกต่อไปในชีวิตของเธอ
ท่านคุรุอมรทาสได้ทำการวางแผนในการเผยแพร่ศาสนาซิกข์อย่างเป็นระบบ ท่านได้ฝึกอบรมเขาอบรมลูกศิษย์ของท่านกว่า 146 คน เรียกว่า มาซันส์ ซึ่งเป็นผู้หญิงถึง 52 คน เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่ศาสนาซิกข์ต่อไป ท่านยังได้จัดตั้งศูนย์กลางปฏิบัติธรรมถึง 22 แห่ง เรียกว่า มันยิส สถานที่เหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการเผยแผ่ศาสนาซิกข์และรวบรวมเงินบริจาคเพื่อไว้ใช้ในภารกิจต่างๆ ท่านคุรุอมรทาส ยังได้กำหนดวันสำคัญทางศาสนาขึ้นอีก 3 วัน ดังนี้ คือ วันที่ 13 เดือนเมษายน เป็นวันบายซาขิ และวันที่ขึ้น 15 ค่ำของเดือน 1 เป็นวันมักขิ และวันดิวาลิ ซึ่งเป็นเฉลิมฉลองด้วยการจุดไฟตามศาสนาฮินดู ซึ่งทั้ง 3 วันนี้ ชาวซิกข์ทุกท่านควรอธิฐานสวดมนต์สรรเสริญเพื่อขอพรจากพระเจ้า
จากการที่ศาสนาซิกข์ได้เผยแผ่ออกไปอย่างรวดเร็วนั้น ท่านคุรุอมรทาสได้สั่งให้ลูกเขยผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ซื่อสัตย์ของท่าน คือ ท่าน เจทธา ได้เดินทางไปดูแลและก่อตั้งเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง ท่านคุรุอมรทาสต้องการให้ท่านเจทธาไปขุดบ่อน้ำและสร้างบ้านของตัวเองขึ้นเป็นอย่างแรก ท่านเจทธาได้เดินทางไปซื้อที่ดินเป็นจำนวน 700 รูปี ในเมืองตัง ท่านได้ทำการขุดบ่อน้ำ และสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ โดยต่อมาท่านได้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า เมืองรามดาสปูร ซึ่งปัจจุบันก็คือ เมืองอมฤตสระ เมืองที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์และเป็นที่ตั้งของวิหารทองคำนั่นเอง
ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2117 ท่านคุรุอมรทาส ได้รู้ว่าท่านต้องจากโลกนี้ไปแล้ว ท่านจึงได้เรียกลูกศิษย์คนสำคัญต่างๆ ของท่านมาและประกาศว่า ตามประเพณีที่ได้ก่อตั้งขึ้นโดยท่าน คุรุนานัก ตำแหน่งพระศาสดาจะต้องถูกสืบทอดต่อไปยังลูกศิษย์ที่ได้ปฏิบัติรับใช้ด้วยจิตใจที่ยึดมั่นศรัทธามากที่สุด ดังนั้น เราจึงขอยกตำแหน่งนี้ให้กับลูกเขยของเรา คือ ท่านเจทธา และได้เปลี่ยนชื่อให้ท่านเจทธาเป็น “รามทาส” ซึ่งแปลว่า ผู้รับใช้พระเจ้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกๆ คนยินดีและก้มลงกราบท่านคุรุรามทาสศาสดาแห่งศาสนาซิกข์องค์ใหม่ ยกเว้นท่านโมฮัน ลูกชายคนโตของท่านคุรุอมรทาส เท่านั้น และหลังจากนั้นไม่นาน ท่านคุรุอมรทาส ก็ถึงแก่ความตามในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกันยายน ในปี พ.ศ.2117 ซึ่งในขณะนั้นท่านได้มีอายุ 95 ปี
ภาพคุรุอมระ ทาส (Guru Amar Das) ศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(4) คุรุรามทาส (Guru Ram Das) (พ.ศ.2117 - 2124)
ท่านคุรุรามทาส เดิมคือท่านเจทธา เกิดในปี ค.ศ.2077 ในหมู่บ้านจูนามันดิ ในเมืองลาธอร์ ในแคว้นปัญขาบ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน พระบิดาของท่านคือท่านศรีฮารทาส และพระมารดาของท่าน คือ ท่านมาตาดายา กอร์ ท่านได้สมรสกับท่านบิบิบาณิ และมีลูกชาย 3 คน คือ ท่านปริทริจันทร์ ท่านมหาเดวะ และท่านอัรยัน
การอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และการถ่อมตัว เป็นคุณธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านคุรุอังขัต และท่านคุรุอมรทาสได้ผ่านการทดสอบที่เคร่งครัดมากก่อนที่ท่านจะได้รับการยอมรับเป็นลูกศิษย์ของท่านพระศาสดาต่างๆ จนท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาในที่สุด ท่านคุรุรามทาสก็เช่นกัน ท่านได้สูญเสียพระมารดาของท่านไปตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็กทารก และพระบิดาของท่านก็ได้จากท่านไปตั้งแต่ตอนที่ท่านมีอายุเพียง 7 ปี ถึงแม้ว่าท่านจะยังเป็นเพียงเด็กน้อย แต่ท่านก็ยังพยายามปลอบท่านย่าของท่านให้หยุดเศร้าโศกเสียใจ ท่านได้เติบโตในเมืองบาซาร์เก และครอบชีพด้วยการเป็นพ่อค้าเข็นรถขายเมล็ดถั่วต้ม
ท่านคุรุอมรทาสได้สังเกตท่านมาตั้งแต่นั้น ด้วยการเป็นลูกค้าอุดหนุนท่าน และท่านก็ได้รับการต้อนรับที่น่าประทับใจตลอดมา เมื่อท่านคุรุอมรทาสได้ย้ายไปยังเมืองโกอิงวัล ท่านเจทธาก็ได้เดินทางไปด้วย และในเวลาต่อมาท่านก็ได้แต่งงานลูกสาวท่าน คือ ท่านบิบิบาณิ ท่านหบายเจทธา ได้ทำตามที่ท่านคุรุอมรทาสรับสั่ง คือ ได้สร้างเมืองในสถานที่ที่ท่านคุรุอมรทาสได้รับสั่งไว้
ต่อมาเมืองแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ ได้ถูกเรียกว่า คุรุจักร ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อของเมืองรามดาสปูระ และต่อมาเมื่อท่านได้ก่อสร้างบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา สถานที่นี้ก็ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อเมืองอมฤตสระ ซึ่งแปลว่า “บ่อน้ำแห่งความอมตะ” จนมีคนกล่าวขานกันว่า “การได้ลงไปอาบน้ำในบ่อน้ำของท่านคุรุรามทาสนี้ เปรียบเสมือนกับการได้ล้างบาปทั้งหมดให้หมดสิ้นไป” เมืองอัมฤตสระนี้ก็ยังคงเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อศาสนาซิกข์ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
การทุ่มเทปรนนิบัติรับใช้ท่านพระศาสดาด้วยความศรัทธาและจริงใจของท่านหบายเจทธา นี้ทำให้ท่านคุรุอมรทาสชื่นชมยินดียิ่งนัก จนในที่สุด ในปี ค.ศ.2117 ท่านก็ได้ส่งมอบหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ท่านคุรุรามทาส และได้แต่งตั้งให้ท่านขึ้นเป็นพระศาสดา เพื่อให้ท่านเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างแห่งชีวิตให้กับชาวซิกข์ต่อไป
ท่านคุรุรามทาสยังคงจัดให้มีการร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญ และขอพรจากพระเจ้า (Kirtan) และจัดให้มีการทำอาหารเพื่อแจกให้กับชาวซิกข์ทุกคน (Lankar) และคอยดูแลรับใช้ทุกคนด้วยความถ่อมตน (Sewa) ท่านคุรุรามทาสจะเน้นถึงการปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่นด้วยความถ่อมตนและถือว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญของชาวซิกข์ทุกคน นอกจากนี้ท่านยังสอนให้ยึดมั่นใจความซื่อสัตย์สุจริตและสวดมนต์สรรเสริญรวมทั้งของพรจากพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอ
ครั้งหนึ่งหลานคนแรกของท่านคุรุรามทาสได้มาเชื้อเชิญให้ท่านเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองลาฮอร์ เพื่อไปจัดการจัดพิธีแต่งงานให้กับลูกชายของเขา แต่ท่านคุรุรามทาสไม่สามารถละทิ้งหน้าที่นี้ไปได้จึงได้สัญญาว่าจะส่งลูกชายของตนไปแทน ซึ่งต่อมาท่านคุรุรามทาสได้ขอให้ลูกชายคนโตของท่าน คือท่านปริทริจันทร์ ให้ไปจัดการแทนท่าน แต่ลูกชายของท่านได้ปฏิเสธท่านเพราะกลัวว่าท่านคุรุรามทาสจะยายามคิที่จะกำจัดท่านไปให้พ้นทาง เพื่อจะได้แต่งตั้งให้น้องชายคนเล็กสุดของท่าน คือ ท่านอัรยัน ขึ้นเป็นพระศาสดาองค์ต่อไป เพราะท่านอัรยันเป็นลูกชายคนโปรดของท่าน ส่วนท่านมหาเดวซึ่งเป็นลูกชายคนกลางของท่านคุรุรามทาส นั้นต้องการอยู่อย่างสันโดษ และไม่สนใจในทางโลก
ดังนั้น ท่านคุรุรามทาสจึงต้องขอให้ลูกชายคนสุดท้องของท่าน คือ ท่านอัรยัน ไปจัดการแทน ซึ่งท่านก็ยินดีที่จะไปด้วยความเต็มใจ ทำให้ท่านคุรุรามทาส ปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ท่านอัรยัน ก็ได้เดินทางออกสู่เมืองลาฮอร์ และอยู่ที่นั้นตามคำสั่งของพระบิดาของท่าน เพื่อเผยแผ่หลักธรรมและคำสอนของศาสนาซิกข์ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเรียกให้กลับมา อีก 2 ปีต่อมา ท่านอัรยัน รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ เพราะคิดถึงบ้านเกิดเป็นอย่างยิ่ง จึงได้แต่งบทกลอน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอุทิศตนขึ้นมา และได้ส่งไปให้ท่านคุรุรามทาส ซึ่งต่อมาอีกประมาณ 2 – 3 เดือน ท่านอัรยันก็ได้ส่งบทกลอนไปให้พระบิดาของท่านอีก แต่จดหมายของท่านอัรยัน ไม่เคยถึงมือพระบิดาของท่าน เนื่องจากพี่ชายของท่าน คือ ท่านปริทริจันทร์ เกิดความอิจฉาริษยา และคอยกลั่นแกล้งไม่ส่งจดหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นให้พระบิดา ท่านอัตยัน จึงเขียนจดหมายฉบับที่ 3 ขึ้นมาใหม่ และสั่งให้คนส่งข่าวนำไปให้กับมือของท่านคุรุรามทาส แต่เพียงผู้เดียว
จดหมายนี้มีความว่า “เวลาแห่งการพรากจากนั้นช่างยาวนานมาก เมื่อไรเราจะได้เจอท่านพระบิดาที่รักอีก หากไม่ได้เจอท่าน วันคืนของเราก็ไม่ยอมผ่านไป เรานอนไม่เคยหลับ เราเป็นผู้เสียสละอุทิศตน และจะเสียสละอุทิศตนอีกครั้งเพื่อท่าน ท่านพระศาสดาของมนุษย์ทั่งปวง”
ทันทีที่ได้อ่านบทกลอนนี้ในจดหมายที่ได้รับ ท่านรู้สึกได้ว่ามีจดหมายจากลูกชาย คือท่านอัรยัน ที่ส่งมาถึงท่านก่อนหน้าที่ถึง 2 ฉบับ แต่ท่านไม่ได้รับ จึงได้เรียกลูกชายคนโตของท่านคือ ท่านปริทริจันทร์ และถามหาความจริง ซึ่งในครั้งแรกท่านปฏิเสธ แต่เมื่อพระบิดาซักถามบ่อยครั้งเข้า ท่านก็ยอมรับ และสารภาพความจริงทุกอย่าง และมอบจดหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นให้พระบิดาของท่าน เมื่อท่านคุรุรามทาส ได้อ่านจดหมายนั้น ท่านก็ถึงกับน้ำตาคลอ ซึ้งกับความจริงใจและการถ่อมตนของท่านอัรยัน ดังนั้น ท่านจึงได้สั่งให้ท่านบาบาบุดดารีบเดินทางไปยังเมืองลาฮอร์ และรับลูกชายของท่านกลับมาในทันที ซึ่งต่อมา ท่านคุรุรามทาส ก็ได้แต่งตั้งให้ท่านอัรยัน ขึ้นเป็นพระศาสดา ซึ่งทำให้ท่านปริทริจันทร์ไม่พอใจในการตัดสินใจของพระบิดา และคอยกลั่นแกล้งและด่าว่า ท่านคุรุอัรยันอยู่ตลอด ทำให้ท่านคุรุรามทาสต้องประณามและลงโทษในการกระทำลูกชายคนโตของท่านต่อหน้าสาธารณชน ต่อมาไม่นานนักท่านคุรุรามทาสก็ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 1 เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2124
ภาพคุรุรามทาส (Guru Ram Das) ศาสดาองค์ที่ 4 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(5) คุรุอัรยันซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ศาสดาพระองค์ที่ 5 คุรุอัรยันซาฮิบ
ได้ทรงรวบรวมพระคัมภีร์ของศาสดาพระองค์ก่อนๆ ทั้ง 4 พระองค์รวมทั้งของพระองค์เองและนักบุญ นักบวชต่างๆ ไม่ว่าจะศาสนาใดที่มีแนวคิด ปรัชญา และความสัจจะ รู้แจ้งเห็นจริงและขนานนามพระมหาคัมภีร์นี้ว่า “อาดิครันถ์ซาฮิบ” เป็นพระคัมภีร์องค์เดียวในสากลโลกที่มีการเรียบเรียงโดยศาสดา (ผู้ก่อตั้งศาสนา) ในช่วงสมัยพระชนมายุของพระองค์เอง ศาสดาคุรุอรยันซาฮิบได้ทรงก่อตั้งคุรุดวารา (ศาสนาสถานซิกข์) ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของโลก คือ - ศิริฮัรมันดิรซาฮิบ (สุวรรณวิหารในนครอมฤตสระ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์ ในปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐปันจาบ ประเทศอินเดีย
ภาพคุรุอัรยันซาฮิบ (Guru Granth Sahib) ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาดิครันถ์เป็นพระมหาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์ สำหรับชาวซิกข์พระมหาคัมภีร์ คือ องค์พระศาสดา ศาสดาคุรุโควินท์สิงห์ได้ทรงบัญญัติว่าหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ให้ชาวซิกข์เคารพและปฏิบัติตามบทสั่งสอนในศาสดาศรีคุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งประกอบด้วยบทสวดภาวนา บทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ในพระมหาคัมภีร์เปี่ยมล้นด้วยบทแห่งความรัก สัจธรรม ความถ่อมตน มนุษยธรรม ความเมตตาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ความรักในเพื่อนมนุษย์ การควบคุมกิเลส ความเมตตาต่อมวลชีวิต ความบริสุทธิ์ของกายและใจ การค้นหาตนเอง และพัฒนาจิตใจให้สูงส่งความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง การรับใช้ผู้อื่นและแนวทางดำรงชีวิตอย่างมีสัจธรรมหนทางแห่งความหลุดพ้นจากสังสารวัฎ
ภาพมหาคัมภีร์ “อาดิครันถ์ซาฮิบ”

ที่มา: Sikn Social Enterprise (2009)

(6) คุรุหริโควินท์ (Guru Har Gobind) (พ.ศ. 2149-2181)
ท่านคุรุหริโควินทร์ เกิดที่หมู่บ้านวาดาลิในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2138 ท่านเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของท่านคุรุอัรยัน โดยได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระศาสดาตั้งแต่อายุ 11 ปี ในขณะที่ กษัตริย์จีฮังกีระกำลังตามจับท่านคุรุอัรยันไปกักขังไว้ในเมืองลาฮอร์ ท่านคุรุหริโควินทร์มีลูกชาย 5 คน คือ ท่านกุรดทตะ , ท่านสุรัช มาล , ท่านอะนิหราย , ท่านอตัลหราย และท่านเทคะบาฮาดูร
ท่านคุรุอัรยันได้สอนท่านคุรุหริโควินทร์ ทั้งความรู้ทางภาษา และทางปรัชญาศาสนานอกจากนี้ยังสอนให้ท่านหัดขี่ม้า ฝึกใช้อาวุธ สอนความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการดูแลชุมชน ท่านบาบาบุดดาได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนความรู้ทางด้านศาสนาให้แก่ท่านคุรุหริโควินทร์ ส่วนวิชาอื่นๆ นั้น ก็มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิชานั้นๆ โดยเฉพาะเป็นอาจารย์
ในพิธีแต่งตั้งให้ท่านคุรุหริโควินทร์ขึ้นเป็นพระศาสดา ท่านได้ประกาศยกเลกการสวมใส่ผ้าแซหลิ (ผ้าที่ใช้โพกศรีษะ) ซึ่งเป็นประเพณีการสวมใส่มาตั้งแต่สมัยของท่านคุรุนานัก หากแต่ประกาศให้มีการใช้ผ้าโพกหัวแบบซิกข์ โดยลักษณะผ้าแซหรินั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับผ้าโพกหัวของชาวมุสลิม อีกทั้งประกาศให้มีพกดาบประจำตัวให้ชายชาวซิกข์ไว้กับตัวทุกคน ท่านบาบาบุดดาไม่เคยถือดาบมาก่อน จึงได้สะพายดาบให้ท่านคุรุหริโควินทร์ผิดด้าน ท่านคุรุหริโควินทร์จึงสั่งให้นำดาบอีกอันหนึ่งมาให้ท่านแล้วกล่าวว่า “เราจะสะพายดาบทั้ง 2 อัน คือ ดาบแห่งพลังอำนาจ (Shakti) และดาบแห่งแสงสว่าง (Bhakti)” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ 2 อย่างของท่านคุรุหริโควินทร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพระศาสดาในปี พ.ศ.2149 ต่อมาก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ในเมืองอมฤตสระ คือ วัดอกาล ตาคัธ ซึ่งวัดนี้จะออกแบบให้มีด้านหน้าหันเข้าหาคุรุดวาราหริมันดิระซาฮิบ (วิหารทองคำ) และท่านคุรุหริโควินทร์ อาศัยอยู่ที่นี่เพื่อดูแลและเผยแพร่หลักธรรมและคำสอนของศาสนาซิกข์ ท่านคุรุหริโควินทร์ รู้ดีว่าเราชาวซิกข์จะต้องไม่นิ่งดูดายต่อเอกราชที่พวกเขามีอยู่หากแต่ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้แข็งแรงเพื่อปกป้องเอกราชของตนต่อไป ท่านส่งเสริมให้ชายชาวซิกข์ทุกคนฝึกฝนทางด้านวิชาทหาร และมีการแจกพาหนะคือม้า และอาวุธคือดาบให้แก่ชาวซิกข์ที่สนใจ ชาวซิกข์จะต้องไม่เพียงแต่ตั้งมั่นศรัทธาและสวดมนต์ขอพรจากพระเจ้า หากแต่จะต้องฝึกหัดตน เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ให้ได้ด้วย ต่อมาไม่นานนัก ท่านคุรุหริโควินทร์ ก็สามารถสร้างกองกำลังกองทัพทหารม้าได้มากกว่า 1,000 คน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านคุรุหริโควินทร์ ก็ยังคงปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของท่านอย่างเคร่งครัด ซึ่งก็คือ การร้องเพลงสวดมนต์สรรเสริญ และขอพรจากพระเจ้าในตอนเช้ามือของทุกวันสม่ำเสมอ
กษัตริย์จีฮังกีระ ได้ข่าวกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ของท่านคุรุหริโควินทร์ จึงประกาศให้ทำการจับตัวท่านคุรุหริโควินทร์ทันที ท่านคุรุหริโควินทร์ถูกจับตัวเป็นเชลยอยู่ที่ป้อมปราการกวาเลอร์นานถึง 3 ปี ทำให้ชาวซิกข์ทั้งหลายเป็นห่วงท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดพากันไปเฝ้าท่านที่บริเวณหน้าป้อมปราการ แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถเข้าพบท่านคุรุหริโควินทร์ ได้ พวกเข้าก็พากันกราบไว้ท่านจากทางด้านนอกแทน ซึ่งในช่วงเวลานั้น แคว้นปัญจาบกำลังอยู่ในความวุ่นวาย เนื่องจากมีการก่อกบฏ เหตุเพราะว่ากษัตริย์ไม่ยอมปล่อยตัวท่านคุรุหริโควินทร์ ให้เป็นอิสระถึงแม้ว่าจะมีนักปราชญ์ชาวมุสลิมผู้รักความสงบบางคน พยายามโน้มน้าวให้กษัตริย์ปล่อยตัวท่านออกมาก็ตาม
แต่ท่านคุรุหริโควินทร์ก็ได้ตั้งเงื่อนไขให้กษัตริย์ปล่อยตัวกษัตริย์ผู้บริสุทธิ์ของเมืองอื่นๆ ที่ถูกจับตัวมาเป็นเชลยให้เป็นอิสระด้วย กษัตริย์เหล่านี้ได้เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านคุรุหริโควินทร์เป็นยิ่งนัก ทำให้ท่านกษัตริย์จีฮังกีระต้องจำใจยอมทำตาม แต่ตกลงจะปล่อยกษัตริย์เหล่านี้ให้เป็นอิสระพร้อมกับท่านคุรุหริโควินทร์ ตามจำนวนกษัตริย์ที่สามารถจับเสื้อผ้าที่ท่านคุรุหริโควินทร์สวมใส่อยู่และเดินตามท่าน?