“อิสลาม” เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เมื่อนำคำว่า อิสลาม มาเป็นชื่อของศาสนาจึงมีความหมายว่า เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม จำนนต่อพระเจ้าคือ อัลลอฮ์ อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่ถูกประทางลงมาจากชั้นฟ้าด้วยความพอพระทัยของอัลลอฮ์ ที่จะมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงส่งท่านศาสดามุฮัมมัด บุตร อับดุลลอฮ์ มานำทางมนุษย์และญิน เพื่อให้ความเอกะแด่พระองค์ในการเป็นพระผู้อภิบาลและการเป็นพระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระองค์ด้วยความพอใจและสมัครใจ ปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์และออกห่างไกลจากคำสั่งห้ามของพระองค์ และพิพากษาความผิดตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ พร้อมทั้งยึดมั่นในจริยธรรมอันสูงส่งแห่งอิสลาม โดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม 5 ประการ และหลักศรัทธาอีก 6 ประการ เพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งการเกื้อกูลกันในสังคม

“มุสลิม” เป็นคำภาษาอาหรับเช่นกัน หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม

อิสลาม เป็นศาสนาที่ถูกกำหนดมาจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกซึ่งมีพระนามว่า อัลลอฮ์ ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มต้นตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกในโลกนี้ คือ อาดัม และในทุกยุคทุกสมัยอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้รู้จักพระเจ้าที่แท้จริง และปฏิบัติตามข้อบัญญัติของพระองค์ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน บรรดาศาสนาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัดนั้นยังมิได้เรียกชื่อว่าเป็น ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งถึงยุคของศาสดามุฮัมมัด ท่านได้เผยแพร่ข้อบัญญัติจากอัลลอฮ์โดยใช้ชื่อว่า อิสลาม หรือ ศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้คนทั้งหลายจึงมักเข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อ 1,400 กว่าปีที่ผ่านมา
ภาพพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ต้นฉบับเขียนด้วยลายมือ

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย (2558: 25)

อิสลามเป็นคำสอนที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกกำหนดมาเพื่อเฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าศาสดามุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับจึงเริ่มเผยแพร่จากถิ่นที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก

อิสลามในประเทศไทย ศาสนาอิสลามมีจุดเริ่มต้นการเผยแพร่จากคาบสมุทรอาหรับและได้ขยายเข้าสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากคาบสมุทรอาหรับผ่านเข้าสู่เปอร์เซียและโดยพ่อค้าจากคาบสมุทรอาหรับและเปอร์เซียที่นำสินค้าเข้ามาขายยังแหลมมลายู ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงตอนใต้ของประเทศไทย ด้วยอัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตร และมีความเคร่งครัดในบัญญัติแห่งอิสลามของบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้คนที่คบค้าด้วยเกิดความประทับใจและพอใจที่จะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อิสลามได้ขยายเข้าสู่ภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย โดยการอพยพและย้ายถิ่นฐานของมุสลิม นอกจากนี้ ยังมีมุสลิมชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนของไทยด้วย เช่น ชาวเปอร์เซีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ การนำหลักปรัชญาจากตะวันตกเข้ามาศึกษา พร้อมทั้งพยายามเจาะประเด็นและค้นคว้าปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเร้นลับ เช่น ตัวตนและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกำหนดสภาวะทั้งดีและร้ายที่พระองค์ทรงใช้ให้เชื่อมั่น และศรัทธาโดยห้ามค้นคว้าหรือวิเคราะห์ในรายละเอียด การแย่งชิงตำแหน่งการเป็นผู้นำ หลังจากท่านศาสดามุมัดได้เสียชีวิต และคนบางกลุ่มเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม แต่แอบแฝงด้วยเจตนาทำลาย ทำให้ศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็นกลุ่ม หรือนิกายต่างๆ ดังนี้
(1) ชีอะห์อิมามียะห์ (อิหม่ามสิบสอง) คือ มุสลิมกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่า ท่านอาลี (ผู้นำคนที่สี่ของมุสลิมหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิต) เป็นผู้ที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์หลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิตลง มิใช่ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัรและท่านอุสมาน ที่เรียกว่า อิหม่าม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ถือว่าการดำรงตำแหน่งอิหม่าม(ผู้นำ)เป็นเรื่องหลักและที่เรียกว่า สิบสอง ก็เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยึดการเป็นอิหม่ามของคนสิบสองคน โดยคนที่สิบสองนั้น พวกเขากล่าวอ้างว่าหายตัวเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่งที่เมืองซามุรรออ์ ประเทศอิรัก นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังเป็นปฏิปักษ์ทางความคิดและความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงกับบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ขอพร และความศานติจากอัลลอฮ์จงมีแด่ท่าน) (ชาวซุนนะห์) และชีอะห์อิหม่ามสิบสองกลุ่มนี้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะเผยแพร่และให้แนวความคิดของตนครอบคลุมโลกอิสลาม นิกายชีอะห์อิหม่ามสิบสองมีจุดศูนย์กลางการเผยแพร่อยู่ในประเทศอิหร่าน มีจำนวนมิใช่น้อยในประเทศอิรัก และจำนวนไม่มากนักในปากีสถาน เป็นกลุ่มย่อยในเลบานอน ส่วนในซีเรียมีจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพลทางการเมือง เนื่องจากผู้ปกครองประเทศเป็นชีอะห์         ดังกล่าวข้างต้น ยังมีชีอะห์อาศัยอยู่ในเกือบทุกประเทศอาหรับทั้งยี่สิบกว่าประเทศ ในประเทศอิสลามบางประเทศที่มิใช่อาหรับและอีกหลายประเทศในโลกนี้
(2) อิบาฎียะห์ (เค่าะวาริจญ์) อิบาฎียะห์ เป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมที่ชื่อ เค่าะวาริจญ์ ที่เรียกว่า อิบาฎียะห์ เนื่องจากพาดพิงชื่อดังกล่าวไปยังผู้ก่อตั้งคือ อับดุลลอฮ์ บิน อิบ๊าฎ โดย อิบ๊าฎนั้นเป็นชื่อตำบลหนึ่งในเมืองอาริฎจังหวัดยะมามะห์ ของประเทศซาอุดิอาระเบีย
(3) นิกายมัวะตะซิละห์ มัวะอ์ตะซิละห์ เป็นนิกายหนึ่งในอิสลามที่อาศัยสติปัญญาในการทำความเข้าใจหลักการเชื่อมั่นของอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดมาจากการนำปรัชญาจากต่างชาติเข้ามาศึกษา จึงทำให้ผู้ยึดถือนิกายนี้ต้องหลุดออกจากหลักการที่ถูกต้องของอิสลาม นักวิชาการกลุ่มนี้พยายามอธิบายตัวบทพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะท่านศาสดามุฮัมมัดตามความคิดของตนเอง พวกเขาจึงอาศัยการเข้าใจตัวบทด้วยการตีความตามอำเภอใจ อุดมการณ์สำคัญที่พวกมัวะอ์ตะซิละห์ยุคใหม่ยึดถือคือ คำกล่าวอ้างที่ว่า สติปัญญาคือหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าใจถึงแก่นสารแห่งความจริง
(4) ไซดียะห์ ไซดียะห์ เป็นแขนงหนึ่งในนิกายชีอะห์ที่มีหลักการใกล้เคียงกับชาวซุนนะห์มากที่สุด นิกายไซดียะห์มีจุดแผ่ขยายอยู่ที่ชายฝั่งคอซรอซ ไดลัม ฏ๊อบริสถาน และญีลานตะวันออก จนถึงแคว้นฮิญ๊าซและทางทิศตะวันตกของอียิปต์ ปัจจุบันมีจุดศูนย์กลางการแผ่ขยายอยู่ที่ประเทศเยเมน
(5) นิกายอะชาอิเราะห์ อะชาอิเราะห์เป็นนิกายวิภาษวิทยา ซึ่งเป็นนิกายที่แยกออกมาจากมัวะอ์ตะซิละห์ โดยนิกายนี้ใช้สติปัญญาเป็นหลักฐานในการยืนยันเรื่องของศาสนา และมีความสอดคล้องกับแนวทางของชาวซุนนะห์ นิกายนี้ได้รับการเผยแพร่มากขึ้นโดยสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดดและในเมืองไนซาบู้ร (เอเชียกลาง)ได้จัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนโดยนักวิชาการสายอะชาอิเราะห์ และสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดด ถือเป็นสถาบันอิสลามที่ใหญ่ที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นิกายอะชาอิเราะห์ได้รับการแพร่หลายอย่างกว้างขวางในโลกอิสลามปัจจุบัน มีการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย
(6) นิกายมาตุรีดียะห์ มาตุรีดียะห์เป็นนิกายที่ใช้วาทศิลป์และสติปัญญาในการโต้ตอบและยืนยันหลักการของศาสนาต่อคู่กรณี นิกายมาตุรีดียะห์มีจุดแพร่หลายอยู่ในอินเดียและประเทศข้างเคียง ได้แก่ จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ในตุรกี อิตาลี เปอร์เซียและมอรอกโค

“อิสลาม” เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เมื่อนำคำว่า อิสลาม มาเป็นชื่อของศาสนาจึงมีความหมายว่า เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม จำนนต่อพระเจ้าคือ อัลลอฮ์ อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่ถูกประทางลงมาจากชั้นฟ้าด้วยความพอพระทัยของอัลลอฮ์ ที่จะมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงส่งท่านศาสดามุฮัมมัด บุตร อับดุลลอฮ์ มานำทางมนุษย์และญิน เพื่อให้ความเอกะแด่พระองค์ในการเป็นพระผู้อภิบาลและการเป็นพระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระองค์ด้วยความพอใจและสมัครใจ ปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์และออกห่างไกลจากคำสั่งห้ามของพระองค์ และพิพากษาความผิดตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ พร้อมทั้งยึดมั่นในจริยธรรมอันสูงส่งแห่งอิสลาม โดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม 5 ประการ และหลักศรัทธาอีก 6 ประการ เพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งการเกื้อกูลกันในสังคม

“มุสลิม” เป็นคำภาษาอาหรับเช่นกัน หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม

อิสลาม เป็นศาสนาที่ถูกกำหนดมาจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกซึ่งมีพระนามว่า อัลลอฮ์ ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มต้นตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกในโลกนี้ คือ อาดัม และในทุกยุคทุกสมัยอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้รู้จักพระเจ้าที่แท้จริง และปฏิบัติตามข้อบัญญัติของพระองค์ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน บรรดาศาสนาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัดนั้นยังมิได้เรียกชื่อว่าเป็น ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งถึงยุคของศาสดามุฮัมมัด ท่านได้เผยแพร่ข้อบัญญัติจากอัลลอฮ์โดยใช้ชื่อว่า อิสลาม หรือ ศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้คนทั้งหลายจึงมักเข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อ 1,400 กว่าปีที่ผ่านมา
ภาพพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ต้นฉบับเขียนด้วยลายมือ

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย (2558: 25)

อิสลามเป็นคำสอนที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกกำหนดมาเพื่อเฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าศาสดามุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับจึงเริ่มเผยแพร่จากถิ่นที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก

อิสลามในประเทศไทย ศาสนาอิสลามมีจุดเริ่มต้นการเผยแพร่จากคาบสมุทรอาหรับและได้ขยายเข้าสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากคาบสมุทรอาหรับผ่านเข้าสู่เปอร์เซียและโดยพ่อค้าจากคาบสมุทรอาหรับและเปอร์เซียที่นำสินค้าเข้ามาขายยังแหลมมลายู ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงตอนใต้ของประเทศไทย ด้วยอัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตร และมีความเคร่งครัดในบัญญัติแห่งอิสลามของบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้คนที่คบค้าด้วยเกิดความประทับใจและพอใจที่จะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อิสลามได้ขยายเข้าสู่ภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย โดยการอพยพและย้ายถิ่นฐานของมุสลิม นอกจากนี้ ยังมีมุสลิมชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนของไทยด้วย เช่น ชาวเปอร์เซีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ การนำหลักปรัชญาจากตะวันตกเข้ามาศึกษา พร้อมทั้งพยายามเจาะประเด็นและค้นคว้าปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเร้นลับ เช่น ตัวตนและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกำหนดสภาวะทั้งดีและร้ายที่พระองค์ทรงใช้ให้เชื่อมั่น และศรัทธาโดยห้ามค้นคว้าหรือวิเคราะห์ในรายละเอียด การแย่งชิงตำแหน่งการเป็นผู้นำ หลังจากท่านศาสดามุมัดได้เสียชีวิต และคนบางกลุ่มเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม แต่แอบแฝงด้วยเจตนาทำลาย ทำให้ศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็นกลุ่ม หรือนิกายต่างๆ ดังนี้
(1) ชีอะห์อิมามียะห์ (อิหม่ามสิบสอง) คือ มุสลิมกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่า ท่านอาลี (ผู้นำคนที่สี่ของมุสลิมหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิต) เป็นผู้ที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์หลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิตลง มิใช่ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัรและท่านอุสมาน ที่เรียกว่า อิหม่าม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ถือว่าการดำรงตำแหน่งอิหม่าม(ผู้นำ)เป็นเรื่องหลักและที่เรียกว่า สิบสอง ก็เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยึดการเป็นอิหม่ามของคนสิบสองคน โดยคนที่สิบสองนั้น พวกเขากล่าวอ้างว่าหายตัวเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่งที่เมืองซามุรรออ์ ประเทศอิรัก นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังเป็นปฏิปักษ์ทางความคิดและความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงกับบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ขอพร และความศานติจากอัลลอฮ์จงมีแด่ท่าน) (ชาวซุนนะห์) และชีอะห์อิหม่ามสิบสองกลุ่มนี้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะเผยแพร่และให้แนวความคิดของตนครอบคลุมโลกอิสลาม นิกายชีอะห์อิหม่ามสิบสองมีจุดศูนย์กลางการเผยแพร่อยู่ในประเทศอิหร่าน มีจำนวนมิใช่น้อยในประเทศอิรัก และจำนวนไม่มากนักในปากีสถาน เป็นกลุ่มย่อยในเลบานอน ส่วนในซีเรียมีจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพลทางการเมือง เนื่องจากผู้ปกครองประเทศเป็นชีอะห์         ดังกล่าวข้างต้น ยังมีชีอะห์อาศัยอยู่ในเกือบทุกประเทศอาหรับทั้งยี่สิบกว่าประเทศ ในประเทศอิสลามบางประเทศที่มิใช่อาหรับและอีกหลายประเทศในโลกนี้
(2) อิบาฎียะห์ (เค่าะวาริจญ์) อิบาฎียะห์ เป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมที่ชื่อ เค่าะวาริจญ์ ที่เรียกว่า อิบาฎียะห์ เนื่องจากพาดพิงชื่อดังกล่าวไปยังผู้ก่อตั้งคือ อับดุลลอฮ์ บิน อิบ๊าฎ โดย อิบ๊าฎนั้นเป็นชื่อตำบลหนึ่งในเมืองอาริฎจังหวัดยะมามะห์ ของประเทศซาอุดิอาระเบีย
(3) นิกายมัวะตะซิละห์ มัวะอ์ตะซิละห์ เป็นนิกายหนึ่งในอิสลามที่อาศัยสติปัญญาในการทำความเข้าใจหลักการเชื่อมั่นของอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดมาจากการนำปรัชญาจากต่างชาติเข้ามาศึกษา จึงทำให้ผู้ยึดถือนิกายนี้ต้องหลุดออกจากหลักการที่ถูกต้องของอิสลาม นักวิชาการกลุ่มนี้พยายามอธิบายตัวบทพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะท่านศาสดามุฮัมมัดตามความคิดของตนเอง พวกเขาจึงอาศัยการเข้าใจตัวบทด้วยการตีความตามอำเภอใจ อุดมการณ์สำคัญที่พวกมัวะอ์ตะซิละห์ยุคใหม่ยึดถือคือ คำกล่าวอ้างที่ว่า สติปัญญาคือหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าใจถึงแก่นสารแห่งความจริง
(4) ไซดียะห์ ไซดียะห์ เป็นแขนงหนึ่งในนิกายชีอะห์ที่มีหลักการใกล้เคียงกับชาวซุนนะห์มากที่สุด นิกายไซดียะห์มีจุดแผ่ขยายอยู่ที่ชายฝั่งคอซรอซ ไดลัม ฏ๊อบริสถาน และญีลานตะวันออก จนถึงแคว้นฮิญ๊าซและทางทิศตะวันตกของอียิปต์ ปัจจุบันมีจุดศูนย์กลางการแผ่ขยายอยู่ที่ประเทศเยเมน
(5) นิกายอะชาอิเราะห์ อะชาอิเราะห์เป็นนิกายวิภาษวิทยา ซึ่งเป็นนิกายที่แยกออกมาจากมัวะอ์ตะซิละห์ โดยนิกายนี้ใช้สติปัญญาเป็นหลักฐานในการยืนยันเรื่องของศาสนา และมีความสอดคล้องกับแนวทางของชาวซุนนะห์ นิกายนี้ได้รับการเผยแพร่มากขึ้นโดยสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดดและในเมืองไนซาบู้ร (เอเชียกลาง)ได้จัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนโดยนักวิชาการสายอะชาอิเราะห์ และสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดด ถือเป็นสถาบันอิสลามที่ใหญ่ที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นิกายอะชาอิเราะห์ได้รับการแพร่หลายอย่างกว้างขวางในโลกอิสลามปัจจุบัน มีการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย
(6) นิกายมาตุรีดียะห์ มาตุรีดียะห์เป็นนิกายที่ใช้วาทศิลป์และสติปัญญาในการโต้ตอบและยืนยันหลักการของศาสนาต่อคู่กรณี นิกายมาตุรีดียะห์มีจุดแพร่หลายอยู่ในอินเดียและประเทศข้างเคียง ได้แก่ จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ในตุรกี อิตาลี เปอร์เซียและมอรอกโค