สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (สสท.) (Catholic Bishops’ Conference of Thailand)

ประวัติของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาเผยแพร่และปฏิบัติงานต่างๆ ในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 450 ปี กิจการพระศาสนาได้เจริญพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และมีประชาชนที่เลื่อมใสและนับถือศาสนานี้อยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ เพื่อความสะดวกและเพื่อความก้าวหน้าในกิจการต่างๆ ของพระศาสนา จะสามารถดำเนินไปด้วยดีและเรียบร้อย จึงเริ่มมีการรวมกลุ่มกันตามดำริของที่ประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1965 ที่เชิญชวนบรรดาบิช็อป ซึ่งเป็นประมุขของแต่ละสังฆมณฑลในประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้รวมกลุ่มกันในรูปแบบของสภา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มมีการรวมกลุ่มกันของบรรดาประมุขทั้งแปดของสังฆมณฑลในประเทศไทยขึ้น โดยเรียกว่า “สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย” (สสท.) ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Catholic Bishops’ Conference of Thailand ชื่อย่อ CBCT คำที่ใช้เป็นทางการใช้ว่า “ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย”

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย  จึงเป็นสภาอันมั่นคงที่ตั้งขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากสันตะสำนัก (นครรัฐวาติกัน) ในปี ค.ศ. 1965  ซึ่งบรรดาบิช็อปมารวมกลุ่มปรึกษาหารือ และร่วมมือกันในการดูแลอภิบาลคริสตชน เผยแผ่ศาสนา และปฏิบัติงานกิจการทางศาสนา ได้แก่ ด้านศาสนา การศึกษาอบรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม การสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสุขภาพอนามัย และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขสำหรับบรรดาคริสตชนและเพื่อนพี่น้องชาวไทย สภาประมุขฯ ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นองค์การพิเศษทางศาสนา จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการศาสนาได้ขอให้เปลี่ยนชื่อจากเดิม “สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย” มาเป็น “สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย” โดยออกหนังสือรับรองให้เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2512  (ค.ศ. 1969) ในสมัยพันเอก ปิ่น มุทุกันท์ เป็นอธิบดี ขณะนั้นสำนักงานทำการตั้งอยู่ที่อาคารแพร่ธรรม ซอยโอเรียนเต็ล ถนนเจริญกรุง 40 บางรัก กรุงเทพมหานคร ต่อมามีการขยายหน่วยงานเพิ่มขึ้น  จึงทำให้สถานที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย  กิจบุญชู ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าวจึงได้มอบอาคาร 2 หลังตั้งอยู่ที่ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี ใกล้กับสำนักงานเขตยานนาวา ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าที่เดิม และสามารถรองรับหน่วยงานต่างๆ ของสภาฯ ได้ทั้งหมด ให้เป็นสำนักงานของสภาประมุขฯ

ดังนั้น ในปี ค.ศ.1996 สภาประมุขฯ จึงได้เริ่มย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ โดยอาคารเลขที่ 122-122/1 เป็นอาคารทำการของสำนักงานโคเออร์และสื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย และอาคารเลขที่ 122/6-7 เป็นอาคารทำการของสำนักเลขาธิการสภาฯ และหน่วยงานต่างๆ  ต่อมาในปี ค.ศ.2002 คณะกรรมการบริหารงานของสภาฯ ได้มีดำริที่จะให้หน่วยงานภายใต้สังกัดสภาประมุขฯ ได้มาอยู่รวมกัน พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู จึงได้มอบอาคารสำนักงานซึ่งเดิมเป็นโพลีคลินิก เป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ 10 ชั้น ให้กับสภาประมุขฯ และในปี ค.ศ. 2003 ทุกหน่วยงานภายใต้การดำเนินงานของสภาประมุขฯ จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่ภายในอาคารสำนักงานเลขที่ 122/11 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

โครงสร้างองค์การ โครงสร้างองค์การของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยคณะทำงานในภาคส่วนต่างๆ ดังนี้ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยแผนภูมิโครงสร้างองค์การของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

การบริหารจัดการ
1. วิสัยทัศน์ ประชากรของพระเจ้า ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความรัก แสวงหา ติดตาม และประกาศพระเยซูคริสตเจ้า
2. พันธกิจ พระศาสนจักรในประเทศไทย มุ่งอุทิศฟื้นฟูชีวิตให้สนิทกับพระคริสตเจ้า โดยอาศัยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นหนึ่งเดียว ร่วมมือและแบ่งปันซึ่งกันและกัน แสวงหาคุณค่าพระอาณาจักรในบริบทสังคม เสวนาฉันมิตรกับผู้มีความเชื่ออื่น ประกาศพระเยซูคริสตเจ้า และเป็นประจักษ์พยานด้วยการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย รักและรับใช้ปวงชน โดยเน้นผู้ยากไร้
3. ภารกิจในการบริหารงาน ภารกิจงานขององค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การปกครองดูแลของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศาสนา ด้านการศึกษาอบรมจริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมในด้านสังคม ทั้งในระดับประเทศชาติและระดับสากล ด้านการแพทย์ อนามัยและสาธารณสุข และด้านการเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
- ด้านการศาสนา  มีการดำเนินงานดังนี้
    - เผยแพร่ศาสนา และดูแลอภิบาล อบรมสั่งสอนคริสตชนให้ยึดมั่นในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนา
    - ให้บริการด้านการศาสนา และพิธีกรรม แก่คริสตชนและผู้เลื่อมใสศรัทธา
    - จัดสร้างศาสนสถาน วัดและสำนักสอนศาสนาในที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่อปฏิบัติศาสนกิจของคริสตชน เป็นสถานที่ให้การอบรมและเป็นที่พักอาศัย
    - อบรมส่งเสริมให้มีนักบวชชายหญิงและผู้เผยแผ่ศาสนาเพื่อให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรับผิดชอบในกิจการต่างๆของศาสนา กับดำรงศาสนาให้เจริญก้าวหน้า
    - ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือกับองค์การทางศาสนาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ด้านการศึกษาอบรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม มีการดำเนินงานดังนี้
    - จัดการและส่งเสริมการศึกษาภาคสามัญ วิสามัญ อาชีวะ ตลอดจนอุดมศึกษาและดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
    - จัดการศึกษาขั้นปฐมวัยศึกษาและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบการศึกษาในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการจัดการศึกษาในรูปแบบ ประเภท และระดับการศึกษาต่างๆ ตามที่โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    - จัดการศึกษาตามพันธกิจการศึกษาคาทอลิกเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้ได้รับการอภิบาลด้านจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมตามหลักธรรมของศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
- ด้านการสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานดังนี้
    - ดำเนินการให้คริสตชนยึดมั่นและให้ความสำคัญในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และให้บริการสังคมบนพื้นฐานเจตนารมณ์แห่งความรักและการรับใช้
    - ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    - ให้ความช่วยเหลือและอุปการะผู้ประสบความยากลำบาก ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ติดยาเสพติดและผู้ป่วยโรคเอดส์     - ให้ความร่วมมือกับองค์การศาสนา และองค์การอื่นๆ ในด้านสังคม ทั้งในระดับประเทศชาติและระดับสากล     - ให้ความร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมืองในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแก่ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย     - ส่งเสริมและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม - ด้านการแพทย์ อนามัยและสาธารณสุข มีการดำเนินงานดังนี้
    - ดำเนินกิจการโรงพยาบาล  สถานพยาบาล และหน่วยแพทย์พยาบาลเคลื่อนที่
    - บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดชั้น วรรณะ และศาสนา
    - ส่งเสริม และให้ความร่วมมือกับทางราชการในด้านการแพทย์ อนามัย และสาธารณสุข
- ด้านการเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการดำเนินงานดังนี้
    - จัดให้มีสื่อสาร และสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้เห็นคุณค่าทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
    - ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการทางด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
สภาประมุขฯ ยึดถือการดำเนินงานดังกล่าวมาแล้วแต่แรกเริ่ม และพยายามจะพัฒนาและขยายงานต่างๆ ดังกล่าวต่อไปตามกำลังความสามารถทั้งด้านบุคลากรและปัจจัย เพื่อประโยชน์สุขของศาสนิกชน  และร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมืองในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าสืบๆ ไป ซึ่งในการปฏิบัติงานดังกล่าวนั้น ได้รับความช่วยเหลือจากบรรดานักบวชชาย-หญิง และฆราวาสทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ทำงานให้พระศาสนาด้วยความสมัครใจ ด้วยจิตศรัทธา และด้วยความอุทิศตัว เสียสละ

บุคคลสำคัญ บุคคลสำคัญของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยบิช็อป และคณะทำงาน 4 ส่วน ได้แก่ บิช็อปและเขตปกครองในประเทศไทย จำนวน 11 ท่าน บิช็อปกิตติคุณ จำนวน 3 ท่าน คณะกรรมการดำเนินงานสภาประมุขฯ และคณะกรรมการสำนักงานสภาประมุขฯ จำนวน 9 ท่าน ดังตารางที่ 1 ถึง 4
ตารางที่ 1 บิช็อปและเขตศาสนปกครองในประเทศไทย

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
2 อาร์คบิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ประมุขอัครสังฆมณฑล ท่าแร่ - หนองแสง
3 บิช็อปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
4 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
5 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
6 บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขสังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
7 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ ประมุขสังฆมณฑลราชบุรี
8 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา ประมุขสังฆมมณฑลอุบลราชธานี
9 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขสังฆมณฑลนครราชสีมา
10 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย ประมุขสังฆมณฑลนครสวรรค์

 

ตารางที่ 2 บิช็อปกิตติคุณ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล สถานะ
1 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกษียณอายุ
2 บิช็อปลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เกษียณอายุ
3 บิช็อปยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เกษียณอายุ


ตารางที่ 3 คณะกรรมการดำเนินงานสภาประมุขฯ
เริ่ม 20 กันยายน ค.ศ. 2018 ถึง กันยายน ค.ศ. 20121

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธาน
2 บิช็อปยอแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล รองประธาน
3 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เลขาธิการ
4 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เหรัญญิก
5 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย คณะกรรมการที่ปรึกษาเทววิทยา (ประธาน)
6 อาร์คบิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายพระศาสนจักร (ประธาน)
7 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ คณะกรรมการที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และกฎหมายบ้านเมือง (ประธาน)
8 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ กรรมาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน (ประธาน)
9 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ กรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและ การศึกษาคาทอลิก (ประธาน)
10 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา กรรมาธิการฝ่ายสังคม (CARITAS THAILAND)
11 บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล กรรมาธิการฝ่ายสื่อสารสังคม
12 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช คณะกรรมการฯ เพื่อพิธีกรรม
13 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย
คณะกรรมการฯ เพื่อคริสตศาสนธรรม
14 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล
คณะกรรมการฯ เพื่อพระสงฆ์และผู้ถวายตัว
15 บิช็อปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ
คณะกรรมการฯ เพื่อคริสตชนฆราวาส
16 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ คณะกรรมการฯ เพื่อการธรรมทูต (ประธาน)
17 บิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ คณะกรรมการฯ เพื่อการศึกษา (ประธาน)
18 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ คณะกรรมการฯ เพื่อศาสนสัมพันธ์ และคริสตศาสนสัมพันธ์ (ประธาน) คณะกรรมการฯ เพื่อมรดกวัฒนธรรม (ประธาน)
19 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา
บิช็อปยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม
คณะกรรมการฯ เพื่อการพัฒนาสังคม
20 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย คณะกรรมการฯ เพื่อการอภิบาลสังคม
21 บิช็อป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล คณะกรรมการฯ เพื่อสื่อมวลชน
22 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย
บิช็อปยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม
คณะกรรมการฯ เพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ


ตารางที่ 4 คณะกรรมการสำนักงานสภาประมุขฯ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เลขาธิการสภาพระสังฆราชฯ
2 มงซินญอร์แอนดรูว์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชฯ
3 ซิสเตอร์มารีอา วิมลรัตน์ ศรีธรักษา ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักเลขาธิการ
4 บาทหลวงมีคาแอล วัชรินทร์ ต้นปรึกษา ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักนโยบาย
5 บาทหลวงยอแซฟ วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงบประมาณ
6 บาทหลวงเปโตร ปิยะชาติ มะกรครรภ์ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน
7 เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการธรรมทูต 
และการอบรมศึกษาคาทอลิก
8 บาทหลวงร็อค ไพรัช ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสังคม
9 บาทหลวงยอแซฟ อนุชา ไชยเดช ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสื่อสารสังคม


สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เลขที่ 122/11 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : 0-2681-3900
โทรสาร : 0-2681-5369 / 0-2681-5370
อีเมล์ : [email protected] / [email protected]
เว็บไซต์ : https://www.cbct.or.th/


สภาคริสตจักรในประเทศไทย

สภาคริสตจักรในประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand)
(1) ประวัติความเป็นมา คริสตจักรโปรเตสแต้นท์ในประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ย้อนไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.2371 เมื่อศาสนาจารย์จาคอบ ทอมสิน และศาสนาจารย์นายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ เข้ามาเผยแร่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแต้นท์เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม
ในปี พ.ศ.2383 มิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนอเมริกันเข้ามาในประเทศไทยและตั้งรากฐานอย่างมั่นคงในปี พ.ศ.2390 มิชชันนารีชุดนี้ประกอบด้วยนายแพทย์ซามูเอล เฮาส์ ศาสนาจารย์สตีเฟนและนางแมรี่ แมตตูน มิชชันนารีคณะนี้ได้จัดตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่หนึ่งกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2392 ต่อมาได้จัดตั้งเพรสไบเทอรี่แห่งสยามในวันที่ 1 กันยายน 1858
เมื่อถึงปี พ.ศ.2401 คณะมิชชันนารีขยายงานไปสู่ภูมิภาคโดยได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่เพชรบุรี โดยการนำของครอบครัวศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี และครอบครัวศาสนาจารย์ ชามูเอล จี แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้ปฏิบัติงาน ปี พ.ศ.2410 ครอบครัวของศาสนาจารย์แมคกิลวารีได้ตั้งมิชชั่นประกาศ คริสตศาสนาที่เชียงใหม่ โดยมีครอบครัวของศาสนาจารย์วิสันเข้าร่วมงานด้วย ครอบครัวมิชชันนารีทั้งสองได้จัดตั้งคริสตจักร เพรสไบทีเรียนที่หนึ่งเชียงใหม่ ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2421 ซึ่งเป็นปีที่มีพระบรมราชโองการ เรื่องเสรีภาพทางศาสนา (มีผลบังคับใช้ในเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง)
การประกาศพระกิตติคุณได้ขยายออกไปในภูมิภาคต่างๆ มีการจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่ลำปาง ในปี พ.ศ.2428 ลำพูน (พ.ศ.2434) แพร่ พ.ศ.2436 น่าน (พ.ศ.2448) เชียงราย (พ.ศ.2440) และพิษณุโลก (ค.ศ.2432) ภายหลังได้ขยายงานไปยังเขตเชียงตุงของพม่า (พ.ศ.2447) และเขตเชียงรุ้งของจีน (พ.ศ.2514)
ในปี พ.ศ.2443 ได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารี ที่นครศรีธรรมราช และเมื่อถึงปี พ.ศ.2453 ได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่รัง ซึ่งเป็นศูนย์มิชชันนารีที่ขยายการปะกาศคริสตศาสนาไปสู่ท้องถิ่นที่อื่นๆ ในภาคใต้
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2475 ได้มีการรวมเพรสใบเทอรี่สยามและลาวเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองคริสตจักรไทยที่เป็นอิสระ มีการรณรงค์และออกวารสาร “ข่าวคริสตจักรในปี พ.ศ.2477 มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้ง “สภาคริสตจักรในประเทศสยาม” ที่ประชุมได้รับธรรมนูญการปกครองคริสตจักรสยาม ซึ่งกำหนด คริสตจักรประจำชาตินี้ว่า “คริสตจักรในสยาม” มีนโยบายหลัก 3 ข้อ คือ “ประกาศพระกิตติคุณด้วยตนเอง” “การเลี้ยงตนเอง” และ “การปกครองตนเอง”

โครงสร้างองค์การสภาคริสตจักรในประเทศไทย
มีโครงสร้างการดำเนินงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ
ก. การปกครอง สภาคริสตจักรในประเทศไทยมีการแบ่งการปกครองออกเป็นคริสตจักรภาคคริสตจักรท้องถิ่น หมวดและศาลาธรรม อีกทั้งมีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาสถาบันการแพทย์ร่วมทำพันธกิจของพระเจ้าอย่างครบวงจรสภาคริสจักรในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับคริสตจักรสากล อาทิ เป็นสมาชิกของสภาคริสตจักรสากล (World Council of Churches: WCC) สภาคริสเตียนแห่งเอเซีย (Christian Conference of Asia: CCA) และสหคริสตจักรปฏิรูปสากล (World Communion of Reform Churches: WCRC)
ข. นิมิต สภาคริสตจักรในประเทศไทยมีเอกภาพแห่งการรับใช้ เพื่อประกาศพระกิตติคุณสร้างคริสตจักรที่มีสง่าราศี และสร้างสรรค์สังคมที่มีสันติสุข
ค. พันธกิจ สภาคริสตจักรในประเทศไทยคือองค์กรทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแต้นท์ที่รวมตัวกันเพื่อทำพันธกิจของพระเจ้าในประเทศไทย อันประกอบด้วย พันธกิด้านการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณ พันธกิจด้านการศึกษา พันธกิจด้านการรักษาพยาบาลและพันธกิจอื่นๆ โดยมีหลักข้อเชื่อ ข้อปฏิบัติ และธรรมนูญเดียวกัน อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน ด้วยวิธีการเลี้ยงตนเอง ปกครองตนเอง และประกาศพระกิตติคุณด้วยตนเอง
ยุทธศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ 9 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและเพิ่มพูนคริสตจักร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสาวกเพื่อการประกาศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประกาศพระกิตติคุณร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนพันธกิจมิชชันนารี ทั้งการรับและส่ง ยุทธศาสตร์ที่ 5 เตรียมและพัฒนาศักยภาพผู้รับใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 6 อภิบาลสมาชิกให้มีความเชื่อศรัทธา ตามคำสอนของพระคัมภีร์ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 8 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารและแก้ไขปรับปรุงธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ และยุทธศาสตร์ที่ 9 ปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้งระบบ ยุทธศาสตร์ที่ 10 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันหน่วยงาน ยุทธศาสตร์ที่ 11 พัฒนาทรัพย์สินของสภาคริสจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำพันธกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 12 พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 13 การพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกคริสจักรและชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 14 การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ทุกข์ยาก ถูกทอดทิ้ง และผู้ประสบภัยพิบัติ ยุทธศาสตร์ที่ 15 การพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 16 การเสริมสร้างความเป็นเอกภาพและความร่วมมือการพัฒนา และบริการสังคมในประเทศและสู่การเป็นสากล ดังตาราง

ตารางยุทธศาสตร์ของสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและเพิ่มพูนคริสตจักร
1.1 สนับสนุนคริสตจักรให้เปิดจุดประกาศ
1.2 พัฒนาจุดประกาศให้เป็นหมวดคริสเตียนหรือคริสตจักร
1.3 ประกาศผ่านสื่อ สารสนเทศ และอื่นๆ
♣ คริสตจักรมีการขยายและเพิ่มพูน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสาวกเพื่อการประกาศ
2.1 จัดทำ พัฒนาหลักสูตรและคู่มือการประกาศและการสร้างสาวก
2.2 ส่งเสริมให้คริสเตียนทุกคนประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณให้ทั่วถึง
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือ เทคนิค วิธีการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่จำเป็นแก่คริสตจักรภาค และคริสตจักรท้องถิ่น สู่การเป็นฐานปฏิบัติเพื่อการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณและเพิ่มพูนคริสตจักร โดยเฉพาะเป้าหมายในพื้นที่ที่ยังไม่มีคริสตจักร สังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บูรณาการเป็นศูนย์กลางการประสานงานตามนโยบายและแผนงานเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจด้านการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณ
♣ ผู้ประกาศมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการประกาศพระกิตติคุณ และการอุทิศถวายตัว
♣ เพิ่มพูนผู้ประกาศ และสมาชิกคริสตจักรที่มีส่วนร่วมในการประกาศ
♣ ทุกคริสตจักรภาคทำการประกาศอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ มีนวัตกรรมในประกาศรูปแบบใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประกาศพระกิตติคุณร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์
3.1 ความร่วมมือระหว่าง คริสตจักร หน่วยงาน และสถาบัน
♣ ประกาศเพิ่มพูน แบบมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนพันธกิจมิชชันนารี ทั้งการรับและส่ง
4.1 การประสานงานพันธกิจมิชชันนารี และสร้างความสัมพันธ์กับคริสตจักรคู่มิตร
4.2 ส่งเสริมคริสตจักรท้องถิ่น คริสตจักรภาค ให้ทำพันธกิจมิชชันนารี ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ
♣ มีภราดรผู้ร่วมงานมากขึ้น
♣ สภาคริสตจักรในประเทศไทย ขยายการทำพันธกิจ สู่อาเซียน และสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เตรียมและพัฒนาศักยภาพผู้รับใช้
5.1 ส่งเสริมเยาวชน ถวายตัวในสถาบันศาสนศาสตร์ศึกษา
5.2 พัฒนาศิษยาภิบาลในด้านคุณวุฒิ และคุณภาพ ในการทำพันธกิจ
5.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้รับใช้ทั้งบรรพชิตและฆราวาสให้มีความเข้มแข็งในบริบทของตนเอง
5.4 มีกระบวนการประเมินผลการทำงานของศิษยาภิบาล จากผู้ทรงคุณวุฒิ
♣ เพื่อให้มีผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลาในคริสตจักรอย่างทั่วถึง
♣ เพื่อศิษยาภิบาลมีความรู้ และทักษะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ ผู้รับใช้ทุกระดับได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรที่สภาคริสตจักรในประเทศไทย กำหนด
♣ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของศิษยาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 อภิบาลสมาชิกให้มีความเชื่อศรัทธา ตามคำสอนของพระคัมภีร์
6.1 เสริมสร้างสมาชิกให้เป็นสาวกที่ดีในการประกาศพระกิตติคุณ ถวายทศางค์ และ
การถวายตัวรับใช้ตามของประทานในคริสตจักร
6.2 ส่งเสริมคริสตจักรให้มีการทำพันธกิจองค์รวม (Holistic Ministry)
6.3 การเสริมหนุนคริสตจักรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
6.4 บ่มเพาะและเลี้ยงดูชีวิต คริสเตียนบนรากฐานของพระคัมภีร์ (คริสเตียนศึกษา)
♣ สมาชิกสามารถเป็นพยาน ประกาศพระกิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์ ผ่านชีวิต ประจำวัน
♣ คริสตจักรท้องถิ่นสัตย์ซื่อการถวายทศางค์มากขึ้น
♣ สมาชิกมีการถวายตัวเป็นผู้นำในคริสตจักร
♣ เพื่อสมาชิกเข้าใจ คำสอนขององค์พระเยซูคริสต์ผ่านการทำพันธกิจแบบองค์รวม
♣ ปรับระเบียบ หลัก เกณฑ์ โครงการคริสตจักรเลี้ยงตัวเอง 1979/2005
♣ จัดทำและพัฒนาหลักสูตร คริสเตียนศึกษาสำหรับทุกระดับที่เหมาะสมกับยุคสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์
7.1 พัฒนาอนุศาสกและทีมงานศาสนกิจในด้านคุณวุฒิและคุณภาพ การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและการแพทย์
7.2 มีกระบวนการประเมินผลการทำงานของอนุศาสกและทีมศาสนกิจจากผู้ทรงคุณวุฒิ
♣ เพื่ออนุศาสกและทีมงานมีความรู้ และทักษะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของ อนุศาสกและทีมงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารและแก้ไขปรับปรุงธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ
8.1 เร่งศึกษาและปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ
ให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทยในปัจจุบัน
8.2 พัฒนาหน่วยงาน สถาบันที่มีรายได้ ให้มีความเข้มแข็งทางการเงิน และพัฒนาทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
8.3 ให้การดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นเอกภาพ
♣ การบริหารงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีความคล่องตัว และเหมาะสมกับการดำเนินงานแต่ละพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ความเข้มแข็งทางการเงินของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิ ผล รวม ทั้งความเป็นเอกภาพในการดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 9 ปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้งระบบ
9.1 เร่งพัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการได้ดี
♣ มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และผู้บริหารทุกระดับของสภาคริสตจักรในประเทศไทย สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 10 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบัน/หน่วยงาน
10.1 เร่งปรับปรุงพัฒนาและเสริมสร้างสถาบัน/หน่วยงานที่อ่อนแอให้มีความเข้มแข็ง
10.2 เสริมสร้าง สนับสนุนสถาบัน/หน่วยงานที่เข้มแข็งให้พัฒนายิ่งขึ้น
♣ สถาบันการศึกษา/สถาบันการแพทย์ หน่วยงานที่มีความอ่อนแอมีรายรับสูงกว่ารายจ่าย
♣ เพื่อให้สถาบัน/หน่วยงาน ที่มีความเข้มแข็ง ขยายสาขาหรือก่อตั้งสถาบัน/หน่วยงานใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 11 พัฒนาทรัพย์สินของสภาคริสตจักรฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำพันธกิจ
11.1 คัดเลือกประเภทของทรัพย์สินในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนา
11.2 ปรับปรุงการบริหารกองทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
♣ เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารทรัพย์สิน
♣ เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารกองทุน
ยุทธศาสตร์ที่ 12 พัฒนาศักยภาพบุคลากร
12.1 เพื่อให้มีการเตรียมคนรุ่นต่อไปอย่างมีคุณภาพ
12.2 เร่งพัฒนาภาวะผู้นำสถาบัน/หน่วยงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ทุกคริสตจักร หน่วยงาน สถาบัน มีการเตรียมผู้นำ
♣ ผู้บริหาร สถาบัน หน่วยงาน มีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 13 การพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกคริสตจักรและชุมชน
13.3 ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ของสมาชิกคริสตจักรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการเลี้ยงตนเอง
13.4 ส่งเสริมให้คริสตจักรเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและบริการชุมชน
13.5 ส่งเสริมงานสิทธิมนุษยชน และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้
♣ สมาชิกคริสตจักรมีความรู้ ความ สามารถ การบริหารการพัฒนา เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของตนเองและผู้อื่น
♣ เพื่อสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรกับชุมชน
♣ กลุ่มเป้าหมายได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและมีคุณภาพการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 14 การช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ผู้ทุกข์ยาก ผู้ถูกทอดทิ้ง และผู้ประสบภัยพิบัติ
14.1 ปรับปรุงระบบการให้บริการ และการบรรเทาทุกข์ที่รวดเร็วและเหมาะสม
14.2 ส่งเสริมการอภิบาลและดูแลผู้สูงอายุในคริสตจักรอย่างเหมาะสม
♣ มีการจัดการบรรเทาทุกข์ผู้ทุกข์ยากอย่างมีประสิทธิภาพ และ สามารถดำเนินชีวิต อย่างปกติสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 15 การพัฒนาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 15.1 การอนุรักษ์ฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ♣ รักษาความสมดุลและสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่พระเจ้าทรงสร้าง
ยุทธศาสตร์ที่ 16 การเสริมสร้างความเป็นเอกภาพ และความร่วมมือ การพัฒนาและบริการสังคมในประเทศและสู่การเป็นสากล 16.1 เครือข่ายความร่วมมือในการทำพันธกิจระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสภาคริสตจักรในประเทศไทย และกับคริสตจักร องค์กรคริสต์ศาสนา องค์กรศาสนิกสัมพันธ์ องค์กรเอกชน และองค์กรภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ ♣ สภาคริสตจักรฯ มีความเป็นเอกภาพการรับใช้สังคมในประเทศ ในประชาคมอาเซียนและในระดับสากล


บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประกอบด้วยประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย เหรัญญิกสภาคริสตจักรในประเทศไทย กรรมการอำนวยการสภาฯ และที่ปรึกษากฎหมายสภาคริสตจักรในประเทศไทย ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 ศาสนาจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ มหชลโรจน์ ประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
2 ศาสตราจารย์ ดร.รุ่ง เริงสันติ์อาจิณ รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
3 ผู้ปกครองสุรพงศ์ มิตรกูล รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
4 ผู้ปกครองกู้ศักดิ์ สารกิติพันธ์ เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย
5 ศาสนาจารย์ ดร.ศิริรัตน์ ปุสุรินทร์คำ เหรัญญิกสภาคริสตจักรในประเทศไทย
6 ศาสนาจารย์อภิเดช ชัยราชา กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
7 ศาสนาจารย์สยาม ม่วงศักดิ์ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
8 มัคนายก นพ.วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
9 ศาสนจารย์สิงขร รักสกุลใหม่ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
10 ศาสนจารย์สมชิด หัวนา กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 1
11 ศาสนจารย์เจษฏา ยะรินทร์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 2
12 ศาสนจารย์วีระ ขันอุระ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 3
13 ศาสนจารย์ประสงค์ วงศ์สิงห์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 4
14 ผู้ปกครองสะอาด กุนกันไชย กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 5
15 ผู้ปกครองสิทธิชัย วุฒิเศถกฤต กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 7
16 ศาสนจารย์กิตติคุณ ยาปัน กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 9
17 ศาสนจารย์ประสิทธิ์ ตาคำ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 10
18 ผู้ปกครองประสิทธิ์ ธงทัศวรรธนะ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 11
19 คุณวิศาล มหชวโรจน์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 12
20 ศาสนจารย์บริสุทธิ์ ภูผารส กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 13
21 ศาสนจารย์ประทีป ชีพนิรันดร์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 14
22 ศาสนจารย์นิรันดร์ เมืองชื่น กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 15
23 ศาสนจารย์สุชัย เสดวงชัย กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 16
24 ศิตยาภิบาลพรสรวง จิตต์แจ้ง กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 17
25 ศาสนจารย์สุรเดช วิสุทธิชน กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 18
26 ศาสนจารย์ประสิทธิ์ สาคร กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 19
27 คุณอภิศักดิ์ ก้องกังวาฬโชค ที่ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ
28 คุณอำพล บงกชมาศ ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ
29 มัคนายกยงยุทธ สืบทายาท ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ


สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สภาคริสตจักรในประเทศไทย เลขที่ 328 ถนนพญาไท เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 0-2214-6000-9
โทรสาร : 0-2214-6010
เว็บไซต์ : http://www.cct.or.th/


สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย

สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย (สคท.) (The Evangelical Fellowship of Thailand)

ประวัติ
สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2502 จากการประชุมพบปะกันของผู้นำองค์การมิชชันนารีและผู้นำคริสตจักรไทย ซึ่งมิได้สังกัดอยู่กับสภาคริสตจักรฯ และกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มอีแวนเจลลิคอล (Evangelical) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง “The Evangelical Fellowship of Thailand” โดยกรมศาสนาให้การรับรองสหพันธกิจคริสเตียน หรือสหสัมพันธกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยเป็นองค์การทางศาสนา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2512 เป็นองค์กรที่ 3 ของศาสนาคริสต์ ต่อจากจาก คาทอลิก และ สภาคริสตจักรในประเทศไทย และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย” ชื่อย่อว่า “สคท.” และชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Evangelical Fellowship of Thailand” ในเวลาต่อมา โดยภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนาแล้ว สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยจึงเปิดรับสมาชิกเข้าในสังกัด โดยมีสมาชิก 4 ประเภท คือ องค์การมิชชันนารีจากต่างประเทศ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นในประเทศ (ซึ่งต่อมาให้เรียกเป็นประเภทเดียวคือ สมาชิกประเภทองค์กร) สมาชิกที่เป็นคริสตจักร และสมาชิกรายบุคคล
คณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารี อไลแอนซ์ (ซี.เอ็ม.เอ) เป็นคณะมิชชันนารีแรกที่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะ ซี.เอ็ม.เอ. ได้ร่วมงานกันคริสตจักรพระกิตติคุณ ตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2497 (ค.ศ.1981) คณะ ซี.เอ็ม.เอ.ร่วมกับองค์การโอเวอร์ซีมิชชันนารีเฟลโลชิพ ตั้งศูนย์ศึกษาพระคริสตธรรมกรุงเทพฯ Bangkok Bible College ในปีพ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) เพื่อฝึกอบรมความรู้ในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ทำงานรับใช้พระเจ้าในคริสตจักร ต่อมาในปีพ.ศ.2518 (ค.ศ.1975)ได้เริ่มหลักสูตรในระดับปริญญาโทและได้จัดตั้งเป็นสถาบันพระคริสตธรรมกรุงเทพและเพิ่มชื่อภาษาอังกฤษเป็น Bangkok Bible College & Seminary (บี.บี.ซี.เอส.) และยังมีคณะอื่นๆ อีกหลายคณะที่แจ้งชื่อคริสตจักรไว้ในทะเบียน ของ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มีคณะกรรมการบริหาร ซึ่งดำเนินงานตามวัตถุประสงค์หลักของธรรมนูญ คือ ส่งเสริมการประสานงานและร่วมมือขององค์การสมาชิก ส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนา การผลิตและการใช้สื่อมวลชน การสังคมสงเคราะห์โดยสมาชิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทองค์การ และประเภท คริสตจักร โดยสมาชิกประเภทคริสตจักร แบ่งย่อยออกเป็นคริสตจักรแม่ และคริสตจักรลูก ส่วนสมาชิกประเภทองค์การแยกตามพันธกิจได้ 8 ประเภท คือ 1) ด้านการประกาศเพื่อตั้งคริสตจักร 2) ด้านการประกาศ และร่วมรับใช้คริสตจักร 3) ด้านสังคมสงเคราะห์ 4) ด้านวรรณกรรม 5) ด้านวิทยุโทรทัศน์ 6) ด้านการศึกษา 7) ด้านการแพทย์ 8) ด้านการประกาศและสังคมสงเคราะห์
ปัจจุบัน มีสมาชิกที่เป็นมิสชันนารี 800 ท่าน มีคริสตจักรในสังกัด 1,200 แห่งและมีสมาชิกประมาณ 100,000 คน มีองค์กรในสังกัด 110 คณะ สำนักงานศูนย์กลางตั้งอยู่ที่เลขที่ 64/1 ถนนรามคำแหง ซอย 22 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ดังนี้
ก. ส่งเสริมการประสานงานและความร่วมมือกัน
ข. ส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
ค. ส่งเสริมความเจริญฝ่ายจิตวิญญาณของคริสเตียน
ง. ส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อสารมวลชนของคริสเตียน
จ. ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์

โครงสร้างองค์การ
สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยมีคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานติดตามงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ

บุคคลสำคัญ

ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 ศจ.ดร. วีรชัย โกแวร์ คณะกรรมการอำนวยการ
2 ศจ.ดร. มาโนช แจ้งมุข คณะกรรมการอำนวยการ
3 ศจ.คำสิงห์ รวมวงศ์ เลขานุการกรรมการ/นายทะเบียนสมาชิก สคท<.
4 ศจ. สมนึก มนตรีเลิศรัศมี เหรัญญิก
5 ศจ.ดร. วัลลภา วิศวสุขมงคล ดูแลพันธกิจสังคมและประสานงานราชการ
6 ศจ.สุรชัย วุฒิอุดมเลิศ ดูแลพันธกิจภาคกรุงเทพปริมณฑล
7 ศจ.อาดุลย์ สุรินทร์ ดูแลพันธกิจภาคกลางตอนบน
8 Mr.Malcolm Gray ดูแลพันธกิจภาคกลางตอนล่าง
9 ศจ.ภูริวัฒน์ ยศวัฒน ดูแลพันธกิจภาคเหนือตอนบน
10 ศจ.คัมภีร์ รองหานาม ดูและพันธกิจภาคเหนือตอนล่าง
11 ศจ.อภิชาติ กาลวันตวานิช ดูแลพันธกิจภาคตะวันออก
12 ศจ.ดร.จันทร์สมร ชัยศักดิ์ ดูแลพันธกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
13 ศจ. แสวง กุสาวดี ดูแลพันธกิจภาคใต้ตอนบน
14 ศจ.ทองดี ใจไหว ดูแลพันธกิจภาคใต้ตอนล่าง
15 ศจ.ดร.ศิลเวช กาญจนมุกดา ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
16 ศจ.เกียรติ ลักษณะสกุลชัย เลขานุการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
17 ศจ.ดร.ธีระ เจนพิริยประยูร คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
18 ศ.ทพ.ดร.กรัสไนย หวังรังสิมากุล คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
19 นพ.เสถียร ธรรมทวีธิกุล คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
20 ทนายความ ประสิทธิ์ มังคลา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
21 ศจ.สมพร ศิริกลการ  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
22 ศจ.มนูญศักดิ์ กมลมาตยากุล  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
23 ศจ.ดร. เศียร บัวเกตุ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
24 ศจ.ดร.สตีเฟ่น เทย์เลอร์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.


สถานที่ตั้งและการติดต่อ ที่ตั้ง : สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย เลขที่ 64/1 ซอยรามคำแหง 22 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0-2318-8235-7
โทรสาร : 0-2318-3861-2
เว็บไซต์ : http://eft.or.th/index.php


มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (Thailand Baptist Convention)

ประวัติมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์

สื่อมวลชนแบ๊บติสต์ เริ่มปี พ.ศ.2503 มีการทำสำเนาฟิล์มภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวในพระคัมภีร์เป็นพากย์ภาษาไทย และนำออกอากาศทางวิทยุเพื่อการประกาศ ต่อมาได้ทำรายการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ปี พ.ศ.2514 ก่อตั้งมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (ส.ค.บ.) และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นจุดแห่งความร่วมมือระหว่างคริสตจักรทั้งหลาย ปี พ.ศ.2539 การตั้งองค์กรที่ชื่อว่า สหพันธ์แบ๊บติสต์ในประเทศไทย (Thailand Baptist Convention ต่อมาเป็น Thailand Baptist Fellowship) เป็นการร่วมมือกับพี่น้องคริสเตียนแบ๊บติสต์ อื่นๆอันประกอบด้วย ส.ค.บ. ภาคสิบสอง กะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ ลาหู่แบ๊บติสต์ ปี พ.ศ.2520 มีการก่อตั้งมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มีผู้นำคนไทยเป็นคณะกรรมการร่วมกับมิชชันนารี โดยทางมูลนิธินี้เองที่ทำให้คณะแบ๊บติสต์ได้รับการรับรองให้เป็นองค์การย่อยทางคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2523 - 2532 เป็นช่วงที่คริสตจักรในคณะแบ๊บติสต์ ให้ความช่วยเหลือแบ๊บติสต์ได้ทุ่มเทเงินกว่าล้านดอลล่าห์สำหรับอาหาร และมีหลายคนในหมู่พวกเขาขณะนี้กำลังรับใช้งานของพระเจ้าอยู่ในสหรัฐอเมริกา 

นอกจากนี้ในช่วงนี้ มีการจัดอมรมผู้นำในชนบท เพื่อขยายงานคริสตจักรในชนบท มีการเริ่มงานใหม่ในหมู่ชาวเขาในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ.2533 - 2542 ในช่วงเวลานี้สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ได้เข้ามาดูแลและรับผิดชอบและควบคุมสถาบันของแบ๊บติสต์มากขึ้นเป็นลำดับ และมุ่งประสานงานในหมู่คริสตจักรทั้งหลายในแบ๊บติสต์ ให้ร่วมใจกันในการทำพันธกิจในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น งานสังคมสงเคราะห์ในมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อย่างเด่นชัด ได้แก่ โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า พันธกิจศูนย์แสงเดือน พันธกิจเรือนจำคริสเตียนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ นอกจากหน่วยงานเหล่านี้แล้ว คริสตจักรต่างๆ ในสังกัดคริสตจักรแบ๊บติสต์ ทำพันธกิจด้านพัฒนาและสังคมสงเคราะห์ตามความเห็นของคริสตจักร ไม่ว่าจะในกรุงเทพหรือในต่างจังหวัด จะศึกษาและทำการสงเคราะห์เพื่อชุมชนของตน โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้า มุ่งเน้นการประกาศพระกิตติคุณควบคู่กับการรักษาพยาบาล เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ในระยะ 40 ปี ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของคนไทยในภาคตะวันออก และเกิดคริสตจักรคริสเตียนแบ๊บติสต์หลายแห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ตราด นครนายก จันทบุรี และสระแก้ว คณะผู้บริหารโรงพยาบาลตระหนักถึงนโยบายและเป้าหมายว่า เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือชาวไทยทั้งฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณ การรักษาพยาบาลที่นี่เป็นที่ยอมรับของพี่น้องชาวไทยในภาคตะวันออก ไม่เพียงรักษาพยาบาลยังมีกลุ่มเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ได้รับฟังพระกิตติคุณ และมีความสนใจ 

นอกจากงานด้านเยี่ยมเยียนผู้ป่วยแล้ว ทางโรงพยาบาลบางคล้า ยังได้พัฒนาบุคลากรที่จะมาช่วยงานพยาบาล โดยมีการให้ทุนแก่นักศึกษาคริสเตียนพยาบาล เมื่อศึกษาสำเร็จสามารถมารับงานพยาบาลได้ ทั้งนี้เพราะมีความต้องการแพทย์และพยาบาลอย่างมาก สำหรับงานสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของประเทศ เช่น ในปี พ.ศ.2542 เป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากปี พ.ศ.2539 เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความลำบากมากขึ้น โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้าก็ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว จำนวนคนไข้ลดลงประมาณ 20% ประกอบกับขาดบุคลากร จนในที่สุดโรงพยาบาลได้ประสานงานกับมิชชั่นแบ๊บติสต์และคริสตจักรท้องถิ่นได้ออกทำคลีนิกเคลื่อนที่โดยเฉพาะจังหวัดต่างๆ ทางภาคอีสาน นำโดยคณะแพทย์ พยาบาลออกหน่วยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วย เหลือคริสตจักรในงานสงเคราะห์ชุมชนในภาคตะวันออกมากขึ้น ต่อมาได้เปิดสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลาง จังหวัดน่าน งานนี้นายแพทย์ จอห์น โอเวน กิ๊บสัน ซึ่งเดิมเป็นแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลบางคล้า ท่านได้ตระหนักถึงความต้องการด้านการรักษาพยาบาลในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป จึงตั้งสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลางขึ้นเพื่อ สำแดงถึงความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อชาวไทยในภาคตะวันออก

โครงสร้างองค์การ

มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มีโครงสร้างการดำเนินงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ
มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้ดำเนินกิจการตามระเบียบข้อบังคับที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิต่อทางราชการ โดยมีคณะกรรมการบริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงานกิจการต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๕ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้พิจารณามอบหมายให้สหกิจคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการประสานงานตอบสนองต่องานด้านศาสนา พร้อมทั้งดูแลสมาชิก (คริสตจักรและสถาบันต่างๆ) ของมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ให้ดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาให้ถูกต้อง และสอดคล้องต่อระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิฯ และนโยบายของกรมการศาสนา
สถาบันในมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ดูแลโดย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (ส.ค.บ.) ได้แก่
1. ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ กสศ.
2. โรงเรียนคริสต์ศาสนาแบ๊บติสต์
3. คลินิกเวชกรรมคริสเตียนบางคล้า
4. สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร
5. สถานอบรมคริสเตียนแบ๊บติสต์ พัทยา
6. พันธกิจเรือนจำคริสเตียนในประเทศไทย
7. โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม
8. ศูนย์ส่งเสริมอาชีพสตรีแสงเดือนบางคล้า
9. สุสานมูลนิธิคริสตจักร คณะแบ๊บติสต์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (Thailand Baptist Convention) เลขที่ 90 (อาคารสุเมธ) ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
โทรสาร :
เว็บไซต์ : http://www.baptist-tbc.com/


มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย (Seventh-Day Adventist of Thailand)

มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย (Seventh-Day Adventist of Thailand)

ประวัติ
ประวัติการ ก่อตั้งโดย บรรณกร (ผู้ประกาศกิตติคุณโดยการจำหน่ายหนังสือ) ท่านแรก ได้เข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.2449 (ค.ศ.1906) เพื่อจำหน่ายแจกจ่ายหนังสือในกรุงเทพฯ ต่อมามีบรรณกรจากสิงค์โปร์เข้ามาอีก 10 ท่าน เพื่อจำหน่ายหนังสือและหนุนน้ำใจสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีน ต่อมาจึงมีศาสนทูตเข้ามาเผยแพร่พระกิตติคุณและตั้งสำนักงานมิชชันขึ้น และแปลนิตยสารภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า หนังสือชูชาติ พร้อมทั้งตั้งสำนักงานมิชชันขึ้นที่อุบลราชธานีด้วย เริ่มสร้างโรงเรียนมิชชั่นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ.1932) เพื่อสอนศาสนาให้นักเรียน หลังจากนั้นมีการขยายงานด้านการแพทย์ ไปที่อุบลราชธานี ภูเก็ต และหาดใหญ่ และเริ่มงานด้านทันตแพทย์ที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.1932) เริ่มเปิดการสอนพระคริสตธรรมคัมภีร์ทางไปรษณีย์และเริ่มเทศนาทางวิทยุกระจาย เสียงครั้งแรกในปี พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) ซึ่งในปีนั้นเองได้สร้างที่ทำการของคริสตจักรขึ้นที่ซอยโรงเรียนเกษมพาณิชการ ถนนคลองตัน เขตพระโขนง และยังมีสำนักพิมพ์ข่าวประเสริฐขึ้นที่นั่นด้วย

จากระยะเวลาเพียงหนึ่งศตวรรษครึ่ง คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมีการเจริญเติบโตขึ้นจากกลุ่มผู้เชื่อกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เพื่อค้าหาความจริงด้วยความมุ่งมั่น ไปสู่ชุมชนผู้เชื่อกระจายไปทั่วโลกกว่า 14 ล้านคน คนเหล่านี้ยึดมั่นคริสตจักรนี้เป็นที่พำนักฝ่ายจิตวิญญาณ หลักของเชื่อของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสเป็นมรดกความเชื่อที่ได้รับจากกลุ่มผู้ติดตามนายวิลเลี่ยม มิลเลอร์ ในยุค 1840 ชื่อ"เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส" เป็นที่รู้จักก่อนการจัดตั้งคริสตจักรเป็นองค์กรขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2403 ด้วยจำนวนโบสถ์ 125 แห่ง และสมาชิกโบสถ์จำนวน 3,500 คน

ระหว่าง พ.ศ.2373 และ 2387 วิลเลี่ยม มิลเลอร์ นักเทศน์จากคริสตจักรแบ๊บติสต์ และอดีตทหารจากสงครามเมื่อ พ.ศ.2355 ได้ประกาศข่าว “การตื่นตัวของผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง” ของพระเยซูแก่กลุ่มคริสเตียนทั่วไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากการศึกษาคำพยากรณ์ของพระธรรมดาเนียล8:14 มิลเลอร์ได้คำนวณเวลาและสรุปว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมายังโลกนี้เป็นครั้งที่สองในระหว่าง ปีพ.ศ. 2386 และ 2387 บางคนในกลุ่มผู้เชื่อเหล่านี้คำนวณและกล่าวว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมาในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2387 เมื่อพระเยซูไม่ได้เสด็จกลับมาตามที่คาดหวัง กลุ่มผู้ติดตามมิลเลอร์ผู้ผ่านประสบการณ์ครั้งนั้นเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “การผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่”

บรรดาผู้เข้าร่วมกลุ่มผู้รอคอยพระเยซูครั้งนั้นจำนวนหลายพันคนได้ละทิ้งกลุ่มไปด้วยความผิดหวังในสิ่งที่เคยเชื่อ อย่างไรก็ตามมีบางคนในกลุ่มผู้เชื่อได้หันกลับไปศึกษาพระคัมภีร์เพื่อค้นหาเหตุผลของความผิดหวังในครั้งนั้น ไม่นานต่อมาคนเหล่านี้ได้สรุปว่าการกำหนดวันที่ 22 ตุลาคม นั้นถูกต้องแล้ว พวกเขาเชื่อว่าคำพยากรณ์ของพระคัมภีร์ที่กล่าวไว้ไม่ได้หมายความว่าพระเยซูจะเสด็จมายังโลกนี้ในปี พ.ศ.2387 แต่เป็นการที่พระองค์ทรงเริ่มพระราชกิจพิเศษในสวรรค์เพื่อผู้ติดตามพระองค์ คนเหล่านี้ยังรอคอยพระเยซูเสด็จกลับมาในอีกไม่ช้านี้ เหมือนกับสมาชิกคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในอดีตที่เฝ้ารอคอยการเสด็จกลับมาของพระองค์

หลังจาก “การผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่” ได้เกิดผู้นำหลายคนจากกลุ่มเล็กที่ไม่ยอมละทิ้งความเชื่อ ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มซึ่งต่อมาคือ คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ในบรรดาผู้นำที่โดดเด่นเหล่านั้นได้แก่ เจมส์และเอเลน จี. ไว้ท์ สามี ภรรยาที่แต่งงานได้ไม่นาน และโจเซฟ เบ็ตส์อดีตกัปตันเรือจากกลุ่ม “แอ๊ดเวนตีส” หรือผู้รอคอยการเสด็จกลับมาของพระเยซูกลุ่มเล็ก ๆ นี้ได้เจริญขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐนิวอิงแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่เกิดเหตุการณ์ “ความผิดหวังครั้งใหญ่” นั้น เอเลน จี. ไว้ท์ ยังอยู่ในวัยสาวรุ่น เติบโตขึ้นเป็นนักเขียน นักเทศน์ และผู้บริหารที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตวิญญาณซึ่งเป็นที่วางใจของสมาชิกในครอบครัวใหญ่ของแอ๊ดเวนตีสเป็นเวลานานกว่าเจ็ดสิบปี จนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ.2458 นับตั้งแต่เข้ารวมกลุ่มกับผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู เธอได้ยึดมั่นในความเชื่อนี้ตลอดมา มีความชื่นชมยินดีที่ได้เข้าร่วมกลุ่มกับประชากรของพระเจ้าด้วยการให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ผ่านงานเขียนแก่ผู้เชื่อซึ่งเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

ในปี พ.ศ.2403 กลุ่มผู้เชื่อที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ได้ผนึกขึ้น ตั้งชื่อว่า เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (ผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ถือรักษาวันที่เจ็ดเป็นวันนมัสการ) ในปี พ.ศ. 2406 ได้จัดตั้งองค์กรคริสตจักรอย่างเป็นทางการด้วยจำนวนสมาชิก 3,500 คนระยะแรกการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาเหนือ จนกระทั่ง พ.ศ.2417 คริสตจักรได้ส่ง เจ. เอ็น. แอนดรูวส์ เป็นผู้ประกาศศาสนา(มิชชันนารี) คนแรกออกไปทำงานต่างประเทศ ไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2422 ส่งดร. เอช พี. ริบตัน ผู้กลับใจใหม่จากประเทศอิตาลี ไปทำงานในทวีปอาฟริกาช่วงสั้นๆ เมื่อเขาย้ายไปทำงานที่ประเทศอียิปต์ เปิดโรงเรียน แต่โครงการต้องยุติไปเพราะเหตุรุนแรงในพื้นที่ ประเทศรัสเซียเป็นประเทศแรกที่ไม่ใชคริสตจักรโปรเตสแตนท์ที่คริสตจักรส่งผู้ประกาศเข้าไปทำงานในปี พ.ศ.2429 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2433 เรือพิทเคร์น เรือขนส่งผู้ประกาศศาสนาเดินทางไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกได้เดินทางออกจากท่าเรือเมืองซานฟานซิสโก คริสเตียนเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสได้เข้าไปทำงานในประเทศที่ไม่มีคริสเตียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 ได้แก่ประเทศ กาน่า อาฟริกาตะวันตกและมาตาเบเลแลนด์ในอาฟริกาใต้ ในปีเดียวกันได้ส่งผู้ประกาศศาสนาไปยังประเทศในแถบอเมริกาใต้ พ.ศ.2439 มีผู้ประกาศเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้คริสตจักรกำลังทำงานอยู่ใน 209 ประเทศ (จากจำนวน 230 ประเทศตามที่ได้รับรองโดยองค์การสหประชาชาติ) สิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้จำทำขึ้นแจกจ่ายเป็นปัจจัยหลักทำให้คริสตจักรเติบโตขึ้น นิตยสารแอ็ดเวนท์ริวแอนซาบบาธ (ปัจจุบันชื่อ แอ็ดเวนตีสรีวิว)เป็นสื่อการพิมพ์หลักของคริสตจักรจำหน่ายในเมืองปารีส รัฐเมน ในปี พ.ศ.2393 นิตยสารยูธอินสตรัคเตอร์ พิมพ์ในเมืองโรเชสเตอร์รัฐนิวยอร์ค ในปี พ.ศ.2395 และนิตยสารไชน์ออฟเดอะไทม์ พิมพ์ในเมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ.2417 โรงพิมพ์แห่งแรกของคริสตจักรตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองแบทเทิลครีก รัฐมิชิแกน เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2398 และเข้ารวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของสมาคมการพิมพ์ของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส สถาบันเพื่อการปฏิรูปสุขภาพซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามโรงพยาบาลแบทเทิลครีก เปิดดำเนินงานในปี พ.ศ.2409 จัดตั้งสมาคมผู้ประกาศศาสนาจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2413 เพื่อบริการผู้รับใช้ทุกคน เครือข่ายโรงเรียนทั่วโลกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2415 และในปี พ.ศ.2420 ได้จัดตั้งสมาคมโรงเรียนสะบาโต ในปี พ.ศ.2446 สำนักงานใหญ่ของริสตจักรได้ย้ายจากเมืองแบทเทิลครีก รัฐมิชิแกน ไปตั้งที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. และในปี พ.ศ.2446 ย้ายไปที่เมืองซิลเวอร์สปริง รัฐแมรี่แลนด์ เป็นศูนย์กลางของการดำเนินการขยายงานต่อไป

โครงสร้างองค์การ
โครงสร้างการบริหารงานของมูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ประธานสำนักงานคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เหรัญญิก และเลขาธิการฝ่ายบริหาร ดังนี้

การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ดังนี้
1. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักประเสริฐแห่งองค์พระเยซูคริสต์
2. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักวันสะบาโตที่แท้จริงของพระเจ้า ตามที่ได้จารึกไว้ในหนังสือพระคริสตธรรมเอกโซโด บทที่ ๒๐ ข้อ ๘- ๑๑ ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในพระบัญญัติ ๑๐ ประการของพระเจ้า เนื่องจากคนจำนวนมากได้ล่วงละเมิดพระราชบัญญัติข้อนี้
3. สอนให้คนทั้งหลายดำเนินชีวิตตามคำสอนที่ได้กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ของพระเจ้า
4. สอนให้คนทั้งหลายเตรียมพร้อม เพื่อต้อนรับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองขององค์พระเยซูคริสต์

บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย คือ คณะดำเนินงานฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และพันธกิจที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) นิรัติศัย อ้ายปั๋น ประธานสำนักงานคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย 2) พัชราภรณ์ สัตยวากย์สกุล เหรัญญิก และ 3) นิพิฐพนธ์ พงศ์ทีฆทัศน์ เลขาธิการฝ่ายบริหาร

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เลขที่ 12 ซอยปรีดีพนมยงค์ 37 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ : 0-2391-3595 / 0-2391-0525
โทรสาร : 0-2381-1928
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.adventist.or.th/

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (สสท.) (Catholic Bishops’ Conference of Thailand)

ประวัติของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาเผยแพร่และปฏิบัติงานต่างๆ ในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 450 ปี กิจการพระศาสนาได้เจริญพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และมีประชาชนที่เลื่อมใสและนับถือศาสนานี้อยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ เพื่อความสะดวกและเพื่อความก้าวหน้าในกิจการต่างๆ ของพระศาสนา จะสามารถดำเนินไปด้วยดีและเรียบร้อย จึงเริ่มมีการรวมกลุ่มกันตามดำริของที่ประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1965 ที่เชิญชวนบรรดาบิช็อป ซึ่งเป็นประมุขของแต่ละสังฆมณฑลในประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้รวมกลุ่มกันในรูปแบบของสภา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มมีการรวมกลุ่มกันของบรรดาประมุขทั้งแปดของสังฆมณฑลในประเทศไทยขึ้น โดยเรียกว่า “สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย” (สสท.) ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Catholic Bishops’ Conference of Thailand ชื่อย่อ CBCT คำที่ใช้เป็นทางการใช้ว่า “ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย”

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย  จึงเป็นสภาอันมั่นคงที่ตั้งขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากสันตะสำนัก (นครรัฐวาติกัน) ในปี ค.ศ. 1965  ซึ่งบรรดาบิช็อปมารวมกลุ่มปรึกษาหารือ และร่วมมือกันในการดูแลอภิบาลคริสตชน เผยแผ่ศาสนา และปฏิบัติงานกิจการทางศาสนา ได้แก่ ด้านศาสนา การศึกษาอบรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม การสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสุขภาพอนามัย และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขสำหรับบรรดาคริสตชนและเพื่อนพี่น้องชาวไทย สภาประมุขฯ ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นองค์การพิเศษทางศาสนา จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการศาสนาได้ขอให้เปลี่ยนชื่อจากเดิม “สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย” มาเป็น “สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย” โดยออกหนังสือรับรองให้เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2512  (ค.ศ. 1969) ในสมัยพันเอก ปิ่น มุทุกันท์ เป็นอธิบดี ขณะนั้นสำนักงานทำการตั้งอยู่ที่อาคารแพร่ธรรม ซอยโอเรียนเต็ล ถนนเจริญกรุง 40 บางรัก กรุงเทพมหานคร ต่อมามีการขยายหน่วยงานเพิ่มขึ้น  จึงทำให้สถานที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย  กิจบุญชู ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าวจึงได้มอบอาคาร 2 หลังตั้งอยู่ที่ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี ใกล้กับสำนักงานเขตยานนาวา ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าที่เดิม และสามารถรองรับหน่วยงานต่างๆ ของสภาฯ ได้ทั้งหมด ให้เป็นสำนักงานของสภาประมุขฯ

ดังนั้น ในปี ค.ศ.1996 สภาประมุขฯ จึงได้เริ่มย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ โดยอาคารเลขที่ 122-122/1 เป็นอาคารทำการของสำนักงานโคเออร์และสื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย และอาคารเลขที่ 122/6-7 เป็นอาคารทำการของสำนักเลขาธิการสภาฯ และหน่วยงานต่างๆ  ต่อมาในปี ค.ศ.2002 คณะกรรมการบริหารงานของสภาฯ ได้มีดำริที่จะให้หน่วยงานภายใต้สังกัดสภาประมุขฯ ได้มาอยู่รวมกัน พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู จึงได้มอบอาคารสำนักงานซึ่งเดิมเป็นโพลีคลินิก เป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ 10 ชั้น ให้กับสภาประมุขฯ และในปี ค.ศ. 2003 ทุกหน่วยงานภายใต้การดำเนินงานของสภาประมุขฯ จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่ภายในอาคารสำนักงานเลขที่ 122/11 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

โครงสร้างองค์การ โครงสร้างองค์การของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยคณะทำงานในภาคส่วนต่างๆ ดังนี้ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยแผนภูมิโครงสร้างองค์การของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

การบริหารจัดการ
1. วิสัยทัศน์ ประชากรของพระเจ้า ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความรัก แสวงหา ติดตาม และประกาศพระเยซูคริสตเจ้า
2. พันธกิจ พระศาสนจักรในประเทศไทย มุ่งอุทิศฟื้นฟูชีวิตให้สนิทกับพระคริสตเจ้า โดยอาศัยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นหนึ่งเดียว ร่วมมือและแบ่งปันซึ่งกันและกัน แสวงหาคุณค่าพระอาณาจักรในบริบทสังคม เสวนาฉันมิตรกับผู้มีความเชื่ออื่น ประกาศพระเยซูคริสตเจ้า และเป็นประจักษ์พยานด้วยการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย รักและรับใช้ปวงชน โดยเน้นผู้ยากไร้
3. ภารกิจในการบริหารงาน ภารกิจงานขององค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การปกครองดูแลของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศาสนา ด้านการศึกษาอบรมจริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมในด้านสังคม ทั้งในระดับประเทศชาติและระดับสากล ด้านการแพทย์ อนามัยและสาธารณสุข และด้านการเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
- ด้านการศาสนา  มีการดำเนินงานดังนี้
    - เผยแพร่ศาสนา และดูแลอภิบาล อบรมสั่งสอนคริสตชนให้ยึดมั่นในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนา
    - ให้บริการด้านการศาสนา และพิธีกรรม แก่คริสตชนและผู้เลื่อมใสศรัทธา
    - จัดสร้างศาสนสถาน วัดและสำนักสอนศาสนาในที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่อปฏิบัติศาสนกิจของคริสตชน เป็นสถานที่ให้การอบรมและเป็นที่พักอาศัย
    - อบรมส่งเสริมให้มีนักบวชชายหญิงและผู้เผยแผ่ศาสนาเพื่อให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรับผิดชอบในกิจการต่างๆของศาสนา กับดำรงศาสนาให้เจริญก้าวหน้า
    - ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือกับองค์การทางศาสนาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ด้านการศึกษาอบรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม มีการดำเนินงานดังนี้
    - จัดการและส่งเสริมการศึกษาภาคสามัญ วิสามัญ อาชีวะ ตลอดจนอุดมศึกษาและดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
    - จัดการศึกษาขั้นปฐมวัยศึกษาและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบการศึกษาในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการจัดการศึกษาในรูปแบบ ประเภท และระดับการศึกษาต่างๆ ตามที่โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    - จัดการศึกษาตามพันธกิจการศึกษาคาทอลิกเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้ได้รับการอภิบาลด้านจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมตามหลักธรรมของศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
- ด้านการสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานดังนี้
    - ดำเนินการให้คริสตชนยึดมั่นและให้ความสำคัญในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และให้บริการสังคมบนพื้นฐานเจตนารมณ์แห่งความรักและการรับใช้
    - ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    - ให้ความช่วยเหลือและอุปการะผู้ประสบความยากลำบาก ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ติดยาเสพติดและผู้ป่วยโรคเอดส์     - ให้ความร่วมมือกับองค์การศาสนา และองค์การอื่นๆ ในด้านสังคม ทั้งในระดับประเทศชาติและระดับสากล     - ให้ความร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมืองในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแก่ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย     - ส่งเสริมและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม - ด้านการแพทย์ อนามัยและสาธารณสุข มีการดำเนินงานดังนี้
    - ดำเนินกิจการโรงพยาบาล  สถานพยาบาล และหน่วยแพทย์พยาบาลเคลื่อนที่
    - บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดชั้น วรรณะ และศาสนา
    - ส่งเสริม และให้ความร่วมมือกับทางราชการในด้านการแพทย์ อนามัย และสาธารณสุข
- ด้านการเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการดำเนินงานดังนี้
    - จัดให้มีสื่อสาร และสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้เห็นคุณค่าทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
    - ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการทางด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
สภาประมุขฯ ยึดถือการดำเนินงานดังกล่าวมาแล้วแต่แรกเริ่ม และพยายามจะพัฒนาและขยายงานต่างๆ ดังกล่าวต่อไปตามกำลังความสามารถทั้งด้านบุคลากรและปัจจัย เพื่อประโยชน์สุขของศาสนิกชน  และร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมืองในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าสืบๆ ไป ซึ่งในการปฏิบัติงานดังกล่าวนั้น ได้รับความช่วยเหลือจากบรรดานักบวชชาย-หญิง และฆราวาสทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ทำงานให้พระศาสนาด้วยความสมัครใจ ด้วยจิตศรัทธา และด้วยความอุทิศตัว เสียสละ

บุคคลสำคัญ บุคคลสำคัญของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยบิช็อป และคณะทำงาน 4 ส่วน ได้แก่ บิช็อปและเขตปกครองในประเทศไทย จำนวน 11 ท่าน บิช็อปกิตติคุณ จำนวน 3 ท่าน คณะกรรมการดำเนินงานสภาประมุขฯ และคณะกรรมการสำนักงานสภาประมุขฯ จำนวน 9 ท่าน ดังตารางที่ 1 ถึง 4
ตารางที่ 1 บิช็อปและเขตศาสนปกครองในประเทศไทย

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
2 อาร์คบิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ประมุขอัครสังฆมณฑล ท่าแร่ - หนองแสง
3 บิช็อปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
4 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
5 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
6 บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขสังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
7 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ ประมุขสังฆมณฑลราชบุรี
8 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา ประมุขสังฆมมณฑลอุบลราชธานี
9 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขสังฆมณฑลนครราชสีมา
10 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย ประมุขสังฆมณฑลนครสวรรค์

 

ตารางที่ 2 บิช็อปกิตติคุณ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล สถานะ
1 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกษียณอายุ
2 บิช็อปลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เกษียณอายุ
3 บิช็อปยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เกษียณอายุ


ตารางที่ 3 คณะกรรมการดำเนินงานสภาประมุขฯ
เริ่ม 20 กันยายน ค.ศ. 2018 ถึง กันยายน ค.ศ. 20121

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธาน
2 บิช็อปยอแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล รองประธาน
3 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เลขาธิการ
4 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เหรัญญิก
5 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย คณะกรรมการที่ปรึกษาเทววิทยา (ประธาน)
6 อาร์คบิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายพระศาสนจักร (ประธาน)
7 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ คณะกรรมการที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และกฎหมายบ้านเมือง (ประธาน)
8 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ กรรมาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน (ประธาน)
9 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ กรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและ การศึกษาคาทอลิก (ประธาน)
10 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา กรรมาธิการฝ่ายสังคม (CARITAS THAILAND)
11 บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล กรรมาธิการฝ่ายสื่อสารสังคม
12 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช คณะกรรมการฯ เพื่อพิธีกรรม
13 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย
คณะกรรมการฯ เพื่อคริสตศาสนธรรม
14 พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
บิช็อปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล
คณะกรรมการฯ เพื่อพระสงฆ์และผู้ถวายตัว
15 บิช็อปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ
คณะกรรมการฯ เพื่อคริสตชนฆราวาส
16 บิช็อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ คณะกรรมการฯ เพื่อการธรรมทูต (ประธาน)
17 บิช็อปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ คณะกรรมการฯ เพื่อการศึกษา (ประธาน)
18 บิช็อปยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ คณะกรรมการฯ เพื่อศาสนสัมพันธ์ และคริสตศาสนสัมพันธ์ (ประธาน) คณะกรรมการฯ เพื่อมรดกวัฒนธรรม (ประธาน)
19 บิช็อปฟิลิป บรรจง ไชยรา
บิช็อปยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม
คณะกรรมการฯ เพื่อการพัฒนาสังคม
20 บิช็อปยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย คณะกรรมการฯ เพื่อการอภิบาลสังคม
21 บิช็อป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล คณะกรรมการฯ เพื่อสื่อมวลชน
22 บิช็อปยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย
บิช็อปยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม
คณะกรรมการฯ เพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ


ตารางที่ 4 คณะกรรมการสำนักงานสภาประมุขฯ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 บิช็อปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เลขาธิการสภาพระสังฆราชฯ
2 มงซินญอร์แอนดรูว์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชฯ
3 ซิสเตอร์มารีอา วิมลรัตน์ ศรีธรักษา ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักเลขาธิการ
4 บาทหลวงมีคาแอล วัชรินทร์ ต้นปรึกษา ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักนโยบาย
5 บาทหลวงยอแซฟ วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงบประมาณ
6 บาทหลวงเปโตร ปิยะชาติ มะกรครรภ์ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน
7 เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการธรรมทูต 
และการอบรมศึกษาคาทอลิก
8 บาทหลวงร็อค ไพรัช ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสังคม
9 บาทหลวงยอแซฟ อนุชา ไชยเดช ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสื่อสารสังคม


สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เลขที่ 122/11 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : 0-2681-3900
โทรสาร : 0-2681-5369 / 0-2681-5370
อีเมล์ : [email protected] / [email protected]
เว็บไซต์ : https://www.cbct.or.th/


สภาคริสตจักรในประเทศไทย

สภาคริสตจักรในประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand)
(1) ประวัติความเป็นมา คริสตจักรโปรเตสแต้นท์ในประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ย้อนไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.2371 เมื่อศาสนาจารย์จาคอบ ทอมสิน และศาสนาจารย์นายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ เข้ามาเผยแร่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแต้นท์เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม
ในปี พ.ศ.2383 มิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนอเมริกันเข้ามาในประเทศไทยและตั้งรากฐานอย่างมั่นคงในปี พ.ศ.2390 มิชชันนารีชุดนี้ประกอบด้วยนายแพทย์ซามูเอล เฮาส์ ศาสนาจารย์สตีเฟนและนางแมรี่ แมตตูน มิชชันนารีคณะนี้ได้จัดตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่หนึ่งกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2392 ต่อมาได้จัดตั้งเพรสไบเทอรี่แห่งสยามในวันที่ 1 กันยายน 1858
เมื่อถึงปี พ.ศ.2401 คณะมิชชันนารีขยายงานไปสู่ภูมิภาคโดยได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่เพชรบุรี โดยการนำของครอบครัวศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี และครอบครัวศาสนาจารย์ ชามูเอล จี แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้ปฏิบัติงาน ปี พ.ศ.2410 ครอบครัวของศาสนาจารย์แมคกิลวารีได้ตั้งมิชชั่นประกาศ คริสตศาสนาที่เชียงใหม่ โดยมีครอบครัวของศาสนาจารย์วิสันเข้าร่วมงานด้วย ครอบครัวมิชชันนารีทั้งสองได้จัดตั้งคริสตจักร เพรสไบทีเรียนที่หนึ่งเชียงใหม่ ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2421 ซึ่งเป็นปีที่มีพระบรมราชโองการ เรื่องเสรีภาพทางศาสนา (มีผลบังคับใช้ในเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง)
การประกาศพระกิตติคุณได้ขยายออกไปในภูมิภาคต่างๆ มีการจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่ลำปาง ในปี พ.ศ.2428 ลำพูน (พ.ศ.2434) แพร่ พ.ศ.2436 น่าน (พ.ศ.2448) เชียงราย (พ.ศ.2440) และพิษณุโลก (ค.ศ.2432) ภายหลังได้ขยายงานไปยังเขตเชียงตุงของพม่า (พ.ศ.2447) และเขตเชียงรุ้งของจีน (พ.ศ.2514)
ในปี พ.ศ.2443 ได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารี ที่นครศรีธรรมราช และเมื่อถึงปี พ.ศ.2453 ได้จัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่รัง ซึ่งเป็นศูนย์มิชชันนารีที่ขยายการปะกาศคริสตศาสนาไปสู่ท้องถิ่นที่อื่นๆ ในภาคใต้
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2475 ได้มีการรวมเพรสใบเทอรี่สยามและลาวเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองคริสตจักรไทยที่เป็นอิสระ มีการรณรงค์และออกวารสาร “ข่าวคริสตจักรในปี พ.ศ.2477 มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้ง “สภาคริสตจักรในประเทศสยาม” ที่ประชุมได้รับธรรมนูญการปกครองคริสตจักรสยาม ซึ่งกำหนด คริสตจักรประจำชาตินี้ว่า “คริสตจักรในสยาม” มีนโยบายหลัก 3 ข้อ คือ “ประกาศพระกิตติคุณด้วยตนเอง” “การเลี้ยงตนเอง” และ “การปกครองตนเอง”

โครงสร้างองค์การสภาคริสตจักรในประเทศไทย
มีโครงสร้างการดำเนินงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ
ก. การปกครอง สภาคริสตจักรในประเทศไทยมีการแบ่งการปกครองออกเป็นคริสตจักรภาคคริสตจักรท้องถิ่น หมวดและศาลาธรรม อีกทั้งมีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาสถาบันการแพทย์ร่วมทำพันธกิจของพระเจ้าอย่างครบวงจรสภาคริสจักรในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับคริสตจักรสากล อาทิ เป็นสมาชิกของสภาคริสตจักรสากล (World Council of Churches: WCC) สภาคริสเตียนแห่งเอเซีย (Christian Conference of Asia: CCA) และสหคริสตจักรปฏิรูปสากล (World Communion of Reform Churches: WCRC)
ข. นิมิต สภาคริสตจักรในประเทศไทยมีเอกภาพแห่งการรับใช้ เพื่อประกาศพระกิตติคุณสร้างคริสตจักรที่มีสง่าราศี และสร้างสรรค์สังคมที่มีสันติสุข
ค. พันธกิจ สภาคริสตจักรในประเทศไทยคือองค์กรทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแต้นท์ที่รวมตัวกันเพื่อทำพันธกิจของพระเจ้าในประเทศไทย อันประกอบด้วย พันธกิด้านการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณ พันธกิจด้านการศึกษา พันธกิจด้านการรักษาพยาบาลและพันธกิจอื่นๆ โดยมีหลักข้อเชื่อ ข้อปฏิบัติ และธรรมนูญเดียวกัน อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน ด้วยวิธีการเลี้ยงตนเอง ปกครองตนเอง และประกาศพระกิตติคุณด้วยตนเอง
ยุทธศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ 9 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและเพิ่มพูนคริสตจักร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสาวกเพื่อการประกาศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประกาศพระกิตติคุณร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนพันธกิจมิชชันนารี ทั้งการรับและส่ง ยุทธศาสตร์ที่ 5 เตรียมและพัฒนาศักยภาพผู้รับใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 6 อภิบาลสมาชิกให้มีความเชื่อศรัทธา ตามคำสอนของพระคัมภีร์ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 8 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารและแก้ไขปรับปรุงธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ และยุทธศาสตร์ที่ 9 ปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้งระบบ ยุทธศาสตร์ที่ 10 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันหน่วยงาน ยุทธศาสตร์ที่ 11 พัฒนาทรัพย์สินของสภาคริสจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำพันธกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 12 พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 13 การพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกคริสจักรและชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 14 การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ทุกข์ยาก ถูกทอดทิ้ง และผู้ประสบภัยพิบัติ ยุทธศาสตร์ที่ 15 การพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 16 การเสริมสร้างความเป็นเอกภาพและความร่วมมือการพัฒนา และบริการสังคมในประเทศและสู่การเป็นสากล ดังตาราง

ตารางยุทธศาสตร์ของสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและเพิ่มพูนคริสตจักร
1.1 สนับสนุนคริสตจักรให้เปิดจุดประกาศ
1.2 พัฒนาจุดประกาศให้เป็นหมวดคริสเตียนหรือคริสตจักร
1.3 ประกาศผ่านสื่อ สารสนเทศ และอื่นๆ
♣ คริสตจักรมีการขยายและเพิ่มพูน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสาวกเพื่อการประกาศ
2.1 จัดทำ พัฒนาหลักสูตรและคู่มือการประกาศและการสร้างสาวก
2.2 ส่งเสริมให้คริสเตียนทุกคนประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณให้ทั่วถึง
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือ เทคนิค วิธีการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่จำเป็นแก่คริสตจักรภาค และคริสตจักรท้องถิ่น สู่การเป็นฐานปฏิบัติเพื่อการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณและเพิ่มพูนคริสตจักร โดยเฉพาะเป้าหมายในพื้นที่ที่ยังไม่มีคริสตจักร สังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บูรณาการเป็นศูนย์กลางการประสานงานตามนโยบายและแผนงานเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจด้านการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณ
♣ ผู้ประกาศมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการประกาศพระกิตติคุณ และการอุทิศถวายตัว
♣ เพิ่มพูนผู้ประกาศ และสมาชิกคริสตจักรที่มีส่วนร่วมในการประกาศ
♣ ทุกคริสตจักรภาคทำการประกาศอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ มีนวัตกรรมในประกาศรูปแบบใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประกาศพระกิตติคุณร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์
3.1 ความร่วมมือระหว่าง คริสตจักร หน่วยงาน และสถาบัน
♣ ประกาศเพิ่มพูน แบบมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนพันธกิจมิชชันนารี ทั้งการรับและส่ง
4.1 การประสานงานพันธกิจมิชชันนารี และสร้างความสัมพันธ์กับคริสตจักรคู่มิตร
4.2 ส่งเสริมคริสตจักรท้องถิ่น คริสตจักรภาค ให้ทำพันธกิจมิชชันนารี ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ
♣ มีภราดรผู้ร่วมงานมากขึ้น
♣ สภาคริสตจักรในประเทศไทย ขยายการทำพันธกิจ สู่อาเซียน และสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เตรียมและพัฒนาศักยภาพผู้รับใช้
5.1 ส่งเสริมเยาวชน ถวายตัวในสถาบันศาสนศาสตร์ศึกษา
5.2 พัฒนาศิษยาภิบาลในด้านคุณวุฒิ และคุณภาพ ในการทำพันธกิจ
5.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้รับใช้ทั้งบรรพชิตและฆราวาสให้มีความเข้มแข็งในบริบทของตนเอง
5.4 มีกระบวนการประเมินผลการทำงานของศิษยาภิบาล จากผู้ทรงคุณวุฒิ
♣ เพื่อให้มีผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลาในคริสตจักรอย่างทั่วถึง
♣ เพื่อศิษยาภิบาลมีความรู้ และทักษะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ ผู้รับใช้ทุกระดับได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรที่สภาคริสตจักรในประเทศไทย กำหนด
♣ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของศิษยาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 อภิบาลสมาชิกให้มีความเชื่อศรัทธา ตามคำสอนของพระคัมภีร์
6.1 เสริมสร้างสมาชิกให้เป็นสาวกที่ดีในการประกาศพระกิตติคุณ ถวายทศางค์ และ
การถวายตัวรับใช้ตามของประทานในคริสตจักร
6.2 ส่งเสริมคริสตจักรให้มีการทำพันธกิจองค์รวม (Holistic Ministry)
6.3 การเสริมหนุนคริสตจักรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
6.4 บ่มเพาะและเลี้ยงดูชีวิต คริสเตียนบนรากฐานของพระคัมภีร์ (คริสเตียนศึกษา)
♣ สมาชิกสามารถเป็นพยาน ประกาศพระกิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์ ผ่านชีวิต ประจำวัน
♣ คริสตจักรท้องถิ่นสัตย์ซื่อการถวายทศางค์มากขึ้น
♣ สมาชิกมีการถวายตัวเป็นผู้นำในคริสตจักร
♣ เพื่อสมาชิกเข้าใจ คำสอนขององค์พระเยซูคริสต์ผ่านการทำพันธกิจแบบองค์รวม
♣ ปรับระเบียบ หลัก เกณฑ์ โครงการคริสตจักรเลี้ยงตัวเอง 1979/2005
♣ จัดทำและพัฒนาหลักสูตร คริสเตียนศึกษาสำหรับทุกระดับที่เหมาะสมกับยุคสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์
7.1 พัฒนาอนุศาสกและทีมงานศาสนกิจในด้านคุณวุฒิและคุณภาพ การอภิบาลในสถาบันการศึกษาและการแพทย์
7.2 มีกระบวนการประเมินผลการทำงานของอนุศาสกและทีมศาสนกิจจากผู้ทรงคุณวุฒิ
♣ เพื่ออนุศาสกและทีมงานมีความรู้ และทักษะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
♣ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของ อนุศาสกและทีมงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารและแก้ไขปรับปรุงธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ
8.1 เร่งศึกษาและปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างธรรมนูญ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ
ให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทยในปัจจุบัน
8.2 พัฒนาหน่วยงาน สถาบันที่มีรายได้ ให้มีความเข้มแข็งทางการเงิน และพัฒนาทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
8.3 ให้การดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นเอกภาพ
♣ การบริหารงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีความคล่องตัว และเหมาะสมกับการดำเนินงานแต่ละพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ความเข้มแข็งทางการเงินของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิ ผล รวม ทั้งความเป็นเอกภาพในการดำเนินพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 9 ปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้งระบบ
9.1 เร่งพัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการได้ดี
♣ มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และผู้บริหารทุกระดับของสภาคริสตจักรในประเทศไทย สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 10 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบัน/หน่วยงาน
10.1 เร่งปรับปรุงพัฒนาและเสริมสร้างสถาบัน/หน่วยงานที่อ่อนแอให้มีความเข้มแข็ง
10.2 เสริมสร้าง สนับสนุนสถาบัน/หน่วยงานที่เข้มแข็งให้พัฒนายิ่งขึ้น
♣ สถาบันการศึกษา/สถาบันการแพทย์ หน่วยงานที่มีความอ่อนแอมีรายรับสูงกว่ารายจ่าย
♣ เพื่อให้สถาบัน/หน่วยงาน ที่มีความเข้มแข็ง ขยายสาขาหรือก่อตั้งสถาบัน/หน่วยงานใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 11 พัฒนาทรัพย์สินของสภาคริสตจักรฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำพันธกิจ
11.1 คัดเลือกประเภทของทรัพย์สินในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนา
11.2 ปรับปรุงการบริหารกองทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
♣ เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารทรัพย์สิน
♣ เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารกองทุน
ยุทธศาสตร์ที่ 12 พัฒนาศักยภาพบุคลากร
12.1 เพื่อให้มีการเตรียมคนรุ่นต่อไปอย่างมีคุณภาพ
12.2 เร่งพัฒนาภาวะผู้นำสถาบัน/หน่วยงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทย
♣ ทุกคริสตจักร หน่วยงาน สถาบัน มีการเตรียมผู้นำ
♣ ผู้บริหาร สถาบัน หน่วยงาน มีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 13 การพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกคริสตจักรและชุมชน
13.3 ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ของสมาชิกคริสตจักรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการเลี้ยงตนเอง
13.4 ส่งเสริมให้คริสตจักรเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและบริการชุมชน
13.5 ส่งเสริมงานสิทธิมนุษยชน และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้
♣ สมาชิกคริสตจักรมีความรู้ ความ สามารถ การบริหารการพัฒนา เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของตนเองและผู้อื่น
♣ เพื่อสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรกับชุมชน
♣ กลุ่มเป้าหมายได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและมีคุณภาพการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 14 การช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ผู้ทุกข์ยาก ผู้ถูกทอดทิ้ง และผู้ประสบภัยพิบัติ
14.1 ปรับปรุงระบบการให้บริการ และการบรรเทาทุกข์ที่รวดเร็วและเหมาะสม
14.2 ส่งเสริมการอภิบาลและดูแลผู้สูงอายุในคริสตจักรอย่างเหมาะสม
♣ มีการจัดการบรรเทาทุกข์ผู้ทุกข์ยากอย่างมีประสิทธิภาพ และ สามารถดำเนินชีวิต อย่างปกติสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 15 การพัฒนาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 15.1 การอนุรักษ์ฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ♣ รักษาความสมดุลและสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่พระเจ้าทรงสร้าง
ยุทธศาสตร์ที่ 16 การเสริมสร้างความเป็นเอกภาพ และความร่วมมือ การพัฒนาและบริการสังคมในประเทศและสู่การเป็นสากล 16.1 เครือข่ายความร่วมมือในการทำพันธกิจระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสภาคริสตจักรในประเทศไทย และกับคริสตจักร องค์กรคริสต์ศาสนา องค์กรศาสนิกสัมพันธ์ องค์กรเอกชน และองค์กรภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ ♣ สภาคริสตจักรฯ มีความเป็นเอกภาพการรับใช้สังคมในประเทศ ในประชาคมอาเซียนและในระดับสากล


บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประกอบด้วยประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย เหรัญญิกสภาคริสตจักรในประเทศไทย กรรมการอำนวยการสภาฯ และที่ปรึกษากฎหมายสภาคริสตจักรในประเทศไทย ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 ศาสนาจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ มหชลโรจน์ ประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
2 ศาสตราจารย์ ดร.รุ่ง เริงสันติ์อาจิณ รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
3 ผู้ปกครองสุรพงศ์ มิตรกูล รองประธานสภาคริสตจักรในประเทศไทย
4 ผู้ปกครองกู้ศักดิ์ สารกิติพันธ์ เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย
5 ศาสนาจารย์ ดร.ศิริรัตน์ ปุสุรินทร์คำ เหรัญญิกสภาคริสตจักรในประเทศไทย
6 ศาสนาจารย์อภิเดช ชัยราชา กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
7 ศาสนาจารย์สยาม ม่วงศักดิ์ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
8 มัคนายก นพ.วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
9 ศาสนจารย์สิงขร รักสกุลใหม่ กรรมการอำนวยการสภาฯ จากสมัชชาฯ
10 ศาสนจารย์สมชิด หัวนา กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 1
11 ศาสนจารย์เจษฏา ยะรินทร์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 2
12 ศาสนจารย์วีระ ขันอุระ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 3
13 ศาสนจารย์ประสงค์ วงศ์สิงห์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 4
14 ผู้ปกครองสะอาด กุนกันไชย กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 5
15 ผู้ปกครองสิทธิชัย วุฒิเศถกฤต กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 7
16 ศาสนจารย์กิตติคุณ ยาปัน กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 9
17 ศาสนจารย์ประสิทธิ์ ตาคำ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 10
18 ผู้ปกครองประสิทธิ์ ธงทัศวรรธนะ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 11
19 คุณวิศาล มหชวโรจน์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 12
20 ศาสนจารย์บริสุทธิ์ ภูผารส กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 13
21 ศาสนจารย์ประทีป ชีพนิรันดร์ กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 14
22 ศาสนจารย์นิรันดร์ เมืองชื่น กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 15
23 ศาสนจารย์สุชัย เสดวงชัย กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 16
24 ศิตยาภิบาลพรสรวง จิตต์แจ้ง กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 17
25 ศาสนจารย์สุรเดช วิสุทธิชน กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 18
26 ศาสนจารย์ประสิทธิ์ สาคร กรรมการอำนวยการสภาฯ ภาค 19
27 คุณอภิศักดิ์ ก้องกังวาฬโชค ที่ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ
28 คุณอำพล บงกชมาศ ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ
29 มัคนายกยงยุทธ สืบทายาท ปรึกษากฎหมายกรรมการตีความธรรมนูญฯ


สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สภาคริสตจักรในประเทศไทย เลขที่ 328 ถนนพญาไท เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 0-2214-6000-9
โทรสาร : 0-2214-6010
เว็บไซต์ : http://www.cct.or.th/


สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย

สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย (สคท.) (The Evangelical Fellowship of Thailand)

ประวัติ
สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2502 จากการประชุมพบปะกันของผู้นำองค์การมิชชันนารีและผู้นำคริสตจักรไทย ซึ่งมิได้สังกัดอยู่กับสภาคริสตจักรฯ และกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มอีแวนเจลลิคอล (Evangelical) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง “The Evangelical Fellowship of Thailand” โดยกรมศาสนาให้การรับรองสหพันธกิจคริสเตียน หรือสหสัมพันธกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยเป็นองค์การทางศาสนา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2512 เป็นองค์กรที่ 3 ของศาสนาคริสต์ ต่อจากจาก คาทอลิก และ สภาคริสตจักรในประเทศไทย และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย” ชื่อย่อว่า “สคท.” และชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Evangelical Fellowship of Thailand” ในเวลาต่อมา โดยภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนาแล้ว สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยจึงเปิดรับสมาชิกเข้าในสังกัด โดยมีสมาชิก 4 ประเภท คือ องค์การมิชชันนารีจากต่างประเทศ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นในประเทศ (ซึ่งต่อมาให้เรียกเป็นประเภทเดียวคือ สมาชิกประเภทองค์กร) สมาชิกที่เป็นคริสตจักร และสมาชิกรายบุคคล
คณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารี อไลแอนซ์ (ซี.เอ็ม.เอ) เป็นคณะมิชชันนารีแรกที่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะ ซี.เอ็ม.เอ. ได้ร่วมงานกันคริสตจักรพระกิตติคุณ ตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2497 (ค.ศ.1981) คณะ ซี.เอ็ม.เอ.ร่วมกับองค์การโอเวอร์ซีมิชชันนารีเฟลโลชิพ ตั้งศูนย์ศึกษาพระคริสตธรรมกรุงเทพฯ Bangkok Bible College ในปีพ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) เพื่อฝึกอบรมความรู้ในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ทำงานรับใช้พระเจ้าในคริสตจักร ต่อมาในปีพ.ศ.2518 (ค.ศ.1975)ได้เริ่มหลักสูตรในระดับปริญญาโทและได้จัดตั้งเป็นสถาบันพระคริสตธรรมกรุงเทพและเพิ่มชื่อภาษาอังกฤษเป็น Bangkok Bible College & Seminary (บี.บี.ซี.เอส.) และยังมีคณะอื่นๆ อีกหลายคณะที่แจ้งชื่อคริสตจักรไว้ในทะเบียน ของ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มีคณะกรรมการบริหาร ซึ่งดำเนินงานตามวัตถุประสงค์หลักของธรรมนูญ คือ ส่งเสริมการประสานงานและร่วมมือขององค์การสมาชิก ส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนา การผลิตและการใช้สื่อมวลชน การสังคมสงเคราะห์โดยสมาชิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทองค์การ และประเภท คริสตจักร โดยสมาชิกประเภทคริสตจักร แบ่งย่อยออกเป็นคริสตจักรแม่ และคริสตจักรลูก ส่วนสมาชิกประเภทองค์การแยกตามพันธกิจได้ 8 ประเภท คือ 1) ด้านการประกาศเพื่อตั้งคริสตจักร 2) ด้านการประกาศ และร่วมรับใช้คริสตจักร 3) ด้านสังคมสงเคราะห์ 4) ด้านวรรณกรรม 5) ด้านวิทยุโทรทัศน์ 6) ด้านการศึกษา 7) ด้านการแพทย์ 8) ด้านการประกาศและสังคมสงเคราะห์
ปัจจุบัน มีสมาชิกที่เป็นมิสชันนารี 800 ท่าน มีคริสตจักรในสังกัด 1,200 แห่งและมีสมาชิกประมาณ 100,000 คน มีองค์กรในสังกัด 110 คณะ สำนักงานศูนย์กลางตั้งอยู่ที่เลขที่ 64/1 ถนนรามคำแหง ซอย 22 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ดังนี้
ก. ส่งเสริมการประสานงานและความร่วมมือกัน
ข. ส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
ค. ส่งเสริมความเจริญฝ่ายจิตวิญญาณของคริสเตียน
ง. ส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อสารมวลชนของคริสเตียน
จ. ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์

โครงสร้างองค์การ
สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยมีคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานติดตามงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ

บุคคลสำคัญ

ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 ศจ.ดร. วีรชัย โกแวร์ คณะกรรมการอำนวยการ
2 ศจ.ดร. มาโนช แจ้งมุข คณะกรรมการอำนวยการ
3 ศจ.คำสิงห์ รวมวงศ์ เลขานุการกรรมการ/นายทะเบียนสมาชิก สคท<.
4 ศจ. สมนึก มนตรีเลิศรัศมี เหรัญญิก
5 ศจ.ดร. วัลลภา วิศวสุขมงคล ดูแลพันธกิจสังคมและประสานงานราชการ
6 ศจ.สุรชัย วุฒิอุดมเลิศ ดูแลพันธกิจภาคกรุงเทพปริมณฑล
7 ศจ.อาดุลย์ สุรินทร์ ดูแลพันธกิจภาคกลางตอนบน
8 Mr.Malcolm Gray ดูแลพันธกิจภาคกลางตอนล่าง
9 ศจ.ภูริวัฒน์ ยศวัฒน ดูแลพันธกิจภาคเหนือตอนบน
10 ศจ.คัมภีร์ รองหานาม ดูและพันธกิจภาคเหนือตอนล่าง
11 ศจ.อภิชาติ กาลวันตวานิช ดูแลพันธกิจภาคตะวันออก
12 ศจ.ดร.จันทร์สมร ชัยศักดิ์ ดูแลพันธกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
13 ศจ. แสวง กุสาวดี ดูแลพันธกิจภาคใต้ตอนบน
14 ศจ.ทองดี ใจไหว ดูแลพันธกิจภาคใต้ตอนล่าง
15 ศจ.ดร.ศิลเวช กาญจนมุกดา ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
16 ศจ.เกียรติ ลักษณะสกุลชัย เลขานุการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
17 ศจ.ดร.ธีระ เจนพิริยประยูร คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
18 ศ.ทพ.ดร.กรัสไนย หวังรังสิมากุล คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
19 นพ.เสถียร ธรรมทวีธิกุล คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
20 ทนายความ ประสิทธิ์ มังคลา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
21 ศจ.สมพร ศิริกลการ  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
22 ศจ.มนูญศักดิ์ กมลมาตยากุล  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
23 ศจ.ดร. เศียร บัวเกตุ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.
24 ศจ.ดร.สตีเฟ่น เทย์เลอร์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคท.


สถานที่ตั้งและการติดต่อ ที่ตั้ง : สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย เลขที่ 64/1 ซอยรามคำแหง 22 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0-2318-8235-7
โทรสาร : 0-2318-3861-2
เว็บไซต์ : http://eft.or.th/index.php


มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (Thailand Baptist Convention)

ประวัติมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์

สื่อมวลชนแบ๊บติสต์ เริ่มปี พ.ศ.2503 มีการทำสำเนาฟิล์มภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวในพระคัมภีร์เป็นพากย์ภาษาไทย และนำออกอากาศทางวิทยุเพื่อการประกาศ ต่อมาได้ทำรายการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ปี พ.ศ.2514 ก่อตั้งมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (ส.ค.บ.) และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นจุดแห่งความร่วมมือระหว่างคริสตจักรทั้งหลาย ปี พ.ศ.2539 การตั้งองค์กรที่ชื่อว่า สหพันธ์แบ๊บติสต์ในประเทศไทย (Thailand Baptist Convention ต่อมาเป็น Thailand Baptist Fellowship) เป็นการร่วมมือกับพี่น้องคริสเตียนแบ๊บติสต์ อื่นๆอันประกอบด้วย ส.ค.บ. ภาคสิบสอง กะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ ลาหู่แบ๊บติสต์ ปี พ.ศ.2520 มีการก่อตั้งมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มีผู้นำคนไทยเป็นคณะกรรมการร่วมกับมิชชันนารี โดยทางมูลนิธินี้เองที่ทำให้คณะแบ๊บติสต์ได้รับการรับรองให้เป็นองค์การย่อยทางคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2523 - 2532 เป็นช่วงที่คริสตจักรในคณะแบ๊บติสต์ ให้ความช่วยเหลือแบ๊บติสต์ได้ทุ่มเทเงินกว่าล้านดอลล่าห์สำหรับอาหาร และมีหลายคนในหมู่พวกเขาขณะนี้กำลังรับใช้งานของพระเจ้าอยู่ในสหรัฐอเมริกา 

นอกจากนี้ในช่วงนี้ มีการจัดอมรมผู้นำในชนบท เพื่อขยายงานคริสตจักรในชนบท มีการเริ่มงานใหม่ในหมู่ชาวเขาในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ.2533 - 2542 ในช่วงเวลานี้สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ได้เข้ามาดูแลและรับผิดชอบและควบคุมสถาบันของแบ๊บติสต์มากขึ้นเป็นลำดับ และมุ่งประสานงานในหมู่คริสตจักรทั้งหลายในแบ๊บติสต์ ให้ร่วมใจกันในการทำพันธกิจในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น งานสังคมสงเคราะห์ในมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อย่างเด่นชัด ได้แก่ โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า พันธกิจศูนย์แสงเดือน พันธกิจเรือนจำคริสเตียนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ นอกจากหน่วยงานเหล่านี้แล้ว คริสตจักรต่างๆ ในสังกัดคริสตจักรแบ๊บติสต์ ทำพันธกิจด้านพัฒนาและสังคมสงเคราะห์ตามความเห็นของคริสตจักร ไม่ว่าจะในกรุงเทพหรือในต่างจังหวัด จะศึกษาและทำการสงเคราะห์เพื่อชุมชนของตน โรงพยาบาลคริสเตียนแบ๊บติสต์บางคล้า โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้า มุ่งเน้นการประกาศพระกิตติคุณควบคู่กับการรักษาพยาบาล เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ในระยะ 40 ปี ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของคนไทยในภาคตะวันออก และเกิดคริสตจักรคริสเตียนแบ๊บติสต์หลายแห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ตราด นครนายก จันทบุรี และสระแก้ว คณะผู้บริหารโรงพยาบาลตระหนักถึงนโยบายและเป้าหมายว่า เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือชาวไทยทั้งฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณ การรักษาพยาบาลที่นี่เป็นที่ยอมรับของพี่น้องชาวไทยในภาคตะวันออก ไม่เพียงรักษาพยาบาลยังมีกลุ่มเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ได้รับฟังพระกิตติคุณ และมีความสนใจ 

นอกจากงานด้านเยี่ยมเยียนผู้ป่วยแล้ว ทางโรงพยาบาลบางคล้า ยังได้พัฒนาบุคลากรที่จะมาช่วยงานพยาบาล โดยมีการให้ทุนแก่นักศึกษาคริสเตียนพยาบาล เมื่อศึกษาสำเร็จสามารถมารับงานพยาบาลได้ ทั้งนี้เพราะมีความต้องการแพทย์และพยาบาลอย่างมาก สำหรับงานสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของประเทศ เช่น ในปี พ.ศ.2542 เป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากปี พ.ศ.2539 เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความลำบากมากขึ้น โรงพยาบาลคริสเตียนบางคล้าก็ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว จำนวนคนไข้ลดลงประมาณ 20% ประกอบกับขาดบุคลากร จนในที่สุดโรงพยาบาลได้ประสานงานกับมิชชั่นแบ๊บติสต์และคริสตจักรท้องถิ่นได้ออกทำคลีนิกเคลื่อนที่โดยเฉพาะจังหวัดต่างๆ ทางภาคอีสาน นำโดยคณะแพทย์ พยาบาลออกหน่วยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วย เหลือคริสตจักรในงานสงเคราะห์ชุมชนในภาคตะวันออกมากขึ้น ต่อมาได้เปิดสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลาง จังหวัดน่าน งานนี้นายแพทย์ จอห์น โอเวน กิ๊บสัน ซึ่งเดิมเป็นแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลบางคล้า ท่านได้ตระหนักถึงความต้องการด้านการรักษาพยาบาลในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป จึงตั้งสถานพยาบาลคริสเตียนเชียงกลางขึ้นเพื่อ สำแดงถึงความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อชาวไทยในภาคตะวันออก

โครงสร้างองค์การ

มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มีโครงสร้างการดำเนินงาน ดังนี้

การบริหารจัดการ
มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้ดำเนินกิจการตามระเบียบข้อบังคับที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิต่อทางราชการ โดยมีคณะกรรมการบริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงานกิจการต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๕ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้พิจารณามอบหมายให้สหกิจคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการประสานงานตอบสนองต่องานด้านศาสนา พร้อมทั้งดูแลสมาชิก (คริสตจักรและสถาบันต่างๆ) ของมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ให้ดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาให้ถูกต้อง และสอดคล้องต่อระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิฯ และนโยบายของกรมการศาสนา
สถาบันในมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ดูแลโดย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (ส.ค.บ.) ได้แก่
1. ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ กสศ.
2. โรงเรียนคริสต์ศาสนาแบ๊บติสต์
3. คลินิกเวชกรรมคริสเตียนบางคล้า
4. สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร
5. สถานอบรมคริสเตียนแบ๊บติสต์ พัทยา
6. พันธกิจเรือนจำคริสเตียนในประเทศไทย
7. โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม
8. ศูนย์ส่งเสริมอาชีพสตรีแสงเดือนบางคล้า
9. สุสานมูลนิธิคริสตจักร คณะแบ๊บติสต์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (Thailand Baptist Convention) เลขที่ 90 (อาคารสุเมธ) ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
โทรสาร :
เว็บไซต์ : http://www.baptist-tbc.com/


มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย (Seventh-Day Adventist of Thailand)

มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย (Seventh-Day Adventist of Thailand)

ประวัติ
ประวัติการ ก่อตั้งโดย บรรณกร (ผู้ประกาศกิตติคุณโดยการจำหน่ายหนังสือ) ท่านแรก ได้เข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.2449 (ค.ศ.1906) เพื่อจำหน่ายแจกจ่ายหนังสือในกรุงเทพฯ ต่อมามีบรรณกรจากสิงค์โปร์เข้ามาอีก 10 ท่าน เพื่อจำหน่ายหนังสือและหนุนน้ำใจสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีน ต่อมาจึงมีศาสนทูตเข้ามาเผยแพร่พระกิตติคุณและตั้งสำนักงานมิชชันขึ้น และแปลนิตยสารภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า หนังสือชูชาติ พร้อมทั้งตั้งสำนักงานมิชชันขึ้นที่อุบลราชธานีด้วย เริ่มสร้างโรงเรียนมิชชั่นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ.1932) เพื่อสอนศาสนาให้นักเรียน หลังจากนั้นมีการขยายงานด้านการแพทย์ ไปที่อุบลราชธานี ภูเก็ต และหาดใหญ่ และเริ่มงานด้านทันตแพทย์ที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.1932) เริ่มเปิดการสอนพระคริสตธรรมคัมภีร์ทางไปรษณีย์และเริ่มเทศนาทางวิทยุกระจาย เสียงครั้งแรกในปี พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) ซึ่งในปีนั้นเองได้สร้างที่ทำการของคริสตจักรขึ้นที่ซอยโรงเรียนเกษมพาณิชการ ถนนคลองตัน เขตพระโขนง และยังมีสำนักพิมพ์ข่าวประเสริฐขึ้นที่นั่นด้วย

จากระยะเวลาเพียงหนึ่งศตวรรษครึ่ง คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมีการเจริญเติบโตขึ้นจากกลุ่มผู้เชื่อกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เพื่อค้าหาความจริงด้วยความมุ่งมั่น ไปสู่ชุมชนผู้เชื่อกระจายไปทั่วโลกกว่า 14 ล้านคน คนเหล่านี้ยึดมั่นคริสตจักรนี้เป็นที่พำนักฝ่ายจิตวิญญาณ หลักของเชื่อของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสเป็นมรดกความเชื่อที่ได้รับจากกลุ่มผู้ติดตามนายวิลเลี่ยม มิลเลอร์ ในยุค 1840 ชื่อ"เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส" เป็นที่รู้จักก่อนการจัดตั้งคริสตจักรเป็นองค์กรขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2403 ด้วยจำนวนโบสถ์ 125 แห่ง และสมาชิกโบสถ์จำนวน 3,500 คน

ระหว่าง พ.ศ.2373 และ 2387 วิลเลี่ยม มิลเลอร์ นักเทศน์จากคริสตจักรแบ๊บติสต์ และอดีตทหารจากสงครามเมื่อ พ.ศ.2355 ได้ประกาศข่าว “การตื่นตัวของผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง” ของพระเยซูแก่กลุ่มคริสเตียนทั่วไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากการศึกษาคำพยากรณ์ของพระธรรมดาเนียล8:14 มิลเลอร์ได้คำนวณเวลาและสรุปว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมายังโลกนี้เป็นครั้งที่สองในระหว่าง ปีพ.ศ. 2386 และ 2387 บางคนในกลุ่มผู้เชื่อเหล่านี้คำนวณและกล่าวว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมาในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2387 เมื่อพระเยซูไม่ได้เสด็จกลับมาตามที่คาดหวัง กลุ่มผู้ติดตามมิลเลอร์ผู้ผ่านประสบการณ์ครั้งนั้นเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “การผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่”

บรรดาผู้เข้าร่วมกลุ่มผู้รอคอยพระเยซูครั้งนั้นจำนวนหลายพันคนได้ละทิ้งกลุ่มไปด้วยความผิดหวังในสิ่งที่เคยเชื่อ อย่างไรก็ตามมีบางคนในกลุ่มผู้เชื่อได้หันกลับไปศึกษาพระคัมภีร์เพื่อค้นหาเหตุผลของความผิดหวังในครั้งนั้น ไม่นานต่อมาคนเหล่านี้ได้สรุปว่าการกำหนดวันที่ 22 ตุลาคม นั้นถูกต้องแล้ว พวกเขาเชื่อว่าคำพยากรณ์ของพระคัมภีร์ที่กล่าวไว้ไม่ได้หมายความว่าพระเยซูจะเสด็จมายังโลกนี้ในปี พ.ศ.2387 แต่เป็นการที่พระองค์ทรงเริ่มพระราชกิจพิเศษในสวรรค์เพื่อผู้ติดตามพระองค์ คนเหล่านี้ยังรอคอยพระเยซูเสด็จกลับมาในอีกไม่ช้านี้ เหมือนกับสมาชิกคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในอดีตที่เฝ้ารอคอยการเสด็จกลับมาของพระองค์

หลังจาก “การผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่” ได้เกิดผู้นำหลายคนจากกลุ่มเล็กที่ไม่ยอมละทิ้งความเชื่อ ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มซึ่งต่อมาคือ คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ในบรรดาผู้นำที่โดดเด่นเหล่านั้นได้แก่ เจมส์และเอเลน จี. ไว้ท์ สามี ภรรยาที่แต่งงานได้ไม่นาน และโจเซฟ เบ็ตส์อดีตกัปตันเรือจากกลุ่ม “แอ๊ดเวนตีส” หรือผู้รอคอยการเสด็จกลับมาของพระเยซูกลุ่มเล็ก ๆ นี้ได้เจริญขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐนิวอิงแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่เกิดเหตุการณ์ “ความผิดหวังครั้งใหญ่” นั้น เอเลน จี. ไว้ท์ ยังอยู่ในวัยสาวรุ่น เติบโตขึ้นเป็นนักเขียน นักเทศน์ และผู้บริหารที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตวิญญาณซึ่งเป็นที่วางใจของสมาชิกในครอบครัวใหญ่ของแอ๊ดเวนตีสเป็นเวลานานกว่าเจ็ดสิบปี จนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ.2458 นับตั้งแต่เข้ารวมกลุ่มกับผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู เธอได้ยึดมั่นในความเชื่อนี้ตลอดมา มีความชื่นชมยินดีที่ได้เข้าร่วมกลุ่มกับประชากรของพระเจ้าด้วยการให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ผ่านงานเขียนแก่ผู้เชื่อซึ่งเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

ในปี พ.ศ.2403 กลุ่มผู้เชื่อที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ได้ผนึกขึ้น ตั้งชื่อว่า เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (ผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ถือรักษาวันที่เจ็ดเป็นวันนมัสการ) ในปี พ.ศ. 2406 ได้จัดตั้งองค์กรคริสตจักรอย่างเป็นทางการด้วยจำนวนสมาชิก 3,500 คนระยะแรกการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาเหนือ จนกระทั่ง พ.ศ.2417 คริสตจักรได้ส่ง เจ. เอ็น. แอนดรูวส์ เป็นผู้ประกาศศาสนา(มิชชันนารี) คนแรกออกไปทำงานต่างประเทศ ไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2422 ส่งดร. เอช พี. ริบตัน ผู้กลับใจใหม่จากประเทศอิตาลี ไปทำงานในทวีปอาฟริกาช่วงสั้นๆ เมื่อเขาย้ายไปทำงานที่ประเทศอียิปต์ เปิดโรงเรียน แต่โครงการต้องยุติไปเพราะเหตุรุนแรงในพื้นที่ ประเทศรัสเซียเป็นประเทศแรกที่ไม่ใชคริสตจักรโปรเตสแตนท์ที่คริสตจักรส่งผู้ประกาศเข้าไปทำงานในปี พ.ศ.2429 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2433 เรือพิทเคร์น เรือขนส่งผู้ประกาศศาสนาเดินทางไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกได้เดินทางออกจากท่าเรือเมืองซานฟานซิสโก คริสเตียนเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสได้เข้าไปทำงานในประเทศที่ไม่มีคริสเตียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 ได้แก่ประเทศ กาน่า อาฟริกาตะวันตกและมาตาเบเลแลนด์ในอาฟริกาใต้ ในปีเดียวกันได้ส่งผู้ประกาศศาสนาไปยังประเทศในแถบอเมริกาใต้ พ.ศ.2439 มีผู้ประกาศเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้คริสตจักรกำลังทำงานอยู่ใน 209 ประเทศ (จากจำนวน 230 ประเทศตามที่ได้รับรองโดยองค์การสหประชาชาติ) สิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้จำทำขึ้นแจกจ่ายเป็นปัจจัยหลักทำให้คริสตจักรเติบโตขึ้น นิตยสารแอ็ดเวนท์ริวแอนซาบบาธ (ปัจจุบันชื่อ แอ็ดเวนตีสรีวิว)เป็นสื่อการพิมพ์หลักของคริสตจักรจำหน่ายในเมืองปารีส รัฐเมน ในปี พ.ศ.2393 นิตยสารยูธอินสตรัคเตอร์ พิมพ์ในเมืองโรเชสเตอร์รัฐนิวยอร์ค ในปี พ.ศ.2395 และนิตยสารไชน์ออฟเดอะไทม์ พิมพ์ในเมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ.2417 โรงพิมพ์แห่งแรกของคริสตจักรตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองแบทเทิลครีก รัฐมิชิแกน เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2398 และเข้ารวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของสมาคมการพิมพ์ของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส สถาบันเพื่อการปฏิรูปสุขภาพซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามโรงพยาบาลแบทเทิลครีก เปิดดำเนินงานในปี พ.ศ.2409 จัดตั้งสมาคมผู้ประกาศศาสนาจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2413 เพื่อบริการผู้รับใช้ทุกคน เครือข่ายโรงเรียนทั่วโลกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2415 และในปี พ.ศ.2420 ได้จัดตั้งสมาคมโรงเรียนสะบาโต ในปี พ.ศ.2446 สำนักงานใหญ่ของริสตจักรได้ย้ายจากเมืองแบทเทิลครีก รัฐมิชิแกน ไปตั้งที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. และในปี พ.ศ.2446 ย้ายไปที่เมืองซิลเวอร์สปริง รัฐแมรี่แลนด์ เป็นศูนย์กลางของการดำเนินการขยายงานต่อไป

โครงสร้างองค์การ
โครงสร้างการบริหารงานของมูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ประธานสำนักงานคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เหรัญญิก และเลขาธิการฝ่ายบริหาร ดังนี้

การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ดังนี้
1. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักประเสริฐแห่งองค์พระเยซูคริสต์
2. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักวันสะบาโตที่แท้จริงของพระเจ้า ตามที่ได้จารึกไว้ในหนังสือพระคริสตธรรมเอกโซโด บทที่ ๒๐ ข้อ ๘- ๑๑ ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในพระบัญญัติ ๑๐ ประการของพระเจ้า เนื่องจากคนจำนวนมากได้ล่วงละเมิดพระราชบัญญัติข้อนี้
3. สอนให้คนทั้งหลายดำเนินชีวิตตามคำสอนที่ได้กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ของพระเจ้า
4. สอนให้คนทั้งหลายเตรียมพร้อม เพื่อต้อนรับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองขององค์พระเยซูคริสต์

บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย คือ คณะดำเนินงานฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และพันธกิจที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) นิรัติศัย อ้ายปั๋น ประธานสำนักงานคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย 2) พัชราภรณ์ สัตยวากย์สกุล เหรัญญิก และ 3) นิพิฐพนธ์ พงศ์ทีฆทัศน์ เลขาธิการฝ่ายบริหาร

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เลขที่ 12 ซอยปรีดีพนมยงค์ 37 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ : 0-2391-3595 / 0-2391-0525
โทรสาร : 0-2381-1928
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.adventist.or.th/