ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาคริสต์ แบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยสรุปได้ ดังนี้

1. มหาวิหาร (Basilica)
ปกติแล้วจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปา หรือเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร และสันตะปาปาได้สถาปนาฐานันดรให้เป็น Basilica เช่น มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Saint Peter's Basilica) มหาวิหารเซนต์จอห์น (St.John's Cathedral) แห่งลาเตรัน มหาวิหารซางตา มารีอา มาร์จอเร่ (Santa Maria Majore) มหาวิหารเซนต์ปอล (St. Paul's Cathedral) นอกกำแพงกรุงโรม ฯลฯ

2. อาสนวิหาร (Cathedral)
เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของบิช็อปประจำท้องถิ่น ถือเป็นโบสถ์แม่ประจำสังฆมณฑล บิช็อปท้องถิ่นอภิบาลประกาศสั่งสอน และบริหารงานในเขตศาสนปกครองจากอาสนวิหารแห่งนี้ เป็น สัญลักษณ์ของอำนาจบิช็อปในฐานะผู้อภิบาล (Pastor) อาสนวิหารจะมีอาสนะหรือบัลลังก์ที่ประทับ (Cathedra) ของบิช็อปประดิษฐานอยู่ อาสนวิหารในประเทศไทยมีอยู่ทุกเขตศาสนปกครอง เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ (Assumption Cathedral) บางรัก กรุงเทพฯ อาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี อาสนวิหารพระหฤทัยพระเยซูเจ้า เชียงใหม่ อาสนวิหารนักบุญราฟาแอล สุราษฎร์ธานี อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด นครราชสีมา ฯลฯ

3. โบสถ์ หรือวัด (Church)
เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ หรือ “บ้านของพระเจ้า”สำหรับประกอบศาสนพิธีเพื่อประโยชน์ของคริสต์ศาสนิกชน ปกติการสร้างโบสถ์จะต้องได้รับอนุญาตจากบิช็อปที่ปกครองเขต หรือพื้นที่นั้นๆ อย่างเป็นทางการก่อน เมื่อสร้างโบสถ์เสร็จจะต้องมีการเสกและให้ชื่อ (Title) สำหรับโบสถ์นั้นๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวจะคงอยู่ไปตลอด ไม่มีการเปลี่ยน โบสถ์นั้นจะหมดหน้าที่ต่อเมื่อเกิดความเสียหายอย่างมากไม่อาจจะซ่อมแซมหรือบูรณะได้อีก แต่ยังสามารถจะปรับเปลี่ยนไปทำประโยชน์หรือหน้าที่อื่นๆ ได้ หากได้รับอนุญาต แต่เดิมในยุคเริ่มแรกชาวคริสต์ไปประกอบศาสนพิธีกันตามบ้านเรือนของคริสต์ศาสนิกชนด้วยกันเอง คริสต์คาสนิกชนในนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทยนิยมเรียกโบสถ์ว่าวัด เช่น วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) วัดเซนต์หลุยส์ สาทร เป็นต้น รูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มักเป็นแบบยุโรปเพราะมิชชันนารีเป็นชาวยุโรป สำหรับนิกายโปรเตสแตนท์จะเรียกโบสถ์ ว่า คริสตจักร เช่น คริสตจักรไม้กางเขน คริสตจักรแห่งความหวัง คริสตจักรรวมพระพร เป็นต้น ลักษณะสถาปัตยกรรมออกแบบให้เห็นความเรียบง่าย ไม่เน้นรูปเคารพหรือรูปปั้น มักจะมีไม้กางเขนเรียบๆ ประดับเพื่อแสดงถึงสถานที่ทางศาสนา

4. วัดน้อย (Private chapel)
เป็นสถานที่กำหนดไว้สำหรับประกอบศาสนพิธี เพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง หรือบางคน ไม่ใช้เพื่อการอื่นนอกจากศาสนพิธี บิช็อปแต่ละองค์สามารถมีวัดน้อยเป็นของตนเองได้ แต่ถ้าจะให้วัดน้อยนี้เป็นประโยชน์สำหรับคริสต์ศาสนิกชนอื่นด้วย ก็ต้องได้รับอนุญาตจากบิช็อปผู้ปกครองก่อน เช่น วัดน้อยในโรงพยาบาล

5. โบสถ์ประจำสถาบัน หรือวัดเล็ก (Oratory)
เป็นโบสถ์ประจำโรงเรียน มหาวิทยาลัย โบสถ์ประจำบ้านนักบวชต่างๆ และอื่นๆ เป็นสถานที่มีลักษณะย่อยลงมาอีก สำหรับประกอบศาสนพิธีเพื่อประโยชน์ของกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่ม คริสต์ศาสนิกชน คนอื่นๆ สามารถเข้าร่วมศาสนพิธีในโบสถ์ประจำสถาบัน (Oratory) ได้ ถ้าผู้ดูแลของสถาบันนั้นยินยอม มีลักษณะใกล้เคียงกับวัดน้อย

อาคารสิ่งก่อสร้างในทางศาสนาคริสต์ที่สร้างขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์นั้น อาจกล่าวได้ว่าไม่ได้เป็นวิหารหรือโบสถ์ที่แท้จริง ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ความเป็นมนุษย์หรือมนุษยภาพของพระเยซูคริสต์ถือเป็นวิหารของพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนทุกๆ คนก็เป็นวิหารของพระจิตเจ้า ด้วยผ่านทางพิธีกรรมศีลล้างบาป และยังถือว่า พระตรีเอกภาพประทับ อยู่ในคนที่รับศีลล้างบาปทุกคน

โบสถ์ยังมีองค์ประกอบหลายอย่างทั้งที่เป็นลักษณะของการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมของอาคารและพื้นที่ หรือรูปแบบการประดับตกแต่ง รวมไปถึงวัตถุสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในโบสถ์ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแนวคิดของศาสนา เช่น
1) ลานหน้าโบสถ์ (Church Courtyard) โบสถ์ส่วนใหญ่มักมีลานหน้าโบสถ์ที่เป็นเหมือนพื้นที่ต้อนรับผู้ที่จะมาร่วมพิธีกรรม บางที่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรมด้วย การมีพื้นที่ตรงกลางก่อนเข้าสู่โบสถ์เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่มาร่วมพิธีกรรมได้ปรับตัวปรับใจจากชีวิตปกติที่มีความวุ่นวายเข้าสู่พื้นที่แห่งความสงบ
2) บริเวณสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (Sanctuary) หรือบริเวณพระแท่นบูชาภายในโบสถ์ มักจะจัดพื้นที่แยกออกไปเป็นสัดส่วน ออกห่างจากพื้นที่ที่คริสต์ศาสนิกชนมาใช้กัน เพราะเป็นพื้นที่ที่พระสงฆ์ หรือบาทหลวงประกอบพิธีกรรม มีการตั้งพระแท่น (Altar) ไว้เป็นศูนย์กลางของการฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณต่างๆ และใช้วัสดุในการก่อสร้างให้มีความงามและเหมาะสมมากที่สุด มีบรรณฐาน (Lectern) ตั้งประกอบอยู่เพื่อใช้ประกาศพระวาจา ซึ่งบรรณฐานนี้จะจัดสร้างขึ้นในลักษณะที่พิเศษและมีเอกลักษณ์เพื่อแสดงออกว่าเป็นที่ประทับของพระวาจาพระเจ้า
3) หอระฆัง (Bell Tower) และระฆังโบสถ์ (Bell) โดยทั่วไปโบสถ์มักจะมีหอระฆัง เพื่อใช้เสียงเป็นสัญญาณเรียกคริสต์ศาสนิกชนให้มาชุมนุมกันในวันพระเจ้า หรือเป็นสัญญาณถึงวันฉลองและสมโภชต่างๆ รวมทั้งเป็นการสื่อสารให้ทราบถึงวาระต่างๆ ด้วยการใช้สัญญาณการเคาะระฆัง เช่น ระฆังเข้าโบสถ์วันอาทิตย์ ระฆังพรหมถือสาร ระฆังวันสมโภช ระฆังผู้ตาย ฯลฯ
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกศาสนสถานประจำศาสนาคริสต์ ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งคาทอลิกมีประมาณ 571 วัดทั่วประเทศ ส่วนทางโปรเตสแตนท์มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,222 แห่ง ภาคที่มีจำนวนคริสตจักรมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 812 แห่ง (ร้อยละ 66.44) รองลงมาคือ ภาคกลาง จำนวน 169 แห่ง (ร้อยละ 13.82) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 86 แห่ง (ร้อยละ 7.03) ภาคตะวันตก จำนวน 59 แห่ง (ร้อยละ 4.82) ภาคใต้ จำนวน 55 แห่ง (ร้อยละ 4.50) และภาคตะวันออก จำนวน 45 แห่ง (ร้อยละ 3.68) ตามลำดับ

แผนภูมิที่ 1 จำนวนคริสตจักรทั้งหมดในประเทศไทย จำแนกตามภูมิภาค

เมื่อจำแนกเป็นรายภูมิภาคและจังหวัด สามารถแบ่งสัดส่วนต่างๆ ได้ ดังนี้ 

1. ภาคเหนือ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 812 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กำแพงเพชร จำนวน 8 แห่ง เชียงรายจำนวน 260 แห่ง เชียงใหม่ จำนวน 268 แห่ง น่าน จำนวน 29 แห่ง พะเยา จำนวน 24 แห่ง แพร่ จำนวน 21 แห่ง แม่ฮ่องสอน จำนวน 158 แห่ง ลำปาง จำนวน 27 แห่ง ลำพูน จำนวน 7 แห่ง และอุตรดิตถ์ จำนวน 10 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 2

2. ภาคกลาง มีคริสตจักรทั้งสิ้นจำนวน 812 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 82 แห่ง กาญจนบุรี จำนวน 40 แห่ง นครปฐม นครสวรรค์ จำนวน 1 จำนวน 7 แห่ง นนทบุรี จำนวน 2 แห่ง ปทุมธานี จำนวน 2 แห่ง พระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 แห่ง พิจิตร จำนวน 2 แห่ง พิษณุโลก จำนวน 13 แห่ง เพชรบูรณ์ จำนวน 8 แห่ง สมุทรปราการ จำนวน 8 แห่ง สมุทรสาคร จำนวน 2 แห่ง สระบุรี จำนวน 2 แห่ง สุโขทัย จำนวน 3 แห่ง สุพรรณบุรี จำนวน 3 แห่ง อ่างทอง จำนวน 2 แห่ง และอุทัยธานี จำนวน 2 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 3

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 86 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาฬสินธุ์ จำนวน 4 แห่ง ขอนแก่น จำนวน 4 แห่ง ชัยภูมิ จำนวน 1 แห่ง นครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง บึงกาฬ จำนวน 1 แห่ง บุรีรัมย์ จำนวน 4 แห่ง มุกดาหาร จำนวน 1 แห่ง มหาสารคราม จำนวน 3 แห่ง ยโสธร จำนวน 1 แห่ง ศรีสะเกษ จำนวน 3 แห่ง สุรินทร์ จำนวน 11 แห่ง หนองคาย จำนวน 1 แห่ง ร้อยเอ็ด จำนวน 5 แห่ง เลย จำนวน 5 แห่ง สกลนคร จำนวน 2 แห่ง หนองบัวลำภู จำนวน 2 แหง อุบลราชธานี จำนวน 11 แห่ง และอุดรธานี จำนวน 23 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 4

4. ภาคตะวันออก มีคริสตจักรทั้งสิ้นจำนวน 45 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จันทบุรี จำนวน 3 แห่ง ฉะเชิงเทรา จำนวน 9 แห่ง ชลบุรี จำนวน 16 แห่ง ปราจีนบุรี จำนวน 7 แห่ง ระยอง จำนวน 3 แห่ง และสระแก้ว จำนวน 7 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 5

5. ภาคตะวันตก มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 59 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ ตาก จำนวน 36 แห่ง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 แห่ง เพชรบุรี จำนวน 9 แห่ง และราชบุรี จำนวน 12 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 6

6. ภาคใต้ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 55 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กระบี่ จำนวน 7 แห่ง ชุมพร จำนวน 2 แห่ง ตรัง จำนวน 15 แห่ง นครสีธรรมราช จำนวน 14 แห่ง ภูเก็ต จำนวน 2 แห่ง ยะลา จำนวน 1 แห่ง ระนอง จำนวน 2 แห่ง สงขลา จำนวน 5 แห่ง และสุราษฏร์ธานี จำนวน 7 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 7

ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาคริสต์ แบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยสรุปได้ ดังนี้

1. มหาวิหาร (Basilica)
ปกติแล้วจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปา หรือเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร และสันตะปาปาได้สถาปนาฐานันดรให้เป็น Basilica เช่น มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Saint Peter's Basilica) มหาวิหารเซนต์จอห์น (St.John's Cathedral) แห่งลาเตรัน มหาวิหารซางตา มารีอา มาร์จอเร่ (Santa Maria Majore) มหาวิหารเซนต์ปอล (St. Paul's Cathedral) นอกกำแพงกรุงโรม ฯลฯ

2. อาสนวิหาร (Cathedral)
เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของบิช็อปประจำท้องถิ่น ถือเป็นโบสถ์แม่ประจำสังฆมณฑล บิช็อปท้องถิ่นอภิบาลประกาศสั่งสอน และบริหารงานในเขตศาสนปกครองจากอาสนวิหารแห่งนี้ เป็น สัญลักษณ์ของอำนาจบิช็อปในฐานะผู้อภิบาล (Pastor) อาสนวิหารจะมีอาสนะหรือบัลลังก์ที่ประทับ (Cathedra) ของบิช็อปประดิษฐานอยู่ อาสนวิหารในประเทศไทยมีอยู่ทุกเขตศาสนปกครอง เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ (Assumption Cathedral) บางรัก กรุงเทพฯ อาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี อาสนวิหารพระหฤทัยพระเยซูเจ้า เชียงใหม่ อาสนวิหารนักบุญราฟาแอล สุราษฎร์ธานี อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด นครราชสีมา ฯลฯ

3. โบสถ์ หรือวัด (Church)
เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ หรือ “บ้านของพระเจ้า”สำหรับประกอบศาสนพิธีเพื่อประโยชน์ของคริสต์ศาสนิกชน ปกติการสร้างโบสถ์จะต้องได้รับอนุญาตจากบิช็อปที่ปกครองเขต หรือพื้นที่นั้นๆ อย่างเป็นทางการก่อน เมื่อสร้างโบสถ์เสร็จจะต้องมีการเสกและให้ชื่อ (Title) สำหรับโบสถ์นั้นๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวจะคงอยู่ไปตลอด ไม่มีการเปลี่ยน โบสถ์นั้นจะหมดหน้าที่ต่อเมื่อเกิดความเสียหายอย่างมากไม่อาจจะซ่อมแซมหรือบูรณะได้อีก แต่ยังสามารถจะปรับเปลี่ยนไปทำประโยชน์หรือหน้าที่อื่นๆ ได้ หากได้รับอนุญาต แต่เดิมในยุคเริ่มแรกชาวคริสต์ไปประกอบศาสนพิธีกันตามบ้านเรือนของคริสต์ศาสนิกชนด้วยกันเอง คริสต์คาสนิกชนในนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทยนิยมเรียกโบสถ์ว่าวัด เช่น วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) วัดเซนต์หลุยส์ สาทร เป็นต้น รูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มักเป็นแบบยุโรปเพราะมิชชันนารีเป็นชาวยุโรป สำหรับนิกายโปรเตสแตนท์จะเรียกโบสถ์ ว่า คริสตจักร เช่น คริสตจักรไม้กางเขน คริสตจักรแห่งความหวัง คริสตจักรรวมพระพร เป็นต้น ลักษณะสถาปัตยกรรมออกแบบให้เห็นความเรียบง่าย ไม่เน้นรูปเคารพหรือรูปปั้น มักจะมีไม้กางเขนเรียบๆ ประดับเพื่อแสดงถึงสถานที่ทางศาสนา

4. วัดน้อย (Private chapel)
เป็นสถานที่กำหนดไว้สำหรับประกอบศาสนพิธี เพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง หรือบางคน ไม่ใช้เพื่อการอื่นนอกจากศาสนพิธี บิช็อปแต่ละองค์สามารถมีวัดน้อยเป็นของตนเองได้ แต่ถ้าจะให้วัดน้อยนี้เป็นประโยชน์สำหรับคริสต์ศาสนิกชนอื่นด้วย ก็ต้องได้รับอนุญาตจากบิช็อปผู้ปกครองก่อน เช่น วัดน้อยในโรงพยาบาล

5. โบสถ์ประจำสถาบัน หรือวัดเล็ก (Oratory)
เป็นโบสถ์ประจำโรงเรียน มหาวิทยาลัย โบสถ์ประจำบ้านนักบวชต่างๆ และอื่นๆ เป็นสถานที่มีลักษณะย่อยลงมาอีก สำหรับประกอบศาสนพิธีเพื่อประโยชน์ของกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่ม คริสต์ศาสนิกชน คนอื่นๆ สามารถเข้าร่วมศาสนพิธีในโบสถ์ประจำสถาบัน (Oratory) ได้ ถ้าผู้ดูแลของสถาบันนั้นยินยอม มีลักษณะใกล้เคียงกับวัดน้อย

อาคารสิ่งก่อสร้างในทางศาสนาคริสต์ที่สร้างขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์นั้น อาจกล่าวได้ว่าไม่ได้เป็นวิหารหรือโบสถ์ที่แท้จริง ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ความเป็นมนุษย์หรือมนุษยภาพของพระเยซูคริสต์ถือเป็นวิหารของพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนทุกๆ คนก็เป็นวิหารของพระจิตเจ้า ด้วยผ่านทางพิธีกรรมศีลล้างบาป และยังถือว่า พระตรีเอกภาพประทับ อยู่ในคนที่รับศีลล้างบาปทุกคน

โบสถ์ยังมีองค์ประกอบหลายอย่างทั้งที่เป็นลักษณะของการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมของอาคารและพื้นที่ หรือรูปแบบการประดับตกแต่ง รวมไปถึงวัตถุสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในโบสถ์ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแนวคิดของศาสนา เช่น
1) ลานหน้าโบสถ์ (Church Courtyard) โบสถ์ส่วนใหญ่มักมีลานหน้าโบสถ์ที่เป็นเหมือนพื้นที่ต้อนรับผู้ที่จะมาร่วมพิธีกรรม บางที่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรมด้วย การมีพื้นที่ตรงกลางก่อนเข้าสู่โบสถ์เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่มาร่วมพิธีกรรมได้ปรับตัวปรับใจจากชีวิตปกติที่มีความวุ่นวายเข้าสู่พื้นที่แห่งความสงบ
2) บริเวณสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (Sanctuary) หรือบริเวณพระแท่นบูชาภายในโบสถ์ มักจะจัดพื้นที่แยกออกไปเป็นสัดส่วน ออกห่างจากพื้นที่ที่คริสต์ศาสนิกชนมาใช้กัน เพราะเป็นพื้นที่ที่พระสงฆ์ หรือบาทหลวงประกอบพิธีกรรม มีการตั้งพระแท่น (Altar) ไว้เป็นศูนย์กลางของการฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณต่างๆ และใช้วัสดุในการก่อสร้างให้มีความงามและเหมาะสมมากที่สุด มีบรรณฐาน (Lectern) ตั้งประกอบอยู่เพื่อใช้ประกาศพระวาจา ซึ่งบรรณฐานนี้จะจัดสร้างขึ้นในลักษณะที่พิเศษและมีเอกลักษณ์เพื่อแสดงออกว่าเป็นที่ประทับของพระวาจาพระเจ้า
3) หอระฆัง (Bell Tower) และระฆังโบสถ์ (Bell) โดยทั่วไปโบสถ์มักจะมีหอระฆัง เพื่อใช้เสียงเป็นสัญญาณเรียกคริสต์ศาสนิกชนให้มาชุมนุมกันในวันพระเจ้า หรือเป็นสัญญาณถึงวันฉลองและสมโภชต่างๆ รวมทั้งเป็นการสื่อสารให้ทราบถึงวาระต่างๆ ด้วยการใช้สัญญาณการเคาะระฆัง เช่น ระฆังเข้าโบสถ์วันอาทิตย์ ระฆังพรหมถือสาร ระฆังวันสมโภช ระฆังผู้ตาย ฯลฯ
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกศาสนสถานประจำศาสนาคริสต์ ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งคาทอลิกมีประมาณ 571 วัดทั่วประเทศ ส่วนทางโปรเตสแตนท์มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,222 แห่ง ภาคที่มีจำนวนคริสตจักรมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 812 แห่ง (ร้อยละ 66.44) รองลงมาคือ ภาคกลาง จำนวน 169 แห่ง (ร้อยละ 13.82) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 86 แห่ง (ร้อยละ 7.03) ภาคตะวันตก จำนวน 59 แห่ง (ร้อยละ 4.82) ภาคใต้ จำนวน 55 แห่ง (ร้อยละ 4.50) และภาคตะวันออก จำนวน 45 แห่ง (ร้อยละ 3.68) ตามลำดับ

แผนภูมิที่ 1 จำนวนคริสตจักรทั้งหมดในประเทศไทย จำแนกตามภูมิภาค

เมื่อจำแนกเป็นรายภูมิภาคและจังหวัด สามารถแบ่งสัดส่วนต่างๆ ได้ ดังนี้ 

1. ภาคเหนือ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 812 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กำแพงเพชร จำนวน 8 แห่ง เชียงรายจำนวน 260 แห่ง เชียงใหม่ จำนวน 268 แห่ง น่าน จำนวน 29 แห่ง พะเยา จำนวน 24 แห่ง แพร่ จำนวน 21 แห่ง แม่ฮ่องสอน จำนวน 158 แห่ง ลำปาง จำนวน 27 แห่ง ลำพูน จำนวน 7 แห่ง และอุตรดิตถ์ จำนวน 10 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 2

2. ภาคกลาง มีคริสตจักรทั้งสิ้นจำนวน 812 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 82 แห่ง กาญจนบุรี จำนวน 40 แห่ง นครปฐม นครสวรรค์ จำนวน 1 จำนวน 7 แห่ง นนทบุรี จำนวน 2 แห่ง ปทุมธานี จำนวน 2 แห่ง พระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 แห่ง พิจิตร จำนวน 2 แห่ง พิษณุโลก จำนวน 13 แห่ง เพชรบูรณ์ จำนวน 8 แห่ง สมุทรปราการ จำนวน 8 แห่ง สมุทรสาคร จำนวน 2 แห่ง สระบุรี จำนวน 2 แห่ง สุโขทัย จำนวน 3 แห่ง สุพรรณบุรี จำนวน 3 แห่ง อ่างทอง จำนวน 2 แห่ง และอุทัยธานี จำนวน 2 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 3

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 86 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาฬสินธุ์ จำนวน 4 แห่ง ขอนแก่น จำนวน 4 แห่ง ชัยภูมิ จำนวน 1 แห่ง นครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง บึงกาฬ จำนวน 1 แห่ง บุรีรัมย์ จำนวน 4 แห่ง มุกดาหาร จำนวน 1 แห่ง มหาสารคราม จำนวน 3 แห่ง ยโสธร จำนวน 1 แห่ง ศรีสะเกษ จำนวน 3 แห่ง สุรินทร์ จำนวน 11 แห่ง หนองคาย จำนวน 1 แห่ง ร้อยเอ็ด จำนวน 5 แห่ง เลย จำนวน 5 แห่ง สกลนคร จำนวน 2 แห่ง หนองบัวลำภู จำนวน 2 แหง อุบลราชธานี จำนวน 11 แห่ง และอุดรธานี จำนวน 23 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 4

4. ภาคตะวันออก มีคริสตจักรทั้งสิ้นจำนวน 45 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จันทบุรี จำนวน 3 แห่ง ฉะเชิงเทรา จำนวน 9 แห่ง ชลบุรี จำนวน 16 แห่ง ปราจีนบุรี จำนวน 7 แห่ง ระยอง จำนวน 3 แห่ง และสระแก้ว จำนวน 7 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 5

5. ภาคตะวันตก มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 59 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ ตาก จำนวน 36 แห่ง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 แห่ง เพชรบุรี จำนวน 9 แห่ง และราชบุรี จำนวน 12 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 6

6. ภาคใต้ มีคริสตจักรรวมทั้งสิ้นจำนวน 55 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กระบี่ จำนวน 7 แห่ง ชุมพร จำนวน 2 แห่ง ตรัง จำนวน 15 แห่ง นครสีธรรมราช จำนวน 14 แห่ง ภูเก็ต จำนวน 2 แห่ง ยะลา จำนวน 1 แห่ง ระนอง จำนวน 2 แห่ง สงขลา จำนวน 5 แห่ง และสุราษฏร์ธานี จำนวน 7 แห่ง ดังแผนภูมิที่ 7