ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่พัฒนามาจากศาสนายูดาย (Judaism) ลักษณะของศาสนาเป็นศาสนาประเภทเทวนิยม ซึ่งนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระยาห์เวห์ พระผู้สร้างอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ทรงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีรูปร่าง มีความเป็นนิรันดร์ ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย และทรงสถิตย์อยู่ในทุกหนแห่ง แก่นของศาสนาคือการมอบความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่กัน ด้วยความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนคือบุตรของพระเจ้า

ศาสนามีจุดเริ่มต้นที่พระเจ้าผู้ทรงเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง เชื่อว่าพระเจ้าคือผู้สร้างโลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งสร้างสูงสุดที่พระองค์ทรงสร้าง คือเป็นผู้มีความรัก ความดี และมีมโนธรรมในจิตสำนึกแห่งวิญญาณ โดยมนุษย์คู่แรกที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นบนโลก คือ อาดัม (Adam) และเอวา (Eve)

ราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล มีชายผู้หนึ่งนามว่า อับราฮัม (Abraham) ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) เป็นผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาในพระเจ้า ปฏิบัติตนในทางที่ชอบธรรม พระเจ้าจึงสัญญาว่าจะอวยพรให้เขาได้เป็นบรรพชนของชนชาติใหญ่ ต่อมาอับราฮัมมีบุตรชื่ออิสอัค (Isaac) อิสอัคมีบุตรชื่อ ยากอบ (Jacob) ยากอบและครอบครัวได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอียิปต์ จนมีพงศ์พันธุ์มากมาย เรียกว่า ชาวฮีบรู (Hebrew) หรือชาวยิว (Jewish) ถึงกระนั้นเมื่อชาวฮีบรูอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ล่วงเลยมากว่า 400 ปี ฟาโรห์กษัตริย์ของอียิปต์ปฏิบัติต่อชาวฮีบรูเยี่ยงทาส จนทำให้พระเจ้าได้ทรงให้โมเสส (Moses) ไปเป็นผู้นำชาวฮีบรูออกจากดินแดนอียิปต์ เพื่ออพยพไปยังแผ่นดินคานาอัน หรือประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน ชาวฮีบรูได้เริ่มตั้งรกรากบนแผ่นดินใหม่ และได้แต่งตั้งกษัตริย์องค์แรกขึ้นชื่อ ซาอูล (Saul)

ในยุคที่อาณาจักรของชาวฮีบรูรุ่งเรืองที่สุด คือ ยุคของกษัตริย์ดาวิด (David) และโซโลมอน (Solomon) เมื่อสิ้นสุดในยุคดังกล่าวอาณาจักรของชาวฮีบรูได้อ่อนแอลง และถูกรุกรานจากอาณาจักรอื่นๆ เรื่อยมา ทั้งอัสซีเรีย (Assyrian) บาบิโลน (Babylonia) เปอร์เซีย (Persian) กรีก (Greece) และโรมัน (Roman) ชาวฮีบรูรอคอยผู้นำที่จะช่วยให้รอดพ้นจากการคุกคามของอาณาจักรต่างๆ โดยเชื่อว่า พระเจ้าจะประทานบุคคลคนนั้นมาช่วยกอบกู้สถานการณ์จากการรุกรานของศัตรู หรือช่วยกอบกู้ชาติอิสราเอล โดยชาวฮีบรูเรียกบุคคลผู้นั้นว่า พระเมสสิยาห์ (Messiah) ซึ่งตรงกับคำว่าคริสต์ ประกาศกหลายท่านได้ทำนายเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ซึ่งจะเป็นผู้นำสันติสุขที่แท้จริงมาสู่พวกเขา ยิ่งทำให้ชาวฮีบรูมีความหวังมากยิ่งขึ้น โดยสำหรับชาวคริสต์แล้วพระเมสสิยาห์ก็คือ พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) นั่นเอง

พระเยซูในวัยเด็กนั้นทรงเป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่ธรรม จนกระทั่งมีอายุได้ ๓๐ ปี จึงได้รับศีลล้างจากท่านยอห์น (John) ที่แม่น้ำจอร์แดน หลังจากนั้นพระเยซูจึงได้ออกเทศนาทั่วอิสราเอลเพื่อประกาศหนทางแห่งการหลุดพ้นจากบาปไปสู่ชีวิตนิรันดร์ โดยเน้นความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม พระเยซูใช้ระยะเวลาประกาศาสนาได้เพียงแค่ ๓ ปี เท่านั้น ก็ต้องถูกประหารชีวิต เพราะความไม่พอใจของเหล่าผู้นำศาสนายูดาย พวกเขาได้มาจับตัวพระเยซูไปส่งให้ปิลาตซึ่งเป็นผู้ปกครองอิสราเอลในนามของจักรวรรดิโรมันและยุยงให้ปิลาตตัดสินประหารพระเยซูโดยตรึงไว้กับไม้กางเขน ก่อนถูกตรึงพวกทหารได้ทำการทรมานอย่างโหดร้ายทารุณ จนกระทั่งพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ในที่สุด ในวันที่ 3 หลังจากถูกฝังไว้ในคูหา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ ประจักษ์แก่บรรดาศิษย์หลายครั้ง ก่อนเสด็จสู่สวรรค์พระองค์ตรัสสั่งบรรดาศิษย์ของพระองค์ว่า “พระเจ้าทรงมอบอำนาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:18-20)

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๐๕๔ กลุ่มแรก คือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองเกาะมะละกา ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นคาทอลิกเดินทางเข้ามาประกอบกิจการต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดี กับชาวโปรตุเกส ทรงเป็นผู้ขอธรรมทูตจากมะละกาโดยมีสาเหตุมาจากการเมือง คณะมิชชันนารีมายังสยามในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ - ๒๑๑๐ คณะนักบวชที่ตอบรับและเดินทางเข้ามายังสยามประเทศรุ่นแรก พ.ศ.๒๑๐๘ ได้แก่ คณะนักบวชโดมินิกันโดยที่บาทหลวงเฟอร์นันโด เอด ซังตา มารีอา อธิการเจ้าคณะแห่งเมืองมะละกา ได้ส่งบาทหลวงเยโรนิโม ดา ครู้ส และบาทหลวงเซบาสเตียน เดอ กันโต มาจากมะละกา บาทหลวงทั้งสองได้รับพระราชทานบ้านพักและเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา ถือเป็นครั้งแรกของการเผยแผ่คริสต์ศาสนาอย่างเป็นทางการในกรุงสยาม

คณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่เข้ามารุ่นแรกคือ ชาวโปรตุเกส และสเปนมากกว่าชาติอื่นๆ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระสันตะปาปาเกรโกรีที่ ๑๕ ได้ตั้งสมณกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อ ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๑๖๕ (ค.ศ. ๑๖๒๒) เนื่องจากแต่เดิมอาศัยพระราชอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสและสเปนที่ให้ออกไปค้นหาดินแดนใหม่ และถือโอกาสนำเอาคำสอนศาสนาคริสต์ไปเผยแผ่ด้วย ซึ่งต่อมามีความเสื่อมในแนวทางปฏิบัติของบรรดามิชชันนารีที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของโปรตุเกสและสเปน จึงเป็นเหตุให้พระศาสนจักรคาทอลิกโดยพระสันตะปาปาต้องหาทางเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของพระศาสนจักรเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักอยุธยากับสำนักวาติกันเริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๒๑๒ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผ่านพระสังฆราช หรือบิซ็อปปัลลือ ชาวฝรั่งเศสที่มาปฏิบัติภารกิจเผยแผ่ศาสนา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้เข้าเฝ้าฯ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๐๓ ต่อมา พ.ศ.๒๒๒๒ สมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ มีพระสมณสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผ่านพระสังฆราชปัลลือ เช่นเดิม และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในปี พ.ศ.๒๒๒๕ ต่อมา พ.ศ.๒๒๓๑ คณะทูตสยามมีบาทหลวง กีย์ เดอ ตาชารด์ ซึ่งเป็นทูตพิเศษของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ ได้ถวาย พระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพร้อมเครื่องราชบรรณาการ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการแห่งพระศาสนาเรื่อยมาตราบกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. ๒๓๑๐

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
มีคริสต์ศาสนิกชนในกรุงเทพฯ ราว ๓,๐๐๐ คน และในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๗๗ ชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากถูกกวาดต้อนมาจากสงคราม ระหว่างสยามกับญวนที่ชื่อว่า “อานามสยามยุทธ” ได้ตั้งรกรากบริเวณถนนสามเสน กรุงเทพฯ เรียกกันว่า “บ้านญวน” ในปัจจุบัน ได้สร้างโบสถ์เซนต์ ฟรังซิส ซาเวียร์ ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ โดยมอบให้บิช็อปปัลเลอกัว เป็นผู้นำไปถวาย และสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาส์นตอบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ.๒๔๒๔ บิช็อปหลุยส์ เวย์ ได้มอบหมายให้บาทหลวง ยวง บัปติสต์ โปรดม และบาทหลวง เซเวียร์ เกโก จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเดินทางไปประกาศศาสนาในภาคอีสานที่จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการก่อตั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในภาคอีสานเป็นครั้งแรก

กลุ่มที่สอง มิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ชุดแรกเริ่มเข้ามาทำงานเผยแผ่ศาสนาเช่นกัน คือ ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส ฟริดริค กุตสลาฟ เป็นนายแพทย์ สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับ ศาสนาจารย์ เจคอบ ทอมลิน สังกัดสมาคม มิชชันนารีแห่งลอนดอน เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๗๑ มิชชันนารีคนสำคัญเป็นที่รู้จักกว้างขวางและมีบทบาทในการพัฒนาความรู้หลายด้านของโลกตะวันตกในสังคมไทย ได้แก่ ศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ ที่ชาวสยามรู้จักในนามหมอปลัดเล ได้สร้างคุณูปการอย่างยิ่งแก่ชาวสยาม อาทิ การผ่าตัด การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการพัฒนาด้านการพิมพ์ภาษาไทย เป็นต้น หมอบรัดเลย์สังกัดคณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเลแห่งอเมริกา (The American Board of Commissioners for Foreign Missions: ABCFM) เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.๒๓๗๗ คณะมิชชันนารีโปรเตสแตนท์ที่เข้ามาปฏิบัติงานอย่างมีบทบาทสำคัญในช่วงแรก คือ คณะอเมริกันแบ๊ปติสต์ เข้ามายังสยามใน พ.ศ.๒๓๗๖ ศาสนาจารย์ วิลเลียม ดีน แห่งคณะดังกล่าวได้ก่อตั้งคริสตจักรของชาวจีนแห่งแรก (ที่เชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกในเอเชียด้วย) ชื่อคริสตจักร จิงกวง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคริสตจักรไมตรีจิต) เพื่อบุกเบิกการเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศจีน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๐

คณะอเมริกันเพรสไบเทเรียน (American Presbyterian) เข้ามายังกรุงเทพฯในช่วง พ.ศ.๒๓๙๐ ตั้งคริสตจักรขึ้น ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๙๒ คณะมิชชันนารี ๕ คนประกอบด้วย ศาสนาจารย์ สตีเฟน 
แมตตูน และภรรยา ศาสนาจารย์ สตีเฟน บุชและภรรยา และศาสนาจารย์ ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ได้ร่วมกันก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบเทเรียนที่ ๑ กรุงเทพฯ ที่บ้านพักบริเวณกุฎีจีน (หลังวัดอรุณราชวราราม) ในเวลาต่อมามีคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ได้ขยายตัวออก ไปในหัวเมืองอีกหลายแห่ง เช่น เพชรบุรี พ.ศ.๒๔๐๔ เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๐ ลำปาง พ.ศ. ๒๔๒๓ เชียงราย พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้น

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หลังจากนั้นก็พบอุปสรรคหลากหลาย ทำให้การประกาศศาสนาอยู่ในลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ จนถึงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย การดำเนินกิจการต่างๆ ของคณะบาทหลวงและมิชชันนารีในการเผยแผ่ศาสนา สืบเนื่องต่อกันมายาวนาน นอกจากจะเป็นการขยายศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่ดีในสังคมไทยหลายด้าน เป็นต้นว่า ด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ในหลายพื้นที่ อันเป็นผลดีต่อสังคมไทยตลอดมา ทั้งนี้ สำหรับการเข้ามามีบทบาทของคริสต์ศาสนาสามารถแสดงให้เห็นโดยภาพรวมได้ดังแผนภูมิ

แผนภูมิเส้นทางประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนาในประเทศไทย

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย
ที่มา : http://www.cct.or.th/about

ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมีนิกายหลักอยู่ ๒ นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) และนิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant Christian Church) ดังนี้

1.1 นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholicism)
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นกลุ่มคริสตชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข พันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นกลุ่มคริสตชนที่ก่อตั้งโดยพระเยซู โดยมีบิช็อปเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งมาจากอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ และมีพระสันตะปาปาที่สืบตำแหน่งมาจากนักบุญเปโตรผู้เป็นหัวหน้าของบรรดาอัครสาวก ชาวคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นพระศาสนจักรแท้ดั้งเดิม สอนหลักความศรัทธาและศีลธรรมไม่มีผิดพลาด พระศาสนจักรยังเน้นความสำคัญของพิธีบูชาขอบพระคุณ สอนว่าปังและเหล้าองุ่นในพิธีศีลมหาสนิท เมื่อเสกแล้วเปลี่ยนสารเป็นพระมังสะและพระโลหิตจริงๆ ของพระเยซู ทั้งยังให้ความสำคัญกับพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพิเศษ คือเชื่อว่าพระแม่ทรงปฏิสนธินิรมลและได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ภายหลังมรณกรรม ในประเทศไทยเราเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า “(ชาว) คริสตัง”

นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่นักบุญเปโตร (Saint Peter) ซึ่งเป็นหัวหน้าของบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร กล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังในฐานะ “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของพระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะนักบวชเท่านั้น แต่เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิกจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่นให้สัตบุรุษมีศรัทธาในพระเจ้า และปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์การที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามภารกิจ ที่พระเจ้าได้มอบไว้

1.2 นิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant Christian Church)
นิกายโปรเตสแตนท์เกิดจากการปฏิรูปทางศาสนาในการประชุมของสภาแห่งสปีเยอร์ (Diets of Speyer) พ.ศ. ๒๑๓๕ ที่ประเทศเยอรมัน สภาดังกล่าวได้ออกกฎหมายกีดกันผู้ที่เชื่อตามแนวคิดของ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) จนเกิดการประท้วงขึ้นและนำไปสู่การเกิดนิกายใหม่ในที่สุด

มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นบาทหลวงชาวเยอรมันในคณะออกุสติเนียน ตีความคัมภีร์ไบเบิ้ลในภาคพันธสัญญาใหม่ว่า มนุษย์สามารถกลับไปมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าได้ด้วยตนเอง หรือด้วยพิธีกรรม และความศรัทธาอย่างจริงใจในพระเยซู การทำบุญหรือล้างบาปกับนักบวชนั้น ไม่สามารถทำให้คนที่ไม่มีศรัทธาอย่างแท้จริงกลับไปคืนดีกับพระเจ้าได้ ใน พ.ศ.๒๐๖๐ มาร์ติน ลูเธอร์ ได้เสนอข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป ๙๕ ข้อ นับเป็นต้นกำเนิดของโปรเตสแตนท์ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นเกิดความขัดแย้งเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างพระศาสนจักรและอาณาจักรบ่อยครั้ง รวมไปถึงการที่นักบวชในศาสนาคริสต์ได้ทำการซื้อขายใบไถ่บาปทำให้คนไม่ศรัทธาต่อพระเยซูอย่างแท้จริง มาร์ติน ลูเธอร์ ถูกขับออกไปจากชุมชนของคริสต์ศาสนิกชนเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๔ แต่ก็มีผู้เห็นด้วยกับเขาเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดกลุ่มนี้เห็นด้วยกับลูเธอร์ ได้แยกตัวออกมา จึงถูกเรียกว่าเป็น กลุ่มโปรเตสแตนท์ ในประเทศไทยเรียกกลุ่มนี้ว่า “คริสเตียน” นิกายนี้ถือการปฏิบัติตามคัมภีร์ไบเบิ้ลอย่างเคร่งครัด ไม่ยอมรับบัญญัติอื่นๆ หรือคำสั่งใดๆ ของพระสันตะปาปาจากกรุงโรม ไม่ยอมรับการมีอำนาจเด็ดขาดของสำนักวาติกันในการตีความพระคัมภีร์ ไม่มีนักบวชถือพรหมจรรย์ ไม่ยกย่องแม่พระมารีย์ และนักบุญต่างๆ ว่ามีความสำคัญ ไม่มีการสักการบูชาพระแม่และนักบุญอื่นๆ นิกายโปรเตสแตนท์ที่แพร่หลายในทวีปอเมริกาเหนือและในยุโรปบางพื้นที่ เช่น เยอรมัน อังกฤษ และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย

ภาพคริสตจักรที่ ๑ สำเหร่ เป็นคริสตจักรแห่งแรกของนิกายโปรเตสแตนท์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย (2558: 154)

นิกายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทยประกอบไปด้วยนิกายย่อยหลายนิกาย เข้ามาทำงานเผยแผ่จริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๗๑ กลุ่มมิชชันนารีที่เข้ามาทำงานในไทยมาจากหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา คณะที่เข้ามาก็มีหลากหลายกลุ่ม เช่น ลอนดอนมิชชันนารีโซไซเอ็ทตี้ อเมริกันเพรสไบเทเรียน คณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักร โพ้นทะเลแห่งอเมริกา คณะอเมริกันแบ๊บติสต์ คณะแองกลิกันเชิร์ช ฯลฯ ซึ่งต่อมากลุ่มมิชชันนารี ที่เข้ามาในช่วงแรกได้รวมตัวกันตั้งเป็นสภาคริสตจักรในประเทศเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เพื่อให้เป็นคริสตจักรของชนพื้นเมืองอย่างแท้จริง หลังจากนั้นกลุ่มมิชชันนารีอื่นๆ ก็จัดตั้งเป็นองค์กรอีก ๓ กลุ่ม คือ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย สหคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ในประเทศไทย และมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย
ในปัจจุบัน คริสเตียนในฝ่ายโปรเตสแตนท์ได้รับการรับรองจากกรมการศาสนามีอยู่ ๔ องค์กร ได้แก่
1. สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย
2. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
3. สหคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ในประเทศไทย
4. มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย

กลุ่มที่สาม นอกจากนั้นยังมีนิกายออร์ธอด๊อกซ์อีกหนึ่งนิกายที่เป็นสากล มีจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยอัครสาวก มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกของจักรวรรดิโรมันคือ กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล หรืออีสตันบูลในปัจจุบัน ใช้วัฒนธรรมกรีก ภาษาและปรัชญากรีก พระศาสนจักรตะวันตกที่มีกรุงโรมเป็นศูนย์กลาง ใช้วัฒนธรรมโรมัน ภาษาลาติน ทั้งสองพระศาสนจักรมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๐๕๔ ได้มีการแตกแยก ปัพพาชนียกรรมซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างมีประมุขของตนเอง ล่าสุดในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ผู้นำของพระศาสนจักรทั้งสองฝ่ายได้ประกาศยกเลิกการปัพพาชนียกรรมต่อกันในเวลาพร้อมๆ กัน

ศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด๊อกซ์เข้ามาในประเศไทยปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ดำเนินการอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสถานทูตรัสเซีย ได้สร้างโบสถ์มากกว่าสิบแห่ง อยู่ในหลายจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต ในวันข้างหน้านิกายออร์ธอด๊อกซ์ก็คงได้รับการยอมรับเข้าอยู่ในสารบบของศาสนาคริสต์และของทางการไทย

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่พัฒนามาจากศาสนายูดาย (Judaism) ลักษณะของศาสนาเป็นศาสนาประเภทเทวนิยม ซึ่งนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระยาห์เวห์ พระผู้สร้างอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ทรงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีรูปร่าง มีความเป็นนิรันดร์ ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย และทรงสถิตย์อยู่ในทุกหนแห่ง แก่นของศาสนาคือการมอบความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่กัน ด้วยความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนคือบุตรของพระเจ้า

ศาสนามีจุดเริ่มต้นที่พระเจ้าผู้ทรงเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง เชื่อว่าพระเจ้าคือผู้สร้างโลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งสร้างสูงสุดที่พระองค์ทรงสร้าง คือเป็นผู้มีความรัก ความดี และมีมโนธรรมในจิตสำนึกแห่งวิญญาณ โดยมนุษย์คู่แรกที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นบนโลก คือ อาดัม (Adam) และเอวา (Eve)

ราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล มีชายผู้หนึ่งนามว่า อับราฮัม (Abraham) ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) เป็นผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาในพระเจ้า ปฏิบัติตนในทางที่ชอบธรรม พระเจ้าจึงสัญญาว่าจะอวยพรให้เขาได้เป็นบรรพชนของชนชาติใหญ่ ต่อมาอับราฮัมมีบุตรชื่ออิสอัค (Isaac) อิสอัคมีบุตรชื่อ ยากอบ (Jacob) ยากอบและครอบครัวได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอียิปต์ จนมีพงศ์พันธุ์มากมาย เรียกว่า ชาวฮีบรู (Hebrew) หรือชาวยิว (Jewish) ถึงกระนั้นเมื่อชาวฮีบรูอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ล่วงเลยมากว่า 400 ปี ฟาโรห์กษัตริย์ของอียิปต์ปฏิบัติต่อชาวฮีบรูเยี่ยงทาส จนทำให้พระเจ้าได้ทรงให้โมเสส (Moses) ไปเป็นผู้นำชาวฮีบรูออกจากดินแดนอียิปต์ เพื่ออพยพไปยังแผ่นดินคานาอัน หรือประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน ชาวฮีบรูได้เริ่มตั้งรกรากบนแผ่นดินใหม่ และได้แต่งตั้งกษัตริย์องค์แรกขึ้นชื่อ ซาอูล (Saul)

ในยุคที่อาณาจักรของชาวฮีบรูรุ่งเรืองที่สุด คือ ยุคของกษัตริย์ดาวิด (David) และโซโลมอน (Solomon) เมื่อสิ้นสุดในยุคดังกล่าวอาณาจักรของชาวฮีบรูได้อ่อนแอลง และถูกรุกรานจากอาณาจักรอื่นๆ เรื่อยมา ทั้งอัสซีเรีย (Assyrian) บาบิโลน (Babylonia) เปอร์เซีย (Persian) กรีก (Greece) และโรมัน (Roman) ชาวฮีบรูรอคอยผู้นำที่จะช่วยให้รอดพ้นจากการคุกคามของอาณาจักรต่างๆ โดยเชื่อว่า พระเจ้าจะประทานบุคคลคนนั้นมาช่วยกอบกู้สถานการณ์จากการรุกรานของศัตรู หรือช่วยกอบกู้ชาติอิสราเอล โดยชาวฮีบรูเรียกบุคคลผู้นั้นว่า พระเมสสิยาห์ (Messiah) ซึ่งตรงกับคำว่าคริสต์ ประกาศกหลายท่านได้ทำนายเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ซึ่งจะเป็นผู้นำสันติสุขที่แท้จริงมาสู่พวกเขา ยิ่งทำให้ชาวฮีบรูมีความหวังมากยิ่งขึ้น โดยสำหรับชาวคริสต์แล้วพระเมสสิยาห์ก็คือ พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) นั่นเอง

พระเยซูในวัยเด็กนั้นทรงเป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่ธรรม จนกระทั่งมีอายุได้ ๓๐ ปี จึงได้รับศีลล้างจากท่านยอห์น (John) ที่แม่น้ำจอร์แดน หลังจากนั้นพระเยซูจึงได้ออกเทศนาทั่วอิสราเอลเพื่อประกาศหนทางแห่งการหลุดพ้นจากบาปไปสู่ชีวิตนิรันดร์ โดยเน้นความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม พระเยซูใช้ระยะเวลาประกาศาสนาได้เพียงแค่ ๓ ปี เท่านั้น ก็ต้องถูกประหารชีวิต เพราะความไม่พอใจของเหล่าผู้นำศาสนายูดาย พวกเขาได้มาจับตัวพระเยซูไปส่งให้ปิลาตซึ่งเป็นผู้ปกครองอิสราเอลในนามของจักรวรรดิโรมันและยุยงให้ปิลาตตัดสินประหารพระเยซูโดยตรึงไว้กับไม้กางเขน ก่อนถูกตรึงพวกทหารได้ทำการทรมานอย่างโหดร้ายทารุณ จนกระทั่งพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ในที่สุด ในวันที่ 3 หลังจากถูกฝังไว้ในคูหา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ ประจักษ์แก่บรรดาศิษย์หลายครั้ง ก่อนเสด็จสู่สวรรค์พระองค์ตรัสสั่งบรรดาศิษย์ของพระองค์ว่า “พระเจ้าทรงมอบอำนาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:18-20)

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๐๕๔ กลุ่มแรก คือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองเกาะมะละกา ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นคาทอลิกเดินทางเข้ามาประกอบกิจการต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดี กับชาวโปรตุเกส ทรงเป็นผู้ขอธรรมทูตจากมะละกาโดยมีสาเหตุมาจากการเมือง คณะมิชชันนารีมายังสยามในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ - ๒๑๑๐ คณะนักบวชที่ตอบรับและเดินทางเข้ามายังสยามประเทศรุ่นแรก พ.ศ.๒๑๐๘ ได้แก่ คณะนักบวชโดมินิกันโดยที่บาทหลวงเฟอร์นันโด เอด ซังตา มารีอา อธิการเจ้าคณะแห่งเมืองมะละกา ได้ส่งบาทหลวงเยโรนิโม ดา ครู้ส และบาทหลวงเซบาสเตียน เดอ กันโต มาจากมะละกา บาทหลวงทั้งสองได้รับพระราชทานบ้านพักและเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา ถือเป็นครั้งแรกของการเผยแผ่คริสต์ศาสนาอย่างเป็นทางการในกรุงสยาม

คณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่เข้ามารุ่นแรกคือ ชาวโปรตุเกส และสเปนมากกว่าชาติอื่นๆ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระสันตะปาปาเกรโกรีที่ ๑๕ ได้ตั้งสมณกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อ ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๑๖๕ (ค.ศ. ๑๖๒๒) เนื่องจากแต่เดิมอาศัยพระราชอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสและสเปนที่ให้ออกไปค้นหาดินแดนใหม่ และถือโอกาสนำเอาคำสอนศาสนาคริสต์ไปเผยแผ่ด้วย ซึ่งต่อมามีความเสื่อมในแนวทางปฏิบัติของบรรดามิชชันนารีที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของโปรตุเกสและสเปน จึงเป็นเหตุให้พระศาสนจักรคาทอลิกโดยพระสันตะปาปาต้องหาทางเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของพระศาสนจักรเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักอยุธยากับสำนักวาติกันเริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๒๑๒ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผ่านพระสังฆราช หรือบิซ็อปปัลลือ ชาวฝรั่งเศสที่มาปฏิบัติภารกิจเผยแผ่ศาสนา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้เข้าเฝ้าฯ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๐๓ ต่อมา พ.ศ.๒๒๒๒ สมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ มีพระสมณสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผ่านพระสังฆราชปัลลือ เช่นเดิม และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในปี พ.ศ.๒๒๒๕ ต่อมา พ.ศ.๒๒๓๑ คณะทูตสยามมีบาทหลวง กีย์ เดอ ตาชารด์ ซึ่งเป็นทูตพิเศษของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ ๑๑ ได้ถวาย พระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพร้อมเครื่องราชบรรณาการ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการแห่งพระศาสนาเรื่อยมาตราบกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. ๒๓๑๐

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
มีคริสต์ศาสนิกชนในกรุงเทพฯ ราว ๓,๐๐๐ คน และในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๗๗ ชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากถูกกวาดต้อนมาจากสงคราม ระหว่างสยามกับญวนที่ชื่อว่า “อานามสยามยุทธ” ได้ตั้งรกรากบริเวณถนนสามเสน กรุงเทพฯ เรียกกันว่า “บ้านญวน” ในปัจจุบัน ได้สร้างโบสถ์เซนต์ ฟรังซิส ซาเวียร์ ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ โดยมอบให้บิช็อปปัลเลอกัว เป็นผู้นำไปถวาย และสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ ๙ ทรงมีพระสมณสาส์นตอบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ.๒๔๒๔ บิช็อปหลุยส์ เวย์ ได้มอบหมายให้บาทหลวง ยวง บัปติสต์ โปรดม และบาทหลวง เซเวียร์ เกโก จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเดินทางไปประกาศศาสนาในภาคอีสานที่จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการก่อตั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในภาคอีสานเป็นครั้งแรก

กลุ่มที่สอง มิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ชุดแรกเริ่มเข้ามาทำงานเผยแผ่ศาสนาเช่นกัน คือ ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส ฟริดริค กุตสลาฟ เป็นนายแพทย์ สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่งเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับ ศาสนาจารย์ เจคอบ ทอมลิน สังกัดสมาคม มิชชันนารีแห่งลอนดอน เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๗๑ มิชชันนารีคนสำคัญเป็นที่รู้จักกว้างขวางและมีบทบาทในการพัฒนาความรู้หลายด้านของโลกตะวันตกในสังคมไทย ได้แก่ ศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ ที่ชาวสยามรู้จักในนามหมอปลัดเล ได้สร้างคุณูปการอย่างยิ่งแก่ชาวสยาม อาทิ การผ่าตัด การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการพัฒนาด้านการพิมพ์ภาษาไทย เป็นต้น หมอบรัดเลย์สังกัดคณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเลแห่งอเมริกา (The American Board of Commissioners for Foreign Missions: ABCFM) เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.๒๓๗๗ คณะมิชชันนารีโปรเตสแตนท์ที่เข้ามาปฏิบัติงานอย่างมีบทบาทสำคัญในช่วงแรก คือ คณะอเมริกันแบ๊ปติสต์ เข้ามายังสยามใน พ.ศ.๒๓๗๖ ศาสนาจารย์ วิลเลียม ดีน แห่งคณะดังกล่าวได้ก่อตั้งคริสตจักรของชาวจีนแห่งแรก (ที่เชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกในเอเชียด้วย) ชื่อคริสตจักร จิงกวง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคริสตจักรไมตรีจิต) เพื่อบุกเบิกการเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศจีน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๐

คณะอเมริกันเพรสไบเทเรียน (American Presbyterian) เข้ามายังกรุงเทพฯในช่วง พ.ศ.๒๓๙๐ ตั้งคริสตจักรขึ้น ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๙๒ คณะมิชชันนารี ๕ คนประกอบด้วย ศาสนาจารย์ สตีเฟน 
แมตตูน และภรรยา ศาสนาจารย์ สตีเฟน บุชและภรรยา และศาสนาจารย์ ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ได้ร่วมกันก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบเทเรียนที่ ๑ กรุงเทพฯ ที่บ้านพักบริเวณกุฎีจีน (หลังวัดอรุณราชวราราม) ในเวลาต่อมามีคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ได้ขยายตัวออก ไปในหัวเมืองอีกหลายแห่ง เช่น เพชรบุรี พ.ศ.๒๔๐๔ เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๐ ลำปาง พ.ศ. ๒๔๒๓ เชียงราย พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้น

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ดำเนินกิจการรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หลังจากนั้นก็พบอุปสรรคหลากหลาย ทำให้การประกาศศาสนาอยู่ในลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ จนถึงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย การดำเนินกิจการต่างๆ ของคณะบาทหลวงและมิชชันนารีในการเผยแผ่ศาสนา สืบเนื่องต่อกันมายาวนาน นอกจากจะเป็นการขยายศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่ดีในสังคมไทยหลายด้าน เป็นต้นว่า ด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ในหลายพื้นที่ อันเป็นผลดีต่อสังคมไทยตลอดมา ทั้งนี้ สำหรับการเข้ามามีบทบาทของคริสต์ศาสนาสามารถแสดงให้เห็นโดยภาพรวมได้ดังแผนภูมิ

แผนภูมิเส้นทางประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนาในประเทศไทย

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย
ที่มา : http://www.cct.or.th/about

ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมีนิกายหลักอยู่ ๒ นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) และนิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant Christian Church) ดังนี้

1.1 นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholicism)
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นกลุ่มคริสตชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข พันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นกลุ่มคริสตชนที่ก่อตั้งโดยพระเยซู โดยมีบิช็อปเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งมาจากอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ และมีพระสันตะปาปาที่สืบตำแหน่งมาจากนักบุญเปโตรผู้เป็นหัวหน้าของบรรดาอัครสาวก ชาวคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นพระศาสนจักรแท้ดั้งเดิม สอนหลักความศรัทธาและศีลธรรมไม่มีผิดพลาด พระศาสนจักรยังเน้นความสำคัญของพิธีบูชาขอบพระคุณ สอนว่าปังและเหล้าองุ่นในพิธีศีลมหาสนิท เมื่อเสกแล้วเปลี่ยนสารเป็นพระมังสะและพระโลหิตจริงๆ ของพระเยซู ทั้งยังให้ความสำคัญกับพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพิเศษ คือเชื่อว่าพระแม่ทรงปฏิสนธินิรมลและได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ภายหลังมรณกรรม ในประเทศไทยเราเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า “(ชาว) คริสตัง”

นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่นักบุญเปโตร (Saint Peter) ซึ่งเป็นหัวหน้าของบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร กล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังในฐานะ “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของพระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะนักบวชเท่านั้น แต่เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิกจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่นให้สัตบุรุษมีศรัทธาในพระเจ้า และปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์การที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามภารกิจ ที่พระเจ้าได้มอบไว้

1.2 นิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant Christian Church)
นิกายโปรเตสแตนท์เกิดจากการปฏิรูปทางศาสนาในการประชุมของสภาแห่งสปีเยอร์ (Diets of Speyer) พ.ศ. ๒๑๓๕ ที่ประเทศเยอรมัน สภาดังกล่าวได้ออกกฎหมายกีดกันผู้ที่เชื่อตามแนวคิดของ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) จนเกิดการประท้วงขึ้นและนำไปสู่การเกิดนิกายใหม่ในที่สุด

มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นบาทหลวงชาวเยอรมันในคณะออกุสติเนียน ตีความคัมภีร์ไบเบิ้ลในภาคพันธสัญญาใหม่ว่า มนุษย์สามารถกลับไปมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าได้ด้วยตนเอง หรือด้วยพิธีกรรม และความศรัทธาอย่างจริงใจในพระเยซู การทำบุญหรือล้างบาปกับนักบวชนั้น ไม่สามารถทำให้คนที่ไม่มีศรัทธาอย่างแท้จริงกลับไปคืนดีกับพระเจ้าได้ ใน พ.ศ.๒๐๖๐ มาร์ติน ลูเธอร์ ได้เสนอข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป ๙๕ ข้อ นับเป็นต้นกำเนิดของโปรเตสแตนท์ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นเกิดความขัดแย้งเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างพระศาสนจักรและอาณาจักรบ่อยครั้ง รวมไปถึงการที่นักบวชในศาสนาคริสต์ได้ทำการซื้อขายใบไถ่บาปทำให้คนไม่ศรัทธาต่อพระเยซูอย่างแท้จริง มาร์ติน ลูเธอร์ ถูกขับออกไปจากชุมชนของคริสต์ศาสนิกชนเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๔ แต่ก็มีผู้เห็นด้วยกับเขาเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดกลุ่มนี้เห็นด้วยกับลูเธอร์ ได้แยกตัวออกมา จึงถูกเรียกว่าเป็น กลุ่มโปรเตสแตนท์ ในประเทศไทยเรียกกลุ่มนี้ว่า “คริสเตียน” นิกายนี้ถือการปฏิบัติตามคัมภีร์ไบเบิ้ลอย่างเคร่งครัด ไม่ยอมรับบัญญัติอื่นๆ หรือคำสั่งใดๆ ของพระสันตะปาปาจากกรุงโรม ไม่ยอมรับการมีอำนาจเด็ดขาดของสำนักวาติกันในการตีความพระคัมภีร์ ไม่มีนักบวชถือพรหมจรรย์ ไม่ยกย่องแม่พระมารีย์ และนักบุญต่างๆ ว่ามีความสำคัญ ไม่มีการสักการบูชาพระแม่และนักบุญอื่นๆ นิกายโปรเตสแตนท์ที่แพร่หลายในทวีปอเมริกาเหนือและในยุโรปบางพื้นที่ เช่น เยอรมัน อังกฤษ และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย

ภาพคริสตจักรที่ ๑ สำเหร่ เป็นคริสตจักรแห่งแรกของนิกายโปรเตสแตนท์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย (2558: 154)

นิกายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทยประกอบไปด้วยนิกายย่อยหลายนิกาย เข้ามาทำงานเผยแผ่จริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๗๑ กลุ่มมิชชันนารีที่เข้ามาทำงานในไทยมาจากหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา คณะที่เข้ามาก็มีหลากหลายกลุ่ม เช่น ลอนดอนมิชชันนารีโซไซเอ็ทตี้ อเมริกันเพรสไบเทเรียน คณะกรรมาธิการพันธกิจคริสตจักร โพ้นทะเลแห่งอเมริกา คณะอเมริกันแบ๊บติสต์ คณะแองกลิกันเชิร์ช ฯลฯ ซึ่งต่อมากลุ่มมิชชันนารี ที่เข้ามาในช่วงแรกได้รวมตัวกันตั้งเป็นสภาคริสตจักรในประเทศเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เพื่อให้เป็นคริสตจักรของชนพื้นเมืองอย่างแท้จริง หลังจากนั้นกลุ่มมิชชันนารีอื่นๆ ก็จัดตั้งเป็นองค์กรอีก ๓ กลุ่ม คือ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย สหคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ในประเทศไทย และมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย
ในปัจจุบัน คริสเตียนในฝ่ายโปรเตสแตนท์ได้รับการรับรองจากกรมการศาสนามีอยู่ ๔ องค์กร ได้แก่
1. สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย
2. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
3. สหคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ในประเทศไทย
4. มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย

กลุ่มที่สาม นอกจากนั้นยังมีนิกายออร์ธอด๊อกซ์อีกหนึ่งนิกายที่เป็นสากล มีจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยอัครสาวก มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกของจักรวรรดิโรมันคือ กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล หรืออีสตันบูลในปัจจุบัน ใช้วัฒนธรรมกรีก ภาษาและปรัชญากรีก พระศาสนจักรตะวันตกที่มีกรุงโรมเป็นศูนย์กลาง ใช้วัฒนธรรมโรมัน ภาษาลาติน ทั้งสองพระศาสนจักรมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๐๕๔ ได้มีการแตกแยก ปัพพาชนียกรรมซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างมีประมุขของตนเอง ล่าสุดในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ผู้นำของพระศาสนจักรทั้งสองฝ่ายได้ประกาศยกเลิกการปัพพาชนียกรรมต่อกันในเวลาพร้อมๆ กัน

ศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด๊อกซ์เข้ามาในประเศไทยปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ดำเนินการอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสถานทูตรัสเซีย ได้สร้างโบสถ์มากกว่าสิบแห่ง อยู่ในหลายจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต ในวันข้างหน้านิกายออร์ธอด๊อกซ์ก็คงได้รับการยอมรับเข้าอยู่ในสารบบของศาสนาคริสต์และของทางการไทย