ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนา คือ แบบอย่าง หรือแบบแผนต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไปวัดเพื่อทำบุญและปฏิบัติศาสนกิจ มีดังนี้ (เปรียบธรรมสมาคม, 2553: 1-8)
1 วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นการประชุมใหญ่ของพระสาวกที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมพระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ หรือการประชุมด้วยองค์สี่ ดังนี้
(1) พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันนั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ผู้ที่ได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
(2) พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งสิ้น
(3) พระสงฆ์ที่ประชุมวันนั้นมีจำนวนมากถึง 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งหมายถึง โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การไม่ทำบาปทั้งปวง (ละชั่ว) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำความดี) และทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ทำจิตใจให้บริสุทธิ์)

ภาพการประชุมของพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 121)

2 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยในวันนี้สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เป็นวันสำคัญสากล (International of the Visaka Day) ซึ่งในวันนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ คือ
(1) เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธิธัตถะ ณ ลุมพินีวัน ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวชจนได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือเป็นวันเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หรือวันพระพุทธ
(2) เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ตำบลอุรุเวลาสานานิคม แคว้นมคธ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันเกิดขึ้นของพระธรรม หรือวันพระธรรม
(3) เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ระหว่างต้นสาละ 2 ต้น ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินารา

ภาพการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 118)

3 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้น ดังนี้
(1) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศนากัณฑ์แรก) คือ พระธัมจักกัปปวัตตนสูตร
(2) เป็นวันเกิดพระอริยสงฆ์องค์แรกสาวกองค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อได้สดับพระปฐมเทศนา
(3) เป็นวันเกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้มีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนา “พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โปรดปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 123)

4 วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันถวายพระเพลงพระพุทธ สรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว 8 วัน โดยนับจากวันที่พระองค์ปรินิพพาน

5 วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องเข้าจำพรรษา จะไปข้างแรมที่อื่นไม่ได้ คือต้องประจำอยู่กับที่ตลอดทั้ง 3 เดือน ในฤดูฝนตามพระวินัยบัญญัติ โดยจะแบ่งออกไป 2 ระยะ ได้แก่
1) วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และ
2) วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ภาพตักบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษาวัดราบพิธสถิตมหาสีมารามกรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 124)

6 วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะทำพิธีออกพรรษาซึ่งเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วันมหาปวารณา” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภิกษุทุกรูปสามารถว่ากล่าวตักเตือนกันในเรื่องความประพฤติได้

7 วันธัมมัสวนะ หรือวันพระ ในหนึ่งเดือนจะมี 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ หรือ แรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ กิจกรรมในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ และเจริญจิตภาวนา

8 การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า นอกจากจะมีวันสำคัญต่างๆ ประจำพระพุทธศาสนาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเทศกาลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา คือ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า เป็นการทำบุญถวายผ้ากฐินที่เรียกว่า กฐิน ทาน มีการปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งพระพุทธเจ้ามีพุทธานุญาต ให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้วรับผ้าที่พุทธศาสนิกชนนำมา ถวายหลังจากออกพรรษาซึ่งเป็นฤดูจีวรกาล คือ ช่วงเวลาการทำจีวรของพระภิกษุ เพื่อเปลี่ยนผ้านุ่งห่มไหมแทนผ้าเก่ามากหรือขาดชำรุด มีกำหนดระยะเวลาเพียง ๑ เดือน คือ ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ วัดหนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น การทำบุญกฐินนี้ถือว่าได้อนิสงส์มาก เพราะทำในระยะเวลาจำกัดและเป็นงานบุญใหญ่ มีทั้งกฐินราษฎร์และกฐินหลวง ส่วนการทอดผ้าป่าไม่ได้กำหนดช่วงระยะเวลาไว้
นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่พุทธศาสนิกชนนิยมบำเพ็ญกุศลตามแบบพระพุทธศาสนา เช่น เทศกาลตรุษ วันสงกรานต์ วันสารท อย่างไรก็ตาม ในพระพุทธศาสนามหายานทั้งจีนนิกายและอนัมนิกาย ศาสนพิธีเช่นเดียว กับพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น พิธีบรรพชา - อุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีทอดกฐิน แต่มีรายละเอียด ที่แตกต่างกันออกไป ส่วนพิธีที่แตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทและ เป็นลักษณ์ของพรุพุทธศาสนาจีนนิกาย ได้แก่ พิธีกินเจ และพิธีกง
ทั้งนี้ ในวันสำคัญของศาสนาพุทธดังกล่าว ชาวพุทธนิยมทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ตักบาตร (ร้อยละ 92.9) รองลงมา คือ สวดมนต์ (ร้อยละ 87.8) ฟังเทศน์ ฟังธรรม ดูรายการธรรมะ และอ่านหนังสือธรรมะ (ร้อยละ 80.5) รักษาศีล 5 (ร้อยละ 50.8) และทำสมาธิ (ร้อยละ 45.3) ตามลำดับ

แผนภูมิการทำกิจกรรมทางศาสนาของพุทธศาสนิกชน

ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนา คือ แบบอย่าง หรือแบบแผนต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไปวัดเพื่อทำบุญและปฏิบัติศาสนกิจ มีดังนี้ (เปรียบธรรมสมาคม, 2553: 1-8)
1 วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นการประชุมใหญ่ของพระสาวกที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมพระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ หรือการประชุมด้วยองค์สี่ ดังนี้
(1) พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันนั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ผู้ที่ได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
(2) พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งสิ้น
(3) พระสงฆ์ที่ประชุมวันนั้นมีจำนวนมากถึง 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งหมายถึง โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การไม่ทำบาปทั้งปวง (ละชั่ว) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำความดี) และทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ทำจิตใจให้บริสุทธิ์)

ภาพการประชุมของพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 121)

2 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยในวันนี้สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เป็นวันสำคัญสากล (International of the Visaka Day) ซึ่งในวันนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ คือ
(1) เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธิธัตถะ ณ ลุมพินีวัน ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวชจนได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือเป็นวันเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หรือวันพระพุทธ
(2) เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ตำบลอุรุเวลาสานานิคม แคว้นมคธ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันเกิดขึ้นของพระธรรม หรือวันพระธรรม
(3) เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ระหว่างต้นสาละ 2 ต้น ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินารา

ภาพการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 118)

3 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้น ดังนี้
(1) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศนากัณฑ์แรก) คือ พระธัมจักกัปปวัตตนสูตร
(2) เป็นวันเกิดพระอริยสงฆ์องค์แรกสาวกองค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อได้สดับพระปฐมเทศนา
(3) เป็นวันเกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้มีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนา “พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โปรดปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 123)

4 วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันถวายพระเพลงพระพุทธ สรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว 8 วัน โดยนับจากวันที่พระองค์ปรินิพพาน

5 วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องเข้าจำพรรษา จะไปข้างแรมที่อื่นไม่ได้ คือต้องประจำอยู่กับที่ตลอดทั้ง 3 เดือน ในฤดูฝนตามพระวินัยบัญญัติ โดยจะแบ่งออกไป 2 ระยะ ได้แก่
1) วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และ
2) วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ภาพตักบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษาวัดราบพิธสถิตมหาสีมารามกรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 124)

6 วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะทำพิธีออกพรรษาซึ่งเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วันมหาปวารณา” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภิกษุทุกรูปสามารถว่ากล่าวตักเตือนกันในเรื่องความประพฤติได้

7 วันธัมมัสวนะ หรือวันพระ ในหนึ่งเดือนจะมี 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ หรือ แรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ กิจกรรมในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ และเจริญจิตภาวนา

8 การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า นอกจากจะมีวันสำคัญต่างๆ ประจำพระพุทธศาสนาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเทศกาลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา คือ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า เป็นการทำบุญถวายผ้ากฐินที่เรียกว่า กฐิน ทาน มีการปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งพระพุทธเจ้ามีพุทธานุญาต ให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้วรับผ้าที่พุทธศาสนิกชนนำมา ถวายหลังจากออกพรรษาซึ่งเป็นฤดูจีวรกาล คือ ช่วงเวลาการทำจีวรของพระภิกษุ เพื่อเปลี่ยนผ้านุ่งห่มไหมแทนผ้าเก่ามากหรือขาดชำรุด มีกำหนดระยะเวลาเพียง ๑ เดือน คือ ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ วัดหนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น การทำบุญกฐินนี้ถือว่าได้อนิสงส์มาก เพราะทำในระยะเวลาจำกัดและเป็นงานบุญใหญ่ มีทั้งกฐินราษฎร์และกฐินหลวง ส่วนการทอดผ้าป่าไม่ได้กำหนดช่วงระยะเวลาไว้
นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่พุทธศาสนิกชนนิยมบำเพ็ญกุศลตามแบบพระพุทธศาสนา เช่น เทศกาลตรุษ วันสงกรานต์ วันสารท อย่างไรก็ตาม ในพระพุทธศาสนามหายานทั้งจีนนิกายและอนัมนิกาย ศาสนพิธีเช่นเดียว กับพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น พิธีบรรพชา - อุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีทอดกฐิน แต่มีรายละเอียด ที่แตกต่างกันออกไป ส่วนพิธีที่แตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทและ เป็นลักษณ์ของพรุพุทธศาสนาจีนนิกาย ได้แก่ พิธีกินเจ และพิธีกง
ทั้งนี้ ในวันสำคัญของศาสนาพุทธดังกล่าว ชาวพุทธนิยมทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ตักบาตร (ร้อยละ 92.9) รองลงมา คือ สวดมนต์ (ร้อยละ 87.8) ฟังเทศน์ ฟังธรรม ดูรายการธรรมะ และอ่านหนังสือธรรมะ (ร้อยละ 80.5) รักษาศีล 5 (ร้อยละ 50.8) และทำสมาธิ (ร้อยละ 45.3) ตามลำดับ

แผนภูมิการทำกิจกรรมทางศาสนาของพุทธศาสนิกชน