ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา เหตุให้เกิดศาสนพิธี คือ ความนิยมทำบุญของพุทธศาสนิกชนซึ่งไม่ว่าจะปรากฏเหตุอะไรทำกันก็มักจะให้ถูกต้องตามหลัก วิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะแนวไว้ 3 หลัก คือ
(1) ทาน หมายถึง การบริจาควัตถุสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
(2) ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย
(3) ภาวนา หมายถึง การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการอบรมให้สงบนิ่งและเกิดปัญญา
ในการทำบุญทุกครั้ง ชาวพุทธจะถือคติว่าต้องให้เข้าหลัก 3 ประการนี้ โดยเริ่มต้นจากข้อไหนก่อนก็ได้ เช่น รับศีลแล้วฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ (ภาวนา) จบลงด้วยการถวายทาน เป็นต้น ความนิยมนี้ได้แพร่หลายทั่วไป จนกลายเป็นประเพณีทางศาสนาไป พิธีกรรมแบบนี้จึงสมมติเรียกกันต่อมาว่า “ศาสนพิธี”
ทั้งนี้ ศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยพิธีต่างๆ ดังนี้ (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, 2559: 26-27)
1 พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา โดยผู้ที่เวียนเทียนจะถือเครื่องสักการบูชา เดินรอบพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หรือพระพุทธรูปสำคัญ จำนวน 3 รอบ พร้อมระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย
2 การอุปสมบท คือ การบวชฆราวาสเพศชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เป็นภิกษุ โดยคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท คือ เป็นสุภาพชน มีความรู้อ่านออกเขียนได้ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือมีหนี้สิน เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ มีสมณบริขารถูกต้องครบถ้วนถูกต้องตามพระวินัย และเป็นผู้สามารถกล่าวคำขออุปสมบทได้อย่างถูกต้อง (นาคขณะกล่าวคำขออุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์)
3 พิธีทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ตามธรรมเนียมไทย เมื่อจัดพิธีแต่งงานจะนิมนต์พระมาที่บ้านและทำบุญตักบาตรร่วมกัน รวมทั้งทำบุญเลี้ยงพระ โดยหลังจากนั้นพระจะทำพิธีสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลของคู่บ่าวสาว

องค์ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับ ศาสนพิธีกร

ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา เหตุให้เกิดศาสนพิธี คือ ความนิยมทำบุญของพุทธศาสนิกชนซึ่งไม่ว่าจะปรากฏเหตุอะไรทำกันก็มักจะให้ถูกต้องตามหลัก วิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะแนวไว้ 3 หลัก คือ
(1) ทาน หมายถึง การบริจาควัตถุสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
(2) ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย
(3) ภาวนา หมายถึง การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการอบรมให้สงบนิ่งและเกิดปัญญา
ในการทำบุญทุกครั้ง ชาวพุทธจะถือคติว่าต้องให้เข้าหลัก 3 ประการนี้ โดยเริ่มต้นจากข้อไหนก่อนก็ได้ เช่น รับศีลแล้วฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ (ภาวนา) จบลงด้วยการถวายทาน เป็นต้น ความนิยมนี้ได้แพร่หลายทั่วไป จนกลายเป็นประเพณีทางศาสนาไป พิธีกรรมแบบนี้จึงสมมติเรียกกันต่อมาว่า “ศาสนพิธี”
ทั้งนี้ ศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยพิธีต่างๆ ดังนี้ (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, 2559: 26-27)
1 พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา โดยผู้ที่เวียนเทียนจะถือเครื่องสักการบูชา เดินรอบพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หรือพระพุทธรูปสำคัญ จำนวน 3 รอบ พร้อมระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย
2 การอุปสมบท คือ การบวชฆราวาสเพศชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เป็นภิกษุ โดยคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท คือ เป็นสุภาพชน มีความรู้อ่านออกเขียนได้ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือมีหนี้สิน เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ มีสมณบริขารถูกต้องครบถ้วนถูกต้องตามพระวินัย และเป็นผู้สามารถกล่าวคำขออุปสมบทได้อย่างถูกต้อง (นาคขณะกล่าวคำขออุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์)
3 พิธีทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ตามธรรมเนียมไทย เมื่อจัดพิธีแต่งงานจะนิมนต์พระมาที่บ้านและทำบุญตักบาตรร่วมกัน รวมทั้งทำบุญเลี้ยงพระ โดยหลังจากนั้นพระจะทำพิธีสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลของคู่บ่าวสาว

องค์ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับ ศาสนพิธีกร