ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาติไทย มีความศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสิ่งวิเศษหาค่ามิได้ ประดิษฐานเป็นประธานในการพระราชพิธีสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อบันดาลความเจริญรุ่งเรือง ไพบูลย์ร่มเย็นบังเกิดแก่ชาติและอาณาประชาราษฎร์
สร้างด้วยหยกเขียว ศิลปะล้านนา หรือเชียงแสน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว สูงจากฐานถึงรัศมี ๒๘ นิ้ว ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี ประดับด้วยลายกลีบบัวลายแข้งสิงห์ มีผ้าทิพย์ห้อยประกอบเบื้องหน้าภายในบุษบกไม้แกะสลักทุ้มด้วยทองคำ เหนือองค์พระมีสุวรรณฉัตรคันดาล ๕ ขั้น กางกั้น
เดิมองค์พระพอกปูนทุ้มไว้อยู่ในวัดพระแก้ว เมืองเชียงรายตั้งแต่ พุทธศักราช ๑๙๗๙ เมื่อปูนกะเทาะพบพระแก้วมรกตอยู่ภายในได้อัญเชิญไป ประดิษฐาน ณ เมืองสำคัญในล้านนาและล้านช้าง เมืองลำปาง เชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และพุทธศักราช ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นแม่ทัพจัดความเรียบร้อย เมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมากรุงธนบุรีด้วย ประดิษฐาน ในอาคารชั่วคราวใกล้พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงจัดพิธีสมโภชเป็นเวลา ๓ วัน
พุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ถวายนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗ เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานเป็นประธานในพระราชพิธีสำคัญทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ และบ้านเมืองตั้งแต่บัดนั้นตราบปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและถวายสักการะอย่างยิ่งใหญ่ ได้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาวถวาย มีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงกำหนดไว้ประจำ การพระราชพิธีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เซ่น จารึกพระสุพรรณบัฏ พระราช ลัญจกร ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระราชพิธีประจำแต่ละรัชกาล ล้วนประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องพระพักตร์แห่งพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากรทั้งสิ้น

ภาพพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 12)

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธปฏิมาประธาน ประดิษฐาน ณ บุษบกในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมคือ พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอัญเชิญจากเมืองนครศรีธรรมราชไปเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ณ กรุงสุโขทัย ราชธานีสำคัญที่ซาวไทยตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง และได้รับการอัญเชิญไปสู่นครน้อยใหญ่หลายเมือง ตราบถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี กล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่เนื่องใน พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนามั่นคงเป็นจกแผ่นสืบมาตราบปัจจุบัน มีความสำคัญทั้งประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนา

ปัจจุบัน เทศกาลสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ จะอัญเชิญออกเป็นขบวนแห่ให้ประชาชนสักการะเพื่อความเป็นสิรีมงคล และประดิษฐาน ณ บริเวณท้องสนามหลวงให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประเพณี

ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ สร้างด้วยวัสดุสำริดกะไหล่ทอง แสดงปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร องค์พระสูง ๔๗ เซนติเมตร พระหัตถ์วางซ้อนบนพระเพลา พระพักตร์กลม พระนาสิกโด่ง พระเนตรเหลือบต่ำ ขมวด พระเกศาเล็ก พระอุษณีษ์มีพระรัศมีเป็นเปลว ครองจีวรห่มเฉียง พระอุระกว้าง บั้นพระองค์คอด ประทับบนฐานบัวหงาย ๒ ชั้น รองรับด้วยฐานสิงห์

มีประวัติที่แสดงปาฏิหาริย์ กษัตริย์ลังกาเป็นผู้สร้าง เมื่อเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมีพระราชสาส์นขออัญเชิญมากรุงสยาม เกิดเรืออับปางกลางทะเล ได้เสด็จลอยน้ำมาสู่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จลงไปรับขึ้นมากรุงสุโขทัย เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ เจ้าเมืองและกษัตริย์ทั้งหลายได้อัญเชิญไป ณ เมืองสำคัญหลายแห่ง เช่น พิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท อัญเชิญลงมากรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญกลับมาประดิษฐาน ณ พระบวรราชวัง เพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนกระทั่งรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ได้อัญเชิญไปเป็นพระประธานระยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ อัญเชิญมาสมโภชร่วมกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑ แล้วโปรดให้ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตราบทุกวันนี้

ภาพพระพุทธสิหิงค์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 14)

 

พระพุทธนรเชษฐ์

พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระขาว หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐาน ณ ลานประทักษิณ ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร พระพุทธนรเชษฐ์ฯ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีตอนกลาง มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ สลักจากหินสีขาว ปางประทานปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาททั้งสองลงบนฐานกลมประดับกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ขนาดความสูงจากยอดพระเกตุถึงปลายพระบาท ๑๔๘ นิ้ว หรือ ๓.๗๖ เมตร พระพักตร์แบนใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธรูปศิลาขาวในพระอุโบสถ พระโอษฐ์หนาและยาวกว่า รัศมีรูปดอกบัวตูมเล็กกว่าไม่มีชายสังฆาฏิ พระหัตถ์ ยกจีบคล้ายกัน คือ ยกระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับนิ้วดรรชนี (นิ้วชี้) งอโค้งจรดกัน แต่พระหัตถ์ซ้ายที่วางหงาย นั้นวางแตะพระชานุและนิ้วพระหัตถ์งอขึ้นเล็กน้อย
พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีลักษณะเดียวกันนิ้วพบในประเทศไทยทั้งหมด ๕ องค์ ที่โบราณสถานวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ๔ องค์ พบในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคลื่อนย้ายมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกกันว่า “พระพุทธรูปศิลาขาว” หรือ “หลวงพ่อประทานพร”
ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบขึ้นส่วน พระพุทธรูปแบบเดียวกันอีกจำนวนหนึ่ง เก็บรักษาไว้ที่พระระเบียงคดขององค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๑ กรมศิลปากรได้สำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม พบสถูปสมัยทวารวดีมีร่องรอยมุขประจำทิศ ๔ ทิศ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูป ประทับห้อยพระบาท และพบว่ารัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารแล้ว ๑ องค์ พ.ศ.๒๔๐๑ กรมศิลปากรพบขึ้นส่วนพระพุทธรูปที่วัดพญากง และวัดขุนพรหม ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งติดตามได้ พระเศียรคืนจากร้านค้าของเก่า กับทั้งคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าได้มีการขนย้ายพระพุทธรูปในจำนวน ๓ องค์ มาไว้ที่วัดขุนพรหม จึงนำขึ้นส่วนจากวัดพญากง และขึ้นส่วนที่พระระเบียงคดวัดพระปฐมเจดีย์ มาร่วมประกอบด้วยกันได้พระพุทธรูปศิลาขาว ๒ องค์อัญเชิญไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ๑ องค์ ทั้งยังมีขึ้นส่วนเหลือประกอบได้อีก ๑ องค์ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ในขณะนั้นจึงขอให้กรมศิลปากรประกอบและประดิษฐานไว้ ณ ลานประทักษิณ ด้านทิศใต้ และขนานนามพร้อมจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนใต้บัวรองพระบาทว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร”

ภาพพระพุทธนรเชษฐ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 16)

พระคันธาวาส

พระคันธาวาส เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ พุทธศาสนิกชนสักการบูชาต่อเนื่องมายาวนาน พระคันธาวาสนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระคันธารราฐ
ศิลปะทวารวดีตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ประทับห้อยพระบาท ทั้งสองข้าง จำหลักด้วยศิลาสีเขียว หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๗๐ เซนติเมตร สูง ๕ เมตร ๒๐ เซนติเมตร แต่เดิมชำรุดเหลือเฉพาะส่วนพระพักตร์ พระอุระ พระวรกาย พระกรท่อนบน พระชงฆ์ลงมาถึงพระบาท ส่วนพระหัตถ์ทั้งสอง ข้างทำขึ้นใหม่ เพราะการทำพระหัตถ์วางบนพระชานุทั้ง ๒ ข้างนั้นไม่เคยพบในศิลปะทวารวดี
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี ๑ ใน ๕ องค์ ที่สันนิษฐานว่า พบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม อาจเคลื่อนย้ายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ ต่อมาวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายไปคราวเสียกรุง เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดให้พระยาไชยวิชิต (เผือก) ปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานในพระวิหาร
ข้อสันนิษฐานนี้ได้มาจากผลการขุดค้นทางโบราณคดี ประกอบกับลักษณะศิลปกรรมของพระพุทธรูป กล่าวคือ
ก. เมื่อรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) ขุดพบทับหลังศิลาเรือนแก้ว ๑ ชิ้น ที่วัดพระเมรุ ตำบลสวนนันทอุทยาน จังหวัดนครปฐม ครั้นนำมาเทียบกับพระคันธาวาส วิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม ปรับกันเข้าสนิท ปัจจุบัน จัดแสดงไว้ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครปฐม ซึ่งต่อมาได้ขุดพบพระพุทธรูป ขนาดใหญ่แบบเดียวกับพระคันธาวาส ท่อนพระเพลาและฐานบัวอย่างละ ๓ ขึ้น
ข. เมื่อระหว่างกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ - พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ศาสตราจารย์ ปีแอร์ ดูปองค์ นักโบราณคดีซาวฝรั่งเศส ขออนุญาตกรมศิลปากรขุดค้นโบราณสถานวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปขนาดเดียวกับพระคันธาวาส วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ท่อนพระเพลา พระกร นิ้วพระหัตถ์หลายนิ้ว และซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ทิศ
จึงสรุปว่า พระคันธาวาส วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น่าจะอัญเชิญมาจากวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภาพพระคันธาวาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 18)

หลวงพ่อศิลา
หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินทรายสีเทา ที่แสดงถึงศิลปะลพบุรีซึ่งได้รับอิทธิพลจากเขมรที่สมบูรณ์มากที่สุดองค์หนึ่ง นับว่ามีคุณค่ามากด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ และยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ซาวทุ่งเสลี่ยม และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อศิลาเคยถูกโจรกรรมและนำไปประมูลขายในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยต้องดำเนินการนำกลับคืนมาประดิษฐานไว้ ณ มณฑป วัดทุ่งเสลี่ยม
หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ แกะสลักจากหินทราย สีเทา ศิลปะลพบุรีตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม ไม่แย้มพระโอษฐ์เหมือนศิลปะเขมรแบบบายน ประทับขัดสมาธิราบ บนฐานขนดนาคสามขั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรมี เจ็ดเศียร ด้านหลังหางนาคพาดขึ้นมาถึงลำตัว ลักษณะที่แสดงถึงศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทยคือ ที่กระบังหน้ามีแนวขั้นตรงกลาง ผ้าทิพย์ รองรับองค์พระมีลายดอกจันที่ขุดลึกลงไปในเนื้อหิน ต่างจากส่วนใหญ่ที่ทำเป็นลายขีดธรรมดา ทรงกรองศอพาหุรัด สวมศิราภรณ์ สวมมงกุฎเทริด ขนาดองค์พระ วัดจากฐานถึงปลายยอดเศียรนาคสูง ๘๕.๕๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๔๔ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๒๖.๕ กิโลกรัม
หลวงพ่อศิลา เดิมประดิษฐานอยู่ถ้ำเจ้าราม มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่มาก ชาวบ้านไปหามูลค้างคาว พบพระพุทธรูปทำด้วยศิลาปางนาคปรก จึงได้อัญเชิญออกมาประดิษฐานไว้ที่วัดพุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อศิลาได้ถูกโจรกรรมหายไป จนถึงเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ซาวไทยในประเทศอังกฤษได้พบว่ามีการประมูลพระพุทธรูป ปางนาคปรก ในหนังสือประมวลศิลปวัตถุ เพื่อประมูลขายของสถาบันโซธบี (Sotheby’s Institute) ในกรุงลอนดอน จึงได้มีการติดตามทวงหลวงพ่อศิลา ซึ่งต่อมาถูกซื้อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา คณะผู้ติดตามทวงคืนนำโดยศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเฉพาะกิจ เดินทางไปถึงทางหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) แจ้งว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีอาญาอยู่นอกเหนืออำนาจของเอฟบีไอ รวมถึงการยื่นฟ้องตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่สามารถทำได้ สุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ คณะกรรมการติดตามทวงหลวงพ่อศิลา นำโดย ร้อยตำรวจโทเซาวริน ลัทธคักดิ์ศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ได้เดินทางไปตรวจสอบและเจรจานำพระพุทธรูปล้ำค่ากลับคืนสู่ประเทศไทย โดยเบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากความ ร่วมมือของภาครัฐและเอกชนไทย
คณะดำเนินการอัญเชิญ “หลวงพ่อศิลา” เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย หลวงพ่อศิลาเนื่องในปีกาญจนาภิเษก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราซวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งได้พระราซทานให้กับปวงชนชาวไทย พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญหลวงพ่อศิลากลับไปประดิษฐาน ณ วัดทุ่งเสลี่ยม ดังเดิม เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ชาวทุ่งเสลี่ยมจึงได้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อศิลาในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพหลวงพ่อศิลา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 20)
พระพุทธเทวราชปฏิมากร

พระพุทธเทวราชปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๔.๓๕ เมตร สูงตั้งแต่ทับเกษตรถึง ยอดเปลวรัศมี ๕.๖๕ เมตรโดยมีลักษณะพระพักตร์เป็นศิลปะลพบุรีตอนปลาย หรือศิลปะอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า พระประธานองค์นี้ มีลักษณะพระพักตร์เป็นศิลปะลพบุรี ส่วนองค์พระพุทธรูปเป็นแบบรัตนโกสินทร์ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมน่าจะเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี ภายหลังกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ได้อัญเชิญเฉพาะพระเศียรพระพุทธรูปมาจากเมืองลพบุรี ส่วนองค์พระหล่อขึ้นใหม่ และได้ประดิษฐานเป็นประธานในพระอุโบสถที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีรูปทรงอย่างเดียวกับพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมาแต่เดิม พระบาทสมเด็จพระปรมีนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานนามพระประธานในพระอุโบสถ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร”
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางภูร ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราซฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ พระเทพคุณาภรณ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทวราชกุญชร ได้ดำเนินการจัดสร้างสายสังวาล ลักษณะเป็นดอกพิกุลวางซ้อนกัน ๕ ชั้นประดับพลอยสังเคราะห์ถวาย พระพุทธเทวราชปฏิมากรเป็นพุทธบูชา ๑ เส้น ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ภาพพระพุทธเทวราชปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 22)

พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์

พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มาจากลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานในบุษบก แห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ
พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวมีเกสร ซ้อนบนฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม หล่อด้วยสำริดปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะล้านนา หรือที่เรียกกันว่า “เชียงแสนสิงห์หนึ่ง” พระเศียรของเดิมถูกคนร้ายตัดไป ปัจจุบันคือพระเศียรที่สร้างซ่อมขึ้นใหม่ พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน
จากลักษณะทางศิลปกรรม พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนา (เชียงแสนรุ่นแรก) จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตำนานพระพุทธสิหิงค์กล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้นหลังพุทธกาล ๗๐๐ ปี ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันในประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์ อยู่ ๓ องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ องค์หนึ่ง พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์หนึ่ง และพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อีกองค์หนึ่ง

ภาพพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 24)
 

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองพิจิตร เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป วัดท่าหลวงได้จัดงานปิดทองไหว้พระและแข่งเรือเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ศิลปะล้านนา (เชียงแสนรุ่นแรก)
หลวงพ่อเพชรมีตำนานเล่าว่า แม่ทัพจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปปราบขบถที่เมืองเชียงใหม่ และได้หยุดพักทัพที่เมืองพิจิตร ครั้งนั้น เจ้าเมืองพิจิตรได้ขอร้องแม่ทัพว่าหลังจากปราบขบถเรียบร้อยแล้วขอให้ช่วยอัญเชิญพระพุทธรูป ลักษณะงามๆ มาฝากสักองค์ เมื่อปราบขบถเสร็จจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องมาตามแม่น้ำปิง และได้ฝากไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นการชั่วคราว ต่อมาชาวพิจิตรได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดนครชุม ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

ภาพหลวงพ่อเพชร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 26)
 

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองอุตรดิตถ์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหาร วัดท่าถนน อำเภอเมืองอุดรดิตถ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ และมีพุทธลักษณะงดงามมากองค์หนึ่งในกลางเดือน ๔ ของทุกปีซาวอุดรดิตถ์ ได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อเพชรเป็นประจำทุกปี
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๑ นิ้ว มีพุทธลักษณะ งดงามมากตามแบบของศิลปะล้านนา หรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง กล่าวคือ องค์พระพุทธรูปมีลักษณะพระอังสา (บ่า) ใหญ่ บั้นพระองค์ (เอว) เล็ก พระอุระอวบนูน พระถันเป็นเด้างามดังดอกบัว พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์เล็ก ขมวดพระเกศาขนาดใหญ่ พระเกตุมาลาค่อนข้างสูง พระรัศมีเป็นรูปลูกแก้ว ทรงจีวรห่มเฉียง จีวรแนบพระองค์ ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระลัน ประทับอยู่เหนือฐานปีทม์แบบเรียบ
พระพุทธรูปองค์นี้ ไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่อย่างใด เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอหนองโพ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง อุตรดิตถ์) ได้เดินทางผ่านอุโบสถร้างพบจอมปลวกขนาดใหญ่มีรูปร่างแหลม ผิดกับจอมปลวกทั่วไปจึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้น จนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและ ลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดินจอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูป ขนาดค่อนข้างใหญ่ ผิงอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหมอนไม้ ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือ วัดท่าถนนในป้จจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาส และได้ถวายนาม พระพุทธรูปองค์นิ้ว่า หลวงพ่อเพชร
ในพ.ศ.๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงามที่อยู่ตามหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม รวมทั้งหลวงพ่อเพชรด้วย

ภาพหลวงพ่อเพชร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 28)
 

พระเจ้าแสนแซ่
พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เชื่อกันว่าผู้ใดได้มากราบไหว้จะประสบแต่ความสุขสวัสดี มีโชค มีลาภ ผู้ที่มาขอพรก็จะได้ดังที่หวัง จึงทำให้พระเจ้าแสนแซ่เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวอำเภอเด่นชัย และชาวแพร่มาเป็นเวลาช้านาน
พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ ศิลปะล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 สันนิฐานว่าน่าจะมีอายุราว 1,000 ปีมาแล้ว นามพระพุทธรูป “พระเจ้าแสนแซ่” เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้หล่อเป็นชิ้นๆ แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน เวลาประกอบจะใช้แซ่ หรือสลักสอดไว้ให้กระชับแน่นมั่นคง เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

ภาพแสนแซ่

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 30)

ศาสนวัตถุสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป เดิมในอินเดียโบราณไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ แต่จะใช้รูปสิ่งของ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ดอกบัว สถูป รอยพระพุทธบาท เป็นต้น ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ช่างอินเดียโบราณได้เริ่มสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งคติการสร้างพระพุทธรูปได้เข้ามายังดินแดนประเทศไทยเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๘ - ๙ และเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีพัฒนาการรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ กัน เช่น พระพุทธ รูปศิลา พระพุทธ รูปไม้แกะ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ดังใน “พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว...” แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ได้รับการยกย่องว่า “สมเด็จครูนายช่างใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์” ทรงเห็นว่าพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระพุทธสุวรรณเขตภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นฝีมือช่างเดียวกับพระพุทธชินราช แลหล่อขึ้นทีหลัง ช่างจึงได้เห็นที่เสียพระพุทธชินราชตรงไหนได้แก้ให้พระชินสีห์ที่ตรงนั้นดีขึ้นทุกแห่ง

ภาพพระพุทธชินสีห์ (ด้านหน้า) พระพุทธสุวรรณเขต (ด้านหลัง) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 114)

ศาสนวัตถุที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งคือ รอยพระพุทธบาท ดังพบคติการบูชารอยพระพุทธบาทมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนจำลองแบบมาจากรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาท ณ สถานที่ต่างๆ สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น หิน ไม้ทองแดง เป็นต้น รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เป็นปูชนียวัตถุประเภท “บริโภคเจดีย์ โดยสมมุติ” แต่ก็มีพระพุทธบาทบางแห่งที่เชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงเป็นพุทธเจดีย์ประเภท “บริโภคเจดีย์” ได้แก่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระพุทธบาทคู่ จังหวัดปราจีนบุรี

ภาพรอยพระพุทธบาทในมณฑปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ที่มา: บัณฑิต ลิ่วชชัย และคณะ (2558: 115)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

พระพุทธปฏิมาประธาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาติไทย มีความศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสิ่งวิเศษหาค่ามิได้ ประดิษฐานเป็นประธานในการพระราชพิธีสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อบันดาลความเจริญรุ่งเรือง ไพบูลย์ร่มเย็นบังเกิดแก่ชาติและอาณาประชาราษฎร์
สร้างด้วยหยกเขียว ศิลปะล้านนา หรือเชียงแสน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว สูงจากฐานถึงรัศมี ๒๘ นิ้ว ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี ประดับด้วยลายกลีบบัวลายแข้งสิงห์ มีผ้าทิพย์ห้อยประกอบเบื้องหน้าภายในบุษบกไม้แกะสลักทุ้มด้วยทองคำ เหนือองค์พระมีสุวรรณฉัตรคันดาล ๕ ขั้น กางกั้น
เดิมองค์พระพอกปูนทุ้มไว้อยู่ในวัดพระแก้ว เมืองเชียงรายตั้งแต่ พุทธศักราช ๑๙๗๙ เมื่อปูนกะเทาะพบพระแก้วมรกตอยู่ภายในได้อัญเชิญไป ประดิษฐาน ณ เมืองสำคัญในล้านนาและล้านช้าง เมืองลำปาง เชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และพุทธศักราช ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นแม่ทัพจัดความเรียบร้อย เมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมากรุงธนบุรีด้วย ประดิษฐาน ในอาคารชั่วคราวใกล้พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงจัดพิธีสมโภชเป็นเวลา ๓ วัน
พุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ถวายนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗ เป็นพระพุทธปฏิมาสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานเป็นประธานในพระราชพิธีสำคัญทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ และบ้านเมืองตั้งแต่บัดนั้นตราบปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและถวายสักการะอย่างยิ่งใหญ่ ได้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาวถวาย มีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงกำหนดไว้ประจำ การพระราชพิธีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เซ่น จารึกพระสุพรรณบัฏ พระราช ลัญจกร ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระราชพิธีประจำแต่ละรัชกาล ล้วนประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องพระพักตร์แห่งพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากรทั้งสิ้น

ภาพพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 12)

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธปฏิมาประธาน ประดิษฐาน ณ บุษบกในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมคือ พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอัญเชิญจากเมืองนครศรีธรรมราชไปเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ณ กรุงสุโขทัย ราชธานีสำคัญที่ซาวไทยตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง และได้รับการอัญเชิญไปสู่นครน้อยใหญ่หลายเมือง ตราบถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี กล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่เนื่องใน พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนามั่นคงเป็นจกแผ่นสืบมาตราบปัจจุบัน มีความสำคัญทั้งประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนา

ปัจจุบัน เทศกาลสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ จะอัญเชิญออกเป็นขบวนแห่ให้ประชาชนสักการะเพื่อความเป็นสิรีมงคล และประดิษฐาน ณ บริเวณท้องสนามหลวงให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประเพณี

ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ สร้างด้วยวัสดุสำริดกะไหล่ทอง แสดงปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร องค์พระสูง ๔๗ เซนติเมตร พระหัตถ์วางซ้อนบนพระเพลา พระพักตร์กลม พระนาสิกโด่ง พระเนตรเหลือบต่ำ ขมวด พระเกศาเล็ก พระอุษณีษ์มีพระรัศมีเป็นเปลว ครองจีวรห่มเฉียง พระอุระกว้าง บั้นพระองค์คอด ประทับบนฐานบัวหงาย ๒ ชั้น รองรับด้วยฐานสิงห์

มีประวัติที่แสดงปาฏิหาริย์ กษัตริย์ลังกาเป็นผู้สร้าง เมื่อเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมีพระราชสาส์นขออัญเชิญมากรุงสยาม เกิดเรืออับปางกลางทะเล ได้เสด็จลอยน้ำมาสู่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จลงไปรับขึ้นมากรุงสุโขทัย เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ เจ้าเมืองและกษัตริย์ทั้งหลายได้อัญเชิญไป ณ เมืองสำคัญหลายแห่ง เช่น พิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท อัญเชิญลงมากรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญกลับมาประดิษฐาน ณ พระบวรราชวัง เพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนกระทั่งรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ได้อัญเชิญไปเป็นพระประธานระยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ อัญเชิญมาสมโภชร่วมกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑ แล้วโปรดให้ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตราบทุกวันนี้

ภาพพระพุทธสิหิงค์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 14)

 

พระพุทธนรเชษฐ์

พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระขาว หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐาน ณ ลานประทักษิณ ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร พระพุทธนรเชษฐ์ฯ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีตอนกลาง มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ สลักจากหินสีขาว ปางประทานปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาททั้งสองลงบนฐานกลมประดับกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ขนาดความสูงจากยอดพระเกตุถึงปลายพระบาท ๑๔๘ นิ้ว หรือ ๓.๗๖ เมตร พระพักตร์แบนใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธรูปศิลาขาวในพระอุโบสถ พระโอษฐ์หนาและยาวกว่า รัศมีรูปดอกบัวตูมเล็กกว่าไม่มีชายสังฆาฏิ พระหัตถ์ ยกจีบคล้ายกัน คือ ยกระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับนิ้วดรรชนี (นิ้วชี้) งอโค้งจรดกัน แต่พระหัตถ์ซ้ายที่วางหงาย นั้นวางแตะพระชานุและนิ้วพระหัตถ์งอขึ้นเล็กน้อย
พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีลักษณะเดียวกันนิ้วพบในประเทศไทยทั้งหมด ๕ องค์ ที่โบราณสถานวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ๔ องค์ พบในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคลื่อนย้ายมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกกันว่า “พระพุทธรูปศิลาขาว” หรือ “หลวงพ่อประทานพร”
ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบขึ้นส่วน พระพุทธรูปแบบเดียวกันอีกจำนวนหนึ่ง เก็บรักษาไว้ที่พระระเบียงคดขององค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๑ กรมศิลปากรได้สำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม พบสถูปสมัยทวารวดีมีร่องรอยมุขประจำทิศ ๔ ทิศ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูป ประทับห้อยพระบาท และพบว่ารัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารแล้ว ๑ องค์ พ.ศ.๒๔๐๑ กรมศิลปากรพบขึ้นส่วนพระพุทธรูปที่วัดพญากง และวัดขุนพรหม ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งติดตามได้ พระเศียรคืนจากร้านค้าของเก่า กับทั้งคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าได้มีการขนย้ายพระพุทธรูปในจำนวน ๓ องค์ มาไว้ที่วัดขุนพรหม จึงนำขึ้นส่วนจากวัดพญากง และขึ้นส่วนที่พระระเบียงคดวัดพระปฐมเจดีย์ มาร่วมประกอบด้วยกันได้พระพุทธรูปศิลาขาว ๒ องค์อัญเชิญไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ๑ องค์ ทั้งยังมีขึ้นส่วนเหลือประกอบได้อีก ๑ องค์ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ในขณะนั้นจึงขอให้กรมศิลปากรประกอบและประดิษฐานไว้ ณ ลานประทักษิณ ด้านทิศใต้ และขนานนามพร้อมจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนใต้บัวรองพระบาทว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร”

ภาพพระพุทธนรเชษฐ์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 16)

พระคันธาวาส

พระคันธาวาส เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ พุทธศาสนิกชนสักการบูชาต่อเนื่องมายาวนาน พระคันธาวาสนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระคันธารราฐ
ศิลปะทวารวดีตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ประทับห้อยพระบาท ทั้งสองข้าง จำหลักด้วยศิลาสีเขียว หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๗๐ เซนติเมตร สูง ๕ เมตร ๒๐ เซนติเมตร แต่เดิมชำรุดเหลือเฉพาะส่วนพระพักตร์ พระอุระ พระวรกาย พระกรท่อนบน พระชงฆ์ลงมาถึงพระบาท ส่วนพระหัตถ์ทั้งสอง ข้างทำขึ้นใหม่ เพราะการทำพระหัตถ์วางบนพระชานุทั้ง ๒ ข้างนั้นไม่เคยพบในศิลปะทวารวดี
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี ๑ ใน ๕ องค์ ที่สันนิษฐานว่า พบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม อาจเคลื่อนย้ายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ ต่อมาวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายไปคราวเสียกรุง เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าโปรดให้พระยาไชยวิชิต (เผือก) ปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานในพระวิหาร
ข้อสันนิษฐานนี้ได้มาจากผลการขุดค้นทางโบราณคดี ประกอบกับลักษณะศิลปกรรมของพระพุทธรูป กล่าวคือ
ก. เมื่อรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) ขุดพบทับหลังศิลาเรือนแก้ว ๑ ชิ้น ที่วัดพระเมรุ ตำบลสวนนันทอุทยาน จังหวัดนครปฐม ครั้นนำมาเทียบกับพระคันธาวาส วิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุราชิการาม ปรับกันเข้าสนิท ปัจจุบัน จัดแสดงไว้ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครปฐม ซึ่งต่อมาได้ขุดพบพระพุทธรูป ขนาดใหญ่แบบเดียวกับพระคันธาวาส ท่อนพระเพลาและฐานบัวอย่างละ ๓ ขึ้น
ข. เมื่อระหว่างกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ - พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ศาสตราจารย์ ปีแอร์ ดูปองค์ นักโบราณคดีซาวฝรั่งเศส ขออนุญาตกรมศิลปากรขุดค้นโบราณสถานวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปขนาดเดียวกับพระคันธาวาส วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ท่อนพระเพลา พระกร นิ้วพระหัตถ์หลายนิ้ว และซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ทิศ
จึงสรุปว่า พระคันธาวาส วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น่าจะอัญเชิญมาจากวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภาพพระคันธาวาส

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 18)

หลวงพ่อศิลา
หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินทรายสีเทา ที่แสดงถึงศิลปะลพบุรีซึ่งได้รับอิทธิพลจากเขมรที่สมบูรณ์มากที่สุดองค์หนึ่ง นับว่ามีคุณค่ามากด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ และยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ซาวทุ่งเสลี่ยม และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อศิลาเคยถูกโจรกรรมและนำไปประมูลขายในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยต้องดำเนินการนำกลับคืนมาประดิษฐานไว้ ณ มณฑป วัดทุ่งเสลี่ยม
หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ แกะสลักจากหินทราย สีเทา ศิลปะลพบุรีตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม ไม่แย้มพระโอษฐ์เหมือนศิลปะเขมรแบบบายน ประทับขัดสมาธิราบ บนฐานขนดนาคสามขั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรมี เจ็ดเศียร ด้านหลังหางนาคพาดขึ้นมาถึงลำตัว ลักษณะที่แสดงถึงศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทยคือ ที่กระบังหน้ามีแนวขั้นตรงกลาง ผ้าทิพย์ รองรับองค์พระมีลายดอกจันที่ขุดลึกลงไปในเนื้อหิน ต่างจากส่วนใหญ่ที่ทำเป็นลายขีดธรรมดา ทรงกรองศอพาหุรัด สวมศิราภรณ์ สวมมงกุฎเทริด ขนาดองค์พระ วัดจากฐานถึงปลายยอดเศียรนาคสูง ๘๕.๕๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๔๔ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๒๖.๕ กิโลกรัม
หลวงพ่อศิลา เดิมประดิษฐานอยู่ถ้ำเจ้าราม มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่มาก ชาวบ้านไปหามูลค้างคาว พบพระพุทธรูปทำด้วยศิลาปางนาคปรก จึงได้อัญเชิญออกมาประดิษฐานไว้ที่วัดพุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อศิลาได้ถูกโจรกรรมหายไป จนถึงเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ซาวไทยในประเทศอังกฤษได้พบว่ามีการประมูลพระพุทธรูป ปางนาคปรก ในหนังสือประมวลศิลปวัตถุ เพื่อประมูลขายของสถาบันโซธบี (Sotheby’s Institute) ในกรุงลอนดอน จึงได้มีการติดตามทวงหลวงพ่อศิลา ซึ่งต่อมาถูกซื้อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา คณะผู้ติดตามทวงคืนนำโดยศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเฉพาะกิจ เดินทางไปถึงทางหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) แจ้งว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีอาญาอยู่นอกเหนืออำนาจของเอฟบีไอ รวมถึงการยื่นฟ้องตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่สามารถทำได้ สุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ คณะกรรมการติดตามทวงหลวงพ่อศิลา นำโดย ร้อยตำรวจโทเซาวริน ลัทธคักดิ์ศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ได้เดินทางไปตรวจสอบและเจรจานำพระพุทธรูปล้ำค่ากลับคืนสู่ประเทศไทย โดยเบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากความ ร่วมมือของภาครัฐและเอกชนไทย
คณะดำเนินการอัญเชิญ “หลวงพ่อศิลา” เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย หลวงพ่อศิลาเนื่องในปีกาญจนาภิเษก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราซวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งได้พระราซทานให้กับปวงชนชาวไทย พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญหลวงพ่อศิลากลับไปประดิษฐาน ณ วัดทุ่งเสลี่ยม ดังเดิม เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ชาวทุ่งเสลี่ยมจึงได้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อศิลาในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพหลวงพ่อศิลา

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 20)
พระพุทธเทวราชปฏิมากร

พระพุทธเทวราชปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๔.๓๕ เมตร สูงตั้งแต่ทับเกษตรถึง ยอดเปลวรัศมี ๕.๖๕ เมตรโดยมีลักษณะพระพักตร์เป็นศิลปะลพบุรีตอนปลาย หรือศิลปะอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า พระประธานองค์นี้ มีลักษณะพระพักตร์เป็นศิลปะลพบุรี ส่วนองค์พระพุทธรูปเป็นแบบรัตนโกสินทร์ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมน่าจะเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี ภายหลังกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ได้อัญเชิญเฉพาะพระเศียรพระพุทธรูปมาจากเมืองลพบุรี ส่วนองค์พระหล่อขึ้นใหม่ และได้ประดิษฐานเป็นประธานในพระอุโบสถที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีรูปทรงอย่างเดียวกับพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมาแต่เดิม พระบาทสมเด็จพระปรมีนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานนามพระประธานในพระอุโบสถ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร”
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางภูร ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราซฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ พระเทพคุณาภรณ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทวราชกุญชร ได้ดำเนินการจัดสร้างสายสังวาล ลักษณะเป็นดอกพิกุลวางซ้อนกัน ๕ ชั้นประดับพลอยสังเคราะห์ถวาย พระพุทธเทวราชปฏิมากรเป็นพุทธบูชา ๑ เส้น ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ภาพพระพุทธเทวราชปฏิมากร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 22)

พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์

พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มาจากลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานในบุษบก แห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ
พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวมีเกสร ซ้อนบนฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม หล่อด้วยสำริดปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะล้านนา หรือที่เรียกกันว่า “เชียงแสนสิงห์หนึ่ง” พระเศียรของเดิมถูกคนร้ายตัดไป ปัจจุบันคือพระเศียรที่สร้างซ่อมขึ้นใหม่ พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน
จากลักษณะทางศิลปกรรม พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนา (เชียงแสนรุ่นแรก) จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตำนานพระพุทธสิหิงค์กล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้นหลังพุทธกาล ๗๐๐ ปี ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันในประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์ อยู่ ๓ องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ องค์หนึ่ง พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์หนึ่ง และพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อีกองค์หนึ่ง

ภาพพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 24)
 

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองพิจิตร เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป วัดท่าหลวงได้จัดงานปิดทองไหว้พระและแข่งเรือเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ศิลปะล้านนา (เชียงแสนรุ่นแรก)
หลวงพ่อเพชรมีตำนานเล่าว่า แม่ทัพจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปปราบขบถที่เมืองเชียงใหม่ และได้หยุดพักทัพที่เมืองพิจิตร ครั้งนั้น เจ้าเมืองพิจิตรได้ขอร้องแม่ทัพว่าหลังจากปราบขบถเรียบร้อยแล้วขอให้ช่วยอัญเชิญพระพุทธรูป ลักษณะงามๆ มาฝากสักองค์ เมื่อปราบขบถเสร็จจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องมาตามแม่น้ำปิง และได้ฝากไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นการชั่วคราว ต่อมาชาวพิจิตรได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดนครชุม ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

ภาพหลวงพ่อเพชร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 26)
 

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองอุตรดิตถ์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหาร วัดท่าถนน อำเภอเมืองอุดรดิตถ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ และมีพุทธลักษณะงดงามมากองค์หนึ่งในกลางเดือน ๔ ของทุกปีซาวอุดรดิตถ์ ได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อเพชรเป็นประจำทุกปี
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับชัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๑ นิ้ว มีพุทธลักษณะ งดงามมากตามแบบของศิลปะล้านนา หรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง กล่าวคือ องค์พระพุทธรูปมีลักษณะพระอังสา (บ่า) ใหญ่ บั้นพระองค์ (เอว) เล็ก พระอุระอวบนูน พระถันเป็นเด้างามดังดอกบัว พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกเล็ก พระโอษฐ์เล็ก ขมวดพระเกศาขนาดใหญ่ พระเกตุมาลาค่อนข้างสูง พระรัศมีเป็นรูปลูกแก้ว ทรงจีวรห่มเฉียง จีวรแนบพระองค์ ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระลัน ประทับอยู่เหนือฐานปีทม์แบบเรียบ
พระพุทธรูปองค์นี้ ไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่อย่างใด เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอหนองโพ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง อุตรดิตถ์) ได้เดินทางผ่านอุโบสถร้างพบจอมปลวกขนาดใหญ่มีรูปร่างแหลม ผิดกับจอมปลวกทั่วไปจึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้น จนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและ ลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดินจอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูป ขนาดค่อนข้างใหญ่ ผิงอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหมอนไม้ ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือ วัดท่าถนนในป้จจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาส และได้ถวายนาม พระพุทธรูปองค์นิ้ว่า หลวงพ่อเพชร
ในพ.ศ.๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงามที่อยู่ตามหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม รวมทั้งหลวงพ่อเพชรด้วย

ภาพหลวงพ่อเพชร

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 28)
 

พระเจ้าแสนแซ่
พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เชื่อกันว่าผู้ใดได้มากราบไหว้จะประสบแต่ความสุขสวัสดี มีโชค มีลาภ ผู้ที่มาขอพรก็จะได้ดังที่หวัง จึงทำให้พระเจ้าแสนแซ่เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวอำเภอเด่นชัย และชาวแพร่มาเป็นเวลาช้านาน
พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีคล้ายดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ ศิลปะล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 สันนิฐานว่าน่าจะมีอายุราว 1,000 ปีมาแล้ว นามพระพุทธรูป “พระเจ้าแสนแซ่” เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้หล่อเป็นชิ้นๆ แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน เวลาประกอบจะใช้แซ่ หรือสลักสอดไว้ให้กระชับแน่นมั่นคง เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

ภาพแสนแซ่

ที่มา: กรมการศาสนา (2560: 30)